Posted on

ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศ ตรงไหน ?

ท่านที่ซื้อๆ เครื่องฟอกอากาศไปใช้ในบ้าน ในออฟฟิศ ในหน่วยงานราชการ ท่านซื้อไปแล้ว ท่านรู้กันแล้วยังครับว่าไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศตรงไหน? แล้วควรจะวางเครื่องฟอกอากาศตรงไหน ถึงจะดี ? วันนี้ผมมีเคล็ดลับมาบอกครับ ก่อนอื่นเรามารู้จักลักษณะการดูดอากาศร้าย และการฟอกอากาศดีปล่อยออกมา ของระบบเครื่องฟอกอากาศก่อนนะครับ

โดยส่วนใหญ่แล้ว เครื่องฟอกอากาศทั่วไป การทำงานของเครื่อง จะดูดอากาศสกปรกหรืออากาศปกติที่มีฝุ่นในห้อง โดยการดูดเข้ามาจากทางด้านหลังของเครื่อง หรือดูดจากทางด้านล่างของเครื่อง แล้วนำไปผ่านใส้กรองฟิลเตอร์ ตามระบบของเครื่องแต่ละรุ่น จากนั้นก็จะพ่น ปล่อยอากาศสะอาดออกมาทางด้านบนของเครื่อง หรือเครื่องบางรุ่นก็มีทางดูดอากาศสกปรกเข้ามาทั้งทางด้านหน้า และด้านหลังเครื่อง แล้วก็ปล่อยอากาศสะอาดออกมาทางด้านบนเครื่อง และก็มีที่เป็นเครื่องฟอกอากาศตามบัญชีครุภัณฑ์ราชการ ที่ติดตั้งบนฝ้าเพดาน หรือติดฝาผนัง ที่เป็นเครื่องฟอกอากาศระบบ Electronic Collecting Cell อันนี้จะเป็นแบบที่ดูดอากาศสกปรกเข้าทางหน้าเครื่อง แล้วปล่อยอากาศสะอาดออกมาทางช่องข้างๆ รอบตัวเครื่อง และก็แบบพิเศษไปเลยก็เครื่องฟอกอากาศในห้องผ่าตัดที่เป็นการฟอกอากาศไหลเวียนแบบ LAMINA Flow (อันนี้เริ่มลึกๆ ทางวิศวกรรมระบบปรับอากาศ หากมีข้อสงสัยใว้ค่อยโทรถามกันดีกว่า) แล้วก็อันล่าสุดเป็นเครื่องฟอกอากาศแบบควบคุมเชื้อโรค แบบที่ใช้กันในห้องทันกรรมปลอดเชื้อ ห้องแยกโรค COHORT WARD อันนี้ลักษณะการดูด และจ่ายอากาศจะเป็นดูดเข้าทางหัว แล้วปล่อยออกทางท้ายเครื่อง โดยไม่มีอากาศสกปรกที่เข้าสู่ะบบไหลเวียนในช่วงผ่าน Filter กรองอากาศ รั่วออกมาสู่ภายนอกเลย (อันนี้ก็ลึกเข้าไปในงานติดตั้งอีกขั้นนึง หากมีข้อสงสัย ใว้ค่อยโทรมาถามกันดีกว่าครับ)

รูปตัวอย่าง ตำแหน่งการวางเครื่องฟอกอากาศ ที่เหมาะสม

การตั้งเครื่องฟอกอากาศก็สำคัญครับ เราควรตั้งเครื่องฟอกอากาศห่างจากผนังหรือสิ่งกีดขวางทางดูดอากาศสกปรก หรือทางเดินลม อย่างน้อย 10 Cm. โดยเฉพาะไอ้เครื่องฟอกอากาศที่ดูดอากาศสกปรกเข้าทางด้านหลังเครื่องเนี่ย สำคัญเลย เพราะถ้าเราวางเครื่องฟอกอากาศติดผนังมากเกินไป นอกจากอากาศที่จะดูดเข้าไปฟอกในเครื่องเดินทางไม่สะดวกแล้ว ฝาผนังด้านนั้นจะเกิดคราบฝุ่นจากการที่เครื่องฟอกอากาศดูดอากาศสกปรกมาปะทะฝาผนังสะสมเป็นเวลานานๆ อีกด้วย

ร่ายยาวมา 3 ย่อหน้ายังไม่มาถึง เรื่องจุดวางเครื่องฟอกอากาศ วางตรงไหนดี สักที คุณกัมปนาถถถถถถถ อะไรครับเนี่ยยย !!

เอ้า ! เริ่มเลยก็ได้ >>>>

  • ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศใว้ใต้แอร์ ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศใว้ใต้แอร์ เพราะแอร์มันมีแรงในการดูดอากาศมากกว่าเครื่องฟอกอากาศ ถ้าเราวางเครื่องฟอกอากาศใว้ใต้แอร์ ก็จะทำให้กลายเป็นการรวมพลัง x 2 ในการดูดอากาศสกปรกที่มีฝุ่นมารวมกันใว้ที่ใต้แอร์ แล้วเครื่องฟอกอากาศมันแรงน้อยกว่าแอร์ ก็ดูดไม่ทันแอร์ ทำให้อากาศที่ยังไม่ได้ฟอก ก็โดนพลังดูดของแอร์เข้าไปผ่านคอยล์เย็น กลายเป็นอากาศสกปรกที่เย็น กระจายฟุ้งไปทั่วทั้งห้องซะงั้น ลองหลับตานึกภาพดูซิครับ ดังนั้นเราควรวางเครื่องฟอกอากาศใว้ตรงข้ามกับแอร์ จึงจะดี
    • ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศวางหน้าห้องน้ำ ทำไมเหรอ ? ก็ห้องน้ำมันชื้นตลอดเวลา บางท่านอยากจะให้อากาศที่ออกมาจากห้องน้ำเป็นอากาศบริสุทธิ์ เหมือนอากาศที่ไปวิ่งเล่นในทุ่งลาเวนเดอร์ แต่ท่านคิดผิดครับท่าน !! เพราะว่าเครื่องฟอกอากาศมันจะดูดความชื้นในห้องน้ำออกมาปล่อยในห้องนั่งเล่น ห้องนอน ท่านซะเปล่าๆ ทำไปทำมากลายเป็นท่านสร้างแหล่งเพาะเชื้อราขึ้นมาในห้อง พาป่วยซะเปล่าๆ ไปหาที่ตรงอื่นวางเครื่องฟอกอากาศดีกว่าครับ
    • อันนี้สำคัญเลย ถ้าเป็นห้องนอน ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศใว้ที่หัวเตียงนอน เพราะเครื่องฟอกอากาศจะดูดอากาศสกปรกที่มีฝุ่น ผ่านตัวเราข้ามหัวเราไปเลย กลับกลายเป็นว่าเรานอนสูดดมฝุ่นเข้าปอดขณะนอนหลับตลอดทั้งคืน แล้วก็เครื่องอยู่ใกล้หัว ใกล้หูเรา เสียงการทำงานของเครื่องอาจจะรบกวนการนอนหลับของเรา ทำให้หลับไม่สนิท หาที่วางตรงอื่นดีกว่าครับ
    • ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศใว้ตรงบริเวณโต๊ะเครื่องแป้ง โต๊ะแต่งหน้า ทำไมเหรอ ก็เพราะเวลาท่านแต่งหน้า ทาแป้ง แล้ว Sensor เครื่องฟอกอากาศมันตรวจจับได้ว่าแป้งเป็นฝุ่น กลิ่นน้ำหอม มันมองว่าเป็นก๊าซสกปรก เครื่องฟอกอากาศที่มีระบบ Auto มันก็จะเร่งเครื่องเองทันที เพื่อเร่งดูดเอาแป้ง และกลิ่นที่มันคิดว่าเป็นก๊าซสกปรก มาฟอกอย่างรวดเร็ว อันนี้จะทำให้ฟิลเตอร์ของเครื่องฯ ตันเร็ว เสื่อมสภาพเร็วขึ้นครับ
    • ข้อควรทำ ควรบำรุงรักษา เปลี่ยนแผ่นกรองฟิลเตอร์ของเครื่องฟอกอากาศตามเวลาที่กำหนด หรือให้สังเกตดูสัญลักษณ์แจ้งเตือนการเปลี่ยนฟิลเตอร์ หรือให้ทำความสะอาดฟิลเตอร์ (กรณีที่เป็น ESP Filter) ที่แสดงขึ้นที่หน้าจอเครื่องฯ (เครื่องบางรุ่นที่ราคาถูกๆ อาจไม่มีระบบแจ้งเตือน ก็ต้องคอยสังเกตลมสะอาดที่ออกมาเอาเอง ว่าแผ่วเบาหรือเปล่า หรือเปิดดูฟิลเตอร์ว่าดำปิ๊ดปี๋ แล้วหรือยัง) แต่ผมบอกได้เลยสภาพอากาศฝุ่นมากแบบนี้ 6 เดือนเปลี่ยนฟิลเตอร์ทีนึงเหอะเพราะที่ติดมากะเครื่องน่ะบางคนใช้มาเป็นปีๆ ไม่ยอมเปลี่ยนกะว่าใช้ให้เครื่องพัง ฟิลเตอร์ดำปี๋ ผมละเป็นห่วงปอดท่านจริงๆ
บริการ service ล้างทำความสะอาด เครื่องฟอกอากาศ ระบบ Electronic Collecting Cell ตามบัญชีครุภัณฑ์ ราชการ

หากมีสิ่งใดสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ คุณกัมปนาถ  HotLine : 097-1524554 

 Line id : Lphotline

บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Office Tel. 029294345-6

email : LPCentermail@gmail.com

facebook: http://fb.me/Lifeprotect.co.th

http://www.Lifeprotect.co.th

Posted on Leave a comment

การใช้รังสียูวีซี (UVC) ในการฆ่าเชื้อโควิด 19

COVID-19 ใครว่ามันสูญพันธ์ มัน มีการพัฒนาการสายพันธ์ ใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ

เทคโนโลยี UV-C กับการฆ่าเชื้อโรค เชื้อไวรัสโควิด ( COVID-19 )

ณ วันนี้ วันที่ 22 สิงหาคม 2564 วันที่ผมกำลังเขียนบทความเรื่อง UV-C นี้ การระบาดละลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 ยังไม่มีท่าทางว่าจะดีขึ้น

ในประเทศไทยเรา ยังมียอดผู้ติดเชื้อโดยประมาณวันละ สองหมื่นคนติดต่อกันมาเป็นสัปดาห์แล้ว และนั่นคือสิ่งที่ทำให้วงการอุตสาหกรรมการแพทย์ และธุรกิจอื่นๆ อยู่เฉยๆไม่ได้แล้ว !!  ทุกฝ่ายต่างมุ่งมั่นสรรหาเทคโนโลยีเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสร้ายชนิดนี้ และหนึ่งในเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อโรคที่กำลังถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วงเวลานี้ คือ UV-C หรือ เทคโนโลยีการฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต เพราะสิ่งนี้ถือว่าเป็นเทคโนโลยีทำความสะอาด และฆ่าเชื้อที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับวัตถุ หรือพื้นผิวโดยตรงของผู้ใช้งาน เพราะเพียงแค่สาดแสงลงไป รังสีจากแสง UV-C ก็สามารถทำลาย DNA ของเชื้อโรค และทำให้เชื้อโรคค่อยๆตายไปได้ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ ด้วยคุณสมบัติของรังสีอัลตราไวโอเลต หรือแสง UV ที่เป็นสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีความถี่ที่สูงกว่าช่วงของแสงที่ตาของคนเราจะมองเห็นได้ปกติ โดยแสง UV-C เป็นแสงในกลุ่ม UV ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการกำจัดสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือเชื้อโรคต่าง ๆ

UV-C คืออะไร

รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือ UV เป็นรังสีตามธรรมชาติที่อยู่ในแสงอาทิตย์ มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ UV-A, UV-B และ UV-C เราอาจจะคุ้นหูกับ UV-A และ UV-B เนื่องจากรังสีทั้ง 2 ชนิดนั้นสามารถเดินทางผ่านชั้นโอโซนมายังโลก และสามารถมาทำร้ายผิวของเราได้ (รังสี 2 ตัวนี้ วันนี้เราจะข้ามมันไปก่อน !) วันนี้ เราจะมาพูดถึง UV-C เพียงอย่างเดียวก่อน เพราะเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่เรานำมาใช้ฆ่าเชื้อโรค เชื้อไวรัสโควิท-19 ในขณะนี้

การติดตั้งเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบบติดตั้งเพดาน Philip UVC Upper Air ในห้องทำงาน ห้องประชุม
การติดตั้งเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ Philips UVC Upper Air ในร้านอาหาร หรือร้านกาแฟ

การฆ่าเชื้อด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตชนิด C หรือที่เรียกว่า UV-C นั้นไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ เทคโนโลยีนี้ ถูกคิดค้นขึ้นมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2435 หรือประมาณ 129 ปีแล้ว โดยการทดลองของ มาร์แชล วาร์ด (Marshall Ward) ที่พยายามหาวิธีกำจัดแบคทีเรียโดยการใช้รังสีดังกล่าว แต่เทคโนโลยีนี้เพิ่งเป็นที่รู้จักและเริ่มใช้งานกันอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาล หลังมีการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือที่รู้เราจักกันดีในชื่อ โรคซาร์ส (SARS) ในช่วง พ.ศ. 2545 และโรคเมอร์ส (MERS) เมื่อ พ.ศ. 2555 

UV-C คือรังสีอัลตราไวโอเลต ที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 200-280 นาโนเมตร เป็นรังสีที่โดยธรรมชาติปกติ จะไม่สามารถเดินทางผ่านชั้นโอโซนลงมายังโลกได้ เนื่องจากมีความยาวคลื่นที่สั้นกว่ารังสี UV-A และรังสี UV-B เนื่องจากรังสีทั้ง 2 สามารถเดินทางผ่านชั้นโอโซนมายังโลกและสามารถทำร้ายผิวกายของเราได้ ทำให้ก่อนหน้านี้เราจึงไม่ค่อยได้ยินชื่อ UV-C ในการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก เพราะเรามัวไปกังวลเรื่องรังสี UV-A, UV-B ที่มาทำลายผิวเราซะมากกว่า  แต่ในความจริงแล้ว รังสี UV-C นั้นกลับกลายเป็นรังสีที่มีบทบาทสำคัญในการฆ่าเชื้อโรค และในวงการการแพทย์อย่างมาก ด้วยความสามารถเฉพาะตัวของมันเอง เพราะมันมีพลังงานมากกว่า รังสี UV-A และ UV-B อย่างมากมาย และมันยังมีความสามารถในการทำลาย DNA และ RNA ของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและเชื้อโรคต่างๆ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส (แต่ฆ่าสปอร์ของเชื้อราไม่ดีเท่าไร) เมื่อเชื้อถูกทำลาย DNA ทำให้ เชื้อต่างๆ เหล่านี้พิการไม่สามารถขยายตัวต่อไปได้ และตายไปในที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปUV-C  ที่นำมาใช้ฆ่าเชื้อโรค ได้ถูกประดิษฐ์ออกมาเป็นหลอด UV-C Lamp ที่ความยาวคลื่น 253.7 nm (นาโนเมตร) ** (แต่ทำไมชาวบ้าน รวมๆ เรียกเหมาเป็น 254 nm ก็ไม่รู้) ไม่ว่าจะเป็นหลอดแบบ TUV T5,T8  หรือหลอด LED UV-C

รูปตัวอย่าง Diagram การบำบัด และฆ่าเชื้อโรคในอากาศห้อง ด้วย UVC ร่วมกับ HVAC ( Credit รูปภาพจาก พญ.จริยา แสงสัจจา)

ปัจจุบันมีผลการวิจัยมากมาย ทั้งจากสถาบันการศึกษาและโรงพยาบาล พิสูจน์ได้ว่า UV-C มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% โดยเชื้อโรคเหล่านั้น มีตั้งแต่ ไข้หวัด 2009 (H1-N1) เชื้อวัณโรค (TB) สารก่อภูมิแพ้หอบหืด รวมถึงเชื้อก่อโรคโควิด-19 ที่กำลังเป็นโรคระบาดรุนแรงในปัจจุบัน ทั้งนี้ UVC สามารถฆ่าเชื้อโรคทั้งที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ บนพื้นผิวทั่วไป และในน้ำได้เป็นอย่างดี จึงมีข้อได้เปรียบกว่าการฆ่าเชื้อโรคแบบวิธีอื่นๆ เช่น การฉีดพ่นสารเคมี การเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ ทั้งในแง่ของความสะดวกในการใช้งาน การใช้เวลาทำความสะอาดเพียงไม่กี่นาที สามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายต่อครั้งต่ำ และที่สำคัญคือ ไม่ทิ้งสารเคมีที่เป็นอันตรายไว้หลังการใช้งาน จึงมีความปลอดภัยแก่ผู้ใช้

ตู้อบฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UVC ( Philips UV-C Disinfection Chamber)

** ข้อควรระวัง :  การใช้แสงรังสี UV-C  นั้น แม้จะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี แต่ต้องระมัดระวังหากนำไปใช้ไม่ถูกวิธีอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรใช้แสง UV ในการฆ่าเชื้อโรคบนร่างกายมนุษย์  มีข่าวว่ามีผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์เอา UV-C lamp ที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ มาวางบนโต๊ะตรงกลางห้อง ในขณะที่มีคนอยู่ในห้องนั้น เป็นเหตุให้ผู้ที่อยู่รอบๆ บริเวณโต๊ะวาง UV-C นั้นเกิดอาการระคายเคืองผิวหน้า เยื่อบุตา มีอาการหน้าแดง ตาแดง แสบตา เคืองตาไปตาม ๆ กัน ซึ่งหากแสงส่องโดนผิวหนังโดยตรงๆ บ่อยๆ อาจทำให้เซลล์ผิวหนังถูกทำลาย และมีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนัง และหากแสงสาดเข้ามาในดวงตา อาจทำให้ตาอาจเป็นต้อ หรือเกิดความผิดปกติได้ จากการโดนรังสีทำลายกระจกกับเลนส์ตา 

การใช้งานอุปกรณ์ UV-C ทำได้หลายวิธี

มีหลายวิธี ที่สามาถนำเอาแสงรังสี UV-C มาประกอบใช้งานให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการฆ่าเชื้อโรค ดังเช่น Philips ผู้นำด้าน UV-C ได้ทำออกมาดังนี้

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบบตั้งพื้นเคลื่อนย้ายได้ Philips UVC Air Disinfection Unit (ไม่ใช่เครื่องฟอกอากาศ)
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ โดยนำอุปกรณ์ UV-C ไปติดบนเพดานห้อง หรือติดที่ฝาผนัง หรือเหนือประตู โดยวิธีนี้จะสามารถเปิดใช้งานแสงรังสี UV-C ให้ฉายไปทั้งห้อง เฉพาะในเวลาที่ไม่มีคน และสัตว์เลี้ยงอยู่ในห้อง เช่นการใช้อุปกรณ์ Philips UVC Batten (Open Fixture) ฉายแสงในห้อง หรือฉายจากเพดานลงสู่พื้น
การติดตั้งชุด UVC ฺBatten แบบมีเซ็นเซอร์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคในห้องน้ำ (คนเปิดประตูเข้ามา UVC ดับ คนออกไป UVC ทำงานต่อ)
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ และพื้นผิววัสดุ โดยใช้ Philips UV-C Trolley ชุดล้อเลื่อน UV-C ฆ่าเชื้อโรค หรือ Philips UV-C Desktop Disinfection Lamp (Open Fixture)  ที่เคลื่อนย้ายไปมาตามจุดต่างๆ ในห้อง ของบ้านหรืออาคารได้ ตั้งเวลาฆ่าเชื้อโรค โดยทั้ง 2 อุปกรณ์นี้ ต้องเปิดใช้งานในเวลาที่ไม่มีคนหรือสัตว์เลี้ยง อยู่ในห้อง
ส่งมอบล้อเลื่อนฆ่าเชื้อโรค Philips UVC Trolley เพื่อใช้ฆ่าเชื้อโรค ในห้องต่างๆ ของโรงพยาบาล
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ โดยนำอุปกรณ์ UV-C ไปติดบนเพดานห้อง หรือติดที่ฝาผนัง หรือเหนือประตู โดยฉายแสงไปด้านบนของห้องให้ส่องขึ้น เช่นการใช้อุปกรณ์ Philips UV-C Upper Air Disinfection Ceiling Mounted และ UV-C Upper Air Wall Mounted ที่ออกแบบให้แสงรังสี UV-C สาดไปในอากาศ แต่มีครีบพิเศษ ทีี่ช่วยบังแสงด้านความปลอดภัย ไม่เข้าตา (Close Fixture) ทำให้เราสามารถอยู่ในห้องได้ แม้ขณะเปิดเครื่อง UV-C ให้ทำงาน
Philips UV-C Upper Air Wall Mounted Type and Ceiling Type
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ โดยนำอุปกรณ์ UV-C แบบปิด Philips UV-C Air Disinfection Unit (Close Fixture) รูปร่างคล้ายๆ เครื่องฟอกอากาศทั่วไป (แต่ไม่ใช่เครื่องฟอกอากาศ) นำไปตั้งบนพื้น ให้พัดลมดูดอากาศเข้ามาหมุนเวียนในห้องหมุนวนอากาศที่มีหลอด UV-C ติดตั้งอยู่ 4 หลอด แล้วให้อากาศไหลผ่านออกไป UV-C Air Disinfection Unit นี้ สามารถเปิดใช้งานได้แม้ขณะที่มีคนอยู่ในห้อง เหมาะสำหรับออฟฟิศ รถทัวร์ รถบัส รถ X-Ray เคลื่อนที่ และสถานที่สุ่มเสี่ยงการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ ที่มีคนอยู่มากๆ
เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ ด้วย UVC แบบตั้งพื้น ( Philips UVC Disinfection Air Unit)
  • การออกแบบ ขึ้นโครง และ นำหลอดไฟ UV-C ไปติดบริเวณหน้า AHU ของระบบปรับอากาศของอาคาร แบบนี้เหมาะสำหรับอาคารที่เป็นระบบ Air รวม จ่าย Air ไปทั่วทั้งตึก จะช่วยให้แผง AHU สะอาด ไม่เป็นเมือก และฆ่าเชื้อโรคในอากาศจากในอาคารที่ไหลเวียนกลับเข้ามายังห้อง AHU ทำให้อากาศสะอาด และช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า
การติดตั้งชุด UVC for AHU เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่หน้าแผงคอล์ยเย็นของ AHU ของระบบแอร์รวม อาคารขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า
  • ฆ่าเชื้อบริเวณพื้นผิว (Surface Disinfectant) เอกสาร สิ่งของ สร้อยคอทองคำ แหวน นาฬิกา เครื่องประดับ กุญแจ โทรศัพท์มือถือ อาหารแห้ง ขวดนมลูก ยา ตลอดจนภาชนะต่างๆที่ใช้ใส่อาหาร โดยใช้ตู้อบ UV-C Chamber (Close Fixture)  ใส่สิ่งของต่างๆ ที่แห้ง ไม่เปียกน้ำ ใส่เข้าไปในตู้ ตั้งเวลาที่กำหนด เมื่อครบเวลาตาม Contact Time ก็นำออกมาใช้ได้ ไม่มีความร้อน
ตู้อบยูวีซี ฆ่าเชื้อโรค ( Philips UVC Disinfection Chamber )
  • ฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ในของเหลว ใช้ในการผลิตน้ำดื่ม น้ำผลไม้ ฆ่าเชื้อโรคในน้ำตู้เลี้ยงปลา อันนี้ UV-C จะถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุพิเศษที่ทนทานต่อรังสี UV-C แต่ไม่บดบังการเปล่งแสง และสามารถกันน้ำได้

        นอกจากนี้  เทคโนโลยีฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV-C ยังถูกนำไปใช้กับการวิจัยอื่นๆ อีก ดังเช่นมีข่าวรายงานว่า ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ได้ทดลองการฆ่าเชื้อด้วยการฉายรังสี UV-C ลงไปที่หน้ากาก N95 วัตถุประสงค์เพื่อนำหน้ากาก N95 และหน้ากากอนามัยกลับมาใช้ซ้ำ ผลการทดสอบปรากฏว่า ในการฉายรังสี UV-C เป็นเวลา 30 นาที สามารถทำลายเชื้อ COVID-19 และยังทำลายเชื้อแบคทีเรีย ที่สะสมอยู่ในหน้ากากได้และยังพบว่าเส้นใยของหน้ากากอนามัยไม่เสียหายจนเสียประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อโรคอีกด้วย !

ตู้อบ ฆ่าเชืิ้อโรคด้วยรังสี UV-C ขนาดเล็ก สำหรับใช้ในบ้านพักอาศัยทั่วไป คอนโดมิเนียม ร้านค้าขนาดเล็ก

UV-C จัดว่าเป็นเทคโนโลยีสำหรับการฆ่าเชื้อโรคที่มีข้อดี/ข้อได้เปรียบ คือ ราคาถูก ลงทุนน้อย ฆ่าเชื้อโรคได้เกือบทุกชนิด ประหยัดพลังงาน ยกระดับคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor air quality) ลดมลพิษในอากาศ เช่น สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compounds, VOCs) ซึ่งบางชนิดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ และยังสามารถใช้ได้หลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัย (Residential building) ไปถึงอาคารพานิชย์ (Commercial building) โดยเฉพาะ โรงพยาบาล โรงแรม โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ยา และวัคซีน เป็นต้น จึงเหมาะสำหรับหน่วยงานที่งบประมาณน้อย ได้เข้าถึงเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพได้

        และสุดท้ายนี้ มีตำแนะนำ เพื่อให้เทคโนโลยี UV-C ฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ใช้งาน UV-C ควรให้ความสำคัญเครื่องมือ UV-C ดูคู่มือการใช้งาน ดูค่าความเข้ม (Density) ของแสง UV-C  ตั้งระยะเวลาที่เชื้อโรคสัมผัส (Contact time) กับแสง UV-C และระยะห่าง (Distance) การจัดวางของวัตถุและหรือพื้นผิว ที่จะทำการฉายแสง UV-C ให้เหมาะสมกับเชื้อโรคชนิดต่างๆ ผู้ใช้ควรศึกษาข้อควรระวัง การบำรุงรักษาจากคู่มือการใช้งาน รูปแบบการติดตั้ง สถานที่ติดตั้งหรือใช้งาน ควรคำนึงถึงปัจจัยที่อาจจะมีผลต่อประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อโรค รวมถึงมาตรการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรที่มีโอกาสไปสัมผัสแสง UV-C  ด้วย

สนใจอุปกรณ์ UV-C Philips ติดต่อคุณกัมปนาถ

บริการ ออกแบบ และติดตั้ง เครื่องฆ่าเชื้อ และเจอจางเชื้อในอากาศ ด้วยรังสี UVC (UVGi) แบบติดตั้งฝาผนัง และแบบติดตั้งเพดาน ตามรายละเอียดคำแนะนำของ ASHRAE EPIDEMIC TASK FORCE (Update 21 October 2021)

(UV-C Installer & Instructor) Hotline: 097-1524554  id Line : Lphotline

Philips UV-C Instruction & Installation Certificate

บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Hotline: 097-1524554

Line : Lphotline

Office Tel. 02-9294345-6

Email: LPCentermail@gmail.com

www.Lifeprotect.co.th

Posted on

เทคนิค การเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศ สำคัญที่สุด ต้องดูตัวเลขค่า CADR

วันนี้ จะมาบอกเทคนิคการเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศ… ง่ายๆ สั้นๆ ดูค่า CADR ของเครื่องเลยครับ ++

ซื้อเครื่องฟอกอากาศ อย่างไรให้คุ้มค่าเงินที่จ่ายไป หัวใจสำคัญที่สุด ให้ดูที่ตัวเลขค่า CADR ของเครื่อง จบข่าวครับ

” อ้าวเฮ้ย !! มาบอกแค่เนี้ย ” แล้ว ค่า CADR คืออะไร ?  อารายของมันว้า…???

” ครับๆ ..ขอโทษครับ อธิบายต่อให้ก็ได้ครับ…ตามผมมาเลยครับ…”

CADR  ย่อมาจาก Clean Air Delivery Rate แปลว่า อัตราการส่งผ่านอากาศบริสุทธ์ เป็นค่าที่บอกประสิทธิภาพการฟอกอากาศที่แท้จริง โดยการนำไปทดสอบในห้องปฏิบัติการ โดยทดสอบกับตัวอย่าง ควันบุหรี่ (Smoke), ฝุ่น (Dust) และ เกสรดอกไม้ (Pollen) ค่า CADR มีหน่วยเป็นมาตรฐานเป็น CFM (Cubic Feet per Minute)

อาตรงๆ ก็คือ เครื่องฟอกอากาศเครื่องใดที่มีค่า CADR สูงกว่า ย่อมให้ประสิทธิภาพในการฟอกอากาศสูงกว่า แค่นั้นเองครับ

“ อ้าวเฮ้ย !! ..แล้วตรู จะรู้ได้ยังไงฟะ ว่าค่า CADR ที่พวกเอ็งกล่าวอ้างมากับเครื่องฟอกอากาศ ที่เอ็งเอามาขายนั้น นั้นคือค่าจริง ไม่ได้นั่งเทียน เขียนโม้กันขึ้นมาเอง ??? ”

“ไม่ได้โม้ครับ”  ในสหรัฐอเมริกา เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อดังๆ ใหญ่ๆ ที่ขายกันส่วนมาก เขาจะนำเครื่องของตัวเองไป ทดสอบหาค่า CADR จากสถาบันที่น่าเชื่อถืออย่าง สถาบัน AHAM (Association of Home Appliance Manufacturers) * ใช่สถาบัน “ อะแฮ่ม ”  รึปล่าว ผมออกเสียงถูกรึปล่าวก้อไม่รู้

ถ้าใครอยากรู้ละเอียด ก็เชิญเข้าไปตรวจสอบ อ่านภาษาฝรั่งมังค่า ได้จากที่ Website  นี้เลยครับ http://ahamverifide.org/ahams-air-filtration-standards/

มีคำแนะนำ ปริมาณของค่า CADR ที่เหมาะสมกับขนาดห้องของคุณ โดยที่สถาบันอะแฮ่ม AHAM แนะนำว่าค่า CADR ควรจะมีค่ามากกว่า 2 ใน 3 ของพื้นที่ห้อง โดยให้เอาพื้นที่ของห้อง วัดออกมาหน่วยเป็นตารางฟุต (ft2) หารด้วย 1.5 ผลลัพท์คือค่า CADR ที่ควรจะได้นั่นเอง หรือหากกลับกันเอาค่า CADR คูณ 1.5 ผลลัพท์ก็จะเป็นขนาดพื้นที่ห้องที่ควรจะใช้  มีหน่วยเป็นตารางฟุต (ft2) แล้วนำมาแปลงเป็นตารางเมตร (m2) ด้วยการคูณ 10.764

จะบอกว่า ไอ้ค่า CADR ในเครื่องฟอกอากาศนี้มันจะมี 3 ค่าด้วยกัน คือค่าของฝุ่น ค่าของควันบุหรี่ และค่าของเกสรดอกไม้ ให้เราเอาค่าของควันบุหรี่มาคำนวณ เนื่องจากว่าควันบุหรี่ใช้เวลานานที่สุดในการฟอกอากาศ ตัวอย่าง CADR 3 ค่า ตามรูปด้านล่างครับ

ตัวอย่าง ค่า CADR ทั้ง 3 ค่าที่ผู้ขายบางยี่ห้อแสดงใว้ชัดเจน ให้ดูที่ค่า CADR การฟอกอากาศควันบุหรี่ เป็นสำคัญ

เราลองไปเดินๆ ดูเครื่องฟอกอากาศที่เขาวางโชว์ตามห้างสรรพสินค้า หรือตามที่มาออกบูธดูซิครับ เราจะไม่ค่อยเจอเครื่องฟอกอากาศที่ เปิดเผยตัวเองเรื่องค่า CADR แบบตามในรูปข้างบนหรอกครับ เพราะที่ผ่านมาผู้คนให้ความสนใจในเรื่องค่า CADR กันน้อยมาก บางเครื่องอาจจะมีบอกใว้เพียงค่าเดียวที่ฉลากด้านหลังเครื่อง ถ้าเห็นเพียงค่าเดียวให้อนุมานได้เลยว่าค่า CADR ที่เห็นนั้น ตือค่าควันบุหรี่

เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง มาตรฐานทางการแพทย์ สำหรับพื้นที่ขนาดกลาง ถึงใหญ่ ระบบ HEPA Filter + UVC

ทีนี้..ลองมายกตัวอย่าง การคำนวณค่า CADR ที่เหมาะกับห้องขนาด 25 ตารางเมตร

     เอาละ… เริ่มแรกให้แปลงตารางเมตร (m2) เป็นตารางฟุต (ft2) ก่อน ซึ่ง 1 ตารางเมตรเท่ากับ 10.764 ฟุต ดังนั้นจึงให้นำ 25 คูณด้วย 10.764 จะได้ผลลัพท์ = 269.1 ตารางฟุต (ft2) แล้วนำค่าที่ได้มาหารด้วย 1.5 ก็จะเท่ากับ 179.4 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (CFM) ซึ่งก็คือค่า CADR ที่เหมาะสมกับห้องขนาด 25 ตารางเมตรนั่นเอง โดยบางยี่ห้อเขาใจดี ก็แปลงหน่วยจาก ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (CFM) เป็นลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (M3/H) มาให้เราเรียบร้อยเลย

ส่งมอบเครื่องฟอกอากาศกำลังสูง Medical Grade แบบ H13 HEPA Filter ให้กับห้อง X-RAY และ Ultra Sound รพ.ของรัฐฯ

     แต่ๆๆๆ….มีตัวแปรสำคัญอันนึงที่สำคัญ นั่นคือค่า CADR นั้นถูกคำนวณมาภายใต้ พื้นฐานของห้องที่มีเพดานสูง 2.4 เมตร เป็นมาตรฐานในการคำนวณ (ที่ค่ามาตรฐาน ต้องเป็น 2.4 เมตรไม่ใช่ 2.5 เพราะว่าค่านี้มากจากองกรค์อะแฮ่ม (AHAM) ของอเมริกาที่เขาใช้สูตร 8 ฟุต แปลงเป็นเมตรตรงๆ เลย มันได้ประมาณ 2.4 เมตร) เนื่องจากปริมาตรเกิดจากความ กว้าง x ยาว x สูง ดังนั้นเมื่อรู้ความสูงจึงเหลือแต่พื้นที่ที่ต้องหา ซึ่งอะแฮ่ม (AHAM) ก็แนะนำว่าค่า CADR ควรจะมีค่ามากกว่า 2 ใน 3 ของพื้นที่ห้อง (อย่าลืมว่าภายใต้มาตรฐานว่าห้องสูง 2.4 เมตรนะ!! ถ้าห้องสูงเกินกว่านี้ต้องใช้ค่า CADR สูงกว่านี้) สรุปง่ายๆ ก็คือเอาพื้นที่ห้องเป็นตารางฟุต (ft2) หารด้วย 1.5 คือ CADR ที่ควรจะได้ หรือเราเอา CADR คูณ 1.5 ก็เป็นค่าพื้นที่ห้องที่ควรจะได้เป็นตารางฟุต (ft2) แล้วจากนั้นเราค่อยเอามาแปลงเป็นตารางเมตร (m2) โดยคูณ 10.764 

เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง Y-1000 (Medical Grade) นิยมใช้ในโรงพยาบาล

อย่างที่บอกใว้ครับ..บางยี่ห้อเค้าใจดี แปลงค่า CADR จากลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (CFM) มาเป็นลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (m3/h) มาให้ (แล้วมันจะแปลงมาทำไมว้า..) ก็คือเค้าเอา CADR ที่เป็น ลบ.ม.ต่อ ชม หารด้วย 12 ก็จะเป็นค่าพื้นที่เป็นตารางเมตรที่มากสุดของเครื่องฟอกอากาศที่เหมาะสมจะใช้ในห้องนั้น  เช่น พื้นที่ห้องอยู่ที่ 25 ตร.ม. ค่า CADR ก็ควรจะไม่ต่ำกว่า 25*12 = 300 เป็นต้นครับ

หมายเหตุ : ขอขอบคุณ แหล่งที่มา และ ข้อมูลอ้างอิง ครับ

ข้อมูลการเขียน บางอันผมก็ลอกเขามา บางอันก็ค้นหาจาก Website ฝรั่ง มาผนวกกับประสบการณ์ที่ทำงานกับบริษัทเครื่องมือแพทย์ และบริษัทฝรั่งงยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ ที่คิดค้นเครื่องปรับอากาศเป็นรายแรกของโลก (รวมๆ กันยี่สิบกว่าปี)

โปรดหาข้อมูลเพิ่มเติม อื่นๆ กันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

Climate Medical Safety by Life Protect

สนใจสอบถาม ปรึกษาเรื่องระบบปรับปรุงอากาศในสถานพยาบาล ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ

กัมปนาถ ศรีสุวรรณ

บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Office Tel. 029294345-6

Hotline : 097-1524554

email: LPCentermail@gmail.com

id Line : Lphotline

www.Lifeprotect.co.th

Posted on

HEPA FILTER คืออะไร ?

เริ่มต้นทำความรู้จัก HEPA FILTER

ด้วยสถานการณ์ โรค COVID-19 ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เกิดการแพร่ระบาดไปทั่วโลก แม้ ณ.วันนี้ วันที่ 17 ตุลาคม 2563 ตัวเลขการตรวจพบผู้ติดเชื้อในประเทศไทยถือว่าต่ำมาก ต่างจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีการติดเชื้อกันอย่างหนัก ด้วยเหตุนี้ ทำให้หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไป ต่างก็หาทางป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค โดยเฉพาะภายในอาคารสถานที่ต่างๆ ที่ต้องนำเอาอากาศสะอาด (Fresh Air) เข้ามาใช้หมุนเวียน เช่นภายในอาคาร บ้านเรือน สำนักงาน และโรงพยาบาล หรือแม้แต่คลินิกทางการแพทย์  จึงทำให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากในวงการระบบระบายอากาศ  (Air Ventilation System) และระบบการกรองหรือฟอกอากาศ (Air Purification System)  ทีนี้ในระบบการระบายอากาศ หรือการฟอกอากาศ ชัดเจนอยู่แล้วว่าการจะทำให้อากาศสะอาดได้นั้น มันก็ต้องมี ตัวกรอง (Filter) คำถามต่อไปเกิดขึ้นว่า…แล้วตัวกรอง หรือ Filter แบบไหนล่ะ ถึงจะกรองเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสในอากาศได้อย่างดีที่สุด มันก็เลยเกิดคำว่า “ เฮ็ปป้า ฟิลเตอร์ หรือ  เฮป้า ฟิลเตอร์ ” ( HEPA Filter )  ที่เราได้ยิน ได้เห็นกันบ่อยๆ ในช่วงนี้

H13 HEPA Filter สำหรับเครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก EOS
เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง ใช้ในทางการแพทย์ แบบเคลื่อนย้ายได้ (H13 HEPA FILTER + UV-C)

HEPA Filter คืออะไร

เฮ็ปป้า ฟิลเตอร์ (HEPA FILTER) คือ แผ่นกรองอากาศ ย่อมาจากคำว่า “ High Efficiency Particulate Air Filter = ตัวย่อ HEPA HEPA FILTER มีการใช้ในเชิงพานิชย์มาตั้งแต่ในปี 1950 HEPA FILTER จัดเป็น แผ่นกรองอากาศคุณภาพ ความละเอียดสูง มีประสิทธิภาพในการกรองอากาศมากว่าแผ่นกรองอากาศทั่วๆไป โดย HEPA FILTER ถักทอทำขึ้นมาจากเส้นใยไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) เส้นเล็กๆมากๆ ที่ถักทอไปมาแบบสุ่ม จัดเรียงกันอย่างไม่เป็นระเบียบ แต่ละเอียดยิบๆ จนทำให้มีเส่นผ่านศูนย์กลางของใยทอ 0.5 – 2.0 ไมครอน มีความความแน่น และมีความสามารถในการกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กมากๆ (Small Particles) และสามารถกรองอากาศ กรองฝุ่นผงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ่กรองเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส และ ละอองเกสรดอกไม้ ที่ล่องลอยในอากาศ ได้เป็นอย่างดี

กลไกหลักของ HEPA FILTER มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบคือ

  1. Interception จะเกิดขึ้นเมื่ออนุภาคสารปนเปื้อนผ่านในระยะที่เท่ากับรัศมีหนึ่งของอนุภาคของเส้นใย ทำให้อนุภาคสัมผัสกับเส้นใย และถูกจับออกจากการไหลของอากาศ ถ้าระยะของอนุภาคไกลเกินกว่ารัศมีอนุภาคจากเส้นใยจะไม่ถูกขัง
  2. Impaction เกิดขึ้นเมื่ออนุภาคที่มีขนาดใหญ่ไม่สามารถที่จะปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของอากาศเมื่อเข้าใกล้เส้นใยกรอง ทำให้ติดอยู่บนเส้นใย
  3. Diffusion ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของอนุภาคก๊าซ อนุภาคขนาดเล็ก (ปกติ 0.1 ไมโครเมตรหรือน้อยกว่า) มีแนวโน้มที่จะเดินทางไปในรูปแบบผิดปกติทำให้การเคลื่อนไหวแบบสุ่มที่ การเคลื่อนที่ที่ผิดปกตินี้ทำให้อนุภาคสารปนเปื้อนติดอยู่ในเส้นใย

ตัวอย่างเช่น เครื่องดูดฝุ่นในสมัยปัจจุบัน ใช้แผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER เป็นส่วนหนึ่งของระบบกรองฝุ่น เพราะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหอบหืด และโรคภูมิแพ้ ชุดกรอง HEPA FILTER จะทำการดักจับอนุภาคละเอียด เช่นละอองเกสร และฝุ่นที่เป็นอุจจาระจากตัวไรฝุ่น ซึ่งก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้และโรคหอบหืด สำหรับแผ่นกรอง HEPA FILTER ในเครื่องดูดฝุ่น มีการออกแบบให้เหมาะสมรูปทรงเข้ากับเครื่องดูดฝุ่นของแต่ละรุ่น เพื่อให้ฝุ่นที่อยู่ในอากาศที่ดูดเข้ามาในเครื่องจะผ่านตัวกรองนี้ แล้วทำการดักจับจะไม่ให้ฝุ่นละอองรั่วไหลผ่านออกไป แต่ถ้าไม่ใช้ HEPA FILTER คอยกรองไว้ เครื่องดูดฝุ่นบางเครื่องเวลาดูดฝุ่นเข้ามาแล้ว ฝุ่นยังคงมีการกระจายออกมานอกเครื่องดูดฝุ่นได้

H13 HEPA FILTER สำหรับเครื่องฟอกอากาศในห้องทันตกรรม

ประโยชน์ของแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER

ประโยชน์หลักๆ ของ HEPA FILTER คือความสามารถในการช่วยสร้างอากาศบริสุทธิ์ ด้วยการสกัดกั้นสารก่อภูมิแพ้ และสิ่งสกปรกที่ลอยอยู่ในอากาศ ไม่ให้เวียนกลับเข้าไปสู่บรรยากาศ ส่งผลดีให้กับผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และยังช่วยป้องกันการเกิดโรคที่อาจมีสาเหตุจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย อีกด้วย

จะบอกให้ว่า..การที่จะมาเป็น HEPA Filter นี้ ไม่ได้มาเป็นกันได้ง่ายๆนะครับ เพราะต้องได้มาตรฐานในการรับรองประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งถูกพัฒนาโดยกระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา (DOE) ซึ่งได้กำหนดว่า แผ่นกรองอากาศที่จะได้ชื่อว่าเป็นแผ่นกรองอากาศระดับ HEPA FILTER นี้ จะต้องมีความสามารถในการกรองฝุ่น และฝอยละอองที่มีขนาดอนุภาคใหญ่กว่า อนุภาคขนาด 0.30 ไมครอนได้ (จะต้องกรองอากาศ จากอากาศที่ผ่าน ได้ 99.97% ของอนุภาคที่มีขนาด 0.30 ไมครอน) ซึ่งมาตรฐานนี้ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยกระทรวงพลังงานของประเทศสหรัฐอเมริกา สรุปชัดๆ คือแผ่นกรองอากาศ ต้องสามารถกรองอนุภาคที่เล็กมากๆได้ในระดับที่เชื้อโรคต่างๆ เช่นเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ต่างๆ ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ เมื่อถูกระบบดูดอากาศ ของเครื่องฟอกอากาศดูดเข้ามาผ่านกรองอากาศ HEPA FILTER นี้แล้ว เชื้อโรคต่างๆ จะไม่สามารถเล็ดลอดผ่านแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER ออกไปข้างนอกได้ จะมีแต่เพียงอากาศที่สะอาดเท่านั้น ที่สามารถผ่านแผ่นกรองอากาศระดับ HEPA นี้ออกไปได้เท่านั้นครับ

ดังนั้นจึงชัดเจนว่า ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER แล้วล่ะก็  มันสามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ ฝุ่นละอองละเอียดที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ( ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ปกคลุมกรุงเทพฯ อยู่นาะแหละ ) ได้อย่างจริงแท้ และแน่นอน  ซึ่งแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER ในปัจจุบัน ได้ถูกนำมาใช้กับในหลายวงการ หลายสถานที่ ไม่ว่าจะเป็น ใช้ภายในบ้านพักอาศัย ใช้ในออฟฟิศสำนักงาน ใช้ในระบบการขนส่งมวลชนที่มี Transaction ของผู้คนเข้าออก หรือแออัดอยู่กันเยอะๆ เช่นบนรถไฟฟ้า , ห้องโดยสารของสายการบิน, การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า, การผลิตยา และที่สำคัญ ได้ถูกนำมาใช้ในวงการวิทยาศาสตร์ , ชีวการแพทย์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างแพร่หลาย เช่นใช้ใน FUME Hood ตู้ดูดไอสารเคมีในห้อง Lab วิทยาศาสตร์ , ใช้ในโรงพยาบาล , ใช้ในห้องแยกโรค COHORT WARD , ใช้ในห้องทันตกรรม คลินิกศัลยกรรมความงามต่างๆ ที่ต้องการความสะอาด เพื่อปลอดเชื้อโรคให้ได้มากที่สุดนั่นเอง

HEPA FILTER มีหลายขนาด เลือกใช้ให้เหมาะสมกับเครื่อง

แผ่นกรองอากาศ HEPA Filter มีกี่ชนิด

อย่างที่บอกครับ ว่าการจะมาเป็น HEPA Filter ไม่ได้มาเป็นได้ง่ายๆ หรือ Spec ของแผ่นกรองอากาศ ที่ขึ้นชื่อว่าจะสามารถเป็น แผ่นกรองอากาศระดับ HEPA FILTER ได้นั้น จะต้องมีความสามารถในการกรองฝุ่นละเอียด ที่มีขนาดที่ใหญ่กว่า 0.3 ไมครอน แต่ในความเป็นจริงแล้ว แผ่นกรองอากาศระดับ HEPA FILTER นั้น ก็ยังมีรายละเอียดยิบย่อยอื่นๆ อีกมากมาย อย่างเช่นมาตรฐานของ EU : EN779 ก็ได้แบ่งระดับของ HEPA ออกไปอีก 5 ระดับ ได้แก่

  • ระดับ E10 Class : หรือ E10 HEPA Filter สามารถกรองฝุ่นละอองได้ 85% (ฝุ่นละออง มีโอกาสเล็ดลอดผ่านกรองออกไปได้ 15%)
  • ระดับ E11 Class : หรือ E11 HEPA Filter สามารถกรองฝุ่นละอองได้ 95% (ฝุ่นละออง มีโอกาสเล็ดลอดผ่านกรองออกไปได้ 5%)
  • ระดับ H12 Class : หรือ H12 HEPA Filter สามารถกรองฝุ่นละอองได้ 99.5% (ฝุ่นละออง มีโอกาสเล็ดลอดผ่านกรองออกไปได้ 0.5%)
  • ระดับ H13 Class : หรือ H13 HEPA Filter สามารถกรองฝุ่นละอองได้ 99.95% (ฝุ่นละออง มีโอกาสเล็ดลอดผ่านกรองออกไปได้ 0.05%)
  • ระดับ H14 Class : หรือ H14 HEPA Filter สามารถกรองฝุ่นละอองได้ 99.995% (ฝุ่นละออง มีโอกาสเล็ดลอดผ่านกรองออกไปได้ 0.005%)
การใช้ HEPA FILTER ในเครื่อง Fan Filter Unit (FFU) ดูดอากาศเข้าห้อง Clean Room

การดูแลรักษาแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER  

            โดยปกติแล้วกรองอากาศ HEPA FILTER ถ้าใช้งานแบบบ้านๆ ทั่วไป มีอายุการใช้งาน 4-5 ปี ตามแต่รุ่น (ให้ดูตามคู่มือการใช้งานของเครื่องที่ซื้อมา) แต่เราก็สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานมันได้บ้างนิดหน่อยโดยการหมั่นนำออกมาทำความสะอาด ข้อควรระวังคือ แผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER ทำมาจากเส้นใยไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) มันจึงแพ้น้ำ แพ้ความชื้น ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงที่จะให้มันโดนความชื้น หรือน้ำ เพราะความชื้นและน้ำ อาจจะเข้าไปกัดกร่อนเส้นใย Fiberglass หรือส่วนประกอบภายในอื่นๆ ของแผ่นกรองได้ ทางที่ดีควรใช้วิธีการนำเครื่องดูดฝุ่น มาดูดทำความสะอาด หรือใช้แปรงขนนุ่มๆ ทำความสะอาดในการปัดฝุ่นที่อยู่ในร่องให้ออกมา แล้วเคาะเบาๆ ให้เศษฝุ่นหลุดออกมาจากตัวแผ่นกรอง จะดีกว่า แต่ถ้าหากเครื่องฟอกอากาศตัวนั้น ถูกใช้งานอย่างสม่ำเสมอ ควรจะเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER ตามที่กำหนดใว้ในคู่มือการใช้งานของเครื่อง หรือทุกๆ 1 -2 ปี (ตามความเหมาะสม ความหนักของการใช้งาน) เพื่อให้ HEPA FILTER กรองอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดครับ

H13 HEPA FILTER สำหรับเครื่องฟอกอากาศ

จากการรวบรวมข้อมูลของผู้เขียน หว้งว่า คงจะได้ทำความเข้าใจ ได้รู้จัก HEPA FILTER กันไปพอสมควรนะครับนะครับ ในปัจจุบันนี้ยังมีเทคโนโลยี FILTER ชั้นสูงที่กรองอากาศได้ละเอียดยิบๆ กว่า HEPA FILTER อีก นั่นคือ ULPA (Ultra-Low Particulate Air) โดย Filter พวกนี้จะมีความสามารถในการกรองอนุภาคขนาด 0.12 Micron ได้ที่ 99.999995% หรือพลาดแค่ 0.000005% เท่านั้น ULPA FILTER ราคาสูงกว่า HEPA มั่กๆแน่นอน เพราะมันเหมาะสำหรับใช้ในการทำงานที่ต้องการความสะอาดสูงมาก ๆ เช่นห้องปฏิบัติการบางประเภท (ทั้งป้องกันอากาศภายนอกเข้าไปปนเปื้อน และ ไม่ให้อากาศปนเปื้อนข้างในออกมา) หรือพวก Cleanroom ที่ต้องการอากาศสะอาดสูงสุด เขาก็จะใช้ ULPA FILTER กัน เอาใว้มีโอกาศ ผมจะมาเขียนเรื่อง ULPA ให้อ่านอีกครั้งครับ สำหรับวันนี้ ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันครับ

FAN FILTER UNIT สำหรับดูดอากาศเข้าห้อง Clean Room พร้อมกรองอากาศด้วย HEPA FILTER

ยินดีให้คำปรึกษาเรื่อง ระบบดูดอากาศ และ ระบบฟอกอากาศสำหรับห้องทันตกรรม ตามแบบปรับปรุง ก.45 เมย.63 กองแบบแผน กรม สบส. ครับ

กัมปนาถ ศรีสุวรรณ Tel. 097-1524554

id Line : Lphotline

email: LPCentermail@gmail.com

บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Office Tel. 02-9294345 -6

Posted on

แบบปรับปรุงห้องทันตกรรม (แบบ ก.45 /เม.ย./ 63) มีจุดสำคัญตรงไหน? ผู้รับเหมามาดูกัน !!

** บทความนี้ เป้นความคิดเห็นแนะนำส่วนตัว จากการอ่าน TOR อย่านำความคิดเห็นจากผู้เขียนไปเป้นแนวทางปฏิบัติ ในการทำงานจริง ท่านควรตรวจสอบ สอบถามกับเจ้าของงาน ผู้กำหนด TOR และทำให้ตรงกับข้อกำหนดใน TOR นั้น

สำหรับพี่น้อง ผู้รับเหมา ณ.ตอนนี้ ที่กำลัง Hot สุดๆ คือ งานปรับปรุงห้องทันตกรรม ในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ให้เป็นไปตามแบบ ก.45 /เม.ย. 63 เอาล่ะซิ !! แล้วไอ้แบบ ก.45 ตัวนี้มันคืออะไร ? มันสำคัญตรงไหน ?

แบบ ก.45 เม.ย. 63 คือ แบบปรับปรุงห้องทันตกรรม เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 และ แบบปรับปรุงห้องทันตกรรมทั่วไป ที่กำหนดให้ใช้กับโรงพยาบาลของรัฐ (โรงพยาบาลเอกชนก้แอบปรับปรุงทำแะเขาด้วยนะ ขอบอก) เอาล่ะ แนะนำให้อ่านเรื่องราวต่อไปนี้ให้จบ แล้วท่านจะพบว่า ปรับปรุงห้องทันตกรรมส่งงานให้ผ่าน ง่ายนิดเดียว

ข่าวประชาสัมพันธ์ ในวงการทันตแพทย์

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เผย แบบปรับปรุงห้องทันตกรรมเพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 และแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมทั่วไป

แบบปรับปรุงห้องทันตกรรม เอกสารเลขที่ ก.45 เม.ย.63

กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข จัดทำแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมเพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 และแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมทั่วไป เพิ่มความมั่นใจให้กับทันตแพทย์ และผู้รับบริการในโรงพยาบาล

          นายแพทย์ธเรศ  กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า โรงพยาบาลภาครัฐมีห้องแผนกต่างๆ ในการรองรับผู้ใช้บริการ  โดยบริเวณห้องต้องมีการทำความสะอาดและมีห้องที่ใช้ในการรักษาทำหัตถการจะต้องปลอดเชื้อ เช่นเดียวกับห้องทันตกรรม ที่มีเครื่องมือที่ใช้ในการทำหัตถการบริเวณช่องปาก อาจมีฝอยละอองฟุ้งกระจาย น้ำลาย ทำให้เกิดความไม่มั่นใจต่อทันตแพทย์ และผู้รับบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ส่งผลกระทบในการใช้บริการทางทันตกรรม ดังนั้น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยกองแบบแผน จึงได้จัดทำต้นแบบ        แบบปรับปรุงระบบปรับอากาศและระบายอากาศห้องทันตกรรม ด้วยการออกแบบที่ใช้ห้องทันตกรรม       ที่มีอยู่เดิม โดยให้ความสำคัญกับระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ดัดแปลงห้องด้วยอุปกรณ์ที่หาได้ และมีประสิทธิภาพ โดยเน้นถึงความสะอาด อากาศบริสุทธิ์ มีการไหลเวียนภายในห้องได้ดี ไม่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ เพิ่มความมั่นใจให้กับทันตแพทย์ และผู้รับบริการ

          นายแพทย์ประภาส  จิตตาศิรินุวัตร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า

แบบปรับปรุงระบบปรับอากาศและระบายอากาศห้องทันตกรรม มี 2 รูปแบบ คือ

1) แบบเอกสารเลขที่ ก. 44 ออกแบบสำหรับการรักษาทางทันตกรรมให้แก่ผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 หรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ และผู้ป่วยกรณีเร่งด่วนที่ไม่ผ่านการคัดกรอง โดยห้องดังกล่าวถูกออกแบบโดยใช้หลักการ Modify AIIR (ห้องความดันลบ) ใช้การกรองอากาศที่มี HEPA FILTER ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยหลอด UVC ก่อนนำทิ้งนอกอาคาร มีการเติมอากาศ 100 % fresh air และมีอากาศถ่ายเทมากกว่าหรือเท่ากับ 12 ACH ( ACH คือ จำนวนรอบของการไหลเวียนอากาศผ่านเครื่องฟอกอากาศครบทั้งปริมาตรของห้องที่แนะนำ)

2) แบบเอกสารเลขที่ ก.45 ออกแบบสำหรับการรักษาทางทันตกรรมให้แก่ผู้ป่วยทั่วไปที่ผ่านการคัดกรอง ตรวจ หรือ กักตัว และผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าสามารถให้ทำทันตกรรมได้ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ          

2.1 TYPE A มีการระบายอากาศ และฟอกอากาศด้วย HEPA FILTER รวมกัน 24 ACH

แบบปรับปรุงห้องทันตกรรม TYPE A

2.2 TYPE B มีการระบายอากาศ และฟอกอากาศด้วย HEPA FILTER รวมกัน 12 ACH ข้อดีของแบบปรับปรุงดังกล่าว คือ ติดตั้งง่าย สามารถดัดแปลงพื้นที่โดยไม่กระทบพื้นที่เดิมมาก สำหรับการทำหัตถการในห้องทำทันตกรรม บุคลากรทางการแพทย์จะต้องสวมหน้ากาก N95 ทุกครั้ง และมีการทำความสะอาดเครื่องมือ ฆ่าเชื้อ บำรุงรักษาเครื่องมือให้พร้อมใช้ โดยแบบปรับปรุงห้องทันตกรรม มีโรงพยาบาลสนใจนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงห้องทันตกรรมให้เหมาะสมและป้องกันกับสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ในปี 2564 นี้มากมายหลายโรงพยาบาล

แบบปรับปรุงห้องทันตกรรม TYPE B

เอาล่ะ ..มาเข้าเรื่องที่จะต้องหาของมาทำห้อง และส่งงานกัน !!

เริ่มจาก จุดที่ 1 ที่พี่น้องผู้รับเหมาโดนดอกแรก

การเติมอากาศสะอาดเข้าห้องทันตกรรม ทางกองแบบแผน กำหนดให้ใช้ Fan Filter Unit (FFU) ที่มี Pre Filter ระดับ Merv 7 และมี H13 HEPA Filter ประกอบอยู่ในชุดเดียวกัน และ ตัวเครื่องต้องเป็นเหล็กชุบ Galvanize หรือ เหล็กพ่นสีสวยงาม ขนาด (พี่น้องโดนเข้าไปดอกนึง เพราะ FFU ของห้อง Clean room ตัวนึงก็ปาเข้าไป สองหมื่นกว่า แถมขนาดเล็กสุดที่มีในตลาด FFU Clean room ก็ขนาด 2 Feet x 2 Feet ( 60 cm. x 60 cm.) ใหญ่เบิ้มๆ เลย จะให้มายัดลงท่อ Duct 5″ x 5″ ที่ให้ราคากลางค่าวัสดุมาตารางฟุตละ 19 บาทได้ยังไง ? อันนี่ไม่ยาก ตรงนี้ จบได้ด้วย Fan Filter Unit (FFU) จากบริษัท ไลฟ์โพรเทค จำกัด ที่มีขนาดเล้ก เข้ากับ spec ของท่อ DUCT ได้ ติดตั้งเข้าใต้ฝ้าได้ น้ำหนักเบา และ ไส่ Pre Filter + H13 HEPA Filter มาให้เรียบร้อยจากโรงงาน แบบจบๆ ในราคาผู้รับเหมา

Fresh Air Intake FAN FILTER UNIT (FFU) Pre Filter & H13 HEPA Filter (Medical Grade)
เครื่องฟอกอากาศสำหรับห้องทันตกรรม ฝีมือคนไทย สนับสนุน ว.89

จุดที่ 2 ที่พี่น้องผู้รับเหมารายย่อย โดนเข้าไปอีกดอกนึง

นอกเหนือจากงานย้ายตำแหน่งเครื่องปรับอากาศตัวเก่าแล้ว…อีกจุดนึงที่โดนกันก็คือ เครื่องฟอกอากาศ เพราะ Spec กองแบบแผนเขียนมาว่า ตัวเครื่องต้องเป็นเหล็ก ชุบ Galvanize หรือเป็นเหล็ก พ่นทำสีสวยงาม มี Pre filter และ H13 HEPA Filter และต้องมีกำลังลม (ค่า CADR) ไม่ต่ำกว่า 180 cfm ในห้อง Type B และ 420 cfm ในห้อง Type A (ยุ่งละซิ…ทีนี้ เครื่องฟอกอากาศที่เจอในท้องตลาด ตัวถังที่เจอมาส่วนฝหญ่ทำด้วยพลาสติก ABS ทั้งนั้น แถมค่า CADR ก็ต่ำเตี้ยเหลือเกิน ไอ้ตัวที่เป็นเหล็ก ที่ค่า CADR สูงๆ ก็โคตะระ จะแพง) ข้อนี้จบได้เพียงท่านโทรมาหาเรา หรือ add Line id: Lpcontact แล้วทักมา !! เรามีเครื่อง Body เหล็ก ค่า CADR สูงๆ มาให้พิจารณากันก่อนรับงาน

เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง H13 HEPAFILTER สำหรับงานปรับปรุงห้องทันตกรรม

จุดที่ 3 ดอกสุดท้าย ที่พี่น้องผู้รับเหมารายย่อย สับสน และผมเองก็งุนงง

จุดนี้คือเรื่องของการดูดอากาศออก Exhaust Air ทางกองแบบแผนฯ วาดภาพใว้ให้ดูว่า อากาศภายในห้องทันตกรรม ที่ผ่านการฟอกทำความสะอาดอากาศแล้ว ท่อทางดูดออก พัดลมดูดอากาศออก Exhaust Air ไม่ได้ระบุใว้ว่าต้องเป็น FFU Fan Filter Unit ถ้าอย่างนั้น อันนี้ถ้าแกะ Wording กันคำต่อคำ บรรทัดต่อบรรทัด ก็ไม่พบระบุว่า ท่อทางพัดลมดูดอากาศออก Exhaust Air จะต้องต้องมี Filter ดังนั้น ถ้าคิดเข้าข้างตัวเอง Exhaust ก็ไม่ต้องมี HEPA FILTER ถ้างั้น พัดลมดูดอากาศ แบบมีข้อต่อสำหรับต่อกับท่ออากาศออก จำพวก Mitsubishi model. VD-15Z4T6  ก็ต้องใช้ได้ซิ และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหน้าพัดลม ก็ 6″ พอดี เอาไปชนท่อ Duct ใช้ได้เลย ประหยัดต้นทุนเราได้อีก (แต่ถ้าใน TOR ระบุชัดเจนว่า Exhaust Air ต้องเป็น Fan Filter Unit ก็ใส้แตกกันไป )

รูปแสดงตัวอย่างพัดลมดูดอากาศ Exhaust ออกจากห้องทันตกรรม

พี่น้องผู้รับเหมางานปรับปรุงห้องทันตหรรม คงจะมองภาพออกกันแล้วนะครับ หากมีข้อสงสัยสามารถโทรศัพท์มาถาม ได้ที่เบอร์ 063-7855159 หรือ Add Line id : Lpcontact ทักทายกันมา ยินดีแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์กันครับ

หมายเหตุ : โรงพยาบาลภาครัฐ หรือหน่วยงานที่สนใจ สามารถดูรายละเอียดแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมเพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 และแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมทั่วไป ได้ทางเว็บไซต์กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (dcd.hss.moph.go.th) หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หมายเลขโทรศัพท์ 02-1937006 ในวันและเวลาราชการ

ข้อมูลจาก สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปากทางทันตกรรม (EOS) ช่วยปกป้องหมอฟัน และผู้ช่วยฯ จากละอองทันตกรร

กัมปนาถ ศรีสุวรรณ T.097-1524554

id Line: Lphotline

Posted on

รู้มั้ยว่า “เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก” กับ “เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด” ต่างกันยังไง ?

ที่ใช้ๆ วัดไข้กันอยู่ รู้มั้ยว่า “เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก” กับ “เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด” มันต่างกันยังไง ?

หมายเหตุ: บทความนี้ จัดทำขึ้นมาเพื่อแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับ Infrared Thermometer / Non Contact Thermometer

วันนี้ 4 กันยายน 2563 ได้ทราบข่าว คุณ DJ ที่เข้าเรือนจำคลองเปรม ตรวจพบว่าติดเชื้อ COVID-19 หลังจากที่เราไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศไทยมา 101 วัน พอดู Time Line การเดินทางของพี่ DJ แล้วก็นึกถึงว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราลั้ลลากันมา 101 วัน การ์ดตกกันไปเยอะ คราวนี้ก็คงถึงเวลา ยกการ์ด ใส่หน้ากาก ล้างมือ กินร้อน ช้อนกู รักษาระยะห่าง Social Distancing ยิงหน้าผากด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิ กันอีกรอบแล้ว

มาวันนี้ 21 ธันวาคม 2563 มาใหม่อีกแล้ว จังหวัดสมุทรสาคร Lock down แรงงานต่างด้าวติดเชื้อกันทะลุ แปดร้อยกว่าคน !!

ได้เวลายกการ์ด….หาของป้องกัน คัดกรองเชื้อโรคกันอีกแล้วซินะ

         พูดถึงไอ้เครื่องยิงหน้าผากวัดไข้ ที่โดนจ่อยิงเวลาเข้าร้านสะดวกซื้อต่างๆ  บางวันวัดไข้แล้วตัวเย็น บางวันวัดแล้วตัวร้อนซะงั้น วัดอุณหภูมิแต่ละที่ทำไมไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากันเลย งงมาก จะเชื่อถือได้มั้ยเนี่ย !!

K3 Non-Contact Infrared Thermometer

         ผลพวงมาจากในช่วงที่โรค COVID-19 ระบาดรอบแรก พวกเราก็ตกใจตื่นตัวกัน หน่วยงานต่างๆ ก็ไปตระเวนหาซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิ มาให้เจ้าหน้าที่ใช้จ่อหน้าผากคนที่มาเข้าออกสถานที่ในความรับผิดชอบกันเป็นอย่างเอาจริงเอาจัง จนไอ้เจ้าเครื่องยิงหน้าผากวัดไข้เนี่ยขาดตลาด ของในไทยขาดตลาด แถมเมืองจีนก็โรคระบาดหนัก โรงงานปิดผลิตไม่ได้ ยิ่งทำให้ไม่มีของ นาทีนั้นใครมีของใว้ใน Stock นี่ถือว่าเป็นพระเอกมากๆ เรียกราคาได้ พอเมืองจีนเริ่มกลับมาผลิตได้ ราคาก็ถีบตัวขึ้นไปแพงมากๆ จนจับต้องแทบไม่ไหว คนขายใจร้ายบางรายก็ดันไปเอา Infrared Thermometer ของปลอมแบบที่ใช้วงจรสุ่ม Random ตัวเลขอุณหภูมิหลอกๆ มาขาย ตามที่เป็นข่าวในสื่อต่างๆ มีผู้ที่หลงซื้อไปด้วยความไม่รู้ก็หลายราย  

        ผมนี้โชคดี การทำงานที่ผ่านมาของผม ทำให้ได้คลุกคลี ทั้งวงการเครื่องมืออุตสาหกรรม วงการเครื่องมือแพทย์ วงการรักษาความปลอดภัย และงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ก็เลยพอจะมีความรู้ในสิ่งที่มันเกี่ยวเนื่องกัน…วันนี้ก็เลยจะมาเล่าให้ฟังแบบง่ายๆ แบบชาวบ้านๆ ถึงเรื่องเครื่องวัดอุณหภูมิ Non Contact Infrared Thermometer และตัว IR Infrared Thermometer ที่เราเอามาใช้วัดไข้ คัดกรองผู้อาจติดเชื้อ COVID-19 ตัวร้อนเป็นไข้ กันอยู่ครับ

        เครื่องวัดอุณหภูมิที่เราเห็น และนำมาวัดไข้กันทุกวันนี้มันมีหลากหลายแบบ แต่ที่มีคนซื้อหามาใช้กันมากๆ มันมีอยู่ 2 แบบ แต่ด้วยความตระหนกตกใจที่เกิดจากการระบาดของโรครอบแรก เลยแห่ไปซื้อกันมาใช้ ก็ไม่รู้ว่าแบบที่ซื้อมามันถูกหลักการทำงานหรือเปล่า มันควรเอามาวัดไข้กันจริงๆ ใช่มั้ย ?  เอาละ การระบาดรอบใหม่ จะเกิดขึ้นหรือเปล่าไม่รู้ เผื่อว่าท่านผู้อ่าน อาจจะใช้ความรู้ที่ได้จากบทความนี้ ไปพิจารณาเลือกใช้เครื่องวัดอุณหภูมิได้ถูกต้องครับ

K3 Non Contact Infrared Thermometer ใช้วัดอุณหภูมิร่างกาย ทางฝ่ามือ และหน้าผาก (การวัดอุณหภูมิที่ดีควรวัดที่หน้าผาก)

       หลักการทำงานของเครื่องวัดอุณหภูมิ ถ้าเป็นชนิดมือถืออันเล็กๆ สีขาว ขอบสีฟ้า ขอบสีชมพู ขอบสีเขียว แบบที่เราเห็นกันบ่อยๆ ในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 รอบแรก ไอ้แบบที่พนักงานเซเว่น อีเลฟเว่น ใช้จ่อหน้าผากเราก่อนเข้าร้าน หรือ เครื่องวัดอุณหภูมิแบบด้ามเหลืองๆ หรือตัวเหลืองขอบดำ หรือตัวสีดำๆ แบบที่พวกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้ง 2 แบบนี้ใช้หลักการทำงานเดียวกัน โดยใช้ระบบตรวจจับ นับค่าปริมาณรังสีอินฟราเรดที่แผ่ออกมาจากวัตถุ ครับ

ทีนี้เรามาดูรูปลักษณ์ ที่จริงเขาก็ผลิตแยกมาให้เห็นความแตกต่างชัดเจนครับ ตามภาพ

Non Contact Infrared Thermometer เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้

       เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก (Infrared Non Contact Thermometer) แบบตัว สีขาวขอบฟ้า หรือขอบม่วง ฯลฯ อันนี้แหละใช้งานทางการแพทย์ ใช้วัดไข้ เมื่อเอามาวัดอุณหภูมิที่หน้าผาก เครื่องจะวัดได้อุณหภูมิแกนกลางร่างกาย และเครื่องจะมีระบบคำนวณสมการ สามารถแยกแยะได้ ไม่ว่าจะวัดอุณหภูมิร่างกายขณะอยู่ในห้องแอร์ หรือนอกห้องแอร์ มันสามารถคำนวณให้ได้ (แต่อย่าไปวัดกลางแจ้งนะ เพราะระบบคำนวณมันจะเอ๋อๆ เพี้ยนๆได้) การใช้งานก็แค่เอาไปจ่อหน้าผากใกล้ๆ แล้วบีบปุ่มกดทีด้าม โดยเครื่องจะล็อคค่า Emissivity* การตรวจวัด ไว้ให้เหมาะสมกับคน ที่ 0.98 + – 0.02 และมีค่าความคลาดเคลื่อนของอุณหภูมิไม่เกิน + – 0.3 องศาเซลเซียส สามารถตั้งค่าการวัดอุณหภูมิ ได้ที่ช่วง 30 – 40 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าหากตรวจพบผู้ตัวร้อนเกินช่วงอุณหภูมิที่กำหนดตั้งค่าไว้ เช่นตั้งไว้ 37.5 องศาเซลเซียส ถ้าเครื่องตรวจพบผู้ที่อุณหภูมิสูงกว่าที่ตั้งไว้มันก็จะร้องเตือน และมีแสงสีกระพริบที่หน้าจอแสดงผล (การใช้งานควรหยุดพักเครื่องบ้าง ถ้าใช้งานถี่ๆ หนักๆ ระบบเครื่องอาจจะเอ๋อๆ ได้)

*Emissivity คือ ความสามารถในการสะท้อน รังสีอินฟราเรดของวัตถุ โดยผิวหนังมนุษย์จะมีค่า Emissivity = 0.98

Infrared Thermometer กับ Infrared Thermal Camera มันคนละอย่างกันนะ

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดสำหรับอุตสาหกรรม (Infrared Thermometer IR) แบบตัวสีเหลืองๆ หรือเหลืองปนดำ หรือตัวสีดำๆ บางตัวก็ตัวเล็กๆ บางตัวมันก็จะใหญ่ๆหน่อย ตัวแบบนี้ราคาแพงมากๆ ด้วยนะ มันเหมาะสำหรับงานใช้วัด วัสดุพื้นผิวด้านอุตสาหกรรม หรือไว้ส่องความร้อนของเครื่องจักร มอเตอร์ หรือเพลาขับ ที่กำลังหมุน ที่กำลังทำงานแล้วอาจเกิดความร้อน เครื่องแบบนี้สามารถวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ – 20 องศาเซลเซียส ไปจนถึง 300 องศาเซลเซียส ในตอนนั้นที่โรค COVID-19 ระบาดรอบแรก ตัวเครื่องวัดอุณหภูมิแบบ Non Contact Thermometer ทางการแพทย์ขาดตลาด  ก็มีหน่วยงาน และอาคารสำนักงาน ห้างร้านจำนวนมาก ได้ซื้อเครื่อง IR In frared Thermometer แบบนี้ นำไปใช้วัดไข้แก้ขัด แบบขอให้มีใช้ตามมาตรการป้องกันฯ ไปก่อน อันที่จริงผิดครับ มันใช้วัดอุณหภูมิผิวหนังได้ก็จริง แต่มันใช้วัดไข้ไม่ได้ครับ ค่าความคลาดเคลื่อนมันเยอะ ถ้ามีไข้มันบอกไม่ได้นะครับ เอาเครื่องแบบนี้ไปใช้วัดในห้องแอร์แบบที่ห้างดังกลางกรุงใช้อยู่ หรือจะใช้วัดนอกห้องแอร์ มันก็วัดให้ได้ทั้งนั้นแหละครับ แต่มันเพี้ยนเยอะ มันไม่แม่นยำ เครื่องแบบนี้ เอามาใช้วัดห่างๆ หน้าผากก็ยังไดครับ บางสถานที่ใช้ไอ้เครื่องสีเหลืองตัวใหญ่ๆ หรือสีดำตัวใหญ่ๆ ที่ใช้ตั้งบน Tripod 3 ขา ตั้งส่องคนเดินเข้าห้างเลยก็มี เครื่องแบบนี้ มันมีเลเซอร์กะระยะ ยิงออกไปด้วยนะ เล็งยิงส่องนำทางไปที่จุดที่ต้องการวัดอุณหภูมิได้เลย (แต่มันไม่ควรมาใช้กับคน) เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดสำหรับอุตสาหกรรมนี้ สามารถตั้งค่า Emissivity ได้ตั้งแต่ 0.10-1.00 ซึ่งนั่นทำให้สามารถใช้วัดวัสดุได้หลายอย่าง แต่มันจะไม่มีความละเอียด มันมีค่าความคลาดเคลื่อนของอุณหภูมิ ถึง + – 2 องศาเซลเซียส (คลาดเคลื่อนเยอะมาก ไม่แม่นยำแบบนี้วัดไข้ไม่เจอแน่นอน) และในการใช้เครื่อง Infrared Thermometer แบบใช้ในอุตสาหกรรมนี้ ส่องหน้าผาก แล้วพบว่ามีผู้อุณหภูมิสูงเกินกว่าที่กำหนด เครื่องแบบนี้มันก็ไม่ได้แจ้งร้องเตือนอะไรนะครับ ผู้ใชงานต้องคอยดูหน้าจอ ดูตัวเลขอุณหภูมิเอาเอง (ก็เพราะมันไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้วัดไข้นี่นา) แต่ข้อดีของมันคือตัวเครื่องมันอึด ถึก ทนมากๆ ครับ เพราะมันเป็นเครื่องเกรดอุตสาหกรรม มันทน มันอึด ใช้งานทั้งวันก็ไม่เป็นไร

ได้อ่านมาจนจบถึงตรงนี้แล้ว ทีนี้เราก็ต้องมาเลือกใช้เครื่องมือให้ถูกต้องกันล่ะครับ

การวัดไข้ที่จะให้แม่นยำถูกต้อง เราก็ควรเลือกใช้เครื่องมือให้ถูกกับงาน ไม่เช่นนั้นเราก็อาจจะไม่รู้ว่า คนที่เดินเข้ามาให้ยิงหน้าผาก มีไข้ หรือ ไม่สบายรึปล่าว

(ในวันหน้า ผมจะมาเล่าเรื่องความแตกต่าง ระหว่าง Infrared Thermal Thermometer กับ Infrared Thermal Camera อีกทีครับ)

กัมปนาถ ศรีสุวรรณ (4/09/2563)

บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Hotline : 097-1524554 id Line: Lphotline

Office : 02-9294345 Fax. 02-9294346

email : LPCentermail@gmail.com

ส่งมอบและแนะนำการใช้งาน K3 Non Contact Thermometer สินค้ารับประกัน 1 ปี และสามารถออกใบกำกับภาษีได้
เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศด้วยแสงรังสี UV-C ” Philips ” รุ่น Upper Air Ceiling Type ติดตั้งในร้านกาแฟ
Posted on

เครื่องฟอกอากาศแบบ Electrostatic (Electronic Collecting Cell) คืออะไร

หมายเหตุ: เครื่องฟอกอากาศระบบ Elec­tro­sta­tic (Electrostatic Precipitator ESP) หรือที่เรียกว่าการทำงานด้วยระบบ Electronic Collecting Cell เป็นครุภัณฑ์ ที่มีข้อกำหนดและคุณสมบัติ บรรจุอยู่ในบัญชีครุภัณฑ์ ราชการ

ระบบฟิลเตอร์กรองอากาส Electronic Collecting Cell หรือ Electrostatic Precipitator (ESP)

เป็นระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมานานแล้ว ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นระบบ HEPA FILTER ในปัจจุบัน

รูปตัวอย่างเครื่องฟอกอากาศระบบ Electronic Collecting Cell แบบใส้กรอง Filter ถอดล้างได้ รุ่น KJ600D-X10

เครื่องฟอกอากาศ แบบ Electrostatic Precipitator (ESP) Filter หรือที่เรียกอีกแบบนึงว่า Electronic Collecting Cell เป็นระบบกรองอากาศที่ทำงานโดยใช้หลักไฟฟ้าสถิต ด้วยการปล่อยประจุไฟฟ้าลบ ออกมาจับฝุ่นละอองหรืออนุภาคขนาดเล็กที่เป็นประจุบวกให้เป็นกลุ่มก้อน เพื่อทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นแล้วตกลงสู่พื้น ไม่ลอยฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ และ เป็นระบบฟอกอากาศ ที่ไส้กรองสามารถถอดล้างทำความสะอาดได้บ่อยครั้งตามที่ต้องการ จึงไม่เป็นที่สะสมของสิ่งสกปรกและเชื้อโรค อีกทั้งยังช่วยประหยัดวัสดุสิ้นเปลืองช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยน Filter อีกด้วย จึงได้รับการขึ้นบัญชีจากกรมบัญชีกลาง เป็นครุภัณฑ์ ระบบเครื่องฟอกอากาศ สำหรับติดตั้งใช้งานในหน่วยงานราชการ อาคารสำนักงาน สถานพยาบาล ศูนย์บริการสุขภาพ และโรงพยาบาลต่างๆ ของรัฐฯ มานาน

* แต่ในปัจจุบัน ในประเทศไทยเรา มีทั้งภาวะฝุ่นพิษ PM2.5 และโรคระบบทางทางเดินหายใจ เช่น โรค Covid-19 เกิดขึ้น เครื่องฟอกอากาศที่ใช้ระบบกรองแบบ Electronic Collecting Cell หรือ ESP ไม่สามารถป้องกันได้ จึงต้องมีการเพิ่มชุดกรองอากาศแบบ H13 HEPA Filter ซึ่งมีความละเอียดในการกรองฝุ่น PM2.5 และเชื้อไวรัส ได้ดี เข้ามาในชุดระบบกรองอากาศ

** เพิ่มเติม 2564 – ปัจจุบัน ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมปลอดเชื้อ, ห้องแรงดันลบ, ห้องแยกโรค, หอผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ COHORT WARD, ห้องผ่าตัด (OR) ให้ใช้เครื่องฟอกอากาศที่เป็นระบบกรองอากาศแบบ H13 HEPA Filter แต่เพียงอย่างเดียว (ไม่มีการใช้ระบบ ESP)

ต่อไปนี้ ขอเชิญ มาเริ่มต้น ความปวดหัวกับบทความวิชาการ ที่ผมลอกเขามามั่ง เติมเสริมเพิ่มเองมั่ง กันครับ

หลักการทำงานของเครื่องฟอกอากาศ แบบใส้กรองถอดล้างทำความสะอาดได้ Electrostatic Precipitator (ESP)

เครื่องฟอกอากาศ แบบ Electronic Collecting Cell (ESP) แบบเคลื่อนย้ายได้ในรุ่นแรกๆ ชนิดไม่มี ชุดกรอง H13 HEPA Filter ช่วย

ระบบ Electrostatic Precipitator (ESP) คืออะไร ในเครื่องฟอกอากาศ

Electrostatic Precipitator (ESP) เป็นระบบดักจักฝุ่นละอองที่ใช้แรงไฟฟ้าสถิต (Electrostatic forces) ประกอบด้วยเส้นลวดประจุลบ และแผ่นเพลตโลหะประจุบวก เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับศักย์ไฟฟ้าแรงสูงจะทำให้อากาศที่อยู่ระหว่างแผ่นเพลตโลหะและเส้นลวดเกิดการแตกตัว (Ionization) เมื่ออากาศหรือแก๊สที่ประกอบด้วยละอองลอย ฝุ่นละออง เคลื่อนที่ผ่านอนุภาคจะแตกตัวเป็นไอออน อนุภาคที่แตกตัวจะถูกดักจับติดกับแผ่นเพลตโลหะด้วยแรงทางไฟฟ้า ที่เรียกว่า แรงคูลอมบ์ จึงทำให้อากาศที่ผ่านระบบนี้ออกมาเป็นอากาศบริสุทธิ์  ซึ่งหลักการนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับระบบดักจับฝุ่นละอองในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และรวมถึงการนำประยุกต์ใช้กับเครื่องฟอกอากาศขนาดเล็กภายในบ้าน สำนักงาน หรือโรงพยาบาล ต่างๆ (ตัวอย่างเช่นเครื่องฟอกอากาศหน้าห้องพักคอย รอเข้าห้อง X-Ray ที่ตึกสิรินธร โรงพยาบาลราชวิถี ที่เป็นเครื่องที่เก่า มากกกกกกก ถึงมากที่สุด)

รูปแสดงหลักการทำงานของระบบ Electrostatic (Credit www.hitachi-infra.com.sg)

จากระบบที่กล่าวมานั้น Electrostatic Precipitator (ESP) เป็นระบบที่ใช้ศักย์ไฟฟ้าแรงสูง และดักจับฝุ่นละอองด้วยแรงคูลอมบ์ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับแก๊สประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นละอองแต่ละขนาดก็จะแตกต่างกัน มีปัจจัยขึ้นอยู่กับความเข้มของศักย์ไฟฟ้าระหว่างแผ่นเพลตโลหะและเส้นลวด  และเวลาของอนุภาคที่เคลื่อนที่ผ่านสนามไฟฟ้า

สำหรับในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

เครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต Electrostatic Precipitator (ESP) เป็นเครื่องมือที่ใช้แรงไฟฟ้าในการแยกอนุภาค โดยใส่ประจุให้อนุภาค แล้วผ่านอนุภาคที่มีประจุเข้าไปในสนามไฟฟ้าสถิต อนุภาคจะเคลื่อนเข้าหาแผ่นเก็บที่มีศักย์ไฟฟ้าตรงข้ามกัน ESP มีประสิทธิภาพสูงมากในการดักฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน ได้มากกว่า 99.5% ความดันสูญเสียต่ำและสามารถจับก๊าซร้อนได้

หลักการทำงานของ ESP มี 3 ขั้นตอน คือ
– การใส่ประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาค
– การเก็บอนุภาคที่มีประจุโดยใช้แรงไฟฟ้าสถิตจากสนามไฟฟ้า
– การแยกอนุภาคออกจากขั้วเก็บไปยังถังเก็บพัก

รูปตัวอย่าง การล้างชุดกรอง Electronic Collecting Cell ด้วยน้ำสะอาด หลังจากที่ล้างฝุ่นสกปรกออกด้วยน้ำที่ผสมน้ำยาทำความสะอาดแล้ว

ส่วนประกอบของเครื่อง ESP มีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน คือ

  1. ขั้วปล่อยประจุ Discharge Electrodes เป็นลักษณะเป็นเส้นลวดแผ่นหรือท่อแล้วใส่ไฟฟ้าแรงดันสูง เพื่อให้เกิดการแตกตัวเป็นอิออน (ไม่ใช่บัตร อิออนนะครับ)
  2. ขั้วเก็บ Collection Electrodes ขั้วเก็บ ส่วนใหญ่เป็นแผ่น เนื่องจากทำให้สามารถรับปริมาณของก๊าซได้มาก
  3. เครื่องแยกฝุ่น Rappers เครื่องแยกฝุ่นเอาไว้แยกฝุ่นออกจากแผ่นเก็บ (อันนี้จะมีในโรงงานอุตสาหกรรม)
  4. ถังพัก Hopper (อันนี้ก็จะมีในโรงงารอุตสาหกรรม เครื่องบ้านๆ ก็ไม่มี)

ะบบดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ (Electrostatic Precipitators (ESP) ใช้แรงไฟฟ้าในการแยก  อนุภาคออกจากกระแสก๊าซ โดยการใส่ประจุไฟฟ้าให้อนุภาค แล้วผ่านอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเข้าไปใน   สนามไฟฟ้าสถิตย์ อนุภาคเหล่านี จะเคลื่อนที่เข้าหาและถูกเก็บบนแผ่นเก็บซึ่งมีศักย์ไฟฟ้าตรงกันข้าม

อนุภาค ESP มีประสิทธิภาพสูงในการเก็บอนุภาคฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน โดยทั่วไปมีประสิทธิภาพ  99.5 % หรือสูงกว่า ปัจจุบัน ESP ถูกใช้เป็นระบบบำบัดมลพิษอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย  เช่น โรงไฟฟ้า โรงหล่อหลอมเหล็ก โรงปูนซีเมนต์ โรงงานผลิตสารเคมี

เครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต Electrostatic Precipitator(ESP) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ดักจับฝุ่น โดยอาศัยแรงทางไฟฟ้าในการ แยกฝุ่นออกจากอากาศ การทำงานประกอบด้วยขั้วที่ให้ประจุลบ (discharge electrode )กับอนุภาคฝุ่น ฝุ่นก็จะวิ่งเข้าไปเกาะที่แผ่นเก็บฝุ่น (Collecting plate) ซึ่งมีขั้วบวก และต่อลงกราวน์ไว้ทำหน้าที่จับและเก็บฝุ่นไว้เมื่อฝุ่นเกาะหนาได้ระดับหนึ่งแล้ว (6-12 มม.) ก็จะถูกเคาะให้ร่วงลงมาในฮอปเปอร์ ลำเลียงออกไปจากตัวเครื่อง มีขั้น ตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การใส่ประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาค (Particle charging) โดยขั้ว discharge electrodes จะปล่อยไฟฟ้า กระแสตรง (Direct Current) ที่มีค่าความต่างศักย์สูง (20-110 kV) ทำให้โมเลกุลของกระแสอากาศที่อยู่ รอบๆเกิดการแตกตัวเป็นอิออน (ions) และถูกอิเลคตรอนหรือประจุลบบริเวณขั้วปล่อยประจุ จะเกิดปรากฎการณ์เป็นแสงสีน้ำเงินสว่างบริเวณรอบๆขั้ว ที่เรียกว่า โคโรนา (corona) เมื่ออนุภาคเคลื่อนที่ เข้ามาสนามไฟฟ้าจะถูกอิออนลบ ของโมเลกุลอากาศจำนวนมากชน ทำให้อนุภาคมีประจุเป็นลบ

รูปแสดงขั้นตอนที่ 1 ของกระบวนการ Electrostatic Precipitator ในระบบ Cell

ขั้นตอนที่ 2 การเก็บอนุภาคที่มีประจุโดยใช้แรงไฟฟ้าสถิตย์ จากสนามไฟฟ้า (Electrostatic collection) เป็น ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ภายหลังจากอนุภาคที่มีประจุเป็นลบแล้ว ได้เคลื่อนที่ผ่านเข้ามาในไฟฟ้า และจะถูกเหนี่ยวน้าให้เคลื่อนที่เข้าหาขั้วเก็บ ที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก และเกาะติดอยู่กับแผ่นเก็บ ความเร็วของอนุภาคที่วื่งเข้าแผ่นเก็บประจุฯ ความเร็วนี ถูกเรียกว่า Migration Velocity ซึ่งขึ้นกับแรงดันไฟฟ้าที่กระท้าต่ออนุภาคและแรงฉุดลาก (drag force) ที่เกิดขึ้นในขณะที่อนุภาค เคลื่อนที่ไปยังขั้วเก็บประจุฯ นอกจากนี้ เมื่ออนุภาคเกาะติดกับขั้วเก็บประจุฯ แล้วจะค่อยๆ ถ่ายเทประจุลบสู่ขั้วเก็บ ท้าให้แรงดึงดูดทางไฟฟ้า ระหว่าง อนุภาคกับขั้วเก็บลดลงอย่างไรก็ตามการที่อนุภาคจะหลุดจากขั้วเก็บ หรือเกิดการฟุ้งกลับ ( Re-Entrainment ) ของอนุภาคที่เกิดจากการไหลของกระแสอากาศจะค่อนข้างน้อย เนื่องจากมีการทับถม หรือเกิดการ สะสมของอนุภาคที่มีประจุบนขั้วเก็บ จึงกล่าวได้ว่าขณะที่อนุภาคที่ยึดเกาะกับขั้วเก็บเสียประจุ ฯ ไปเกือบหมด อนุภาคใหม่ที่อยู่ด้านนอกที่เข้ามายึดเกาะนั้นจะยังคงมีประจุไฟฟ้าอยู่ เนื่องจากไม่อาจถ่ายเทประจุฯ ผ่านชั้นของอนุภาคเก่าที่สะสมอยู่ได้ทันที รวมทั้งในการยึดเกาะจะเกิดแรงยึดเหนี่ยว ระหว่างโมเลกุลที่เรียกว่าแรง Adhesive และแรง Cohesive ช่วยในการยึดอนุภาคทั้งหมดให้อยู่กับ ขั้วเก็บ โดยขั้นตอนของการใส่ประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาคและการเก็บอนุภาคที่มีประจุดังรูป

รูปแสดงขั้นตอนที่ 2 การเก็บอนุภาคที่มีประจุโดยใช้แรงไฟฟ้าสถิตย์

เริ่มมึนๆ งงๆ กันแล้วใช่มั้ยครับ สั้นๆ อย่างงี้แล้วกัน

สรุปใจความได้ว่า เครื่องฟอกอากาศ แบบ Electronic Collecting Cell หรือ Electrostatic Precipitator (ESP) นั้นคือ ของดีที่มีมานานหลายสิบปีแล้ว ในสมัยนั้นหน่วยงานรัฐยอมซื้อในราคาที่แพงในตอนแรก เพราะมองถึงความประหยัดระยะยาว เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยน Filter เพราะในสมัยก่อนนั้นระบบ ESP ก็เพียงพอสามารถฟอกอากาศได้สะอาด และตัว Filer เอง เป็นแบบถอดล้างได้ ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายระยะยาว

แต่ในชีวิตความเป็นจริง โลกมันเปลี่ยนไป มีฝุ่น PM2.5 และ เชื้อโรค เชื้อไวรัสเกิดขึ้นมาก ระบบ ESP Filter อย่างเดียวไม่สามารถทำงานปกป้อง ครอบคลุมท่านได้ อย่างน้อยต้องมี HEPA Filter มาช่วยเสริม และที่ดีที่สุดคือ มีระบบรังสี UV-C ฆ่าเชื้อโรค เข้ามาติดตั้งร่วมด้วย จึงจะป้องกันฝุ่นและเชื้อโรคได้ ดังเช่นที่ใด้เห็นในเครื่องฟอกอากาศรุ่นใหม่ๆ ตามด้านล่างนี้

บริการบำรุงรักษา และล้างทำความสะอาดเครื่องฟอกอากาศระบบ Electronic Collecting Cell (ESP)

ติดต่อสอบถามได้ที่ คุณกัมปนาถ บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Hotline Tel. 097-1524554

id Line: Lphotline

Office : 02-9294345 -6

e-mail: LPCentermail@gmail.com

Posted on

ค่า ACH ของเครื่องฟอกอากาศคืออะไร ทำไมเราต้องรู้ ??

เรื่องนี้ยาว…บอกใว้ก่อนเลย แต่สาระดีๆ ทั้งนั้น คิดจะซื้อเครื่องฟอกอากาศ ทำไมต้องรู้ค่า ACH (ค่า ACH คืออะไร ?)

RUIWAN ผู้เชี่ยวชาญระบบ ดูดละอองฝอยในอากาศ และฟอกอากาศ แบบเคลื่อนย้ายได้มากว่า 10 ปี

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองหลักอย่างเช่น เชียงใหม่ ที่เต็มไปด้วย ควันพิษทั้งจากยานพาหนะที่คับคั่ง ควันพิษจากไฟป่า และฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่เป็นฝุนละอองขนาดเล็กมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ที่เกิดจากการพัฒนาระบบโครงสร้างพิ้นฐานของเมือง การก่อสร้างอาคารสูง บรรดาบ้านพักอาศัย คอนโดมิเนียมที่อยู่ใกล้ถนน ใกล้ทางด่วน และใกล้เขตก่อสร้างทางรถไฟฟ้า จะได้รับมลภาวะฝุ่นพิษเหล่านี้เข้าไปเต็มๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านที่ Open เปิดหน้าต่าง จะเห็นได้ง่ายมากๆ ว่าเราทำความสะอาดเช็ดถูอุปกรณ์เครื่องใช้ เช่น โต๊ะหรือตู้โชว์ไปแล้ว ทิ้งใว้แป๊ปเดียวแค่ 10 นาที พอกลับมากัมลงมองดูใกล้ๆ ก็จะเห็นฝุ่นขนาดเล็กๆ ลงมาเกาะพื้นผิวที่เพิ่งทำความสะอาดไป อ่ะ..ทำไงดี ถ้ายังงั้นปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด เปิดแอร์ เชื่อมั้ยว่าขนาดปิดประตูหน้าต่างมิดชิด เปิดแอร์ ฝุ่นก็ยังมา มากันแบบฝุ่นเล็กๆ จิ๋วๆ ฝุ่นมา แบบเหมือนไม่มีอะไรกั้น เข้ามาได้ยังไง?? ก็เข้ามาตอนที่เราเปิดประตูเข้าๆ ออกๆ กันน่ะแหละ ฝุ่นบางตัวก็เล็กซะจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่านี่เนอะ

เชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และ เชื้อไวรัสต่างๆ เชื้อไวรัส COVID-19

คอลัมน์ข้างบนได้กล่าวถึงเรื่องเป็นแค่ฝุ่นที่เข้าตา เอ๊ย !! ไม่ใช่..ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทีนี้ก็มาเข้าสู่สถานการณ์ปัจจุบัน คือเชื้อโรคต่างๆ ที่ลอยละล่องอยู่ในอากาศ เชื้อโรคที่ล่องลอยอยู่ในโรงพยาบาล เชื้อโรคล่องลอยอยู่ในห้องทำฟัน เชื้อโรคที่ล่องลอยอยู่ในคลีนิคหมอฟัน คลีนิคศัลยกรรม เชื้อโรคที่ล่องลอยอยู่ในโรงแรม ในห้างสรรพสินค้า เชื้อโรคที่ล่องลอยอยู่บนรถไฟฟ้า เชื้อโรคที่ล่องลอยอยู่ในบ้าน เอาเป็นว่าเชื้อโรคล่องลอยอยู่ทุกหนแห่งน่ะแหละ ป้องกันยังไงก็ไม่ได้ทุกที่หรอก ต้องทำใจ

จากที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เราต้องดิ้นรนดูแลตัวเองกันด้วยกำลังของตัวเอง ก็ทำให้เกิดความต้องการใช้เครื่องฟอกอากาศขึ้นมา ในที่นีี้ผมจะไม่กล่าวถึงแล้วว่าเครื่องฟอกอากาศเริ่มต้นมายังไงเพราะมีคนเขียนใว้เยอะแล้ว แต่ผมจะมากล่าวถึงการเลือกขนาดของเครื่องฟอกอากาศให้เหมาะสมกับการใช้งานกับขนาดห้องของเราดีกว่า เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป้นตัวช่วยในการตัดสินใจ ในการเลือกเครื่องฟอกอากาศให้ตรงความต้องการใช้ และได้ประโยชน์สูงสุด เหมาะสมกับกำลังจำนวนเงินที่เราต้องจ่ายครับ

อันดับแรกเลย ในการเลือกเครื่องฟอกอากาศ เราต้องรู้ขนาดของห้องที่เราจะตั้งเครื่อง แล้วเราก็ต้องไปดูค่า ACH ที่ระบุใว้ที่เครื่องฟอกอากาศครับ อ้าวงานมา!! แล้วไอ้ค่า ACH ของเครื่องฟอกอากาศเนี่ย มันคืออะไร ?

เครื่องฟอกอากาศ ระดับใช้งานทางการแพทย์ (Medical Grade) สำหรับห้องทันตกรรม โรงพยาบาล และคลีนิค

ค่า ACH ของเครื่องฟอกอากาศคืออะไร ?

เอางี้ สมมุติว่าเราเดินเข้าไปใน Home Pro หรือ Power Buy นะ เดินๆไปตรงที่แผนกที่ขายเครื่องฟอกอากาศ เราก็จะเจอหลายยี่ห้อเลย เราก็จะงงๆ หน่อยว่า เขาเขียน Spec แปะที่เครื่องฟอกอากาศใว้ทุกตัวเลยว่า เครื่องตัวนี้แนะนำให้ใช้กับห้องขนาดพื้นที่ไม่เกินเท่านี้ แต่ว่าก็เจอแปลกๆอีก เครื่องที่มีขนาดพื้นที่ห้อง ที่แนะนำให้ใช้ใกล้เคียงกัน บางยี่ห้อตัวใหญ่บึ้มๆ พ่นลมแรง เครื่องทำงานเสียงดัง แล้วดันราคาแพงอีกด้วย แต่บางยี่ห้อ เฮ้ย !! ตัวเล็กนิดเดียว พ่นลมออกมาก็เบ๊าเบาเหลือเกิน แต่ราคาถูกดีเว้ย ที่มันเป็นเช่นนั่นก็เพราะแต่ละยี่ห้อ ใช้มาตรฐานในการวัดขนาดพื้นที่ห้อง กว้าง x ยาว x สูง ที่แตกต่างกันครับ (ณ จุดนี้ ผู้เขียนขอแนะนำว่าควรใช้หน่วยวัดเป็นเมตร ดีที่สุดครับ ผลลัพท์ที่ได้จะออกมาเป็น SQM ตารางเมตร)

ความงง เริ่มมาเยือนแระ เอางี้ หลับตา..นึกภาพสิ่งที่เราอยู่กับมันบ่อยๆ เช่นห้องนอนในบ้าน ห้องนอนในคอนโดฯ ของเรา สมมุติว่าห้องนี้เราติดแอร์ขนาด 12000 BTU ช่างแอร์ในตำนาน บางคนบอกว่า แอร์มันเล็กนะครับ ใช้ได้กับห้องขนาดไม่เกิน 24 SQM (ตารางเมตร) แต่ช่างแอร์ในตำนานบางคนก็ตะโกนแย้งมาว่า “ผมว่าไม่เล็กนะครับ” ห้อง 33 SQM ก็ใช้ได้ครับ ซึ่งเอาจริงๆแล้ว มันก็ใช้ได้กับห้องทั้ง 2 ขนาดแหละครับ เพียงแต่พอเราไปใช้กับห้องเล็กๆ มันก็เย็นเร็ว เย็นไว แถมเย็นฉ่ำอีกตะหาก แต่พอเอาไปใช้กับห้องใหญ่ๆ มันก็เย็นช้า แล้วก็รู้สึกเหมือนไม่ค่อยเย็นนัก

เครื่องฟอกอากาศ Medical Grade แบบใส้กรองถอดล้างได้ (Electrostatic Precipitator Filter)

การเลือกเครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) วิธีคิด ก็คล้ายๆกันกับ การติดตั้งแอร์น่ะแหละครับ เราจะเอาเครื่องฟอกอากาศไปใช้กับห้องขนาดไหนก็ได้ จะเอาเครื่องเล็กๆ ที่มันเป่าลมออกเบาๆ ไปใช้กับห้องที่กว้างใหญ่ก็ได้ แต่ว่าเราอาจจะไม่รู้สึกว่าอากาศมันดีขึ้น แบบรู้สึกเหมือนอากาศไม่เห็นมันจะโดนฟอกเลยอ่ะ แต่ถ้าเทียบกับการที่เราเอาเครื่องฟอกอากาศตัวเล็กๆ เอาไปตั้งใช้ในห้องเล็กๆ เรารู้สึกว่า เฮ้ย !! อากาศมันสดชื่นอ่ะ อากาศมันโดนฟอกอ่ะ พอมันเป็นแบบนี้นะ พวกเครื่องฟอกอากาศแต่ละยี่ห้อ เค้าก็จะพยายามทำการช่วงชิงความได้เปรียบทางการตลาดขึ้น โดยยี่ห้อนึงเขาก็อ้างขนาดพื้นที่ใช้งานให้ใหญ่ๆ กว่ายี่ห้อคู่แข่งอื่นๆ ทั้งๆที่ความสามารถหรือประสิทธิภาพมันก็ใกล้เคียงกัน เกทับ บลัฟกันไป บลัฟกันมา ทีนี้ทางบริษัทแม่ Head Quarter ของแต่ละยี่ห้อที่ต่างประเทศเริ่มแย้งกันแระ ก็เลยมีคนที่ต่างประเทศกลุ่มนึง พยายามกำหนดมาตรฐานกลางบางอย่างออกมา เพื่อให้ลูกค้าผู้บริโภค ใช้เพื่อประกอบการพิจจารณาตัดสินใจได้ง่ายขึ้น และให้เกิดความเข้าใจตรงกันโดยทั่วไปในวงการเครื่องฟอกอากาศ แต่ในขณะเดียวกันมาตรฐานในแต่ละท้องถิ่นก็อาจแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย เช่นมาตรฐานของทางอเมริกา กับมาตรฐานของญี่ปุ่นจะไม่เหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้แสดงว่ามาตรฐานของใครผิดนะครับ เพียงแต่ว่าเราต้องมีความเข้าใจตรงกัน อย่างเช่นในตลาดประเทศไทยเรา มีเครื่องฟอกอากาศจากหลายประเทศหลายมาตรฐานเข้ามาจำหน่าย ลูกค้าผู้บริโภคก็อาจจะสับสนในการเลือกซื้อได้ ดังนั้นเราจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจหลักวิธีการคิดเอาใว้บ้างครับ ร่ายมาซะยาวขนาดนี้ ผู้อ่านคงบ่น 5555 เอ้า ACH คืออะไร บอกมาซะที

ACH ย่อมาจากคำว่า ” Air Change per Hour “ แอร์เชนจ์ เปอร์ ฮาวเออร์ คือ จำนวนรอบของการไหลเวียนอากาศ ที่ไหลผ่านเครื่องฟอกอากาศ ครบทั้งปริมาตรของห้องที่แนะนำ (ที่ความสูงของเพดานมาตรฐาน 2.4 เมตร) ต่อหนึ่งชั่วโมง นั่นคือถ้าเพดานห้องที่นำมาคิดสูงเกินกว่า 2.4 เมตร ค่า ACH ก็จะไม่ครงกับค่ามาตรฐาน

จำนวนรอบการไหลเวียนอากาศ 5 ACH = อากาศจะถูกกรองได้ทั่วทั้งห้องตามขนาดพื้นที่แนะนำภายใน 12 นาที หรือทำความสะอาด 5 รอบต่อ 1 ชั่วโมง
จำนวนรอบการไหลเวียนอากาศ 4 ACH = อากาศจะถูกกรองได้ทั่วทั้งห้องตามขนาดพื้นที่แนะนำภายใน 15 นาที หรือทำความสะอาด 4 รอบต่อ 1 ชั่วโมง
จำนวนรอบการไหลเวียนอากาศ 3 ACH = อากาศจะถูกกรองได้ทั่วทั้งห้องตามขนาดพื้นที่แนะนำภายใน 20 นาที หรือทำความสะอาด 3 รอบต่อ 1 ชั่วโมง


เอ้า…งงกันเข้าไปอีก ผมศึกษาทีแรกก็งง มึนตึ๊บ เหมือนกันครับ เอางี้ ดูตัวอย่างตามนี้นะนักเรียน 5555

Example One กรณีตัวอย่างที่ 1.
เครื่องฟอกอากาศ Air Purifier ยี่ห้อ HERE CHING HA รุ่น HEA-1  ถูกระบุเอาใว้ข้างกล่องว่า ใช้ฟอกอากาศ สำหรับพื้นที่ 65 SQM ที่ 5 ACH
นั่นคือถ้านำเครื่องไปใช้ในพื้นที่ 65 ตร.ม. (SQM) ตามที่ระบุข้างกล่อง เครื่องก็จะกรองอากาศได้ที่ 5  ACH หรือ ใน 1 ชั่วโมงจะกรองอากาศได้ถึง 5 รอบ หรือใช้เวลาในการกรองอากาศรอบละ 12 นาที นั่นเอง แต่ ๆๆๆๆ … ถ้าเรานำเครื่อง HERE CHING HA รุ่น HEA-1 ตัวเดียวกันนี้ ยกไปตั้งไว้ให้กรองอากาศในอีกห้องที่มีขนาดห้องใหญ่ขึ้นถีง 108 SQM ประสิทธิภาพในการกรองอากาศของเครื่องตัวนี้ก็จะลดลง เหลือความสามารถในการกรองอากาศได้แค่ 3  ACH หรือ ใน 1 ชั่วโมงจะกรองอากาศได้เพียง 3 รอบ หรือใช้เวลาในการกรองอากาศนานขึ้นเป็นรอบละ 20 นาที


Example Two กรณีตัวอย่างที่ 2.
วันนึงเราเดินไปใน Home Pro หรือ Power Buy แล้วไปเจอเครื่องฟอกอากาศอยู่ 3 ยี่ห้อ ที่มีระบบการกรองอากาศ และเทคโนโลยี HEPA Filter หรือ Filter แบบอื่นที่เหมือนกัน แต่แนะนำให้ใช้ในขนาดพื้นที่ห้องต่างกัน ดังนี้
*(ใว้จะเขียนเรื่องเทคโนโลยี Filter เครื่องกรองอากาศอีกที)
ยี่ห้อ  HERE CHING HA   แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 19 ตร.ม. ที่ 5 ACH
ยี่ห้อ  I AM HERE  แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 38 ตร.ม. ที่ 2 ACH
ยี่ห้อ HERE      แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 35 ตร.ม. ที่ 3 ACH
ทีนี้ถ้าเราอยากรู้ว่ายี่ห้อไหน ให้ประสิทธิภาพการฟอกอากาศสูงกว่า เราก็ต้องมาเทียบที่ ค่า ACH เท่ากัน จึงคำนวณบัญญัติไตรยางค์ดูก็จะได้ตามนี้
ยี่ห้อ HERE CHING HA   แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 19 ตร.ม. ที่ 5 ACH        =    32 ตร.ม. ที่ 3 ACH
ยี่ห้อ I AM HERE  แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 38 ตร.ม. ที่ 2 ACH        =    25 ตร.ม. ที่ 3 ACH
ยี่ห้อ HERE        แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 35 ตร.ม. ที่ 3 ACH        =    35 ตร.ม. ที่ 3 ACH
คำนวณออกมาแล้ว ยี่ห้อ HERE สามารถฟอกอากาศได้ครอบคลุมพื้นที่ห้องมากที่สุด แสดงว่าน่าจะฟอกอากาศได้ดีกว่ายี่ห้ออื่นๆ ทีนี้เราก็ต้องเปรียบองค์ประกอบอื่นๆ เช่นเทียบเรื่องราคาเครื่อง ราคาไส้กรอง FILTER ที่ต้องเปลี่ยนตามรอบ การบริการหลังการขาย ฯลฯ ประกอบการพิจารณาต่อไป

เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อดังๆ ที่ขายในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนมากเขามักจะนำเครื่องของตัวเองไปทดสอบค่าประสิทธิภาพต่างๆ จากสถาบันที่น่าเชื่อถืออย่างเช่นสถาบัน AHAM (Association of Home Appliance Manufacturers) ซึ่งจะอ้างอิงถึงขนาดพื้นที่ ที่แนะนำใช้งานที่ 5 ACH จนเราอาจมองไปว่า ที่ค่า 5 ACH คือค่าที่เป็นมาตรฐานสำหรับสินค้าที่วางขายในประเทศสหรัฐอเมริกา และมองรวมไปถึงเครื่องฟอกอากาศใน Model เดียวกันที่นำเข้ามาขายในประเทศไทยอย่างยี่ห้อ Blue Air และ Honeywell ( 2 ยีห้อนี้ ดีนะ แต่แอบแพง)

ส่วนเครื่องฟอกอากาศยี่ห้อดังทางฝั่งค่ายญี่ปุ่น ก็จะอ้างอิงมาตรฐาน JEMA (The Japan Electrical Manufacturers´Association) ของญี่ปุ่น ซึ่งจะอ้างอิงขนาดพื้นที่แนะนำใช้งานที่ 3 ACH อย่างเช่น Hitachi เปิดปุ๊ปติดปั๊บ , SHARP ก้าวล้ำไปในอนาคต, Toshiba นำสื่งที่ดีสู่ชีวิต.

สำหรับเครื่องฟอกอากาศที่มีขายในเมืองไทย มีการนำเข้ามาจากหลายแหล่ง มาจากค่ายหมวยแท้ๆก็เยอะ บางยี่ห้อก็อ้างอิงตามมาตรฐาน AHAM จากอเมริกา บางยี่ห้อก็อ้างอิงตามมาตรฐาน JEMA ญี่ปุ่น บางยี่ห้อก็ตามมาตรฐานของฝั่งประเทศแคนาดา ที่ 2 ACH ก็มี แต่ก็อาจจะมีบางยี่ห้อเหมือนกันที่มั่วๆ ค่าพื้นที่แนะนำขึ้นมาโดยไม่มีค่าอะไรมาอ้างอิงเลย 5555 (อันนี้นายแน่มาก) ที่ช่างกล้าทำแบบนี้ก็เพราะต้องที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวสินค้า ยี่ห้อของตัวเอง (แบบว่าอ้างอิงมาตรฐานที่มันสูงๆเข้าใว้) หรือเพื่อต้องการช่วงชิงความได้เปรียบทีทำให้ดูว่า ยี่ห้อของตัวเองให้ขนาดพื้นที่ห้องแนะนำที่มากกว่ายี่ห้อคู่แข่ง ทั้งๆที่แรงลมหรือค่า CADR ต่ำกว่า (ในกรณีที่อ้างอิงมาตรฐานต่ำๆ) ตัวย่อแปลกๆ มาอีกแระ ** CADR คืออะไรฟะ ?? งง…

** เอ้าหาข้อมูลมาใด้หน่อยนึง ว่างๆ ค่อยไปหาข้อมูลมาเพิ่มให้อีกที CADR = Clean Air Delivery Rate คือ อัตราการส่งผ่านอากาศบริสุทธ์ เป็นค่าที่บอกประสิทธิภาพการฟอกอากาศที่แท้จริงของเครื่องฟอกอากาศ โดยการนำไปทดสอบในห้องปฏิบัติการกับ ตัวอย่าง Test มาตรฐาน เช่น ควันบุหรี่ (Smoke), ฝุ่น (Dust) และ เกสรดอกไม้ (Pollen) โดยมีค่าหน่วยวัดมาตรฐานเป็น CFM (Cubic Feet per Minute)

ปัจจุบันเครื่องฟอกอากาศที่ขายๆอยู่ อาจจะพบว่าหลายยี่ห้อไม่ระบุให้ลูกค้าทราบถึงค่า ACH หรือค่า CADR แต่ลูกค้าเองก็อาจจะคำนวณเอาเองได้แบบคร่าวๆ คือ เอาขนาดแรงลมสูงสุดที่เครื่องสามารถทำได้เป็นลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (CMH) มาหารด้วยขนาดพื้นที่ห้องที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำเป็นตารางเมตร (SQM) แล้วหารด้วยความสูงของเพดานห้องมาตรฐานที่ 2.4 เมตร ผลลัพท์ค่าที่ได้อาจจะเป็นจุดทศนิยม เช่น ค่าที่ได้ = 3.3 ก็ให้ปัดเศษจุดทศนิยมลงเป็น = 3 เพราะในความเป็นจริงจะต้องใช้ค่า CADR ในการคำนวณ (ซึ่งค่าปกติ จะมีค่าต่ำกว่าค่าแรงลม) แต่ในเมื่อเราไม่ทราบค่า CADR ก็ต้องใช้ค่าแรงลมมาเป้นค่าโดยประมาณแทน

ดังนั้นการที่เราจะเลือกว่า ควรจะนำค่ามาตรฐานขนาดเท่าใดมาใช้อ้างอิง จึงอาจจะต้องมองไปถึงภาพรวมของสภาพมลพิษอากาศโดยรวมในพื้นที่นั้นๆ ด้วย คือ หากพื้นที่ที่มีสภาพความรุนแรงของมลพิษอากาศมากๆ การเลือกค่าอัตราแรงลมที่เครื่องสามารถกรองสิ่งสกปรกได้ (CADR) และค่า ACH ที่มากๆ ยิ่งมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น แต่ก็ต้องยอมรับให้ได้ว่าจะต้องแลกกับราคาเครื่องฟอกอากาศที่สูงขึ้นด้วย ในทางกลับกันหากพื้นที่มีสภาพความรุนแรงของมลพิษอากาศต่ำๆ หรืออากาศในห้องนั้นค่อนข้างที่จะสะอาดอยู่แล้ว การลดขนาดของค่า CADR และ ACH ลงมาให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ พอสมควรกับสภาพความรุนแรงของมลพิษในห้องนั้น ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ทั้งในระยะสั้น (ค่าเครื่องฟอกอากาศ) และระยะยาว (ค่า Filter ไส้กรองอากาศ ) *** แต่ถ้าใช้เครื่องฟอกอากาศเทคโนโลยีใหม่ Electrostatic Precipitator (Filter กรองอากาศแบบถอดล้างได้) แบบที่ทางบริษัท ไลฟ์ โพรเทค นำเข้ามาขาย ลูกค้าก็ไม่ต้องเสียเงินเปลี่ยน Filter คุ้มระยะยาว !!

Remarks : บทความเรื่องนี้ ได้จากการที่ผู้เขียนศึกษาหาข้อมูล บางอันก็อ่านได้ความรู้มาจากท่านพี่ๆ ผู้มีประสบการณ์จากหลายๆที่ นำมารวมกับประสบการณ์ในการทำงานในเครือบริษัทข้ามชาติ สัญชาติอเมริกันขนาดใหญ่ ที่เป็นผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศรายแรกของโลก ลิฟท์และบันไดเลื่อนรายแรกของโลก อีกทั้งได้คลุกคลีกับช่างระบบปรับอากาศ มืออันดับต้นๆ ของไทย มาหลายปี (ผู้เขียนอยู่ฝ่ายขาย) ยอมรับตรงๆ ว่าบางส่วนของข้อมูลก็ลอกเขามาบ้าง หลายสำนักหลายที่มาก็เลยไม่รู้จะให้ Credit พี่ๆ เขายังไง ก็ขอขอบคุณและให้ Credit พี่ๆใว้ ณ ที่นี้ (เอาเป็นว่ายอมรับตรงๆ ว่าบางส่วนก็ลอกเขามาครับ) ดังนั้นผู้อ่านโปรดพิจารณาในการอ่าน และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากท่านผู้รู้ท่านอื่นด้วยนะครับ

กัมปนาถ ศรีสุวรรณ T. 063-7855159

Line iD : Lpcontact

Email: kumpanat.LPC@gmail.com

www.Lifeprotect.co.th

Posted on

เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก…ปกป้องหมอฟัน และผู้ช่วยฯ จากการติด Covid-19

ครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก หรือ เครื่องดูดละอองน้ำนอกช่องปาก Aerosol Suction ภาษาอังกฤษเรียก External Oral Suction (EOS) หรือบางคนก็เรียก Extraoral Suction Unit , Extraoral Dental Suction. External suction system แล้วแต่ว่าใครชอบเรียกแบบไหน แต่สุดท้ายแล้วมันก็คือ เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปากแรงดูดสูง นั่นแหละครับ

เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก External Oral Suction System (EOS)

คลีนิคทันตกรรม กับเครื่องดูดละอองฝอยภายนอกช่องปาก กำลังสูง (External Oral Suction / Extraoral Dental Suction)

ช่วงโรคโควิด – 19 ระบาด การทำฟัน เป็นสิ่งหนึ่งที่เสี่ยงต่อการที่หมอฟัน และผู้ช่วยอาจจะติดเชื้อ หรือว่าคนไข้ที่มาทำฟันเอง ก็เสี่ยงอาจจะได้รับเชื้อกลับไป และรวมไปถึงการฟุ้งกระจายแพร่เชื้อโรคในสถานที่ทำฟัน ซึ่งการทำฟันอย่างที่เราเคยทำกัน มันก็จะมีเครื่องกรอฟัน เครื่องขูดหินปูน การกรอฟันปลอม ซึ่งการใช้เครื่องมือเหล่านี้ จะมีละอองกระเด็น มีการฟุ้งกระจายของละอองน้ำ รวมถึงละอองฝอยต่าง ๆ ขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ของน้ำ ทั้งที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งละอองฟุ้งกระจายนี้ อาจจะปนเปื้อนด้วยเลือด น้ำลายที่มีเชื้อโรค และด้วยโรคโควิด – 19 มีการติดต่อกันด้วยระบบทางเดินหายใจ ละอองฝอยต่าง ๆ ที่ฟุ้งกระจาย เราจึงสูดดมเข้าไปได้ง่ายมากๆ ทำให้เกิดการติดต่อของโรคได้ง่าย ดังนั้นแล้ว เวลาคนไข้มาทำฟัน เราก็จะต้องจำกัดละอองฝอยไม่ให้ฟุ้งไปข้างนอกห้อง หรือว่าไม่ฟุ้งขึ้นมาหาทันตแพทย์ และผู้ช่วยทันตแพทย์ ซึ่งนี่คือโจทย์ทีเราจะต้องแก้ครับ (จะทำห้องอากาศแรงดันลบ กว่าจะเสร็จ ก็เกรงว่า กว่าจะได้ทำงานกันคงอีกนาน งบประมาณก็อาจจะบานตามไปด้วย)

ทีนี้เราจะทำยังไงดี หันไป หันมา ก็เห็นคำตอบว่าในขณะที่คุณหมอกำลังทำหัตถการ ควรใช้เครื่องดูดที่มีประสิทธิภาพ ช่วยดูดละอองฝอยกลับเข้าไปในเครื่องให้ได้เยอะที่สุด แล้วเตรื่องนั้น นำอากาศที่ดูดไปกรอง และฆ่าเชื้อโรค ก่อนที่จะปล่อยอากาศกลับออกมา ซึ่งนั่นก็คือ เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก External Oral Suction (EOS) แบบที่ผมกำลังแนะนำครับ

H13 HEPA Filter ในเครื่อง EOS กรองอนุภาคขนาดเล็ก 0.3 ไมครอนได้ 99.97%

การจะมีเครื่องนี้ได้ คุณหมอก็ต้องตัดสินใจลงทุนเพิ่ม แต่คุณหมอ ต้องยอมรับความจริงว่าการใช้เครื่องดูดละอองฝอยฯ นี่คือเรื่องใหม่ ยังไม่มีการศึกษาวิจัยว่าเครื่องเหล่านั้นมีประสิทธิภาพเพียงพอมากน้อยเพียงใด ยังไม่มีงานวิจัยรองรับ  นอกจากนั้น ยังจะต้องการศึกษาการทิศทางการฟุ้งกระจายของละอองฝอยที่เกิดขึ้น พุ่งแรง พุ่งน้อย การกระจายไปไกล ทิศทางแบบไหนที่เราจะต้องควบคุม กลัวว่าละอองกระเด็นไปติดผนัง ติดเพดาน เพื่อนำมาซึ่งวิธีการดูแลรักษาความสะอาดที่เหมาะสม สร้างความตระหนัก และจัดการด้านความสะอาดห้องทันตกรรมได้ดีขึ้น

ในส่วนคนไข้เอง หลายๆ คนอาจกังวลในเรื่องของเชื้อโรค หากต้องเข้ามาทำทันตกรรมที่โรงพยาบาล หรือคลีนิคในช่วงนี้ ⁣ การนำเครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปากมาใช้ ในห้องทำฟัน เพื่อลดการฟุ้งกระจายของละอองดังกล่าวในระหว่างการทำทันตกรรม รวมถึงลดโอกาสการติดเชื้อ ก็จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้อีกระดับนึง ครับ

ภาพแสดงตัวอย่างละอองฝอยฟุ้งกระจาย จากการทำหัตถการ กรอฟันด้วยด้ามกรอเร็ว และ หัวขูดหินน้ำลาย

เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก (External Oral Suction / Extraoral Dental Suction ) ยังเป็นเครื่องมือช่วยที่สำคัญ ในการรื้อวัสดุอุดฟันสีเงิน (อมัลกัม) โดยเฉพาะผู้ที่ตรวจพบว่ามีโลหะหนักในเลือด เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปากจะตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของปากผู้รับบริการ ทำหน้าที่กำจัดไอระเหยของปรอทในขณะที่ทันตแพทย์กำลังกรอหรือรื้อวัสดุอุดฟันอันเดิมออก โดยมีการใช้ร่วมกับท่อออกซิเจนซึ่งติดตั้งไว้ที่จมูกของผู้รับบริการ เพื่อป้องกันการหายใจเอาไอปรอทเข้าไป ⁣อีกด้วยครับ

เครื่อง External Oral Suction ของ RUIWAN นี้ทำความสะอาดง่ายด้วยครับ เพราะเมื่อเราใช้เครื่องดูด ละอองต่างๆ เศษต่างๆ ก้อาจจะมีติดค้างตามหัวดูด ตามท่อข้อต่อต่างๆ ก่อนที่จะไปถึงกรองชั้นแรก ดังนั้นนอกจากที่เราจะต้องทำความสะอาดกรอง Filter แล้ว แขนดูด หัวดูด เราก็ต้องถอดออกมาแช่น้ำยาห่าเชื้อ ทำความสะอาดด้วยนะครับ ซึ่งทั้งปากครอบหัวดูด แขนข้อต่อท่อดูด ของ RUIWAN ทุกท่อนสามารถถอดออกมามาแช่น้ำยาทำความสะอาดได้อย่างอิสระครับ อ้อ..ผู้ที่ทำความสะอาดท่อดูด และ Filter ต่างๆ ต้องใส่ถุงมือ หน้ากาก ชุด PPE เพื่อความปลอดภัยป้องกันการปนเปื้อนเชื้อด้วยนะครับ

แนะนำการใช้งาน การทำความสะอาด การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก ให้กับคุณหมอ และผู้ช่วยฯ

เพิ่มเติม : คลินิคศัลยกรรมความงาม ก็สามารถใช้เครื่อง External Suction Unit นี้ ดูดควัน กลิ่นใหม้ ขณะที่ทำศัลยกรรมเลเซอร์ผิวหนัง ได้ด้วยครับ

เห็นข้อดีของเครื่อง เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก EOS กันแล้ว คุณหมอท่านใดอยากได้เร่งด่วน ติดต่อคุณกัมปนาถ เลยครับ ของดี ราคาไม่แพง จัดจำหน่ายโดยบริษัท บริการหลังการขายเยี่ยม อะไหล่มีรองรับยาวนาน เพราะบริษัทฯ นำเข้าจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรงครับ

ส่งมอบ และแนะนำวิธีการเปลี่ยน Filter เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก รุ่น RD-80 ให้กับหน่วยทันตกรรม สถานพยาบาล
เครื่องฟอกอากาศ ระดับใช้งานทางการแพทย์ (Medical Grade) สำหรับห้องทันตกรรม โรงพยาบาล และคลีนิค

คุณกัมปนาถ Hotline : 097-1524554

Life Protect Co.,Ltd. Office : 02-9294345 , 02-9294346

id Line : Lphotline

www.Lifeprotect.co.th

email: kumpanat.LPC@gmail.com

ล้อเลื่อนฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงรังสี UV-C ชนิด 2 แขน ” Philips” UV-C Trolley Double Arm.

Posted on

อย. คืออะไร, อย.วอส คืออะไร สารเคมี/ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ และกรมประมง คืออะไร

LOGO อย
                   LOGO สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

   

มาชี้แจงกันให้เข้าใจ  อย. คืออะไร ทำไมต้องมี อย. ?

   ในฐานะที่ผมเป็นผู้นำเข้า และผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือสนับสนุนงานทางการแพทย์ โรงพยาบาล คลีนิคทันตกรรม และเครื่องฆ่าเชื้อโรค ฯลฯ  ทีนี้ด้วยความตระหนก กลัวการระบาดของโรค COVID-19 ระลอก 2 พรรคพวกเพื่อนฝูง พี่น้อง และลูกค้าหลายๆ ท่าน ก็เลยมารุมถามผมกันมากมายว่า ถ้าคิดจะซื้อเครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อโรค แล้วจะต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคแบบไหน เด๊ทตอลมงกุฏใช้ได้มั้ย แอลกอฮอล์ใช้พ่นได้มั้ย น้ำยาฆ่าเชื้อโรคนั้นต้องเป็นแบบมี อย. หรือรายงานการรับรองอะไรบ้าง โอ๊ย…!!  ถามกันเป็นชุดเลย  ผมก็เลยตัดสินใจรวบรวมเรื่องราว เขียนให้อ่านเลยดีกว่า ว่าน้ำยาที่ใช้ต้องมี อย.แบบไหน อย.ขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบัน? อย.วอส.? หรือ สารเคมี/ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตจดแจ้งกรมปศุสัตว์ ใช้ในฟาร์มสัตว์บก  จดแจ้งกรมประมง ใช้กับสัตว์น้ำ ? 

มาๆ ถ้าใครอยากจะรับเรื่องยาวๆ มีสาระน่ารู้ แต่อ่านไม่เครียด ก็ตามมาครับ

       เริ่ม !!  อย. คือ อักษรย่อของ “สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา” ภาษาฝรั่งก็ Food and Drug Administration  ตัวย่อฝรั่งก็ FDA  เป็นส่วนราชการของไทยในระดับกรม สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการ ดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ( ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และ เครื่องสำอางค์ )โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐาน เชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์

หน้าที่ของ “อย.”

อย. มีหน้าที่กำกับและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ และมีหน้าที่ตามกฎหมายดังนี้

  1. ดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ในความรับผิดชอบ
  2. กำกับดูแล และตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาด รวมถึงคำโฆษณาผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
  3. ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ผู้ประกอบการ
  4. ตรวจสอบผลิตภัณฑ์หลังออกสู่ตลาดและการโฆษณาผลิตภัณฑ์
  5. เฝ้าระวังปัญหาหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้น
  6. ส่งเสริมผู้บริโภคให้มีความรู้และศักยภาพในการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างปลอดภัย คุ้มค่า
  7. ส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่าย
                           เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ PHILIPS UVC Air Disinfection Unit

 

ผลิตภัณฑ์ประเภทไหนถึงจะต้องมี “เครื่องหมาย อย.” ?
       กฎหมายระบุให้ผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องมาขอขึ้นทะเบียน หรือ ขอจดแจ้งผลิตภัณฑ์ก่อนผลิต/นำเข้า/จำหน่าย เพื่อเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในเบื้องต้น และเมื่อได้รับการอนุมัติจาก อย. แล้ว จึงจะนำออกวางจำหน่ายในท้องตลาดได้ อย่างไรก็ตามการขออนุญาต ในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้คือ
ยา : ผลิตภัณฑ์ยาทุกชนิดบนฉลากจะไม่มีเครื่องหมาย อย.  แต่จะต้องแสดงเลขทะเบียนตำรับยา โดยลักษณะของกลุ่มตัวเลขแรกคือ ประเภทของทะเบียน

      ตำรับยาจะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ แล้วตามด้วยเลขทะเบียนตำรับยา (ของแต่ละตำรับยา) /ปี พ.ศ. เช่น ทะเบียนยาเลขที่ 1A 324/50เป็นต้น โดยประเภทของทะเบียนตำรับยาเช่น 1A: ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ (แผนปัจจุบัน) (ยาเดี่ยว) 2B: ยามนุษย์แบ่งบรรจุ (แผนปัจจุบัน)(ยาผสม) เป็นต้น
อาหาร : ผลิตภัณฑ์อาหาร จะเรียกเครื่องหมาย อย.ที่แสดงบนฉลากว่าเลข สารบบอาหาร ซึ่ง “ เลขสารบบอาหาร ” คือ เลขประจำตัวผลิตภัณฑ์อาหาร จะเป็นตัวเลข 13 หลัก แสดงอยู่ภายในกรอบเครื่องหมาย อย.

ตัวอย่างเช่น เครื่องหมาย อย. ที่เราเห็นอยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปนั้น ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ อาหารที่จะได้รับ อย. นั้น ส่วนใหญ่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบความเหมาะสมของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิตการควบคุมกระบวนการผลิต การสุขาภิบาลโรงงาน การบำรุงรักษาและทำความสะอาด และบุคลากรการผลิต นั่นคือ เป็นไปตามเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร หรือ จี.ดี.พี. (Good Manufacturing Practice) นั่นเอง นอกจากนั้น ต้องผ่านในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุและการแสดงข้อมูลบนฉลากว่าครบถ้วนไม่โอ้อวด หลอกลวง หรือทำให้เข้าใจผิด อาหารนั้น จึงจะได้รับเครื่องหมาย อย. เป็นสัญลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ที่มีภาชนะบรรจุปิดสนิท รับผิดชอบโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

ตัวอย่างเครื่องหมาย อย.
          รูปแสดงตัวอย่าง เลข อย. 13 หลัก

 

ความหมายของตัวเลข อย. ทั้ง 13 หลัก
กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยตัวเลข 2 หลัก หมายถึงจังหวัดที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารหรือนำเข้าอาหาร โดยใช้ตัวเลขแทนอักษรย่อของจังหวัด เช่น 12 หมายถึง จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยเลข 1 หลัก หมายถึงสถานะของสถานที่ผลิตอาหารหรือนำเข้าอาหารและหน่วยงานที่เป็นผู้อนุญาต

หมายเลข 1 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข 2 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหารที่ จังหวัดเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข 3 หมายถึง สถานที่นำเข้าอาหาร ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข4 หมายถึง สถานที่นำเข้าอาหารที่จังหวัดเป็นผู้อนุญาต
กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยเลข 5 หลัก หมายถึง เลขสถานที่ผลิตอาหารหรือเลขสถานที่นำเข้าอาหารที่ได้รับอนุญาต และปี พ.ศ. ที่อนุญาต โดยตัวเลข 3 หลักแรกคือ เลขสถานที่ผลิตหรือนำเข้าอาหารแล้วแต่กรณี ส่วนตัวเลข 2 หลักสุดท้าย คือ ตัวเลขสองหลักสุดท้ายของปี พ.ศ. ที่ได้
กลุ่มที่ 4 ประกอบด้วยเลข หนึ่งหลัก หมายถึง หน่วยงานที่ออกเลขเอกสารระบบอาหาร ดังนี้
1 หมายถึง อาหารที่ได้รับเลขสารระบบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
2 หมายถึง อาหารที่ได้รับเลขสารระบบจากจังหวัด
กลุ่มที่ 5 ประกอบด้วยเลข สี่หลัก หมายถึง ลำดับที่ของอาหารที่ผลิต หรือนำเข้า ของสถานที่แต่ละแห่ง แยกตามหน่วยงานที่เป็นผู้อนุญาต
นอกจากนี้การแสดงเลขสารระบบ อาหารในเครื่องหมาย อย. ยังกำหนดให้ใช้ตัวเลขที่มีสีตัดกับสีพื้นของกรอบ มีขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร และสีของกรอบตัดกับสีพื้นฉลาก

มีคนถามคำถาม แทรกมานิดนึง : การนำเข้า หรือการผลิตเครื่องมือแพทย์ ในประเทศไทย ต้องได้รับอนุญาตจาก อย. หรือไม่คะ

คำตอบ: การจะนำเข้าเครื่องมือแพทย์ หรือผลิตเครื่องมือแพทย์ ตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562  ต้องได้รับการอนุญาตจาก อย.ด้วยครับ โดยผู้ดูแลตรงนี้คือ กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ (จะเขียนบทความเรื่อง นำเข้าเครื่องมือแพทย์ง่ายนิดเดียว ในบทต่อไปครับ)

           เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก ป้องกันละอองฟุ้งกระจายขณะทำหัตถการทางทันตกรรม

 

เอ้า !! นอกเรื่อง กลับมาเรื่องเครื่องหมาย อย.กันต่อ

เครื่องหมาย อย.” ตรวจเช็คได้ที่ไหน?? มาดูกัน

อย.คืออะไร
                                                                          อย. คืออะไร (ไม่ใช่อะหย่อยนะ)

         จากรูปด้านบน เราพอจะแยกประเภทผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ต้องมีเลข อย. หรือเลขที่จดแจ้งแล้ว ทีนี้เราต้องรู้ว่า ไอ้เลข อย. เนี่ยเราจะตรวจเช็คความถูกต้องยังไง?  อย่างแรกคือ เราสามารถนำเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่จดแจ้งบนผลิตภัณฑ์ไปตรวจเช็คได้ในเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุขที่ ระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ หรือในเว็บไซต์อย. ที่ ตรวจเลขที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทีนี้บางคนบอกว่าโคตรยุ่งยาก เสียเวลาเลย ทาง อย. เขาก็เลยทำ ORYOR Smart Application แอปพลิเคชั่น โคตรเทพให้เรา Download ไปใช้ฟรี ๆ ทั้งระบบ iOS และ Android เลย เมื่อ Download และติดตั้งเสร็จการเปิดใช้ก็ง่ายมาก เพราะมีฟังก์ชั่น “ตรวจเลขที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ” โดยเฉพาะ เวลาเราจะตรวจสอบเราก็ใส่ให้ครบทั้งตัวอักษรและตัวเลข (ต้องใส่ให้ครบนะ ไม่งั้นเช็คไม่ได้) แต่ถ้าขี้เกียจสุดๆ ขี้เกียจจะ Download Apps ก็สามารถโทรเช็กได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือแอดไลน์ @FDAthai ก็ตรวจสอบเลข อย. ได้เหมือนกัน (แต่ผมว่า ถ้าคุณขี้เกียจมาจนถึงขั้นโทรนี่ คุณคงไม่โทรเช็คกันแล้วล่ะ)

ถ้าเลข อย. ตามที่เราเช็คใน Application ต่างๆ ถูกต้อง ระบบจะแสดงรายการออกมา ซึ่งจะมีข้อมูลดังนี้

– ประเภทผลิตภัณฑ์
– ใบสำคัญ (เลข อย.)
– ชื่อผลิตภัณฑ์ไทย – อังกฤษ
– ชื่อผู้รับอนุญาต
– New Code (เลขอ้างอิงใบรับแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์)
– สถานะ (ข้อมูลจะแสดงเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่แสดงสถานะคงอยู่)

ทีนี้พอตรวจเช็คแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเลข อย. ที่เราเห็นนี้ไม่ได้ถูกสวมมาหลอก ๆ สิ่งแรกที่สามารถสังเกตได้ง่ายที่สุดจาก

  1. ชื่อผลิตภัณฑ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  2. ชื่อการค้า (ยี่ห้อ)
  3. ชื่อผู้ประกอบการ (ผลิตโดย…) มีชื่อ มีสถานที่ผลิต ชัดเจน

     ทั้งสามชื่อนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกันบนตัวผลิตภัณฑ์  แต่!! การตรวจเช็คและการสังเกตทั้งหมดนี้ ยังไม่สามารถรับประกันได้ว่า ผลิตภัณฑ์นั้นจะเป็นของมีคุณภาพเสมอไป เพราะ “เครื่องหมายเลข อย.” หรือ “เลขที่จดแจ้ง” เป็นเพียงการมาจดแจ้งว่าจะผลิตผลิตภัณฑ์อะไร โดยมีส่วนประกอบอะไร หากไม่ผิดหลักเกณฑ์ ไม่มีส่วนผสมต้องห้ามก็สามารถจดได้ หลังจากนั้น อย. จะสุ่มตรวจภายหลังว่าสินค้านั้นทำตามที่จดแจ้งหรือไม่ (เท่ากับว่าหากเรายื่นผลิตภัณฑ์จดอย่างถูกต้อง แต่ภายหลังเราแอบใส่สารอะไรลงไปก็ได้ ตราบใดที่ อย. สุ่มตรวจไม่เจอ)

     เครื่องหมาย อย. เชื่อได้แค่ไหน?
    การที่มีเครื่องหมาย อย. หมายถึงผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้การผ่านเกณฑ์การตรวจสอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น แต่ผมอยากให้ทราบเพิ่มเติมมีดังนี้
1. ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์นั้น ทาง อย. ไม่ได้ตรวจสอบอย่างละเอียดทั้งหมด เจ้าของสินค้าจะยื่นข้อมูลส่วนประกอบ จากนั้น อย. เพียงแค่พิจารณาปริมาณส่วนผสมว่าปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
2. ส่วนประกอบที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ กับส่วนประกอบที่ยื่นกับ อย. อาจไม่ตรงกัน คือ จดอีกอย่าง ใส่จริงอีกอย่างอาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งอันนี้ผู้ผลิตคิดไม่ซื่อแน่นอน ผิดกฏหมายด้วย ถ้าพบเจอสามารถแจ้งทาง อย. ได้เลย
3. การแพ้ผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องส่วนบุคคล อย. ไม่เกี่ยว ผู้บริโภคต้องพิจารณาจากส่วนผสมเอง

4.เพื่อความปลอดภัยผู้บริโภค ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องตามฉลาก (โดยเฉพาะยา) และต้องพิจารณาการโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณต่างๆ อย่าหลงเชื่ออะไรที่อวดอ้างเกินจริง

                                                   ตู้อบฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงรังสี UVC ” PHILIPS UVC Chamber “

 

ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. VS ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมาย อย.

    เคยสงสัยหรือไม่ ว่าทำไมขนมบางห่อมีเครื่องหมาย อย. แล้วทำไมยาสีฟันไม่เห็นมีเครื่องหมาย อย. แต่กลับอยู่ในผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมี อย. อ้าว งง !?..ไม่ต้อง..งงครับ เพราะผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทแบ่งตามเครื่องหมาย อย. เป็น ดังนี้

–  ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. หรือผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ยาฆ่าแมลง (อย. วอส)

   – ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมาย อย. ได้แก่ ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการละเอียด เครื่องมือแพทย์ทั่วไป วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ซึ่งจะต้องมีเลขที่จดแจ้งหรือทะเบียนยากำกับบนผลิตภัณฑ์

     น้ำยาทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค DC-10 (ผลิตในประเทศไทย)

 

** อย.วอส. อันนี้เจอในกลุ่มพวกน้ำยาทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ และยาฆ่าแมลง

     อย. แนะผู้บริโภค เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านเรือนที่มีฉลาก ระบุเลขทะเบียนวัตถุอันตรายทางสาธารณสุข (วอส.) ในกรอบเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่รับแจ้งเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดบ้านเรือนให้ถูกประเภท และเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ควรอ่านฉลาก ให้ละเอียดและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด

     ภก.ประพนธ์ อางตระกูลรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ในฐานะโฆษก อย. เปิดเผยว่า จากการที่มีข่าวในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในบ้านเรือนผิดวิธี ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ หรือการนำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดไปแบ่งบรรจุลงในขวดน้ำดื่ม ทำให้เด็กเกิดความเข้าใจผิด นำไปรับประทานโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เกิดอันตรายต่อสุขภาพนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข มีความห่วงใยผู้บริโภค จึงขอแนะนำวิธีการเลือกซื้อและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านเรือนอย่างถูกวิธี โดยการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ในบ้านเรือน ควรสังเกตฉลากที่มีการระบุรายละเอียด ดังนี้ชื่อและปริมาณสารสําคัญเลขทะเบียนวัตถุอันตรายทางสาธารณสุข (วอส.) ในกรอบเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่รับแจ้ง วิธีใช้ สรรพคุณ คําเตือน วิธีการเก็บรักษา อาการเกิดพิษ วิธีแก้พิษเบื้องต้น รวมทั้งระบุชื่อที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้นําเข้าหรือผู้จําหน่าย เป็นต้น

ส่วนการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านเรือน ควรเลือกใช้ให้ถูกประเภทกับสภาพความสกปรกของพื้นผิวเนื่องจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ในบ้านเรือน แบ่งออกเป็น 5 ประเภทตามส่วนประกอบของสารสำคัญ คือ

  1. ผลิตภัณฑ์ประเภทด่าง สามารถทำความสะอาดคราบไขมันหรือน้ำมัน คราบไคลประเภทโปรตีน เนื่องจากด่างจะทำปฏิกิริยากับไขมันกลายเป็นสารที่ละลายน้ำได้ จึงมักใช้ในการทำความสะอาดเตาอบ ขจัดการอุดตันท่อ และมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค
  2. ผลิตภัณฑ์ประเภทกรด ใช้สำหรับกำจัดการสะสมของคราบฝังแน่น เช่น คราบหินปูน คราบเหลือง คราบสนิม หรือการสะสมของแร่ธาตุที่มีในน้ำกระด้างที่มักพบในห้องน้ำ และมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค
  3. ผลิตภัณฑ์ที่ผสมตัวทำละลายใช้ในการขจัดฝุ่นละอองบนพื้นหรือผิววัสดุต่าง ๆในบ้านเรือน เช่น เฟอร์นิเจอร์
  4. ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารซักล้างใช้ในการทำความสะอาดคราบสกปรก ที่ล้างออกได้ง่าย เช่น บริเวณพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และใช้ในการล้างจานชาม
  5. ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารฟอกขาว ใช้สำหรับขจัดคราบ ซักผ้าขาว และยังสามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคได้

         รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ผู้ใช้งานควรอ่านฉลากให้ละเอียด และปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด ขณะใช้ผลิตภัณฑ์ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากาก ถุงมือยาง และรองเท้ายางทุกครั้ง หลังใช้งานควรล้างถุงมือยาง รองเท้ายาง และล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทุกครั้ง ไม่ควรถ่ายผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดลงในขวดเครื่องดื่ม หรือภาชนะบรรจุอื่น และควรเก็บให้พ้นมือเด็ก ไม่วางผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารไวไฟ เช่น แอลกอฮอล์ไว้ใกล้กับแหล่งที่ให้เปลวไฟหรือความร้อน ไม่เผาภาชนะบรรจุที่เป็นสเปรย์อัดก๊าซ เนื่องจากอากาศที่เหลืออยู่ภายในอาจขยายตัว สามารถทำให้เกิดการระเบิดได้ เมื่อผลิตภัณฑ์มีการสัมผัสกับผิวหนัง ควรล้างออกทันที และหากเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด เพื่อแก้ไขอาการเบื้องต้น ถ้าจำเป็นให้นำผู้ป่วย พร้อมทั้งภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ไปพบแพทย์โดยเร็ว

สารเคมี/ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ และกรมประมง

     สารเคมีกลุ่มนี้ ได้รับ การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ด้านการปศุสัตว์ และประมง  โดยฝ่ายทะเบียนใบอนุญาตและมาตรฐานวัตถุอันตราย กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์ หรือ กรมประมง

     น้ำยาหรือ สารเคมีที่จดแจ้งกรมปศุสัตว์นั้น มันบอกชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นสารเคมี หรือผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ที่ใช้กับสัตว์ ใช้กับคอกสัตว์ ใช้ในโรงฆ่าสัตว์ ไม่ว่าจะพยายามใช้ Wording สวยหรูเปลี่ยนแปลงยังไง น้ำยาฆ่าเชื้อ สารเคมี ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย นั้นคือมันต้องใช้กับสัตว์ มาใช้กับคน หรือนำมาฉีดพ่นใส่คน หรือฉีดพ่นตามอาคารบ้านเรือน ออฟฟิศ ร้านค้า คอนโดมิเนียม สำนักงานไม่ได้ เขาให้ใช้กับคอกสัตว์ กรงสัตว์  ใช้ในบ่อปลา บ่อกุ้ง บ่อกบ ไม่อยากพูดเยอะมันชัดเจน ไปดูเอาละกัน

ระวัง! คำโฆษณาเกินจริง

     ฟังดูแล้วถึงผู้บริโภคอย่างเราจะมีช่องทางให้ตรวจสอบ แต่ก็ใช่ว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะมีประสิทธิภาพเสมอไป แล้วเราจะทำอย่างไรดีล่ะ อย่างแรกจงจำให้ขึ้นใจว่า “โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม” โดยองค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) มีข้อแนะนำป้องกันการหลอกลวงการโฆษณาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพตามนี้

– ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ารักษาโรคได้สารพัด เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สามารถรักษาโรคสมองฝ่อได้

– ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองจากบุคคลว่าใช้แล้วเห็นผลจริง เช่น ผลิตภัณฑ์นี้รักษาฉันให้หายจากโรคได้

– ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ามาจากธรรมชาติล้วน ๆ แต่ในความเป็นจริงไม่ได้แน่นอนเสมอว่าว่าวัตถุดิบจากธรรมชาติจะปลอดภัย เช่น เห็ดในธรรมชาติอาจมีพิษแฝงได้

– อย่าหลงเชื่อโฆษณาที่ใช้ข้อความว่า รักษาได้อย่างมหัศจรรย์ เป็นการค้นพบใหม่ เป็นการปฏิวัติทางการแพทย์

– การกล่าวอ้างถึงทฤษฎีสมคบคิดระหว่างบริษัทยาและรัฐบาล เพื่อปิดบังผลการวิจัยอันมหัศจรรย์ไว้เป็นความลับ

-ไม่ควรหลงเชื่อผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างว่าใช้แล้วเห็นผลในเวลาอันรวดเร็ว

     และอีกวิธีหนึ่งคือ เช็คเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่จดแจ้งกับคำโฆษณาว่าตรงกันหรือไม่ เช่น บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารจะพบการโฆษณาในเชิงบำบัด รักษา หรือบรรเทาโรค แต่ไม่พบทะเบียนตำรับยาบนผลิตภัณฑ์ กลับมีเครื่องหมาย อย. แทน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าสินค้านี้คือผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่ใช่ยาวิเศษแต่อย่างใด

ช่องทางติดต่อ อย.

      ผมขอเน้นย้ำตรงนี้อีกครั้งว่า ผู้บริโภคอย่างเราสามารถตรวจเลข อย. ได้ด้วยตัวเอง แต่ !! เลขที่ออกมานั้นหวยจะตกอยู่ที่ใครก็คงเป็นเรื่องโชคลาภ วาสนา เพราะแม้นว่าจะตรวจสอบเจอเลข อย. ก็ใช่ว่าจะเป็นสินค้ามีคุณภาพเสมอไป ตามข่าวดังที่ได้ออกมาอยู่ช่วงหนึ่ง  ทั้งนี้ หากผู้บริโภคมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา E-mail : toxic@fda.moph.go.th กรณีผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ สามารถแจ้งร้องเรียนได้ตามช่องทางต่อไปนี้ เพื่อ อย. จะดําเนินการปราบปราม และดําเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทําความผิดต่อไป

  • สายด่วน อย. 1556
  • E-mail: 1556@fda.moph.go.th
  • ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004
  • ร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application
  • Line @FDAthai
  • เว็บไซต์กระทรวงสาธารณะสุข www.moph.go.th
  • เว็บไซต์ อย. www.oryor.com
  • สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

ข้อมูลอ้างอิง

  • ขอขอบคุณ เนื้อหาบทความ และรูปภาพบางส่วนจาก wongnai.com
  • ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : กองควบคุมยาและอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์
  • ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • เพิ่มเติมข้อมูล บางส่วนโดย กัมปนาถ ศรีสุวรรณ

** สนใจสอบถามสินค้า จำหน่าย ติดตั้ง ซ่อม และบริการ ติดต่อ คุณกัมปนาถ T.097-1524554 id Line >> Lphotline

  • เครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UV-C (ทั้งแบบเครื่อง UV-C Trolley และตู้อบ UV-C หรือ UVC-Desktop Disinfection) ผลิตภัณฑ์ Philips
  • เครื่องฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค แบบละอองฝอย (Aerosol ULV Cold Fogger) ผลิตภัณฑ์ SAINTFINE
  • พัดลมดูดอากาศ FFU แบบมีฟิลเตอร์ H13 HEPA (FAN FILTER UNIT) สำหรับ Fresh Air Intake ดูดอากาศสะอาดเข้าห้อง Clean Room
  • เครื่องฟอกอากาศ แบบ H13 HEPA FILTER ระดับ Medical Grade ที่ให้ค่า ACH และ CADR สูง ได้ตามข้อกำหนด ก.45 เมย. 63 ของกองแบบแผนฯ
  • เครื่องฟอกอากาศ แบบ Electrostatic Precipitator (ESP) ชนิด Filter ถอดล้างน้ำได้ สำหรับศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาล และคลีนิค
  • เครื่องดุดละอองฝอยนอกช่องปาก (EOS) สำหรับงานหัถการทันตกรรม ที่มีการฟุ้งกระจาย ผลิตภันฑ์ RUIWAN
  • จำหน่ายระบบดูดกรองควัน และกรองอากาศ งานอุตสาหกรรม งานช่างทอง จิวเวลรี่ แบบเคลื่อนย้ายได้ ผลิตภัณฑ์ RUIWAN
  • รับปรับปรุงห้องทันตกรรม สร้างระบบดูดละอองฝอยนอกช่องปาก ชนิด ระบบท่อดูดขึ้นบนฝ้าเพดาน
  • รับปรับปรุงห้องผู้ป่วยแยกโรค Cohort Ward , ห้องความดันลบ (Negative Pressure Room)
  • รับติดตั้ง ชุดหลอด UV-C ฆ่าเชื้อโรค พร้อม Sensor ตรวจการเคลื่อนไหว ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (LAB) ห้องปลอดเชื้อ (Clean Room)
  • จำหน่ายเครื่องสร้างอากาศแรงดันลบ แบบเคลื่อนย้ายได้ จากประเทศเยอรมันนี ผลิตภัณฑ์ Deconta
  • จำหน่าย ไฟฉุกเฉิน เครื่องมือสนับสนุนงานแพทย์สนาม การแพทย์ฉุกเฉินกรณีภัยพิบัติ และการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง พร้อมระบบฆ่าเชือโรค (Medical Grade) ชนิด Electrostatic Precipitator + H13 HEPA Filter + UV-C