Posted on

นิติบุคคลอาคารชุดฯ – อพาร์ตเม้นท์ ต้องทำยังไง ถ้าลูกบ้านติด COVID-19

นิติบุคคลอาคารชุดฯ – อพาร์ตเม้นท์  ต้องทำยังไง ถ้าลูกบ้านติด COVID-19

     ตั้งแต่กลางเดือนเมษายน 2564 นี้ คอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ  หรือ อพาร์ตเม้นต์ หลายๆ แห่ง คงมีผู้พักอาศัยที่เป็นผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อ COVID-19 บ้างแล้ว หรือบางห้องก็เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ต้องกักตัว 14 วันเพื่อสังเกตอาการ  หรือถ้ายังไม่มี ก็อาจจะมีในอีกไม่นานละครับ (ไม่ได้แช่งนะ แต่ทรงมันมาแนวนั้น) พี่น้องผู้จัดการอาคารต้องเตรียมตัวล่วงหน้ากันไว้นะครับ

     ในฐานะที่ผมทำงานด้านระบบปรับปรุงคุณภาพอากาศ และฆ่าเชื้อโรคในโรงพยาบาล และอาคารสำนักงาน ผมได้มีโอกาสเดินทางไปสำรวจหน้างาน ให้คำแนะนำ และติดตั้งอุปกรณ์บริการให้กับโรงพยาบาลรัฐ และเอกชนหลายๆแห่ง รวมถึงคอนโดมิเนียมหรูกลางกรุง อีกหลายตึก  วันนี้เลยมีเกร็ดความรู้เล็กน้อย มาแนะนำแนวทางการบริหารจัดการของผู้จัดการ/คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด หรือทางอพาร์ตเม้นต์ ดังนี้ครับ

ข้อสำคัญ : เราต้องมองผู้ป่วย ที่อยู่ในคอนโดฯ หรือ อพาร์ตเม้นท์ของเรา เป็นครอบครัว เป็นเพื่อน

       เราต้องให้โอกาสเขา ให้เขาได้กักตัว รักษาตัว ให้เขาอยู่ในห้อง จัดให้เจ้าหน้าที่นิติฯโทรขึ้นไปพูดคุยทำความเข้าใจกับเค้า แนะนำการกักตัวตามมาตรฐานสาธารณสุข จัดอุปกรณ์วัดไข้ ถุงขยะติดเชื้อ และอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการกักตัว แนะนำขั้นตอน นัดเวลาการส่งผลการวัดไข้ แนะนำการสั่งอาหาร เวลาและวิธีรับอาหาร เพิ่มช่อง นัดเวลาและวิธีการเก็บขยะ ชี้แจงเหตุผลที่ต้องขอยกเลิก ตัดระบบ Key Card ตัดระบบการเข้าออกเป็นการชั่วคราว ขอรายละเอียดผุ้ติดต่อ ผู้ปกครอง หรือญาติ ของผู้ป่วย ให้เค้าจัดเตรียมเอกสารสำคัญที่จำเป็น บัตรประชาชน บัตรโรงพยาบาล เอกสารประกันชีวิต ฯลฯ ประสานงานโรงพยาบาลคู่ขนานในเขตพื้นที่ จัดทำแผนการรับตัว ส่งตัวไปรักษา ประสานงานบริษัทรักษาความปลอดภัย และบริษัทแม่บ้านรักษาความสะอาด ของอาคาร เพื่อกำหนดวิธีการร่วมกัน ให้เข้าใจตรงกัน หาวิธีเพิ่มช่องทางการสื่อสาร อาจจะสร้าง Account ใลน์เฉพาะกิจส่วนกลางของอาคาร ไว้ให้ผู้ป่วย ผู้กักตัว ได้ใช้แอดใลน์ส่วนกลาง ไว้สื่อสารกัน

    ถ้าจำเป็นที่เขาต้องออกนอกห้อง ซึ่งเขาอาจจะต้องไปโรงพยาบาล เราก็จัดให้มีการกำหนดเส้นทางการเดินให้ห่าง ไม่ปะปนกับผู้ใช้อาคารคนอื่น กำหนดให้ใช้ลิฟท์ เฉพาะเป็นตัวๆไป ซึ่งถ้าผู้ป่วยเข้าใช้แล้ว เมื่อออกไปก็ต้องมีการทำความสะอาด ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในบริเวณที่ผู้ป่วยผ่านไป ทันที

    อันนี้เป็นคำแนะนำส่วนตัวของผม ตามที่ผมได้ไปเห็นได้ไปทำงานตามอาคารต่างๆมานะครับ ถ้าอย่างไรก็ขอให้ศึกษาจากคู่มือการปฏิบัติของสถานกักกันโรคทางเลือก (Alternative State Quarantine) ลว.17-4-63 ด้วยนะครับ

    ขอให้คิดซะว่า การที่เราช่วยให้เขาสามารถกักตัว และใช้ชีวิตอยู่ในห้องได้อย่างเหมาะสม เราเองและคนอื่นๆ ก็จะปลอดภัย และได้บุญ ด้วยครับ

    ** ผมไปอ่านเจอบทความดีๆ เกี่ยวกับการจัดการรองรับผู้พักอาศัยที่เป็นผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อ COVID-19 ในคอนโดมิเนียม / อพาร์ตเม้นท์ ที่เขียนโดยอาจารย์ นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์  ผมขออนุญาตเอามาแชร์ครับ

CREDIT ที่มาของบทความ : อาจารย์ นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ 

    ช่วงนี้หลายคอนโด/อพาร์ตเม้นต์ คงมีผู้พักอาศัยที่เป็นผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อ COVID-19 บ้างแล้ว หรือถ้ายังไม่มี ก็อาจจะมีในอีกไม่ช้า เลยขอแนะนำแนวทางการบริหารจัดการของผู้จัดการ/คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด หรือทางอพาร์ตเม้นต์ ดังนี้ครับ

ตู้อบฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UVC Philips

Step A:

A1: มาตรการป้องกันที่ควรมีอยู่แล้ว

– การทำความสะอาดจุดสัมผัสในพื้นที่ส่วนกลางที่มีผู้ใช้บ่อยๆ เช่น ปุ่มกดลิฟต์, ลูกบิด/ที่จับประตู, ราว, รถเข็นส่วนกลาง, ตู้กดน้ำ, อุปกรณ์ fitness ฯลฯ

– การดูแลพื้นที่ส่วนกลาง เช่น fitness, ห้องส่วนกลาง, ห้องประชุม, สนามเด็กเล่น, สวน ฯลฯ ตามมาตรการควบคุมโรค

– การขอความร่วมมือผู้พักอาศัย/บุคคลภายนอก/เจ้าหน้าที่ สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และเว้นระยะห่าง ในพื้นที่ส่วนกลาง

A2: มาตรการเตรียมรับมือ

– ประชาสัมพันธ์ให้ผู้พักอาศัยแจ้งหากทราบว่าเป็นผู้ติดเชื้อ (ส่วนกรณีที่ต้องกักตัว แต่ไม่ใช่ผู้ติดเชื้อ พิจารณาตามความเหมาะสมว่าจะให้แจ้งหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมีมาตรการดูแลอย่างไรหรือไม่)

– เตรียมแผนสำหรับกรณีมีผู้ติดเชื้อเอาไว้

– เตรียมช่องทางสื่อสารที่เข้าถึงผู้พักอาศัยได้เร็วเอาไว้ (ควรมีหลายช่องทาง)

– เตรียมเบอร์ติดต่อของผู้เกี่ยวข้องเอาไว้ เช่น กรมควบคุมโรค โรงพยาบาลในพื้นที่ บริษัททำความสะอาด บริษัท supplier ของอุปกรณ์ส่วนกลาง ฯลฯ

– เตรียมเบอร์ติดต่อของคณะกรรมการและ จนท. ทุกฝ่าย ทุกคนของนิติบุคคล/อพาร์ตเม้นต์ เอาไว้

– เตรียมสื่อประชาสัมพันธ์กรณีต้องสื่อสารเรื่องการมีผู้ติดเชื้อ หรือมาตรการต่างๆ เอาไว้ก่อน

– เตรียมกำลังสำรอง กรณีต้องกักตัวเจ้าหน้าที่ของนิติบุคคล/อพาร์ตเม้นต์

– หากมีหมอหรือผู้เชี่ยวชาญด้านที่เกี่ยวข้องในอาคารชุด/อพาร์ตเม้นต์ ที่อาจเป็นที่ปรึกษาได้ พิจารณาสอบถามความสะดวกใจในการช่วยให้คำปรึกษา

– ทำความเข้าใจเรื่องวิธีการระบาดของโรค นิยามความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงของผู้สัมผัส (วงกลม 3 วง) แนวทางการดำเนินการสำหรับผู้สัมผัสแต่ละวง ฯลฯ

ล้อเลื่อนฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงรังสี PHILIPS UVC Trolley Gen2 ( แบบ 1 แขน 2 หลอด UVC : และแบบ 2 แขน 4 หลอด UVC )

Step B: การดำเนินการเบื้องต้นเมื่อได้รับแจ้งว่ามีผู้ติดเชื้อ

B1: ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก เราเตรียมรับมือไว้แล้ว/เรารู้ก่อนแล้วว่าเดี๋ยวก็คงถึงคราวที่ต้องดำเนินการ

B2: ตั้งหลัก รวบรวมข้อมูล (information gathering)

– ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากเจ้าตัว ว่าเป็นผู้ติดเชื้อที่ทราบผลแล้วว่าเป็นบวก หรือแค่เป็นผู้สงสัยว่าติดเชื้อ รอผล หรือผลเป็นลบ แต่ต้องกักตัว ฯลฯ

– หากมีมากกว่า 1 คน ทำทะเบียนข้อมูลเป็นรายบุคคล (ควรดูแลความลับของข้อมูลให้ดี)

– กรณีเป็นผู้ติดเชื้อ (ผลบวก) อธิบายเจ้าตัวว่ามีความจำเป็นต้องขอข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อการดูแลความปลอดภัยของผู้พักอาศัยโดยรวม และเพื่อการดูแลผู้ติดเชื้อเอง

– ขอทราบวันที่มีอาการ อาการที่เป็น (ถ้ามี) วันที่ไปตรวจ วันที่ทราบผล เพื่อเริ่ม establish timeline

– ขอ timeline ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคอนโด เช่น วันเวลาและตำแหน่งที่ใช้พื้นที่ส่วนกลาง วันเวลาเข้าออกคอนโด เท่าที่จะ recall ได้

– ขอทราบว่าทางโรงพยาบาลแนะนำอะไรบ้าง และจะมีการดำเนินการต่อไปอย่างไร

– ตรวจสอบกล้องวงจรปิดเพื่อเสริม timeline หากทำได้

– สำหรับประวัติการสัมผัสและ timeline ส่วนอื่นๆ นอกอาคารชุด/อพาร์ตเม้นต์ จริงๆ ไม่เกี่ยวกับการทำหน้าที่ภายในอาคารชุด/อพาร์ตเม้นต์โดยตรง อาจพิจารณาพูดคุยกับเจ้าตัวเพื่อสอบถามความสะดวกใจในการบอก timeline นอกคอนโดแก่ผู้พักอาศัย (การเปิดเผย timeline นอกอาคารชุด/อพาร์ตเม้นต์ เป็นเรื่องของหน่วยงานทางการ เช่น กรมควบคุมโรค กทม./จังหวัด และเจ้าตัว + เจ้าของพื้นที่ตาม timeline เอง ไม่ใช่เรื่องที่ทางอาคารชุด/อพาร์ตเม้นต์จะเปิดเผยโดยพลการได้เอง)

B3: ประเมินผลกระทบ (Impact Assessment)

– พิจารณาว่า ตามข้อมูล timeline ภายในคอนโด/อพาร์ตเม้นต์ พื้นที่ใดคือจุดเสี่ยงบ้าง โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านขนาดของพื้นที่ โอกาสการติดต่อผ่านจุดสัมผัส การถ่ายเทอากาศ จำนวน/ความหนาแน่นผู้ใช้บริการ พฤติกรรมการสวมหน้ากาก ระยะเวลาที่ผู้ติดเชื้ออยู่ในพื้นที่ และระยะเวลาตั้งแต่ผู้ติดเชื้อใช้บริการครั้งสุดท้ายจนถึงปัจจุบัน

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบบตั้งพื้น (Philips UVC Air Disinfection Unit)

Step C: การดำเนินการเพื่อแก้ไขสถานการณ์

C1: กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ และลำดับความสำคัญ

– ดูแลความปลอดภัยโดยรวมของผู้พักอาศัยและเจ้าหน้าที่ ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อ

– ดูแลความปลอดภัยและสวัสดิภาพทั้งกายและใจของผู้ติดเชื้อ/ผู้กักตัว (กรณียังไม่สามารถไปรับการรักษาที่ รพ. ได้ หรือกรณีที่ไม่ใช่ผู้ติดเชื้อแต่ต้องกักตัวเองในที่พัก)

– ได้รับความร่วมมือจากผู้ติดเชื้อ/ผู้กักตัวในการปฏิบัติตัว

– การสื่อสารในภาวะวิกฤต (crisis communication) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ได้รับการยอมรับจากผู้พักอาศัย เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้อง

– การสนับสนุนของคณะกรรมการ

– ขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่

C2: เอาวัตถุประสงค์ในข้อ C1 ตามลำดับความสำคัญ มาตั้งเป็นโจทย์ในการดำเนินการ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการดำเนินการ (อาจแตกต่างตามบริบท)

C2.1 แจ้งกรมควบคุมโรค/ทางการ ตามกลไก

C2.2 ทำความสะอาดพื้นที่เสี่ยงที่ทราบตามข้อมูลใน timeline ภายในอาคารชุด/อพาร์ตเม้นต์ เพิ่มเติมเป็นพิเศษ เน้นจุดสัมผัสอย่างเต็มที่

C2.3 กรณีพื้นที่ส่วนกลางที่เสี่ยงสูง หรือยังคงมีโอกาสเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อ และสามารถปิดให้บริการได้ พิจารณาปิดให้บริการตามระยะเวลาที่เหมาะสม

C2.4 หากเป็นพื้นที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท พิจารณาการฉีดพ่นน้ำยาทำความสะอาดตามความเหมาะสม

   ข้อสังเกต: สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ไม่ได้แนะนำการฉีดพ่นน้ำยาในพื้นที่ต่างๆ เพราะเสี่ยงเรื่องละอองฝอยจากน้ำยาอาจทำให้เชื้อตามผิวสัมผัสปลิวขึ้นมาในอากาศง่ายขึ้น และไม่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์ในการป้องกันการแพร่ระบาดโดยตรง

   ดังนั้น ในความเห็นผม การดำเนินการอาจเป็นเรื่องการพยายาม take action และบริหารความคาดหวังของผู้พักอาศัยเป็นหลัก อาจพิจารณาทำถ้าเป็นพื้นที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท สามารถปิดพื้นที่ชั่วคราวได้ แต่หากเป็นพื้นที่เปิด อากาศถ่ายเทดี หรือมีผู้อื่นใช้บริการตลอด ไม่มีประโยชน์ ไม่ควรทำ

C2.5 แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ติดเชื้อ หากยังจำเป็นต้องพักอาศัยในห้องพักระหว่างรอเข้ารับการรักษาใน รพ.

– เริ่มต้นโดยการสอบถามอาการทางกายและสภาพจิตใจ เพื่อแสดงถึงความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจ (start with empathy)

– สอบถามให้แน่ใจว่าไม่มีอาการรุนแรงที่ควรต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์โดยเร็ว เช่น หายใจหอบเหนื่อย หายใจเร็ว หายใจลำบาก หายใจไม่ออก เพลียมากผิดปกติ ฯลฯ

– ขอให้แจ้งผู้สัมผัสไปรับการตรวจ และหากเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง ให้กักตัว 14 วัน นับจากวันสัมผัสครั้งสุดท้าย

– แยกตัวจากผู้อื่น ไม่ควรมีคนอื่นพักในห้องพัก

– ห้ามออกจากห้อง (ยกเว้นกรณี รพ. รับไปรักษา หรือกรณีฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ โดยในกรณีเช่นนั้น ขอให้สวมหน้ากากและเว้นระยะห่าง เลี่ยงการสัมผัสจุดต่างๆ อย่างเต็มที่)

– หากทำอาหาร ซักผ้า เองได้ ขอให้ทำ

– ตกลงเรื่องมาตรการรับส่งอาหาร delivery ให้แจ้งเจ้าหน้าที่รับขึ้นมาไว้หน้าประตูห้อง เว้นระยะห่าง แล้วเจ้าตัวสวมหน้ากากแล้วนำเข้าไปเอง เปิดประตูเพียงช่วงสั้นๆ

– กรณีขยะที่จำเป็นต้องทิ้งเลย เก็บรอไว้ในห้องนานๆ ไม่ได้ เช่น เศษอาหาร ให้ใส่ถุงแยก 2 ชั้น ประสานเจ้าหน้าที่รับที่หน้าประตูโดยหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกัน สวมหน้ากากทุกครั้งก่อนเปิดประตู รับไปกำจัดโดยดูแลแบบขยะติดเชื้อ

– หลีกเลี่ยงการส่งซักรีดนอกห้อง เท่าที่ทำได้ (กรณีจำเป็น ให้ใส่ถุงแยก ระมัดระวังขณะซัก ใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เหมาะสม)

– แลกเบอร์ติดต่อ และแจ้งแนวทางการติดต่อหากมีอาการแย่ลงที่ต้องรีบรับการรักษา หรือกรณีต้องการให้ช่วยเหลือ/ประสานงานอะไร รวมทั้งกรณีที่ได้รับการประสานงานจาก รพ. หรือ รพ. แจ้งแผนการรับไปรักษา

C2.6 เรียกประชุมเจ้าหน้าที่ สื่อสารสถานการณ์ ความเสี่ยง การดำเนินการ แนวนโยบายและแนวทางการตอบคำถาม สิ่งที่ขอความร่วมมือ ให้โอกาสสอบถามและแสดงความรู้สึกเต็มที่ ดูแลขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่

C2.7 สื่อสารกับผู้พักอาศัย/ผู้ใช้บริการ

– กรณี timeline สามารถระบุผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงโดยตรงได้ แจ้งให้ทราบเป็นรายบุคคล แนะนำให้ไปตรวจหาเชื้อและกักตัว หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของ รพ.

– สื่อสารให้ผู้พักอาศัย/ผู้ใช้บริการทราบผ่านหลายช่องทางหากทำได้ ว่า มีผู้ติดเชื้อ แจ้ง timeline หรือพื้นที่เสี่ยงสูงภายในอาคารชุด/อพาร์ตเม้นต์ เท่าที่ทำได้ แจ้งแนวทางการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ แจ้งสิ่งที่ขอความร่วมมือจากผู้พักอาศัย/ผู้ใช้บริการ (กรณีนี้ การแจ้งพื้นที่เสี่ยงในอาคาร เป็นกรณีที่มี duty to warn คือ หน้าที่ในการเตือนภัย แก่ผู้พักอาศัย/ผู้ใช้บริการ)

– ไม่ควรบอกชื่อ เลขห้อง ของผู้ติดเชื้อ/ผู้กักตัว เพราะไม่ได้มีประโยชน์เพิ่มเติม (ทางเจ้าหน้าที่ควรดูแลความเสี่ยงของพื้นที่ต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้วอยู่แล้ว และไม่มี duty to warn เลย เพราะเชื้อไม่ได้กระโดดแพร่ผ่านอากาศจากห้องของผู้ติดเชื้อไปยังห้องอื่นเพื่อติดต่อไปยังผู้พักอาศัยคนอื่นโดยตรง) ทั้งการเปิดเผยยังมีความเสี่ยงกับสวัสดิภาพของเจ้าตัว และสุ่มเสี่ยงที่จะเกิด incident ที่ทำให้เจ้าตัวไม่ปลอดภัย หรือทำให้เกิดผลร้ายต่อการดูแลตัวเอง หรือเกิดการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น

– การบอกชั้น ปีก และอาคาร ของผู้ติดเชื้อ พิจารณาชั่งน้ำหนักตามความจำเป็น ความเสี่ยง และความเหมาะสม

– กรณีผู้กักตัวที่ไม่ใช่ผู้ติดเชื้อ ไม่มีความจำเป็นต้องแจ้งข้อมูลใดๆ เพราะยังไม่ใช่ผู้ติดเชื้อ การแจ้งไม่มีประโยชน์เพิ่มบนข้อมูลที่มี และไม่มี duty to warn

– กรณีผู้ติดเชื้อ/ผู้กักตัวไม่ร่วมมือ พิจารณาแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่และการดำเนินการที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความเสี่ยงต่อผู้อื่น และสวัสดิภาพของผู้ติดเชื้อ/ผู้กักตัว ประกอบกัน

– กรณีผู้พักอาศัย/ผู้ใช้บริการ มีท่าทีคุกคาม ไม่ร่วมมือ bully หรือ harass ผู้ติดเชื้อ/ผู้กักตัว ดูแลความปลอดภัยและสวัสดิภาพของทุกฝ่าย และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ เป็นลำดับแรก และพยายามส่งเสริมการเข้าอกเข้าใจและเห็นใจกัน และชี้แจงการทำหน้าที่/มาตรการดูแลความเสี่ยงต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งเหตุผลที่อาจไม่สามารถ/ไม่ควรทำตามที่ผู้พักอาศัย/ผู้ใช้บริการร้องขอ (ถ้ามี) หากจำเป็นอาจต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มาดูแลความปลอดภัยและความเรียบร้อย

– สื่อสารโดยยึดหลักการสื่อสารในภาวะวิกฤติที่ดี: สื่อสารเร็ว สื่อสารถูกต้อง ส่งเสริม trust ระหว่างกัน ไม่โกหกหรือปิดบัง ส่งเสริมความร่วมมือและการดำเนินการที่เหมาะสม

C2.8 การดำเนินการหลังผ่านระยะแรก

– พูดคุยกับผู้ติดเชื้อ/ผู้กักตัว เป็นระยะ เช่น วันละ 1-2 ครั้ง เพื่อติดตามอาการ ประเมินสภาพจิตใจ ความร่วมมือ สิ่งที่ต้องการให้สนับสนุน อัปเดตการติดต่อประสานงานกับ รพ./แผนการมารับตัว

– พิจารณาสื่อสารกับผู้พักอาศัย/ผู้ใช้บริการเป็นระยะ โดยเฉพาะกรณีที่มีข้อมูลความเสี่ยงของผู้พักอาศัย/ผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นหรือความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงไป หรือมีการดำเนินการที่ควรสื่อสารให้ทราบ

– monitor สถานการณ์ ความรู้สึก ความคาดหวัง และความเสี่ยงต่างๆ เป็นระยะๆ

– monitor ขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ นิติบุคคลเป็นระยะๆ

– ทบทวนการดำเนินการ ถอดบทเรียน ปรับปรุงเพื่อการพัฒนาสำหรับเหตุการณ์ครั้งต่อไป

ขอให้พวกเราทุกคนมีสติ และผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน โดยความปลอดภัยของทุกฝ่าย และความเข้าอกเข้าใจกันครับ

หลังจากอ่านบทความของอาจารย์แล้ว ก็ลองพิจารณาปฏิบัติกันดูนะครับ สุดท้ายนี้ ขอให้พี่น้อง เพื่อนฝูงทุกท่านมีความสุขในปีใหม่สงกรานต์ 2565 นี้ และรอดปลอดภัยจากเชื้อโควิด ทุกท่านครับ

ยินดีปรึกษาระบบปรับปรุงคุณภาพอากาศ ไม่มีค่าใช้จ่าย

ติดต่อคุณ กัมปนาถ

T. 097-1524554 Id Line: Lphotline

Posted on Leave a comment

การใช้รังสียูวีซี (UVC) ในการฆ่าเชื้อโควิด 19

COVID-19 ใครว่ามันสูญพันธ์ มัน มีการพัฒนาการสายพันธ์ ใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ

เทคโนโลยี UV-C กับการฆ่าเชื้อโรค เชื้อไวรัสโควิด ( COVID-19 )

ณ วันนี้ วันที่ 22 สิงหาคม 2564 วันที่ผมกำลังเขียนบทความเรื่อง UV-C นี้ การระบาดละลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 ยังไม่มีท่าทางว่าจะดีขึ้น

ในประเทศไทยเรา ยังมียอดผู้ติดเชื้อโดยประมาณวันละ สองหมื่นคนติดต่อกันมาเป็นสัปดาห์แล้ว และนั่นคือสิ่งที่ทำให้วงการอุตสาหกรรมการแพทย์ และธุรกิจอื่นๆ อยู่เฉยๆไม่ได้แล้ว !!  ทุกฝ่ายต่างมุ่งมั่นสรรหาเทคโนโลยีเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสร้ายชนิดนี้ และหนึ่งในเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อโรคที่กำลังถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วงเวลานี้ คือ UV-C หรือ เทคโนโลยีการฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต เพราะสิ่งนี้ถือว่าเป็นเทคโนโลยีทำความสะอาด และฆ่าเชื้อที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับวัตถุ หรือพื้นผิวโดยตรงของผู้ใช้งาน เพราะเพียงแค่สาดแสงลงไป รังสีจากแสง UV-C ก็สามารถทำลาย DNA ของเชื้อโรค และทำให้เชื้อโรคค่อยๆตายไปได้ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ ด้วยคุณสมบัติของรังสีอัลตราไวโอเลต หรือแสง UV ที่เป็นสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีความถี่ที่สูงกว่าช่วงของแสงที่ตาของคนเราจะมองเห็นได้ปกติ โดยแสง UV-C เป็นแสงในกลุ่ม UV ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการกำจัดสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือเชื้อโรคต่าง ๆ

UV-C คืออะไร

รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือ UV เป็นรังสีตามธรรมชาติที่อยู่ในแสงอาทิตย์ มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ UV-A, UV-B และ UV-C เราอาจจะคุ้นหูกับ UV-A และ UV-B เนื่องจากรังสีทั้ง 2 ชนิดนั้นสามารถเดินทางผ่านชั้นโอโซนมายังโลก และสามารถมาทำร้ายผิวของเราได้ (รังสี 2 ตัวนี้ วันนี้เราจะข้ามมันไปก่อน !) วันนี้ เราจะมาพูดถึง UV-C เพียงอย่างเดียวก่อน เพราะเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่เรานำมาใช้ฆ่าเชื้อโรค เชื้อไวรัสโควิท-19 ในขณะนี้

การติดตั้งเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบบติดตั้งเพดาน Philip UVC Upper Air ในห้องทำงาน ห้องประชุม
การติดตั้งเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ Philips UVC Upper Air ในร้านอาหาร หรือร้านกาแฟ

การฆ่าเชื้อด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตชนิด C หรือที่เรียกว่า UV-C นั้นไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ เทคโนโลยีนี้ ถูกคิดค้นขึ้นมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2435 หรือประมาณ 129 ปีแล้ว โดยการทดลองของ มาร์แชล วาร์ด (Marshall Ward) ที่พยายามหาวิธีกำจัดแบคทีเรียโดยการใช้รังสีดังกล่าว แต่เทคโนโลยีนี้เพิ่งเป็นที่รู้จักและเริ่มใช้งานกันอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาล หลังมีการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือที่รู้เราจักกันดีในชื่อ โรคซาร์ส (SARS) ในช่วง พ.ศ. 2545 และโรคเมอร์ส (MERS) เมื่อ พ.ศ. 2555 

UV-C คือรังสีอัลตราไวโอเลต ที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 200-280 นาโนเมตร เป็นรังสีที่โดยธรรมชาติปกติ จะไม่สามารถเดินทางผ่านชั้นโอโซนลงมายังโลกได้ เนื่องจากมีความยาวคลื่นที่สั้นกว่ารังสี UV-A และรังสี UV-B เนื่องจากรังสีทั้ง 2 สามารถเดินทางผ่านชั้นโอโซนมายังโลกและสามารถทำร้ายผิวกายของเราได้ ทำให้ก่อนหน้านี้เราจึงไม่ค่อยได้ยินชื่อ UV-C ในการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก เพราะเรามัวไปกังวลเรื่องรังสี UV-A, UV-B ที่มาทำลายผิวเราซะมากกว่า  แต่ในความจริงแล้ว รังสี UV-C นั้นกลับกลายเป็นรังสีที่มีบทบาทสำคัญในการฆ่าเชื้อโรค และในวงการการแพทย์อย่างมาก ด้วยความสามารถเฉพาะตัวของมันเอง เพราะมันมีพลังงานมากกว่า รังสี UV-A และ UV-B อย่างมากมาย และมันยังมีความสามารถในการทำลาย DNA และ RNA ของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและเชื้อโรคต่างๆ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส (แต่ฆ่าสปอร์ของเชื้อราไม่ดีเท่าไร) เมื่อเชื้อถูกทำลาย DNA ทำให้ เชื้อต่างๆ เหล่านี้พิการไม่สามารถขยายตัวต่อไปได้ และตายไปในที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปUV-C  ที่นำมาใช้ฆ่าเชื้อโรค ได้ถูกประดิษฐ์ออกมาเป็นหลอด UV-C Lamp ที่ความยาวคลื่น 253.7 nm (นาโนเมตร) ** (แต่ทำไมชาวบ้าน รวมๆ เรียกเหมาเป็น 254 nm ก็ไม่รู้) ไม่ว่าจะเป็นหลอดแบบ TUV T5,T8  หรือหลอด LED UV-C

รูปตัวอย่าง Diagram การบำบัด และฆ่าเชื้อโรคในอากาศห้อง ด้วย UVC ร่วมกับ HVAC ( Credit รูปภาพจาก พญ.จริยา แสงสัจจา)

ปัจจุบันมีผลการวิจัยมากมาย ทั้งจากสถาบันการศึกษาและโรงพยาบาล พิสูจน์ได้ว่า UV-C มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% โดยเชื้อโรคเหล่านั้น มีตั้งแต่ ไข้หวัด 2009 (H1-N1) เชื้อวัณโรค (TB) สารก่อภูมิแพ้หอบหืด รวมถึงเชื้อก่อโรคโควิด-19 ที่กำลังเป็นโรคระบาดรุนแรงในปัจจุบัน ทั้งนี้ UVC สามารถฆ่าเชื้อโรคทั้งที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ บนพื้นผิวทั่วไป และในน้ำได้เป็นอย่างดี จึงมีข้อได้เปรียบกว่าการฆ่าเชื้อโรคแบบวิธีอื่นๆ เช่น การฉีดพ่นสารเคมี การเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ ทั้งในแง่ของความสะดวกในการใช้งาน การใช้เวลาทำความสะอาดเพียงไม่กี่นาที สามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายต่อครั้งต่ำ และที่สำคัญคือ ไม่ทิ้งสารเคมีที่เป็นอันตรายไว้หลังการใช้งาน จึงมีความปลอดภัยแก่ผู้ใช้

ตู้อบฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UVC ( Philips UV-C Disinfection Chamber)

** ข้อควรระวัง :  การใช้แสงรังสี UV-C  นั้น แม้จะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี แต่ต้องระมัดระวังหากนำไปใช้ไม่ถูกวิธีอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรใช้แสง UV ในการฆ่าเชื้อโรคบนร่างกายมนุษย์  มีข่าวว่ามีผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์เอา UV-C lamp ที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ มาวางบนโต๊ะตรงกลางห้อง ในขณะที่มีคนอยู่ในห้องนั้น เป็นเหตุให้ผู้ที่อยู่รอบๆ บริเวณโต๊ะวาง UV-C นั้นเกิดอาการระคายเคืองผิวหน้า เยื่อบุตา มีอาการหน้าแดง ตาแดง แสบตา เคืองตาไปตาม ๆ กัน ซึ่งหากแสงส่องโดนผิวหนังโดยตรงๆ บ่อยๆ อาจทำให้เซลล์ผิวหนังถูกทำลาย และมีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนัง และหากแสงสาดเข้ามาในดวงตา อาจทำให้ตาอาจเป็นต้อ หรือเกิดความผิดปกติได้ จากการโดนรังสีทำลายกระจกกับเลนส์ตา 

การใช้งานอุปกรณ์ UV-C ทำได้หลายวิธี

มีหลายวิธี ที่สามาถนำเอาแสงรังสี UV-C มาประกอบใช้งานให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการฆ่าเชื้อโรค ดังเช่น Philips ผู้นำด้าน UV-C ได้ทำออกมาดังนี้

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบบตั้งพื้นเคลื่อนย้ายได้ Philips UVC Air Disinfection Unit (ไม่ใช่เครื่องฟอกอากาศ)
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ โดยนำอุปกรณ์ UV-C ไปติดบนเพดานห้อง หรือติดที่ฝาผนัง หรือเหนือประตู โดยวิธีนี้จะสามารถเปิดใช้งานแสงรังสี UV-C ให้ฉายไปทั้งห้อง เฉพาะในเวลาที่ไม่มีคน และสัตว์เลี้ยงอยู่ในห้อง เช่นการใช้อุปกรณ์ Philips UVC Batten (Open Fixture) ฉายแสงในห้อง หรือฉายจากเพดานลงสู่พื้น
การติดตั้งชุด UVC ฺBatten แบบมีเซ็นเซอร์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคในห้องน้ำ (คนเปิดประตูเข้ามา UVC ดับ คนออกไป UVC ทำงานต่อ)
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ และพื้นผิววัสดุ โดยใช้ Philips UV-C Trolley ชุดล้อเลื่อน UV-C ฆ่าเชื้อโรค หรือ Philips UV-C Desktop Disinfection Lamp (Open Fixture)  ที่เคลื่อนย้ายไปมาตามจุดต่างๆ ในห้อง ของบ้านหรืออาคารได้ ตั้งเวลาฆ่าเชื้อโรค โดยทั้ง 2 อุปกรณ์นี้ ต้องเปิดใช้งานในเวลาที่ไม่มีคนหรือสัตว์เลี้ยง อยู่ในห้อง
ส่งมอบล้อเลื่อนฆ่าเชื้อโรค Philips UVC Trolley เพื่อใช้ฆ่าเชื้อโรค ในห้องต่างๆ ของโรงพยาบาล
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ โดยนำอุปกรณ์ UV-C ไปติดบนเพดานห้อง หรือติดที่ฝาผนัง หรือเหนือประตู โดยฉายแสงไปด้านบนของห้องให้ส่องขึ้น เช่นการใช้อุปกรณ์ Philips UV-C Upper Air Disinfection Ceiling Mounted และ UV-C Upper Air Wall Mounted ที่ออกแบบให้แสงรังสี UV-C สาดไปในอากาศ แต่มีครีบพิเศษ ทีี่ช่วยบังแสงด้านความปลอดภัย ไม่เข้าตา (Close Fixture) ทำให้เราสามารถอยู่ในห้องได้ แม้ขณะเปิดเครื่อง UV-C ให้ทำงาน
Philips UV-C Upper Air Wall Mounted Type and Ceiling Type
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ โดยนำอุปกรณ์ UV-C แบบปิด Philips UV-C Air Disinfection Unit (Close Fixture) รูปร่างคล้ายๆ เครื่องฟอกอากาศทั่วไป (แต่ไม่ใช่เครื่องฟอกอากาศ) นำไปตั้งบนพื้น ให้พัดลมดูดอากาศเข้ามาหมุนเวียนในห้องหมุนวนอากาศที่มีหลอด UV-C ติดตั้งอยู่ 4 หลอด แล้วให้อากาศไหลผ่านออกไป UV-C Air Disinfection Unit นี้ สามารถเปิดใช้งานได้แม้ขณะที่มีคนอยู่ในห้อง เหมาะสำหรับออฟฟิศ รถทัวร์ รถบัส รถ X-Ray เคลื่อนที่ และสถานที่สุ่มเสี่ยงการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ ที่มีคนอยู่มากๆ
เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ ด้วย UVC แบบตั้งพื้น ( Philips UVC Disinfection Air Unit)
  • การออกแบบ ขึ้นโครง และ นำหลอดไฟ UV-C ไปติดบริเวณหน้า AHU ของระบบปรับอากาศของอาคาร แบบนี้เหมาะสำหรับอาคารที่เป็นระบบ Air รวม จ่าย Air ไปทั่วทั้งตึก จะช่วยให้แผง AHU สะอาด ไม่เป็นเมือก และฆ่าเชื้อโรคในอากาศจากในอาคารที่ไหลเวียนกลับเข้ามายังห้อง AHU ทำให้อากาศสะอาด และช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า
การติดตั้งชุด UVC for AHU เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่หน้าแผงคอล์ยเย็นของ AHU ของระบบแอร์รวม อาคารขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า
  • ฆ่าเชื้อบริเวณพื้นผิว (Surface Disinfectant) เอกสาร สิ่งของ สร้อยคอทองคำ แหวน นาฬิกา เครื่องประดับ กุญแจ โทรศัพท์มือถือ อาหารแห้ง ขวดนมลูก ยา ตลอดจนภาชนะต่างๆที่ใช้ใส่อาหาร โดยใช้ตู้อบ UV-C Chamber (Close Fixture)  ใส่สิ่งของต่างๆ ที่แห้ง ไม่เปียกน้ำ ใส่เข้าไปในตู้ ตั้งเวลาที่กำหนด เมื่อครบเวลาตาม Contact Time ก็นำออกมาใช้ได้ ไม่มีความร้อน
ตู้อบยูวีซี ฆ่าเชื้อโรค ( Philips UVC Disinfection Chamber )
  • ฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ในของเหลว ใช้ในการผลิตน้ำดื่ม น้ำผลไม้ ฆ่าเชื้อโรคในน้ำตู้เลี้ยงปลา อันนี้ UV-C จะถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุพิเศษที่ทนทานต่อรังสี UV-C แต่ไม่บดบังการเปล่งแสง และสามารถกันน้ำได้

        นอกจากนี้  เทคโนโลยีฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV-C ยังถูกนำไปใช้กับการวิจัยอื่นๆ อีก ดังเช่นมีข่าวรายงานว่า ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ได้ทดลองการฆ่าเชื้อด้วยการฉายรังสี UV-C ลงไปที่หน้ากาก N95 วัตถุประสงค์เพื่อนำหน้ากาก N95 และหน้ากากอนามัยกลับมาใช้ซ้ำ ผลการทดสอบปรากฏว่า ในการฉายรังสี UV-C เป็นเวลา 30 นาที สามารถทำลายเชื้อ COVID-19 และยังทำลายเชื้อแบคทีเรีย ที่สะสมอยู่ในหน้ากากได้และยังพบว่าเส้นใยของหน้ากากอนามัยไม่เสียหายจนเสียประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อโรคอีกด้วย !

ตู้อบ ฆ่าเชืิ้อโรคด้วยรังสี UV-C ขนาดเล็ก สำหรับใช้ในบ้านพักอาศัยทั่วไป คอนโดมิเนียม ร้านค้าขนาดเล็ก

UV-C จัดว่าเป็นเทคโนโลยีสำหรับการฆ่าเชื้อโรคที่มีข้อดี/ข้อได้เปรียบ คือ ราคาถูก ลงทุนน้อย ฆ่าเชื้อโรคได้เกือบทุกชนิด ประหยัดพลังงาน ยกระดับคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor air quality) ลดมลพิษในอากาศ เช่น สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compounds, VOCs) ซึ่งบางชนิดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ และยังสามารถใช้ได้หลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัย (Residential building) ไปถึงอาคารพานิชย์ (Commercial building) โดยเฉพาะ โรงพยาบาล โรงแรม โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ยา และวัคซีน เป็นต้น จึงเหมาะสำหรับหน่วยงานที่งบประมาณน้อย ได้เข้าถึงเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพได้

        และสุดท้ายนี้ มีตำแนะนำ เพื่อให้เทคโนโลยี UV-C ฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ใช้งาน UV-C ควรให้ความสำคัญเครื่องมือ UV-C ดูคู่มือการใช้งาน ดูค่าความเข้ม (Density) ของแสง UV-C  ตั้งระยะเวลาที่เชื้อโรคสัมผัส (Contact time) กับแสง UV-C และระยะห่าง (Distance) การจัดวางของวัตถุและหรือพื้นผิว ที่จะทำการฉายแสง UV-C ให้เหมาะสมกับเชื้อโรคชนิดต่างๆ ผู้ใช้ควรศึกษาข้อควรระวัง การบำรุงรักษาจากคู่มือการใช้งาน รูปแบบการติดตั้ง สถานที่ติดตั้งหรือใช้งาน ควรคำนึงถึงปัจจัยที่อาจจะมีผลต่อประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อโรค รวมถึงมาตรการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรที่มีโอกาสไปสัมผัสแสง UV-C  ด้วย

สนใจอุปกรณ์ UV-C Philips ติดต่อคุณกัมปนาถ

บริการ ออกแบบ และติดตั้ง เครื่องฆ่าเชื้อ และเจอจางเชื้อในอากาศ ด้วยรังสี UVC (UVGi) แบบติดตั้งฝาผนัง และแบบติดตั้งเพดาน ตามรายละเอียดคำแนะนำของ ASHRAE EPIDEMIC TASK FORCE (Update 21 October 2021)

(UV-C Installer & Instructor) Hotline: 097-1524554  id Line : Lphotline

Philips UV-C Instruction & Installation Certificate

บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Hotline: 097-1524554

Line : Lphotline

Office Tel. 02-9294345-6

Email: LPCentermail@gmail.com

www.Lifeprotect.co.th

Posted on

อย. คืออะไร, อย.วอส คืออะไร สารเคมี/ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ และกรมประมง คืออะไร

LOGO อย
                   LOGO สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

   

มาชี้แจงกันให้เข้าใจ  อย. คืออะไร ทำไมต้องมี อย. ?

   ในฐานะที่ผมเป็นผู้นำเข้า และผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือสนับสนุนงานทางการแพทย์ โรงพยาบาล คลีนิคทันตกรรม และเครื่องฆ่าเชื้อโรค ฯลฯ  ทีนี้ด้วยความตระหนก กลัวการระบาดของโรค COVID-19 ระลอก 2 พรรคพวกเพื่อนฝูง พี่น้อง และลูกค้าหลายๆ ท่าน ก็เลยมารุมถามผมกันมากมายว่า ถ้าคิดจะซื้อเครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อโรค แล้วจะต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคแบบไหน เด๊ทตอลมงกุฏใช้ได้มั้ย แอลกอฮอล์ใช้พ่นได้มั้ย น้ำยาฆ่าเชื้อโรคนั้นต้องเป็นแบบมี อย. หรือรายงานการรับรองอะไรบ้าง โอ๊ย…!!  ถามกันเป็นชุดเลย  ผมก็เลยตัดสินใจรวบรวมเรื่องราว เขียนให้อ่านเลยดีกว่า ว่าน้ำยาที่ใช้ต้องมี อย.แบบไหน อย.ขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบัน? อย.วอส.? หรือ สารเคมี/ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตจดแจ้งกรมปศุสัตว์ ใช้ในฟาร์มสัตว์บก  จดแจ้งกรมประมง ใช้กับสัตว์น้ำ ? 

มาๆ ถ้าใครอยากจะรับเรื่องยาวๆ มีสาระน่ารู้ แต่อ่านไม่เครียด ก็ตามมาครับ

       เริ่ม !!  อย. คือ อักษรย่อของ “สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา” ภาษาฝรั่งก็ Food and Drug Administration  ตัวย่อฝรั่งก็ FDA  เป็นส่วนราชการของไทยในระดับกรม สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการ ดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ( ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และ เครื่องสำอางค์ )โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐาน เชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์

หน้าที่ของ “อย.”

อย. มีหน้าที่กำกับและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ และมีหน้าที่ตามกฎหมายดังนี้

  1. ดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ในความรับผิดชอบ
  2. กำกับดูแล และตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาด รวมถึงคำโฆษณาผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
  3. ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ผู้ประกอบการ
  4. ตรวจสอบผลิตภัณฑ์หลังออกสู่ตลาดและการโฆษณาผลิตภัณฑ์
  5. เฝ้าระวังปัญหาหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้น
  6. ส่งเสริมผู้บริโภคให้มีความรู้และศักยภาพในการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างปลอดภัย คุ้มค่า
  7. ส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่าย
                           เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ PHILIPS UVC Air Disinfection Unit

 

ผลิตภัณฑ์ประเภทไหนถึงจะต้องมี “เครื่องหมาย อย.” ?
       กฎหมายระบุให้ผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องมาขอขึ้นทะเบียน หรือ ขอจดแจ้งผลิตภัณฑ์ก่อนผลิต/นำเข้า/จำหน่าย เพื่อเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในเบื้องต้น และเมื่อได้รับการอนุมัติจาก อย. แล้ว จึงจะนำออกวางจำหน่ายในท้องตลาดได้ อย่างไรก็ตามการขออนุญาต ในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้คือ
ยา : ผลิตภัณฑ์ยาทุกชนิดบนฉลากจะไม่มีเครื่องหมาย อย.  แต่จะต้องแสดงเลขทะเบียนตำรับยา โดยลักษณะของกลุ่มตัวเลขแรกคือ ประเภทของทะเบียน

      ตำรับยาจะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ แล้วตามด้วยเลขทะเบียนตำรับยา (ของแต่ละตำรับยา) /ปี พ.ศ. เช่น ทะเบียนยาเลขที่ 1A 324/50เป็นต้น โดยประเภทของทะเบียนตำรับยาเช่น 1A: ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ (แผนปัจจุบัน) (ยาเดี่ยว) 2B: ยามนุษย์แบ่งบรรจุ (แผนปัจจุบัน)(ยาผสม) เป็นต้น
อาหาร : ผลิตภัณฑ์อาหาร จะเรียกเครื่องหมาย อย.ที่แสดงบนฉลากว่าเลข สารบบอาหาร ซึ่ง “ เลขสารบบอาหาร ” คือ เลขประจำตัวผลิตภัณฑ์อาหาร จะเป็นตัวเลข 13 หลัก แสดงอยู่ภายในกรอบเครื่องหมาย อย.

ตัวอย่างเช่น เครื่องหมาย อย. ที่เราเห็นอยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปนั้น ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ อาหารที่จะได้รับ อย. นั้น ส่วนใหญ่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบความเหมาะสมของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิตการควบคุมกระบวนการผลิต การสุขาภิบาลโรงงาน การบำรุงรักษาและทำความสะอาด และบุคลากรการผลิต นั่นคือ เป็นไปตามเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร หรือ จี.ดี.พี. (Good Manufacturing Practice) นั่นเอง นอกจากนั้น ต้องผ่านในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุและการแสดงข้อมูลบนฉลากว่าครบถ้วนไม่โอ้อวด หลอกลวง หรือทำให้เข้าใจผิด อาหารนั้น จึงจะได้รับเครื่องหมาย อย. เป็นสัญลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ที่มีภาชนะบรรจุปิดสนิท รับผิดชอบโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

ตัวอย่างเครื่องหมาย อย.
          รูปแสดงตัวอย่าง เลข อย. 13 หลัก

 

ความหมายของตัวเลข อย. ทั้ง 13 หลัก
กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยตัวเลข 2 หลัก หมายถึงจังหวัดที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารหรือนำเข้าอาหาร โดยใช้ตัวเลขแทนอักษรย่อของจังหวัด เช่น 12 หมายถึง จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยเลข 1 หลัก หมายถึงสถานะของสถานที่ผลิตอาหารหรือนำเข้าอาหารและหน่วยงานที่เป็นผู้อนุญาต

หมายเลข 1 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข 2 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหารที่ จังหวัดเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข 3 หมายถึง สถานที่นำเข้าอาหาร ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข4 หมายถึง สถานที่นำเข้าอาหารที่จังหวัดเป็นผู้อนุญาต
กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยเลข 5 หลัก หมายถึง เลขสถานที่ผลิตอาหารหรือเลขสถานที่นำเข้าอาหารที่ได้รับอนุญาต และปี พ.ศ. ที่อนุญาต โดยตัวเลข 3 หลักแรกคือ เลขสถานที่ผลิตหรือนำเข้าอาหารแล้วแต่กรณี ส่วนตัวเลข 2 หลักสุดท้าย คือ ตัวเลขสองหลักสุดท้ายของปี พ.ศ. ที่ได้
กลุ่มที่ 4 ประกอบด้วยเลข หนึ่งหลัก หมายถึง หน่วยงานที่ออกเลขเอกสารระบบอาหาร ดังนี้
1 หมายถึง อาหารที่ได้รับเลขสารระบบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
2 หมายถึง อาหารที่ได้รับเลขสารระบบจากจังหวัด
กลุ่มที่ 5 ประกอบด้วยเลข สี่หลัก หมายถึง ลำดับที่ของอาหารที่ผลิต หรือนำเข้า ของสถานที่แต่ละแห่ง แยกตามหน่วยงานที่เป็นผู้อนุญาต
นอกจากนี้การแสดงเลขสารระบบ อาหารในเครื่องหมาย อย. ยังกำหนดให้ใช้ตัวเลขที่มีสีตัดกับสีพื้นของกรอบ มีขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร และสีของกรอบตัดกับสีพื้นฉลาก

มีคนถามคำถาม แทรกมานิดนึง : การนำเข้า หรือการผลิตเครื่องมือแพทย์ ในประเทศไทย ต้องได้รับอนุญาตจาก อย. หรือไม่คะ

คำตอบ: การจะนำเข้าเครื่องมือแพทย์ หรือผลิตเครื่องมือแพทย์ ตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562  ต้องได้รับการอนุญาตจาก อย.ด้วยครับ โดยผู้ดูแลตรงนี้คือ กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ (จะเขียนบทความเรื่อง นำเข้าเครื่องมือแพทย์ง่ายนิดเดียว ในบทต่อไปครับ)

           เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก ป้องกันละอองฟุ้งกระจายขณะทำหัตถการทางทันตกรรม

 

เอ้า !! นอกเรื่อง กลับมาเรื่องเครื่องหมาย อย.กันต่อ

เครื่องหมาย อย.” ตรวจเช็คได้ที่ไหน?? มาดูกัน

อย.คืออะไร
                                                                          อย. คืออะไร (ไม่ใช่อะหย่อยนะ)

         จากรูปด้านบน เราพอจะแยกประเภทผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ต้องมีเลข อย. หรือเลขที่จดแจ้งแล้ว ทีนี้เราต้องรู้ว่า ไอ้เลข อย. เนี่ยเราจะตรวจเช็คความถูกต้องยังไง?  อย่างแรกคือ เราสามารถนำเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่จดแจ้งบนผลิตภัณฑ์ไปตรวจเช็คได้ในเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุขที่ ระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ หรือในเว็บไซต์อย. ที่ ตรวจเลขที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทีนี้บางคนบอกว่าโคตรยุ่งยาก เสียเวลาเลย ทาง อย. เขาก็เลยทำ ORYOR Smart Application แอปพลิเคชั่น โคตรเทพให้เรา Download ไปใช้ฟรี ๆ ทั้งระบบ iOS และ Android เลย เมื่อ Download และติดตั้งเสร็จการเปิดใช้ก็ง่ายมาก เพราะมีฟังก์ชั่น “ตรวจเลขที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ” โดยเฉพาะ เวลาเราจะตรวจสอบเราก็ใส่ให้ครบทั้งตัวอักษรและตัวเลข (ต้องใส่ให้ครบนะ ไม่งั้นเช็คไม่ได้) แต่ถ้าขี้เกียจสุดๆ ขี้เกียจจะ Download Apps ก็สามารถโทรเช็กได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือแอดไลน์ @FDAthai ก็ตรวจสอบเลข อย. ได้เหมือนกัน (แต่ผมว่า ถ้าคุณขี้เกียจมาจนถึงขั้นโทรนี่ คุณคงไม่โทรเช็คกันแล้วล่ะ)

ถ้าเลข อย. ตามที่เราเช็คใน Application ต่างๆ ถูกต้อง ระบบจะแสดงรายการออกมา ซึ่งจะมีข้อมูลดังนี้

– ประเภทผลิตภัณฑ์
– ใบสำคัญ (เลข อย.)
– ชื่อผลิตภัณฑ์ไทย – อังกฤษ
– ชื่อผู้รับอนุญาต
– New Code (เลขอ้างอิงใบรับแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์)
– สถานะ (ข้อมูลจะแสดงเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่แสดงสถานะคงอยู่)

ทีนี้พอตรวจเช็คแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเลข อย. ที่เราเห็นนี้ไม่ได้ถูกสวมมาหลอก ๆ สิ่งแรกที่สามารถสังเกตได้ง่ายที่สุดจาก

  1. ชื่อผลิตภัณฑ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  2. ชื่อการค้า (ยี่ห้อ)
  3. ชื่อผู้ประกอบการ (ผลิตโดย…) มีชื่อ มีสถานที่ผลิต ชัดเจน

     ทั้งสามชื่อนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกันบนตัวผลิตภัณฑ์  แต่!! การตรวจเช็คและการสังเกตทั้งหมดนี้ ยังไม่สามารถรับประกันได้ว่า ผลิตภัณฑ์นั้นจะเป็นของมีคุณภาพเสมอไป เพราะ “เครื่องหมายเลข อย.” หรือ “เลขที่จดแจ้ง” เป็นเพียงการมาจดแจ้งว่าจะผลิตผลิตภัณฑ์อะไร โดยมีส่วนประกอบอะไร หากไม่ผิดหลักเกณฑ์ ไม่มีส่วนผสมต้องห้ามก็สามารถจดได้ หลังจากนั้น อย. จะสุ่มตรวจภายหลังว่าสินค้านั้นทำตามที่จดแจ้งหรือไม่ (เท่ากับว่าหากเรายื่นผลิตภัณฑ์จดอย่างถูกต้อง แต่ภายหลังเราแอบใส่สารอะไรลงไปก็ได้ ตราบใดที่ อย. สุ่มตรวจไม่เจอ)

     เครื่องหมาย อย. เชื่อได้แค่ไหน?
    การที่มีเครื่องหมาย อย. หมายถึงผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้การผ่านเกณฑ์การตรวจสอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น แต่ผมอยากให้ทราบเพิ่มเติมมีดังนี้
1. ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์นั้น ทาง อย. ไม่ได้ตรวจสอบอย่างละเอียดทั้งหมด เจ้าของสินค้าจะยื่นข้อมูลส่วนประกอบ จากนั้น อย. เพียงแค่พิจารณาปริมาณส่วนผสมว่าปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
2. ส่วนประกอบที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ กับส่วนประกอบที่ยื่นกับ อย. อาจไม่ตรงกัน คือ จดอีกอย่าง ใส่จริงอีกอย่างอาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งอันนี้ผู้ผลิตคิดไม่ซื่อแน่นอน ผิดกฏหมายด้วย ถ้าพบเจอสามารถแจ้งทาง อย. ได้เลย
3. การแพ้ผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องส่วนบุคคล อย. ไม่เกี่ยว ผู้บริโภคต้องพิจารณาจากส่วนผสมเอง

4.เพื่อความปลอดภัยผู้บริโภค ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องตามฉลาก (โดยเฉพาะยา) และต้องพิจารณาการโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณต่างๆ อย่าหลงเชื่ออะไรที่อวดอ้างเกินจริง

                                                   ตู้อบฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงรังสี UVC ” PHILIPS UVC Chamber “

 

ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. VS ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมาย อย.

    เคยสงสัยหรือไม่ ว่าทำไมขนมบางห่อมีเครื่องหมาย อย. แล้วทำไมยาสีฟันไม่เห็นมีเครื่องหมาย อย. แต่กลับอยู่ในผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมี อย. อ้าว งง !?..ไม่ต้อง..งงครับ เพราะผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทแบ่งตามเครื่องหมาย อย. เป็น ดังนี้

–  ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. หรือผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ยาฆ่าแมลง (อย. วอส)

   – ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมาย อย. ได้แก่ ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการละเอียด เครื่องมือแพทย์ทั่วไป วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ซึ่งจะต้องมีเลขที่จดแจ้งหรือทะเบียนยากำกับบนผลิตภัณฑ์

     น้ำยาทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค DC-10 (ผลิตในประเทศไทย)

 

** อย.วอส. อันนี้เจอในกลุ่มพวกน้ำยาทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ และยาฆ่าแมลง

     อย. แนะผู้บริโภค เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านเรือนที่มีฉลาก ระบุเลขทะเบียนวัตถุอันตรายทางสาธารณสุข (วอส.) ในกรอบเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่รับแจ้งเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดบ้านเรือนให้ถูกประเภท และเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ควรอ่านฉลาก ให้ละเอียดและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด

     ภก.ประพนธ์ อางตระกูลรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ในฐานะโฆษก อย. เปิดเผยว่า จากการที่มีข่าวในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในบ้านเรือนผิดวิธี ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ หรือการนำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดไปแบ่งบรรจุลงในขวดน้ำดื่ม ทำให้เด็กเกิดความเข้าใจผิด นำไปรับประทานโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เกิดอันตรายต่อสุขภาพนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข มีความห่วงใยผู้บริโภค จึงขอแนะนำวิธีการเลือกซื้อและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านเรือนอย่างถูกวิธี โดยการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ในบ้านเรือน ควรสังเกตฉลากที่มีการระบุรายละเอียด ดังนี้ชื่อและปริมาณสารสําคัญเลขทะเบียนวัตถุอันตรายทางสาธารณสุข (วอส.) ในกรอบเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่รับแจ้ง วิธีใช้ สรรพคุณ คําเตือน วิธีการเก็บรักษา อาการเกิดพิษ วิธีแก้พิษเบื้องต้น รวมทั้งระบุชื่อที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้นําเข้าหรือผู้จําหน่าย เป็นต้น

ส่วนการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านเรือน ควรเลือกใช้ให้ถูกประเภทกับสภาพความสกปรกของพื้นผิวเนื่องจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ในบ้านเรือน แบ่งออกเป็น 5 ประเภทตามส่วนประกอบของสารสำคัญ คือ

  1. ผลิตภัณฑ์ประเภทด่าง สามารถทำความสะอาดคราบไขมันหรือน้ำมัน คราบไคลประเภทโปรตีน เนื่องจากด่างจะทำปฏิกิริยากับไขมันกลายเป็นสารที่ละลายน้ำได้ จึงมักใช้ในการทำความสะอาดเตาอบ ขจัดการอุดตันท่อ และมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค
  2. ผลิตภัณฑ์ประเภทกรด ใช้สำหรับกำจัดการสะสมของคราบฝังแน่น เช่น คราบหินปูน คราบเหลือง คราบสนิม หรือการสะสมของแร่ธาตุที่มีในน้ำกระด้างที่มักพบในห้องน้ำ และมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค
  3. ผลิตภัณฑ์ที่ผสมตัวทำละลายใช้ในการขจัดฝุ่นละอองบนพื้นหรือผิววัสดุต่าง ๆในบ้านเรือน เช่น เฟอร์นิเจอร์
  4. ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารซักล้างใช้ในการทำความสะอาดคราบสกปรก ที่ล้างออกได้ง่าย เช่น บริเวณพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และใช้ในการล้างจานชาม
  5. ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารฟอกขาว ใช้สำหรับขจัดคราบ ซักผ้าขาว และยังสามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคได้

         รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ผู้ใช้งานควรอ่านฉลากให้ละเอียด และปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด ขณะใช้ผลิตภัณฑ์ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากาก ถุงมือยาง และรองเท้ายางทุกครั้ง หลังใช้งานควรล้างถุงมือยาง รองเท้ายาง และล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทุกครั้ง ไม่ควรถ่ายผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดลงในขวดเครื่องดื่ม หรือภาชนะบรรจุอื่น และควรเก็บให้พ้นมือเด็ก ไม่วางผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารไวไฟ เช่น แอลกอฮอล์ไว้ใกล้กับแหล่งที่ให้เปลวไฟหรือความร้อน ไม่เผาภาชนะบรรจุที่เป็นสเปรย์อัดก๊าซ เนื่องจากอากาศที่เหลืออยู่ภายในอาจขยายตัว สามารถทำให้เกิดการระเบิดได้ เมื่อผลิตภัณฑ์มีการสัมผัสกับผิวหนัง ควรล้างออกทันที และหากเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด เพื่อแก้ไขอาการเบื้องต้น ถ้าจำเป็นให้นำผู้ป่วย พร้อมทั้งภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ไปพบแพทย์โดยเร็ว

สารเคมี/ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ และกรมประมง

     สารเคมีกลุ่มนี้ ได้รับ การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ด้านการปศุสัตว์ และประมง  โดยฝ่ายทะเบียนใบอนุญาตและมาตรฐานวัตถุอันตราย กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์ หรือ กรมประมง

     น้ำยาหรือ สารเคมีที่จดแจ้งกรมปศุสัตว์นั้น มันบอกชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นสารเคมี หรือผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ที่ใช้กับสัตว์ ใช้กับคอกสัตว์ ใช้ในโรงฆ่าสัตว์ ไม่ว่าจะพยายามใช้ Wording สวยหรูเปลี่ยนแปลงยังไง น้ำยาฆ่าเชื้อ สารเคมี ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย นั้นคือมันต้องใช้กับสัตว์ มาใช้กับคน หรือนำมาฉีดพ่นใส่คน หรือฉีดพ่นตามอาคารบ้านเรือน ออฟฟิศ ร้านค้า คอนโดมิเนียม สำนักงานไม่ได้ เขาให้ใช้กับคอกสัตว์ กรงสัตว์  ใช้ในบ่อปลา บ่อกุ้ง บ่อกบ ไม่อยากพูดเยอะมันชัดเจน ไปดูเอาละกัน

ระวัง! คำโฆษณาเกินจริง

     ฟังดูแล้วถึงผู้บริโภคอย่างเราจะมีช่องทางให้ตรวจสอบ แต่ก็ใช่ว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะมีประสิทธิภาพเสมอไป แล้วเราจะทำอย่างไรดีล่ะ อย่างแรกจงจำให้ขึ้นใจว่า “โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม” โดยองค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) มีข้อแนะนำป้องกันการหลอกลวงการโฆษณาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพตามนี้

– ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ารักษาโรคได้สารพัด เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สามารถรักษาโรคสมองฝ่อได้

– ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองจากบุคคลว่าใช้แล้วเห็นผลจริง เช่น ผลิตภัณฑ์นี้รักษาฉันให้หายจากโรคได้

– ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ามาจากธรรมชาติล้วน ๆ แต่ในความเป็นจริงไม่ได้แน่นอนเสมอว่าว่าวัตถุดิบจากธรรมชาติจะปลอดภัย เช่น เห็ดในธรรมชาติอาจมีพิษแฝงได้

– อย่าหลงเชื่อโฆษณาที่ใช้ข้อความว่า รักษาได้อย่างมหัศจรรย์ เป็นการค้นพบใหม่ เป็นการปฏิวัติทางการแพทย์

– การกล่าวอ้างถึงทฤษฎีสมคบคิดระหว่างบริษัทยาและรัฐบาล เพื่อปิดบังผลการวิจัยอันมหัศจรรย์ไว้เป็นความลับ

-ไม่ควรหลงเชื่อผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างว่าใช้แล้วเห็นผลในเวลาอันรวดเร็ว

     และอีกวิธีหนึ่งคือ เช็คเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่จดแจ้งกับคำโฆษณาว่าตรงกันหรือไม่ เช่น บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารจะพบการโฆษณาในเชิงบำบัด รักษา หรือบรรเทาโรค แต่ไม่พบทะเบียนตำรับยาบนผลิตภัณฑ์ กลับมีเครื่องหมาย อย. แทน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าสินค้านี้คือผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่ใช่ยาวิเศษแต่อย่างใด

ช่องทางติดต่อ อย.

      ผมขอเน้นย้ำตรงนี้อีกครั้งว่า ผู้บริโภคอย่างเราสามารถตรวจเลข อย. ได้ด้วยตัวเอง แต่ !! เลขที่ออกมานั้นหวยจะตกอยู่ที่ใครก็คงเป็นเรื่องโชคลาภ วาสนา เพราะแม้นว่าจะตรวจสอบเจอเลข อย. ก็ใช่ว่าจะเป็นสินค้ามีคุณภาพเสมอไป ตามข่าวดังที่ได้ออกมาอยู่ช่วงหนึ่ง  ทั้งนี้ หากผู้บริโภคมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา E-mail : toxic@fda.moph.go.th กรณีผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ สามารถแจ้งร้องเรียนได้ตามช่องทางต่อไปนี้ เพื่อ อย. จะดําเนินการปราบปราม และดําเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทําความผิดต่อไป

  • สายด่วน อย. 1556
  • E-mail: 1556@fda.moph.go.th
  • ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004
  • ร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application
  • Line @FDAthai
  • เว็บไซต์กระทรวงสาธารณะสุข www.moph.go.th
  • เว็บไซต์ อย. www.oryor.com
  • สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

ข้อมูลอ้างอิง

  • ขอขอบคุณ เนื้อหาบทความ และรูปภาพบางส่วนจาก wongnai.com
  • ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : กองควบคุมยาและอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์
  • ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • เพิ่มเติมข้อมูล บางส่วนโดย กัมปนาถ ศรีสุวรรณ

** สนใจสอบถามสินค้า จำหน่าย ติดตั้ง ซ่อม และบริการ ติดต่อ คุณกัมปนาถ T.097-1524554 id Line >> Lphotline

  • เครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UV-C (ทั้งแบบเครื่อง UV-C Trolley และตู้อบ UV-C หรือ UVC-Desktop Disinfection) ผลิตภัณฑ์ Philips
  • เครื่องฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค แบบละอองฝอย (Aerosol ULV Cold Fogger) ผลิตภัณฑ์ SAINTFINE
  • พัดลมดูดอากาศ FFU แบบมีฟิลเตอร์ H13 HEPA (FAN FILTER UNIT) สำหรับ Fresh Air Intake ดูดอากาศสะอาดเข้าห้อง Clean Room
  • เครื่องฟอกอากาศ แบบ H13 HEPA FILTER ระดับ Medical Grade ที่ให้ค่า ACH และ CADR สูง ได้ตามข้อกำหนด ก.45 เมย. 63 ของกองแบบแผนฯ
  • เครื่องฟอกอากาศ แบบ Electrostatic Precipitator (ESP) ชนิด Filter ถอดล้างน้ำได้ สำหรับศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาล และคลีนิค
  • เครื่องดุดละอองฝอยนอกช่องปาก (EOS) สำหรับงานหัถการทันตกรรม ที่มีการฟุ้งกระจาย ผลิตภันฑ์ RUIWAN
  • จำหน่ายระบบดูดกรองควัน และกรองอากาศ งานอุตสาหกรรม งานช่างทอง จิวเวลรี่ แบบเคลื่อนย้ายได้ ผลิตภัณฑ์ RUIWAN
  • รับปรับปรุงห้องทันตกรรม สร้างระบบดูดละอองฝอยนอกช่องปาก ชนิด ระบบท่อดูดขึ้นบนฝ้าเพดาน
  • รับปรับปรุงห้องผู้ป่วยแยกโรค Cohort Ward , ห้องความดันลบ (Negative Pressure Room)
  • รับติดตั้ง ชุดหลอด UV-C ฆ่าเชื้อโรค พร้อม Sensor ตรวจการเคลื่อนไหว ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (LAB) ห้องปลอดเชื้อ (Clean Room)
  • จำหน่ายเครื่องสร้างอากาศแรงดันลบ แบบเคลื่อนย้ายได้ จากประเทศเยอรมันนี ผลิตภัณฑ์ Deconta
  • จำหน่าย ไฟฉุกเฉิน เครื่องมือสนับสนุนงานแพทย์สนาม การแพทย์ฉุกเฉินกรณีภัยพิบัติ และการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง พร้อมระบบฆ่าเชือโรค (Medical Grade) ชนิด Electrostatic Precipitator + H13 HEPA Filter + UV-C