Posted on

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ไวรัสร้าย แต่ป้องกันได้

COVID-19 ก็ยังไม่หมด โรคฝีดาษลิง ก็จ่อเข้ามาอีกแล้ว อะไรกันครับเนี่ย !!

โรคฝีดาษลิง หรือไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เกิดจากไวรัส Othopoxvirus ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการรักษาหรือมีวัคซีนป้องกันโดยเฉพาะ แต่สามารถควบคุมการระบาดได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันได้ 85%

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) โรคนี้พบมากในแถบแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตก และตามที่มีข่าวว่า มีการพบผู้ป่วยในประเทศที่อยู่นอกเขตแอฟริกา เช่น สหรัฐอเมริกา อิสราเอล สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร นั่นก็เพราะเกิดจากการเดินทางระหว่างประเทศหรือการนำเข้าสัตว์ติดเชื้อเข้าประเทศ แท้จริงแล้วโรคฝีดาษลิง ไม่ใช่โรคใหม่ แต่เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี โดยโรคฝีดาษลิง ถูกค้นพบครั้งแรกในโลก ในปี พ.ศ. 2501 จากลิงที่ป่วย ต่อมาก็ได้มีการพบการติดเชื้อในคนเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 ที่ประเทศคองโก จะเห็นได้ว่า โรคฝีดาษลิง นั้นเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ที่พบในแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตก นอกจากลิงแล้ว สัตว์อื่นก็สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ เช่นกัน เชื้อไวรัสฝีดาษลิง พบได้ในสัตว์หลายชนิดโดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้ ปัจจุบันมีรายงานการเกิดเชื้อไวรัส ฝีดาษลิง 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์แอฟริกากลาง และสายพันธุ์ แอฟริกาตะวันตก ซึ่งสายพันธุ์แอฟริกากลางเป็นสายพันธุ์ที่มีการรายงานติดต่อจากคนสู่คน 

ผู้ที่มีความเสี่ยงว่าติดเชื้อมากที่สุด คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่าในแอฟริกากลาง หรือแอฟริกาตะวันตก หรือมี การล่าสัตว์เพื่อทำอาหาร หรือ ส่งออกเป็นสัตว์เลี้ยง  และมีรายงานพบการติดเชื้อจากคนสู่คน จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง ผิวหนัง หรือ ละอองฝอยจากการหายใจ หรือแม้แต่น้ำปัสสาวะ (แม่แต่เข้าห้องน้ำก็อาจติดเชื้อได้) โดยผู้ติดเชื้อไวรัสนี้ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง บางครั้งคล้ายกับอาการของโรคอีสุกอีใส และหายเองได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ ฝีดาษลิงอาจมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้ในบางกรณี และเคยมีรายงานว่าทำให้มีผู้เสียชีวิตมาแล้วหลายคนในแอฟริกาตะวันตก โดยอัตราการเสียชีวิตอยู่ในกลุ่มเด็กเล็กสูงถึง 10%

โรคฝีดาษลิง (MonkeyPox) ในเด็ก

โรคฝีดาษลิงสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้จากการสัมผัสใกล้ชิด โดยไวรัสชนิดนี้จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางรอยแตกบนผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ หรือผ่านทางตา จมูก หรือปาก โดยคนสามารถติดเชื้อโรคนี้จากการสัมผัสโดยตรงโดยผ่านการสัมผัสทางผิวหนังกับผู้ติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสชนิดนี้ กับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ติดเชื้อกัด หรือจากการกินเนื้อสัตว์มีเชื้อที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหลังจากได้รับเชื้อ อาการป่วยจะกินเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ส่วนใหญ่สามารถหายจากโรคเองได้ แต่ในกรณีผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีโรคประจำตัว อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม หรือเสียชีวิตได้ โดยมีอาการที่สังเกตได้ คือ หลังจากที่สัมผัสเชื้อไปแล้วประมาณ 12  วัน ผู้ป่วยอาจมีอาการแสดง ได้แก่

  • ระยะก่อนที่ผิวหนังจะออกเป็นผื่น (Invasion Phase)  
    • เริ่มด้วยมีไข้ ปวดหัว ปวดตัว ปวดหลัง อ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลืองโต
    • โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการต่อมน้ำเหลืองโต เป็นอาการที่สังเกตได้ของโรคฝีดาษลิง ซึ่งแตกต่างจากโรคอื่นๆ ที่มีตุ่มน้ำตามมา เช่น โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) , โรคหัด (Measles) , โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ (Smallpox)
    • อาจมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย อาเจียน และอาการทางระบบหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ เหนื่อย ได้อีกด้วย
  • ระยะที่ผิวหนังออกเป็นผื่น (Skin Eruption Phase)
    • หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน จะเริ่มมีอาการแสดงทางผิวหนัง มีลักษณะตุ่มผื่นขึ้น โดยเป็นตุ่มที่มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ โดยเริ่มจากรอยแดงจุดๆ เป็นตุ่มนูนแดง ตุ่มน้ำใส ตุ่มน้ำหนอง และจากนั้นจะแห้งออกหรือแตกออกแล้วหลุด เรียงไปตามลำดับ
    • โดยตุ่มมักจะหนาแน่นที่บริเวณใบหน้า และแขนขา มากกว่าที่ร่างกาย
    • ในระยะออกผื่น ผื่นจะกลายเป็นสะเก็ดคลุม แห้งและหลุดออกมา โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์

ณ วันนี้ วันที่ 29 พฤษภาคม 2565 เรายังไม่พบการแพร่ระบาดโรคฝีดาษลิงในประเทศไทย แต่พวกเราควรจะต้องทำความรู้จักกับโรคนี้เอาใว้ก่อน เพื่อระมัดระวัง และป้องกันตนเอง สำหรับผู้ที่มีภารกิจ ต้องเดินทางไปประเทศ ที่เป็นสถานที่เสี่ยง ซึ่งอาจมีความเสี่ยง หรือมีโอกาสติดเชื้อ และนำเชื้อกลับมายังประเทศไทยได้ ก็อย่าลืมป้องกันตนเอง และหมั่นคอยติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด และหากหลีกเลี่ยงที่จะต้องเดินทางไปยังประเทศที่พบว่ามีผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงไม่ได้จริงๆ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วย สัตว์ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคโดยเฉพาะลิง และสัตว์ฟันแทะต่างๆ เช่น กระรอก กระต่าย หนู
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ  โดยเฉพาะหลังสัมผัสสัตว์ หรือสิ่งของสาธารณะ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง บาดแผล เลือด น้ำเหลืองของสัตว์
  • ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงมีการแพร่ระบาด
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง แผล ตุ่มหนอง หรือตุ่มน้ำใส จากผู้มีประวัติเสี่ยง หรือผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อแล้ว

ในกรณีที่สัมผัสผู้ติดเชื้อ หรือคาดว่าได้รับเชื้อไปแล้ว ควรฉีดวัคซีนป้องกันในกรณีที่ยังไม่เกิน 14 วัน (วัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ แต่จะต้องฉีดในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อเท่านั้น และยังสามารถรับวัคซีนได้ภายหลังจากการได้รับเชื้อไม่เกิน 14 วัน) หากท่านคิดว่าตัวเองเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง ก้ควรแยกกักตัว เหมือนๆ กับการกักตัว ของผู้มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อโรค COVID-19 น่ะแหละครับ

สรุป โรคฝีดาษลิง ณ วันนี้ 29 พฤษภาคม 2565 ยังไม่มีรายงานว่าเข้ามาในประเทศไทย แต่เราก็ควรระวังตัว และป้องกันเอาใว้ก่อนครับ เพราะเชื้อไวรัสนี้ สามารถล่องลอยได้ในอากาศ และยังสามารถติดตามพื้นผิววัสดุ (ที่ผู้ติดเชื้ออาจจะไอ หรือจามสารคัดหลั่งออกมา) หรือแม่แต่การเข้าห้องน้ำที่ผู้ติดเชื้อ เข้าไปขับถ่าย หรือปัสสาวะ ใว้ก่อนหน้าที่เราจะเข้าไป

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ PHILIPS UVC Disinfection Unit

ดังนั้น เพื่อความสบายใจ ผมขอแนะนำให้ใช้ เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ และพื้นผิว ยี่ห้อ PHILIPS ที่ทางบริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่าย ช่วยเสริมการป้องกัน ช่วยปกป้องคนที่คุณรัก และตัวคุณเอง

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศและพื้นผิว แบบล้อเลื่อน เคลื่อนย้ายได้ PHILIPS UVC Trolley

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อคุณกัมปนาถ HotLine : 0971524554

Life Protect Company Limited

Tel. 02-9294345-6

id Line : Lphotline

Email: LPCentermail@gmail.com