Posted on Leave a comment

การใช้รังสียูวีซี (UVC) ในการฆ่าเชื้อโควิด 19

COVID-19 ใครว่ามันสูญพันธ์ มัน มีการพัฒนาการสายพันธ์ ใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ

เทคโนโลยี UV-C กับการฆ่าเชื้อโรค เชื้อไวรัสโควิด ( COVID-19 )

ณ วันนี้ วันที่ 22 สิงหาคม 2564 วันที่ผมกำลังเขียนบทความเรื่อง UV-C นี้ การระบาดละลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 ยังไม่มีท่าทางว่าจะดีขึ้น

ในประเทศไทยเรา ยังมียอดผู้ติดเชื้อโดยประมาณวันละ สองหมื่นคนติดต่อกันมาเป็นสัปดาห์แล้ว และนั่นคือสิ่งที่ทำให้วงการอุตสาหกรรมการแพทย์ และธุรกิจอื่นๆ อยู่เฉยๆไม่ได้แล้ว !!  ทุกฝ่ายต่างมุ่งมั่นสรรหาเทคโนโลยีเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสร้ายชนิดนี้ และหนึ่งในเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อโรคที่กำลังถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วงเวลานี้ คือ UV-C หรือ เทคโนโลยีการฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต เพราะสิ่งนี้ถือว่าเป็นเทคโนโลยีทำความสะอาด และฆ่าเชื้อที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับวัตถุ หรือพื้นผิวโดยตรงของผู้ใช้งาน เพราะเพียงแค่สาดแสงลงไป รังสีจากแสง UV-C ก็สามารถทำลาย DNA ของเชื้อโรค และทำให้เชื้อโรคค่อยๆตายไปได้ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ ด้วยคุณสมบัติของรังสีอัลตราไวโอเลต หรือแสง UV ที่เป็นสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีความถี่ที่สูงกว่าช่วงของแสงที่ตาของคนเราจะมองเห็นได้ปกติ โดยแสง UV-C เป็นแสงในกลุ่ม UV ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการกำจัดสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือเชื้อโรคต่าง ๆ

UV-C คืออะไร

รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือ UV เป็นรังสีตามธรรมชาติที่อยู่ในแสงอาทิตย์ มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ UV-A, UV-B และ UV-C เราอาจจะคุ้นหูกับ UV-A และ UV-B เนื่องจากรังสีทั้ง 2 ชนิดนั้นสามารถเดินทางผ่านชั้นโอโซนมายังโลก และสามารถมาทำร้ายผิวของเราได้ (รังสี 2 ตัวนี้ วันนี้เราจะข้ามมันไปก่อน !) วันนี้ เราจะมาพูดถึง UV-C เพียงอย่างเดียวก่อน เพราะเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่เรานำมาใช้ฆ่าเชื้อโรค เชื้อไวรัสโควิท-19 ในขณะนี้

การติดตั้งเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบบติดตั้งเพดาน Philip UVC Upper Air ในห้องทำงาน ห้องประชุม
การติดตั้งเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ Philips UVC Upper Air ในร้านอาหาร หรือร้านกาแฟ

การฆ่าเชื้อด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตชนิด C หรือที่เรียกว่า UV-C นั้นไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ เทคโนโลยีนี้ ถูกคิดค้นขึ้นมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2435 หรือประมาณ 129 ปีแล้ว โดยการทดลองของ มาร์แชล วาร์ด (Marshall Ward) ที่พยายามหาวิธีกำจัดแบคทีเรียโดยการใช้รังสีดังกล่าว แต่เทคโนโลยีนี้เพิ่งเป็นที่รู้จักและเริ่มใช้งานกันอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาล หลังมีการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือที่รู้เราจักกันดีในชื่อ โรคซาร์ส (SARS) ในช่วง พ.ศ. 2545 และโรคเมอร์ส (MERS) เมื่อ พ.ศ. 2555 

UV-C คือรังสีอัลตราไวโอเลต ที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 200-280 นาโนเมตร เป็นรังสีที่โดยธรรมชาติปกติ จะไม่สามารถเดินทางผ่านชั้นโอโซนลงมายังโลกได้ เนื่องจากมีความยาวคลื่นที่สั้นกว่ารังสี UV-A และรังสี UV-B เนื่องจากรังสีทั้ง 2 สามารถเดินทางผ่านชั้นโอโซนมายังโลกและสามารถทำร้ายผิวกายของเราได้ ทำให้ก่อนหน้านี้เราจึงไม่ค่อยได้ยินชื่อ UV-C ในการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก เพราะเรามัวไปกังวลเรื่องรังสี UV-A, UV-B ที่มาทำลายผิวเราซะมากกว่า  แต่ในความจริงแล้ว รังสี UV-C นั้นกลับกลายเป็นรังสีที่มีบทบาทสำคัญในการฆ่าเชื้อโรค และในวงการการแพทย์อย่างมาก ด้วยความสามารถเฉพาะตัวของมันเอง เพราะมันมีพลังงานมากกว่า รังสี UV-A และ UV-B อย่างมากมาย และมันยังมีความสามารถในการทำลาย DNA และ RNA ของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและเชื้อโรคต่างๆ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส (แต่ฆ่าสปอร์ของเชื้อราไม่ดีเท่าไร) เมื่อเชื้อถูกทำลาย DNA ทำให้ เชื้อต่างๆ เหล่านี้พิการไม่สามารถขยายตัวต่อไปได้ และตายไปในที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปUV-C  ที่นำมาใช้ฆ่าเชื้อโรค ได้ถูกประดิษฐ์ออกมาเป็นหลอด UV-C Lamp ที่ความยาวคลื่น 253.7 nm (นาโนเมตร) ** (แต่ทำไมชาวบ้าน รวมๆ เรียกเหมาเป็น 254 nm ก็ไม่รู้) ไม่ว่าจะเป็นหลอดแบบ TUV T5,T8  หรือหลอด LED UV-C

รูปตัวอย่าง Diagram การบำบัด และฆ่าเชื้อโรคในอากาศห้อง ด้วย UVC ร่วมกับ HVAC ( Credit รูปภาพจาก พญ.จริยา แสงสัจจา)

ปัจจุบันมีผลการวิจัยมากมาย ทั้งจากสถาบันการศึกษาและโรงพยาบาล พิสูจน์ได้ว่า UV-C มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% โดยเชื้อโรคเหล่านั้น มีตั้งแต่ ไข้หวัด 2009 (H1-N1) เชื้อวัณโรค (TB) สารก่อภูมิแพ้หอบหืด รวมถึงเชื้อก่อโรคโควิด-19 ที่กำลังเป็นโรคระบาดรุนแรงในปัจจุบัน ทั้งนี้ UVC สามารถฆ่าเชื้อโรคทั้งที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ บนพื้นผิวทั่วไป และในน้ำได้เป็นอย่างดี จึงมีข้อได้เปรียบกว่าการฆ่าเชื้อโรคแบบวิธีอื่นๆ เช่น การฉีดพ่นสารเคมี การเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ ทั้งในแง่ของความสะดวกในการใช้งาน การใช้เวลาทำความสะอาดเพียงไม่กี่นาที สามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายต่อครั้งต่ำ และที่สำคัญคือ ไม่ทิ้งสารเคมีที่เป็นอันตรายไว้หลังการใช้งาน จึงมีความปลอดภัยแก่ผู้ใช้

ตู้อบฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UVC ( Philips UV-C Disinfection Chamber)

** ข้อควรระวัง :  การใช้แสงรังสี UV-C  นั้น แม้จะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี แต่ต้องระมัดระวังหากนำไปใช้ไม่ถูกวิธีอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรใช้แสง UV ในการฆ่าเชื้อโรคบนร่างกายมนุษย์  มีข่าวว่ามีผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์เอา UV-C lamp ที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ มาวางบนโต๊ะตรงกลางห้อง ในขณะที่มีคนอยู่ในห้องนั้น เป็นเหตุให้ผู้ที่อยู่รอบๆ บริเวณโต๊ะวาง UV-C นั้นเกิดอาการระคายเคืองผิวหน้า เยื่อบุตา มีอาการหน้าแดง ตาแดง แสบตา เคืองตาไปตาม ๆ กัน ซึ่งหากแสงส่องโดนผิวหนังโดยตรงๆ บ่อยๆ อาจทำให้เซลล์ผิวหนังถูกทำลาย และมีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนัง และหากแสงสาดเข้ามาในดวงตา อาจทำให้ตาอาจเป็นต้อ หรือเกิดความผิดปกติได้ จากการโดนรังสีทำลายกระจกกับเลนส์ตา 

การใช้งานอุปกรณ์ UV-C ทำได้หลายวิธี

มีหลายวิธี ที่สามาถนำเอาแสงรังสี UV-C มาประกอบใช้งานให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการฆ่าเชื้อโรค ดังเช่น Philips ผู้นำด้าน UV-C ได้ทำออกมาดังนี้

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบบตั้งพื้นเคลื่อนย้ายได้ Philips UVC Air Disinfection Unit (ไม่ใช่เครื่องฟอกอากาศ)
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ โดยนำอุปกรณ์ UV-C ไปติดบนเพดานห้อง หรือติดที่ฝาผนัง หรือเหนือประตู โดยวิธีนี้จะสามารถเปิดใช้งานแสงรังสี UV-C ให้ฉายไปทั้งห้อง เฉพาะในเวลาที่ไม่มีคน และสัตว์เลี้ยงอยู่ในห้อง เช่นการใช้อุปกรณ์ Philips UVC Batten (Open Fixture) ฉายแสงในห้อง หรือฉายจากเพดานลงสู่พื้น
การติดตั้งชุด UVC ฺBatten แบบมีเซ็นเซอร์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคในห้องน้ำ (คนเปิดประตูเข้ามา UVC ดับ คนออกไป UVC ทำงานต่อ)
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ และพื้นผิววัสดุ โดยใช้ Philips UV-C Trolley ชุดล้อเลื่อน UV-C ฆ่าเชื้อโรค หรือ Philips UV-C Desktop Disinfection Lamp (Open Fixture)  ที่เคลื่อนย้ายไปมาตามจุดต่างๆ ในห้อง ของบ้านหรืออาคารได้ ตั้งเวลาฆ่าเชื้อโรค โดยทั้ง 2 อุปกรณ์นี้ ต้องเปิดใช้งานในเวลาที่ไม่มีคนหรือสัตว์เลี้ยง อยู่ในห้อง
ส่งมอบล้อเลื่อนฆ่าเชื้อโรค Philips UVC Trolley เพื่อใช้ฆ่าเชื้อโรค ในห้องต่างๆ ของโรงพยาบาล
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ โดยนำอุปกรณ์ UV-C ไปติดบนเพดานห้อง หรือติดที่ฝาผนัง หรือเหนือประตู โดยฉายแสงไปด้านบนของห้องให้ส่องขึ้น เช่นการใช้อุปกรณ์ Philips UV-C Upper Air Disinfection Ceiling Mounted และ UV-C Upper Air Wall Mounted ที่ออกแบบให้แสงรังสี UV-C สาดไปในอากาศ แต่มีครีบพิเศษ ทีี่ช่วยบังแสงด้านความปลอดภัย ไม่เข้าตา (Close Fixture) ทำให้เราสามารถอยู่ในห้องได้ แม้ขณะเปิดเครื่อง UV-C ให้ทำงาน
Philips UV-C Upper Air Wall Mounted Type and Ceiling Type
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ โดยนำอุปกรณ์ UV-C แบบปิด Philips UV-C Air Disinfection Unit (Close Fixture) รูปร่างคล้ายๆ เครื่องฟอกอากาศทั่วไป (แต่ไม่ใช่เครื่องฟอกอากาศ) นำไปตั้งบนพื้น ให้พัดลมดูดอากาศเข้ามาหมุนเวียนในห้องหมุนวนอากาศที่มีหลอด UV-C ติดตั้งอยู่ 4 หลอด แล้วให้อากาศไหลผ่านออกไป UV-C Air Disinfection Unit นี้ สามารถเปิดใช้งานได้แม้ขณะที่มีคนอยู่ในห้อง เหมาะสำหรับออฟฟิศ รถทัวร์ รถบัส รถ X-Ray เคลื่อนที่ และสถานที่สุ่มเสี่ยงการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ ที่มีคนอยู่มากๆ
เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ ด้วย UVC แบบตั้งพื้น ( Philips UVC Disinfection Air Unit)
  • การออกแบบ ขึ้นโครง และ นำหลอดไฟ UV-C ไปติดบริเวณหน้า AHU ของระบบปรับอากาศของอาคาร แบบนี้เหมาะสำหรับอาคารที่เป็นระบบ Air รวม จ่าย Air ไปทั่วทั้งตึก จะช่วยให้แผง AHU สะอาด ไม่เป็นเมือก และฆ่าเชื้อโรคในอากาศจากในอาคารที่ไหลเวียนกลับเข้ามายังห้อง AHU ทำให้อากาศสะอาด และช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า
การติดตั้งชุด UVC for AHU เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่หน้าแผงคอล์ยเย็นของ AHU ของระบบแอร์รวม อาคารขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า
  • ฆ่าเชื้อบริเวณพื้นผิว (Surface Disinfectant) เอกสาร สิ่งของ สร้อยคอทองคำ แหวน นาฬิกา เครื่องประดับ กุญแจ โทรศัพท์มือถือ อาหารแห้ง ขวดนมลูก ยา ตลอดจนภาชนะต่างๆที่ใช้ใส่อาหาร โดยใช้ตู้อบ UV-C Chamber (Close Fixture)  ใส่สิ่งของต่างๆ ที่แห้ง ไม่เปียกน้ำ ใส่เข้าไปในตู้ ตั้งเวลาที่กำหนด เมื่อครบเวลาตาม Contact Time ก็นำออกมาใช้ได้ ไม่มีความร้อน
ตู้อบยูวีซี ฆ่าเชื้อโรค ( Philips UVC Disinfection Chamber )
  • ฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ในของเหลว ใช้ในการผลิตน้ำดื่ม น้ำผลไม้ ฆ่าเชื้อโรคในน้ำตู้เลี้ยงปลา อันนี้ UV-C จะถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุพิเศษที่ทนทานต่อรังสี UV-C แต่ไม่บดบังการเปล่งแสง และสามารถกันน้ำได้

        นอกจากนี้  เทคโนโลยีฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV-C ยังถูกนำไปใช้กับการวิจัยอื่นๆ อีก ดังเช่นมีข่าวรายงานว่า ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ได้ทดลองการฆ่าเชื้อด้วยการฉายรังสี UV-C ลงไปที่หน้ากาก N95 วัตถุประสงค์เพื่อนำหน้ากาก N95 และหน้ากากอนามัยกลับมาใช้ซ้ำ ผลการทดสอบปรากฏว่า ในการฉายรังสี UV-C เป็นเวลา 30 นาที สามารถทำลายเชื้อ COVID-19 และยังทำลายเชื้อแบคทีเรีย ที่สะสมอยู่ในหน้ากากได้และยังพบว่าเส้นใยของหน้ากากอนามัยไม่เสียหายจนเสียประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อโรคอีกด้วย !

ตู้อบ ฆ่าเชืิ้อโรคด้วยรังสี UV-C ขนาดเล็ก สำหรับใช้ในบ้านพักอาศัยทั่วไป คอนโดมิเนียม ร้านค้าขนาดเล็ก

UV-C จัดว่าเป็นเทคโนโลยีสำหรับการฆ่าเชื้อโรคที่มีข้อดี/ข้อได้เปรียบ คือ ราคาถูก ลงทุนน้อย ฆ่าเชื้อโรคได้เกือบทุกชนิด ประหยัดพลังงาน ยกระดับคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor air quality) ลดมลพิษในอากาศ เช่น สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compounds, VOCs) ซึ่งบางชนิดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ และยังสามารถใช้ได้หลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัย (Residential building) ไปถึงอาคารพานิชย์ (Commercial building) โดยเฉพาะ โรงพยาบาล โรงแรม โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ยา และวัคซีน เป็นต้น จึงเหมาะสำหรับหน่วยงานที่งบประมาณน้อย ได้เข้าถึงเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพได้

        และสุดท้ายนี้ มีตำแนะนำ เพื่อให้เทคโนโลยี UV-C ฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ใช้งาน UV-C ควรให้ความสำคัญเครื่องมือ UV-C ดูคู่มือการใช้งาน ดูค่าความเข้ม (Density) ของแสง UV-C  ตั้งระยะเวลาที่เชื้อโรคสัมผัส (Contact time) กับแสง UV-C และระยะห่าง (Distance) การจัดวางของวัตถุและหรือพื้นผิว ที่จะทำการฉายแสง UV-C ให้เหมาะสมกับเชื้อโรคชนิดต่างๆ ผู้ใช้ควรศึกษาข้อควรระวัง การบำรุงรักษาจากคู่มือการใช้งาน รูปแบบการติดตั้ง สถานที่ติดตั้งหรือใช้งาน ควรคำนึงถึงปัจจัยที่อาจจะมีผลต่อประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อโรค รวมถึงมาตรการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรที่มีโอกาสไปสัมผัสแสง UV-C  ด้วย

สนใจอุปกรณ์ UV-C Philips ติดต่อคุณกัมปนาถ

บริการ ออกแบบ และติดตั้ง เครื่องฆ่าเชื้อ และเจอจางเชื้อในอากาศ ด้วยรังสี UVC (UVGi) แบบติดตั้งฝาผนัง และแบบติดตั้งเพดาน ตามรายละเอียดคำแนะนำของ ASHRAE EPIDEMIC TASK FORCE (Update 21 October 2021)

(UV-C Installer & Instructor) Hotline: 097-1524554  id Line : Lphotline

Philips UV-C Instruction & Installation Certificate

บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Hotline: 097-1524554

Line : Lphotline

Office Tel. 02-9294345-6

Email: LPCentermail@gmail.com

www.Lifeprotect.co.th

Posted on

เทคนิค การเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศ สำคัญที่สุด ต้องดูตัวเลขค่า CADR

วันนี้ จะมาบอกเทคนิคการเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศ… ง่ายๆ สั้นๆ ดูค่า CADR ของเครื่องเลยครับ ++

ซื้อเครื่องฟอกอากาศ อย่างไรให้คุ้มค่าเงินที่จ่ายไป หัวใจสำคัญที่สุด ให้ดูที่ตัวเลขค่า CADR ของเครื่อง จบข่าวครับ

” อ้าวเฮ้ย !! มาบอกแค่เนี้ย ” แล้ว ค่า CADR คืออะไร ?  อารายของมันว้า…???

” ครับๆ ..ขอโทษครับ อธิบายต่อให้ก็ได้ครับ…ตามผมมาเลยครับ…”

CADR  ย่อมาจาก Clean Air Delivery Rate แปลว่า อัตราการส่งผ่านอากาศบริสุทธ์ เป็นค่าที่บอกประสิทธิภาพการฟอกอากาศที่แท้จริง โดยการนำไปทดสอบในห้องปฏิบัติการ โดยทดสอบกับตัวอย่าง ควันบุหรี่ (Smoke), ฝุ่น (Dust) และ เกสรดอกไม้ (Pollen) ค่า CADR มีหน่วยเป็นมาตรฐานเป็น CFM (Cubic Feet per Minute)

อาตรงๆ ก็คือ เครื่องฟอกอากาศเครื่องใดที่มีค่า CADR สูงกว่า ย่อมให้ประสิทธิภาพในการฟอกอากาศสูงกว่า แค่นั้นเองครับ

“ อ้าวเฮ้ย !! ..แล้วตรู จะรู้ได้ยังไงฟะ ว่าค่า CADR ที่พวกเอ็งกล่าวอ้างมากับเครื่องฟอกอากาศ ที่เอ็งเอามาขายนั้น นั้นคือค่าจริง ไม่ได้นั่งเทียน เขียนโม้กันขึ้นมาเอง ??? ”

“ไม่ได้โม้ครับ”  ในสหรัฐอเมริกา เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อดังๆ ใหญ่ๆ ที่ขายกันส่วนมาก เขาจะนำเครื่องของตัวเองไป ทดสอบหาค่า CADR จากสถาบันที่น่าเชื่อถืออย่าง สถาบัน AHAM (Association of Home Appliance Manufacturers) * ใช่สถาบัน “ อะแฮ่ม ”  รึปล่าว ผมออกเสียงถูกรึปล่าวก้อไม่รู้

ถ้าใครอยากรู้ละเอียด ก็เชิญเข้าไปตรวจสอบ อ่านภาษาฝรั่งมังค่า ได้จากที่ Website  นี้เลยครับ http://ahamverifide.org/ahams-air-filtration-standards/

มีคำแนะนำ ปริมาณของค่า CADR ที่เหมาะสมกับขนาดห้องของคุณ โดยที่สถาบันอะแฮ่ม AHAM แนะนำว่าค่า CADR ควรจะมีค่ามากกว่า 2 ใน 3 ของพื้นที่ห้อง โดยให้เอาพื้นที่ของห้อง วัดออกมาหน่วยเป็นตารางฟุต (ft2) หารด้วย 1.5 ผลลัพท์คือค่า CADR ที่ควรจะได้นั่นเอง หรือหากกลับกันเอาค่า CADR คูณ 1.5 ผลลัพท์ก็จะเป็นขนาดพื้นที่ห้องที่ควรจะใช้  มีหน่วยเป็นตารางฟุต (ft2) แล้วนำมาแปลงเป็นตารางเมตร (m2) ด้วยการคูณ 10.764

จะบอกว่า ไอ้ค่า CADR ในเครื่องฟอกอากาศนี้มันจะมี 3 ค่าด้วยกัน คือค่าของฝุ่น ค่าของควันบุหรี่ และค่าของเกสรดอกไม้ ให้เราเอาค่าของควันบุหรี่มาคำนวณ เนื่องจากว่าควันบุหรี่ใช้เวลานานที่สุดในการฟอกอากาศ ตัวอย่าง CADR 3 ค่า ตามรูปด้านล่างครับ

ตัวอย่าง ค่า CADR ทั้ง 3 ค่าที่ผู้ขายบางยี่ห้อแสดงใว้ชัดเจน ให้ดูที่ค่า CADR การฟอกอากาศควันบุหรี่ เป็นสำคัญ

เราลองไปเดินๆ ดูเครื่องฟอกอากาศที่เขาวางโชว์ตามห้างสรรพสินค้า หรือตามที่มาออกบูธดูซิครับ เราจะไม่ค่อยเจอเครื่องฟอกอากาศที่ เปิดเผยตัวเองเรื่องค่า CADR แบบตามในรูปข้างบนหรอกครับ เพราะที่ผ่านมาผู้คนให้ความสนใจในเรื่องค่า CADR กันน้อยมาก บางเครื่องอาจจะมีบอกใว้เพียงค่าเดียวที่ฉลากด้านหลังเครื่อง ถ้าเห็นเพียงค่าเดียวให้อนุมานได้เลยว่าค่า CADR ที่เห็นนั้น ตือค่าควันบุหรี่

เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง มาตรฐานทางการแพทย์ สำหรับพื้นที่ขนาดกลาง ถึงใหญ่ ระบบ HEPA Filter + UVC

ทีนี้..ลองมายกตัวอย่าง การคำนวณค่า CADR ที่เหมาะกับห้องขนาด 25 ตารางเมตร

     เอาละ… เริ่มแรกให้แปลงตารางเมตร (m2) เป็นตารางฟุต (ft2) ก่อน ซึ่ง 1 ตารางเมตรเท่ากับ 10.764 ฟุต ดังนั้นจึงให้นำ 25 คูณด้วย 10.764 จะได้ผลลัพท์ = 269.1 ตารางฟุต (ft2) แล้วนำค่าที่ได้มาหารด้วย 1.5 ก็จะเท่ากับ 179.4 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (CFM) ซึ่งก็คือค่า CADR ที่เหมาะสมกับห้องขนาด 25 ตารางเมตรนั่นเอง โดยบางยี่ห้อเขาใจดี ก็แปลงหน่วยจาก ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (CFM) เป็นลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (M3/H) มาให้เราเรียบร้อยเลย

ส่งมอบเครื่องฟอกอากาศกำลังสูง Medical Grade แบบ H13 HEPA Filter ให้กับห้อง X-RAY และ Ultra Sound รพ.ของรัฐฯ

     แต่ๆๆๆ….มีตัวแปรสำคัญอันนึงที่สำคัญ นั่นคือค่า CADR นั้นถูกคำนวณมาภายใต้ พื้นฐานของห้องที่มีเพดานสูง 2.4 เมตร เป็นมาตรฐานในการคำนวณ (ที่ค่ามาตรฐาน ต้องเป็น 2.4 เมตรไม่ใช่ 2.5 เพราะว่าค่านี้มากจากองกรค์อะแฮ่ม (AHAM) ของอเมริกาที่เขาใช้สูตร 8 ฟุต แปลงเป็นเมตรตรงๆ เลย มันได้ประมาณ 2.4 เมตร) เนื่องจากปริมาตรเกิดจากความ กว้าง x ยาว x สูง ดังนั้นเมื่อรู้ความสูงจึงเหลือแต่พื้นที่ที่ต้องหา ซึ่งอะแฮ่ม (AHAM) ก็แนะนำว่าค่า CADR ควรจะมีค่ามากกว่า 2 ใน 3 ของพื้นที่ห้อง (อย่าลืมว่าภายใต้มาตรฐานว่าห้องสูง 2.4 เมตรนะ!! ถ้าห้องสูงเกินกว่านี้ต้องใช้ค่า CADR สูงกว่านี้) สรุปง่ายๆ ก็คือเอาพื้นที่ห้องเป็นตารางฟุต (ft2) หารด้วย 1.5 คือ CADR ที่ควรจะได้ หรือเราเอา CADR คูณ 1.5 ก็เป็นค่าพื้นที่ห้องที่ควรจะได้เป็นตารางฟุต (ft2) แล้วจากนั้นเราค่อยเอามาแปลงเป็นตารางเมตร (m2) โดยคูณ 10.764 

เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง Y-1000 (Medical Grade) นิยมใช้ในโรงพยาบาล

อย่างที่บอกใว้ครับ..บางยี่ห้อเค้าใจดี แปลงค่า CADR จากลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (CFM) มาเป็นลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (m3/h) มาให้ (แล้วมันจะแปลงมาทำไมว้า..) ก็คือเค้าเอา CADR ที่เป็น ลบ.ม.ต่อ ชม หารด้วย 12 ก็จะเป็นค่าพื้นที่เป็นตารางเมตรที่มากสุดของเครื่องฟอกอากาศที่เหมาะสมจะใช้ในห้องนั้น  เช่น พื้นที่ห้องอยู่ที่ 25 ตร.ม. ค่า CADR ก็ควรจะไม่ต่ำกว่า 25*12 = 300 เป็นต้นครับ

หมายเหตุ : ขอขอบคุณ แหล่งที่มา และ ข้อมูลอ้างอิง ครับ

ข้อมูลการเขียน บางอันผมก็ลอกเขามา บางอันก็ค้นหาจาก Website ฝรั่ง มาผนวกกับประสบการณ์ที่ทำงานกับบริษัทเครื่องมือแพทย์ และบริษัทฝรั่งงยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ ที่คิดค้นเครื่องปรับอากาศเป็นรายแรกของโลก (รวมๆ กันยี่สิบกว่าปี)

โปรดหาข้อมูลเพิ่มเติม อื่นๆ กันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

Climate Medical Safety by Life Protect

สนใจสอบถาม ปรึกษาเรื่องระบบปรับปรุงอากาศในสถานพยาบาล ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ

กัมปนาถ ศรีสุวรรณ

บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Office Tel. 029294345-6

Hotline : 097-1524554

email: LPCentermail@gmail.com

id Line : Lphotline

www.Lifeprotect.co.th

Posted on

HEPA FILTER คืออะไร ?

เริ่มต้นทำความรู้จัก HEPA FILTER

ด้วยสถานการณ์ โรค COVID-19 ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เกิดการแพร่ระบาดไปทั่วโลก แม้ ณ.วันนี้ วันที่ 17 ตุลาคม 2563 ตัวเลขการตรวจพบผู้ติดเชื้อในประเทศไทยถือว่าต่ำมาก ต่างจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีการติดเชื้อกันอย่างหนัก ด้วยเหตุนี้ ทำให้หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไป ต่างก็หาทางป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค โดยเฉพาะภายในอาคารสถานที่ต่างๆ ที่ต้องนำเอาอากาศสะอาด (Fresh Air) เข้ามาใช้หมุนเวียน เช่นภายในอาคาร บ้านเรือน สำนักงาน และโรงพยาบาล หรือแม้แต่คลินิกทางการแพทย์  จึงทำให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากในวงการระบบระบายอากาศ  (Air Ventilation System) และระบบการกรองหรือฟอกอากาศ (Air Purification System)  ทีนี้ในระบบการระบายอากาศ หรือการฟอกอากาศ ชัดเจนอยู่แล้วว่าการจะทำให้อากาศสะอาดได้นั้น มันก็ต้องมี ตัวกรอง (Filter) คำถามต่อไปเกิดขึ้นว่า…แล้วตัวกรอง หรือ Filter แบบไหนล่ะ ถึงจะกรองเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสในอากาศได้อย่างดีที่สุด มันก็เลยเกิดคำว่า “ เฮ็ปป้า ฟิลเตอร์ หรือ  เฮป้า ฟิลเตอร์ ” ( HEPA Filter )  ที่เราได้ยิน ได้เห็นกันบ่อยๆ ในช่วงนี้

H13 HEPA Filter สำหรับเครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก EOS
เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง ใช้ในทางการแพทย์ แบบเคลื่อนย้ายได้ (H13 HEPA FILTER + UV-C)

HEPA Filter คืออะไร

เฮ็ปป้า ฟิลเตอร์ (HEPA FILTER) คือ แผ่นกรองอากาศ ย่อมาจากคำว่า “ High Efficiency Particulate Air Filter = ตัวย่อ HEPA HEPA FILTER มีการใช้ในเชิงพานิชย์มาตั้งแต่ในปี 1950 HEPA FILTER จัดเป็น แผ่นกรองอากาศคุณภาพ ความละเอียดสูง มีประสิทธิภาพในการกรองอากาศมากว่าแผ่นกรองอากาศทั่วๆไป โดย HEPA FILTER ถักทอทำขึ้นมาจากเส้นใยไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) เส้นเล็กๆมากๆ ที่ถักทอไปมาแบบสุ่ม จัดเรียงกันอย่างไม่เป็นระเบียบ แต่ละเอียดยิบๆ จนทำให้มีเส่นผ่านศูนย์กลางของใยทอ 0.5 – 2.0 ไมครอน มีความความแน่น และมีความสามารถในการกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กมากๆ (Small Particles) และสามารถกรองอากาศ กรองฝุ่นผงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ่กรองเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส และ ละอองเกสรดอกไม้ ที่ล่องลอยในอากาศ ได้เป็นอย่างดี

กลไกหลักของ HEPA FILTER มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบคือ

  1. Interception จะเกิดขึ้นเมื่ออนุภาคสารปนเปื้อนผ่านในระยะที่เท่ากับรัศมีหนึ่งของอนุภาคของเส้นใย ทำให้อนุภาคสัมผัสกับเส้นใย และถูกจับออกจากการไหลของอากาศ ถ้าระยะของอนุภาคไกลเกินกว่ารัศมีอนุภาคจากเส้นใยจะไม่ถูกขัง
  2. Impaction เกิดขึ้นเมื่ออนุภาคที่มีขนาดใหญ่ไม่สามารถที่จะปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของอากาศเมื่อเข้าใกล้เส้นใยกรอง ทำให้ติดอยู่บนเส้นใย
  3. Diffusion ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของอนุภาคก๊าซ อนุภาคขนาดเล็ก (ปกติ 0.1 ไมโครเมตรหรือน้อยกว่า) มีแนวโน้มที่จะเดินทางไปในรูปแบบผิดปกติทำให้การเคลื่อนไหวแบบสุ่มที่ การเคลื่อนที่ที่ผิดปกตินี้ทำให้อนุภาคสารปนเปื้อนติดอยู่ในเส้นใย

ตัวอย่างเช่น เครื่องดูดฝุ่นในสมัยปัจจุบัน ใช้แผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER เป็นส่วนหนึ่งของระบบกรองฝุ่น เพราะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหอบหืด และโรคภูมิแพ้ ชุดกรอง HEPA FILTER จะทำการดักจับอนุภาคละเอียด เช่นละอองเกสร และฝุ่นที่เป็นอุจจาระจากตัวไรฝุ่น ซึ่งก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้และโรคหอบหืด สำหรับแผ่นกรอง HEPA FILTER ในเครื่องดูดฝุ่น มีการออกแบบให้เหมาะสมรูปทรงเข้ากับเครื่องดูดฝุ่นของแต่ละรุ่น เพื่อให้ฝุ่นที่อยู่ในอากาศที่ดูดเข้ามาในเครื่องจะผ่านตัวกรองนี้ แล้วทำการดักจับจะไม่ให้ฝุ่นละอองรั่วไหลผ่านออกไป แต่ถ้าไม่ใช้ HEPA FILTER คอยกรองไว้ เครื่องดูดฝุ่นบางเครื่องเวลาดูดฝุ่นเข้ามาแล้ว ฝุ่นยังคงมีการกระจายออกมานอกเครื่องดูดฝุ่นได้

H13 HEPA FILTER สำหรับเครื่องฟอกอากาศในห้องทันตกรรม

ประโยชน์ของแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER

ประโยชน์หลักๆ ของ HEPA FILTER คือความสามารถในการช่วยสร้างอากาศบริสุทธิ์ ด้วยการสกัดกั้นสารก่อภูมิแพ้ และสิ่งสกปรกที่ลอยอยู่ในอากาศ ไม่ให้เวียนกลับเข้าไปสู่บรรยากาศ ส่งผลดีให้กับผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และยังช่วยป้องกันการเกิดโรคที่อาจมีสาเหตุจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย อีกด้วย

จะบอกให้ว่า..การที่จะมาเป็น HEPA Filter นี้ ไม่ได้มาเป็นกันได้ง่ายๆนะครับ เพราะต้องได้มาตรฐานในการรับรองประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งถูกพัฒนาโดยกระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา (DOE) ซึ่งได้กำหนดว่า แผ่นกรองอากาศที่จะได้ชื่อว่าเป็นแผ่นกรองอากาศระดับ HEPA FILTER นี้ จะต้องมีความสามารถในการกรองฝุ่น และฝอยละอองที่มีขนาดอนุภาคใหญ่กว่า อนุภาคขนาด 0.30 ไมครอนได้ (จะต้องกรองอากาศ จากอากาศที่ผ่าน ได้ 99.97% ของอนุภาคที่มีขนาด 0.30 ไมครอน) ซึ่งมาตรฐานนี้ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยกระทรวงพลังงานของประเทศสหรัฐอเมริกา สรุปชัดๆ คือแผ่นกรองอากาศ ต้องสามารถกรองอนุภาคที่เล็กมากๆได้ในระดับที่เชื้อโรคต่างๆ เช่นเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ต่างๆ ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ เมื่อถูกระบบดูดอากาศ ของเครื่องฟอกอากาศดูดเข้ามาผ่านกรองอากาศ HEPA FILTER นี้แล้ว เชื้อโรคต่างๆ จะไม่สามารถเล็ดลอดผ่านแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER ออกไปข้างนอกได้ จะมีแต่เพียงอากาศที่สะอาดเท่านั้น ที่สามารถผ่านแผ่นกรองอากาศระดับ HEPA นี้ออกไปได้เท่านั้นครับ

ดังนั้นจึงชัดเจนว่า ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER แล้วล่ะก็  มันสามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ ฝุ่นละอองละเอียดที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ( ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ปกคลุมกรุงเทพฯ อยู่นาะแหละ ) ได้อย่างจริงแท้ และแน่นอน  ซึ่งแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER ในปัจจุบัน ได้ถูกนำมาใช้กับในหลายวงการ หลายสถานที่ ไม่ว่าจะเป็น ใช้ภายในบ้านพักอาศัย ใช้ในออฟฟิศสำนักงาน ใช้ในระบบการขนส่งมวลชนที่มี Transaction ของผู้คนเข้าออก หรือแออัดอยู่กันเยอะๆ เช่นบนรถไฟฟ้า , ห้องโดยสารของสายการบิน, การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า, การผลิตยา และที่สำคัญ ได้ถูกนำมาใช้ในวงการวิทยาศาสตร์ , ชีวการแพทย์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างแพร่หลาย เช่นใช้ใน FUME Hood ตู้ดูดไอสารเคมีในห้อง Lab วิทยาศาสตร์ , ใช้ในโรงพยาบาล , ใช้ในห้องแยกโรค COHORT WARD , ใช้ในห้องทันตกรรม คลินิกศัลยกรรมความงามต่างๆ ที่ต้องการความสะอาด เพื่อปลอดเชื้อโรคให้ได้มากที่สุดนั่นเอง

HEPA FILTER มีหลายขนาด เลือกใช้ให้เหมาะสมกับเครื่อง

แผ่นกรองอากาศ HEPA Filter มีกี่ชนิด

อย่างที่บอกครับ ว่าการจะมาเป็น HEPA Filter ไม่ได้มาเป็นได้ง่ายๆ หรือ Spec ของแผ่นกรองอากาศ ที่ขึ้นชื่อว่าจะสามารถเป็น แผ่นกรองอากาศระดับ HEPA FILTER ได้นั้น จะต้องมีความสามารถในการกรองฝุ่นละเอียด ที่มีขนาดที่ใหญ่กว่า 0.3 ไมครอน แต่ในความเป็นจริงแล้ว แผ่นกรองอากาศระดับ HEPA FILTER นั้น ก็ยังมีรายละเอียดยิบย่อยอื่นๆ อีกมากมาย อย่างเช่นมาตรฐานของ EU : EN779 ก็ได้แบ่งระดับของ HEPA ออกไปอีก 5 ระดับ ได้แก่

  • ระดับ E10 Class : หรือ E10 HEPA Filter สามารถกรองฝุ่นละอองได้ 85% (ฝุ่นละออง มีโอกาสเล็ดลอดผ่านกรองออกไปได้ 15%)
  • ระดับ E11 Class : หรือ E11 HEPA Filter สามารถกรองฝุ่นละอองได้ 95% (ฝุ่นละออง มีโอกาสเล็ดลอดผ่านกรองออกไปได้ 5%)
  • ระดับ H12 Class : หรือ H12 HEPA Filter สามารถกรองฝุ่นละอองได้ 99.5% (ฝุ่นละออง มีโอกาสเล็ดลอดผ่านกรองออกไปได้ 0.5%)
  • ระดับ H13 Class : หรือ H13 HEPA Filter สามารถกรองฝุ่นละอองได้ 99.95% (ฝุ่นละออง มีโอกาสเล็ดลอดผ่านกรองออกไปได้ 0.05%)
  • ระดับ H14 Class : หรือ H14 HEPA Filter สามารถกรองฝุ่นละอองได้ 99.995% (ฝุ่นละออง มีโอกาสเล็ดลอดผ่านกรองออกไปได้ 0.005%)
การใช้ HEPA FILTER ในเครื่อง Fan Filter Unit (FFU) ดูดอากาศเข้าห้อง Clean Room

การดูแลรักษาแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER  

            โดยปกติแล้วกรองอากาศ HEPA FILTER ถ้าใช้งานแบบบ้านๆ ทั่วไป มีอายุการใช้งาน 4-5 ปี ตามแต่รุ่น (ให้ดูตามคู่มือการใช้งานของเครื่องที่ซื้อมา) แต่เราก็สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานมันได้บ้างนิดหน่อยโดยการหมั่นนำออกมาทำความสะอาด ข้อควรระวังคือ แผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER ทำมาจากเส้นใยไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) มันจึงแพ้น้ำ แพ้ความชื้น ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงที่จะให้มันโดนความชื้น หรือน้ำ เพราะความชื้นและน้ำ อาจจะเข้าไปกัดกร่อนเส้นใย Fiberglass หรือส่วนประกอบภายในอื่นๆ ของแผ่นกรองได้ ทางที่ดีควรใช้วิธีการนำเครื่องดูดฝุ่น มาดูดทำความสะอาด หรือใช้แปรงขนนุ่มๆ ทำความสะอาดในการปัดฝุ่นที่อยู่ในร่องให้ออกมา แล้วเคาะเบาๆ ให้เศษฝุ่นหลุดออกมาจากตัวแผ่นกรอง จะดีกว่า แต่ถ้าหากเครื่องฟอกอากาศตัวนั้น ถูกใช้งานอย่างสม่ำเสมอ ควรจะเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER ตามที่กำหนดใว้ในคู่มือการใช้งานของเครื่อง หรือทุกๆ 1 -2 ปี (ตามความเหมาะสม ความหนักของการใช้งาน) เพื่อให้ HEPA FILTER กรองอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดครับ

H13 HEPA FILTER สำหรับเครื่องฟอกอากาศ

จากการรวบรวมข้อมูลของผู้เขียน หว้งว่า คงจะได้ทำความเข้าใจ ได้รู้จัก HEPA FILTER กันไปพอสมควรนะครับนะครับ ในปัจจุบันนี้ยังมีเทคโนโลยี FILTER ชั้นสูงที่กรองอากาศได้ละเอียดยิบๆ กว่า HEPA FILTER อีก นั่นคือ ULPA (Ultra-Low Particulate Air) โดย Filter พวกนี้จะมีความสามารถในการกรองอนุภาคขนาด 0.12 Micron ได้ที่ 99.999995% หรือพลาดแค่ 0.000005% เท่านั้น ULPA FILTER ราคาสูงกว่า HEPA มั่กๆแน่นอน เพราะมันเหมาะสำหรับใช้ในการทำงานที่ต้องการความสะอาดสูงมาก ๆ เช่นห้องปฏิบัติการบางประเภท (ทั้งป้องกันอากาศภายนอกเข้าไปปนเปื้อน และ ไม่ให้อากาศปนเปื้อนข้างในออกมา) หรือพวก Cleanroom ที่ต้องการอากาศสะอาดสูงสุด เขาก็จะใช้ ULPA FILTER กัน เอาใว้มีโอกาศ ผมจะมาเขียนเรื่อง ULPA ให้อ่านอีกครั้งครับ สำหรับวันนี้ ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันครับ

FAN FILTER UNIT สำหรับดูดอากาศเข้าห้อง Clean Room พร้อมกรองอากาศด้วย HEPA FILTER

ยินดีให้คำปรึกษาเรื่อง ระบบดูดอากาศ และ ระบบฟอกอากาศสำหรับห้องทันตกรรม ตามแบบปรับปรุง ก.45 เมย.63 กองแบบแผน กรม สบส. ครับ

กัมปนาถ ศรีสุวรรณ Tel. 097-1524554

id Line : Lphotline

email: LPCentermail@gmail.com

บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Office Tel. 02-9294345 -6

Posted on

เครื่องฟอกอากาศแบบ Electrostatic (Electronic Collecting Cell) คืออะไร

หมายเหตุ: เครื่องฟอกอากาศระบบ Elec­tro­sta­tic (Electrostatic Precipitator ESP) หรือที่เรียกว่าการทำงานด้วยระบบ Electronic Collecting Cell เป็นครุภัณฑ์ ที่มีข้อกำหนดและคุณสมบัติ บรรจุอยู่ในบัญชีครุภัณฑ์ ราชการ

ระบบฟิลเตอร์กรองอากาส Electronic Collecting Cell หรือ Electrostatic Precipitator (ESP)

เป็นระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมานานแล้ว ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นระบบ HEPA FILTER ในปัจจุบัน

รูปตัวอย่างเครื่องฟอกอากาศระบบ Electronic Collecting Cell แบบใส้กรอง Filter ถอดล้างได้ รุ่น KJ600D-X10

เครื่องฟอกอากาศ แบบ Electrostatic Precipitator (ESP) Filter หรือที่เรียกอีกแบบนึงว่า Electronic Collecting Cell เป็นระบบกรองอากาศที่ทำงานโดยใช้หลักไฟฟ้าสถิต ด้วยการปล่อยประจุไฟฟ้าลบ ออกมาจับฝุ่นละอองหรืออนุภาคขนาดเล็กที่เป็นประจุบวกให้เป็นกลุ่มก้อน เพื่อทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นแล้วตกลงสู่พื้น ไม่ลอยฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ และ เป็นระบบฟอกอากาศ ที่ไส้กรองสามารถถอดล้างทำความสะอาดได้บ่อยครั้งตามที่ต้องการ จึงไม่เป็นที่สะสมของสิ่งสกปรกและเชื้อโรค อีกทั้งยังช่วยประหยัดวัสดุสิ้นเปลืองช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยน Filter อีกด้วย จึงได้รับการขึ้นบัญชีจากกรมบัญชีกลาง เป็นครุภัณฑ์ ระบบเครื่องฟอกอากาศ สำหรับติดตั้งใช้งานในหน่วยงานราชการ อาคารสำนักงาน สถานพยาบาล ศูนย์บริการสุขภาพ และโรงพยาบาลต่างๆ ของรัฐฯ มานาน

* แต่ในปัจจุบัน ในประเทศไทยเรา มีทั้งภาวะฝุ่นพิษ PM2.5 และโรคระบบทางทางเดินหายใจ เช่น โรค Covid-19 เกิดขึ้น เครื่องฟอกอากาศที่ใช้ระบบกรองแบบ Electronic Collecting Cell หรือ ESP ไม่สามารถป้องกันได้ จึงต้องมีการเพิ่มชุดกรองอากาศแบบ H13 HEPA Filter ซึ่งมีความละเอียดในการกรองฝุ่น PM2.5 และเชื้อไวรัส ได้ดี เข้ามาในชุดระบบกรองอากาศ

** เพิ่มเติม 2564 – ปัจจุบัน ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมปลอดเชื้อ, ห้องแรงดันลบ, ห้องแยกโรค, หอผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ COHORT WARD, ห้องผ่าตัด (OR) ให้ใช้เครื่องฟอกอากาศที่เป็นระบบกรองอากาศแบบ H13 HEPA Filter แต่เพียงอย่างเดียว (ไม่มีการใช้ระบบ ESP)

ต่อไปนี้ ขอเชิญ มาเริ่มต้น ความปวดหัวกับบทความวิชาการ ที่ผมลอกเขามามั่ง เติมเสริมเพิ่มเองมั่ง กันครับ

หลักการทำงานของเครื่องฟอกอากาศ แบบใส้กรองถอดล้างทำความสะอาดได้ Electrostatic Precipitator (ESP)

เครื่องฟอกอากาศ แบบ Electronic Collecting Cell (ESP) แบบเคลื่อนย้ายได้ในรุ่นแรกๆ ชนิดไม่มี ชุดกรอง H13 HEPA Filter ช่วย

ระบบ Electrostatic Precipitator (ESP) คืออะไร ในเครื่องฟอกอากาศ

Electrostatic Precipitator (ESP) เป็นระบบดักจักฝุ่นละอองที่ใช้แรงไฟฟ้าสถิต (Electrostatic forces) ประกอบด้วยเส้นลวดประจุลบ และแผ่นเพลตโลหะประจุบวก เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับศักย์ไฟฟ้าแรงสูงจะทำให้อากาศที่อยู่ระหว่างแผ่นเพลตโลหะและเส้นลวดเกิดการแตกตัว (Ionization) เมื่ออากาศหรือแก๊สที่ประกอบด้วยละอองลอย ฝุ่นละออง เคลื่อนที่ผ่านอนุภาคจะแตกตัวเป็นไอออน อนุภาคที่แตกตัวจะถูกดักจับติดกับแผ่นเพลตโลหะด้วยแรงทางไฟฟ้า ที่เรียกว่า แรงคูลอมบ์ จึงทำให้อากาศที่ผ่านระบบนี้ออกมาเป็นอากาศบริสุทธิ์  ซึ่งหลักการนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับระบบดักจับฝุ่นละอองในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และรวมถึงการนำประยุกต์ใช้กับเครื่องฟอกอากาศขนาดเล็กภายในบ้าน สำนักงาน หรือโรงพยาบาล ต่างๆ (ตัวอย่างเช่นเครื่องฟอกอากาศหน้าห้องพักคอย รอเข้าห้อง X-Ray ที่ตึกสิรินธร โรงพยาบาลราชวิถี ที่เป็นเครื่องที่เก่า มากกกกกกก ถึงมากที่สุด)

รูปแสดงหลักการทำงานของระบบ Electrostatic (Credit www.hitachi-infra.com.sg)

จากระบบที่กล่าวมานั้น Electrostatic Precipitator (ESP) เป็นระบบที่ใช้ศักย์ไฟฟ้าแรงสูง และดักจับฝุ่นละอองด้วยแรงคูลอมบ์ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับแก๊สประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นละอองแต่ละขนาดก็จะแตกต่างกัน มีปัจจัยขึ้นอยู่กับความเข้มของศักย์ไฟฟ้าระหว่างแผ่นเพลตโลหะและเส้นลวด  และเวลาของอนุภาคที่เคลื่อนที่ผ่านสนามไฟฟ้า

สำหรับในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

เครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต Electrostatic Precipitator (ESP) เป็นเครื่องมือที่ใช้แรงไฟฟ้าในการแยกอนุภาค โดยใส่ประจุให้อนุภาค แล้วผ่านอนุภาคที่มีประจุเข้าไปในสนามไฟฟ้าสถิต อนุภาคจะเคลื่อนเข้าหาแผ่นเก็บที่มีศักย์ไฟฟ้าตรงข้ามกัน ESP มีประสิทธิภาพสูงมากในการดักฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน ได้มากกว่า 99.5% ความดันสูญเสียต่ำและสามารถจับก๊าซร้อนได้

หลักการทำงานของ ESP มี 3 ขั้นตอน คือ
– การใส่ประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาค
– การเก็บอนุภาคที่มีประจุโดยใช้แรงไฟฟ้าสถิตจากสนามไฟฟ้า
– การแยกอนุภาคออกจากขั้วเก็บไปยังถังเก็บพัก

รูปตัวอย่าง การล้างชุดกรอง Electronic Collecting Cell ด้วยน้ำสะอาด หลังจากที่ล้างฝุ่นสกปรกออกด้วยน้ำที่ผสมน้ำยาทำความสะอาดแล้ว

ส่วนประกอบของเครื่อง ESP มีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน คือ

  1. ขั้วปล่อยประจุ Discharge Electrodes เป็นลักษณะเป็นเส้นลวดแผ่นหรือท่อแล้วใส่ไฟฟ้าแรงดันสูง เพื่อให้เกิดการแตกตัวเป็นอิออน (ไม่ใช่บัตร อิออนนะครับ)
  2. ขั้วเก็บ Collection Electrodes ขั้วเก็บ ส่วนใหญ่เป็นแผ่น เนื่องจากทำให้สามารถรับปริมาณของก๊าซได้มาก
  3. เครื่องแยกฝุ่น Rappers เครื่องแยกฝุ่นเอาไว้แยกฝุ่นออกจากแผ่นเก็บ (อันนี้จะมีในโรงงานอุตสาหกรรม)
  4. ถังพัก Hopper (อันนี้ก็จะมีในโรงงารอุตสาหกรรม เครื่องบ้านๆ ก็ไม่มี)

ะบบดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ (Electrostatic Precipitators (ESP) ใช้แรงไฟฟ้าในการแยก  อนุภาคออกจากกระแสก๊าซ โดยการใส่ประจุไฟฟ้าให้อนุภาค แล้วผ่านอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเข้าไปใน   สนามไฟฟ้าสถิตย์ อนุภาคเหล่านี จะเคลื่อนที่เข้าหาและถูกเก็บบนแผ่นเก็บซึ่งมีศักย์ไฟฟ้าตรงกันข้าม

อนุภาค ESP มีประสิทธิภาพสูงในการเก็บอนุภาคฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน โดยทั่วไปมีประสิทธิภาพ  99.5 % หรือสูงกว่า ปัจจุบัน ESP ถูกใช้เป็นระบบบำบัดมลพิษอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย  เช่น โรงไฟฟ้า โรงหล่อหลอมเหล็ก โรงปูนซีเมนต์ โรงงานผลิตสารเคมี

เครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต Electrostatic Precipitator(ESP) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ดักจับฝุ่น โดยอาศัยแรงทางไฟฟ้าในการ แยกฝุ่นออกจากอากาศ การทำงานประกอบด้วยขั้วที่ให้ประจุลบ (discharge electrode )กับอนุภาคฝุ่น ฝุ่นก็จะวิ่งเข้าไปเกาะที่แผ่นเก็บฝุ่น (Collecting plate) ซึ่งมีขั้วบวก และต่อลงกราวน์ไว้ทำหน้าที่จับและเก็บฝุ่นไว้เมื่อฝุ่นเกาะหนาได้ระดับหนึ่งแล้ว (6-12 มม.) ก็จะถูกเคาะให้ร่วงลงมาในฮอปเปอร์ ลำเลียงออกไปจากตัวเครื่อง มีขั้น ตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การใส่ประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาค (Particle charging) โดยขั้ว discharge electrodes จะปล่อยไฟฟ้า กระแสตรง (Direct Current) ที่มีค่าความต่างศักย์สูง (20-110 kV) ทำให้โมเลกุลของกระแสอากาศที่อยู่ รอบๆเกิดการแตกตัวเป็นอิออน (ions) และถูกอิเลคตรอนหรือประจุลบบริเวณขั้วปล่อยประจุ จะเกิดปรากฎการณ์เป็นแสงสีน้ำเงินสว่างบริเวณรอบๆขั้ว ที่เรียกว่า โคโรนา (corona) เมื่ออนุภาคเคลื่อนที่ เข้ามาสนามไฟฟ้าจะถูกอิออนลบ ของโมเลกุลอากาศจำนวนมากชน ทำให้อนุภาคมีประจุเป็นลบ

รูปแสดงขั้นตอนที่ 1 ของกระบวนการ Electrostatic Precipitator ในระบบ Cell

ขั้นตอนที่ 2 การเก็บอนุภาคที่มีประจุโดยใช้แรงไฟฟ้าสถิตย์ จากสนามไฟฟ้า (Electrostatic collection) เป็น ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ภายหลังจากอนุภาคที่มีประจุเป็นลบแล้ว ได้เคลื่อนที่ผ่านเข้ามาในไฟฟ้า และจะถูกเหนี่ยวน้าให้เคลื่อนที่เข้าหาขั้วเก็บ ที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก และเกาะติดอยู่กับแผ่นเก็บ ความเร็วของอนุภาคที่วื่งเข้าแผ่นเก็บประจุฯ ความเร็วนี ถูกเรียกว่า Migration Velocity ซึ่งขึ้นกับแรงดันไฟฟ้าที่กระท้าต่ออนุภาคและแรงฉุดลาก (drag force) ที่เกิดขึ้นในขณะที่อนุภาค เคลื่อนที่ไปยังขั้วเก็บประจุฯ นอกจากนี้ เมื่ออนุภาคเกาะติดกับขั้วเก็บประจุฯ แล้วจะค่อยๆ ถ่ายเทประจุลบสู่ขั้วเก็บ ท้าให้แรงดึงดูดทางไฟฟ้า ระหว่าง อนุภาคกับขั้วเก็บลดลงอย่างไรก็ตามการที่อนุภาคจะหลุดจากขั้วเก็บ หรือเกิดการฟุ้งกลับ ( Re-Entrainment ) ของอนุภาคที่เกิดจากการไหลของกระแสอากาศจะค่อนข้างน้อย เนื่องจากมีการทับถม หรือเกิดการ สะสมของอนุภาคที่มีประจุบนขั้วเก็บ จึงกล่าวได้ว่าขณะที่อนุภาคที่ยึดเกาะกับขั้วเก็บเสียประจุ ฯ ไปเกือบหมด อนุภาคใหม่ที่อยู่ด้านนอกที่เข้ามายึดเกาะนั้นจะยังคงมีประจุไฟฟ้าอยู่ เนื่องจากไม่อาจถ่ายเทประจุฯ ผ่านชั้นของอนุภาคเก่าที่สะสมอยู่ได้ทันที รวมทั้งในการยึดเกาะจะเกิดแรงยึดเหนี่ยว ระหว่างโมเลกุลที่เรียกว่าแรง Adhesive และแรง Cohesive ช่วยในการยึดอนุภาคทั้งหมดให้อยู่กับ ขั้วเก็บ โดยขั้นตอนของการใส่ประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาคและการเก็บอนุภาคที่มีประจุดังรูป

รูปแสดงขั้นตอนที่ 2 การเก็บอนุภาคที่มีประจุโดยใช้แรงไฟฟ้าสถิตย์

เริ่มมึนๆ งงๆ กันแล้วใช่มั้ยครับ สั้นๆ อย่างงี้แล้วกัน

สรุปใจความได้ว่า เครื่องฟอกอากาศ แบบ Electronic Collecting Cell หรือ Electrostatic Precipitator (ESP) นั้นคือ ของดีที่มีมานานหลายสิบปีแล้ว ในสมัยนั้นหน่วยงานรัฐยอมซื้อในราคาที่แพงในตอนแรก เพราะมองถึงความประหยัดระยะยาว เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยน Filter เพราะในสมัยก่อนนั้นระบบ ESP ก็เพียงพอสามารถฟอกอากาศได้สะอาด และตัว Filer เอง เป็นแบบถอดล้างได้ ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายระยะยาว

แต่ในชีวิตความเป็นจริง โลกมันเปลี่ยนไป มีฝุ่น PM2.5 และ เชื้อโรค เชื้อไวรัสเกิดขึ้นมาก ระบบ ESP Filter อย่างเดียวไม่สามารถทำงานปกป้อง ครอบคลุมท่านได้ อย่างน้อยต้องมี HEPA Filter มาช่วยเสริม และที่ดีที่สุดคือ มีระบบรังสี UV-C ฆ่าเชื้อโรค เข้ามาติดตั้งร่วมด้วย จึงจะป้องกันฝุ่นและเชื้อโรคได้ ดังเช่นที่ใด้เห็นในเครื่องฟอกอากาศรุ่นใหม่ๆ ตามด้านล่างนี้

บริการบำรุงรักษา และล้างทำความสะอาดเครื่องฟอกอากาศระบบ Electronic Collecting Cell (ESP)

ติดต่อสอบถามได้ที่ คุณกัมปนาถ บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Hotline Tel. 097-1524554

id Line: Lphotline

Office : 02-9294345 -6

e-mail: LPCentermail@gmail.com

Posted on

ค่า ACH ของเครื่องฟอกอากาศคืออะไร ทำไมเราต้องรู้ ??

เรื่องนี้ยาว…บอกใว้ก่อนเลย แต่สาระดีๆ ทั้งนั้น คิดจะซื้อเครื่องฟอกอากาศ ทำไมต้องรู้ค่า ACH (ค่า ACH คืออะไร ?)

RUIWAN ผู้เชี่ยวชาญระบบ ดูดละอองฝอยในอากาศ และฟอกอากาศ แบบเคลื่อนย้ายได้มากว่า 10 ปี

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองหลักอย่างเช่น เชียงใหม่ ที่เต็มไปด้วย ควันพิษทั้งจากยานพาหนะที่คับคั่ง ควันพิษจากไฟป่า และฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่เป็นฝุนละอองขนาดเล็กมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ที่เกิดจากการพัฒนาระบบโครงสร้างพิ้นฐานของเมือง การก่อสร้างอาคารสูง บรรดาบ้านพักอาศัย คอนโดมิเนียมที่อยู่ใกล้ถนน ใกล้ทางด่วน และใกล้เขตก่อสร้างทางรถไฟฟ้า จะได้รับมลภาวะฝุ่นพิษเหล่านี้เข้าไปเต็มๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านที่ Open เปิดหน้าต่าง จะเห็นได้ง่ายมากๆ ว่าเราทำความสะอาดเช็ดถูอุปกรณ์เครื่องใช้ เช่น โต๊ะหรือตู้โชว์ไปแล้ว ทิ้งใว้แป๊ปเดียวแค่ 10 นาที พอกลับมากัมลงมองดูใกล้ๆ ก็จะเห็นฝุ่นขนาดเล็กๆ ลงมาเกาะพื้นผิวที่เพิ่งทำความสะอาดไป อ่ะ..ทำไงดี ถ้ายังงั้นปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด เปิดแอร์ เชื่อมั้ยว่าขนาดปิดประตูหน้าต่างมิดชิด เปิดแอร์ ฝุ่นก็ยังมา มากันแบบฝุ่นเล็กๆ จิ๋วๆ ฝุ่นมา แบบเหมือนไม่มีอะไรกั้น เข้ามาได้ยังไง?? ก็เข้ามาตอนที่เราเปิดประตูเข้าๆ ออกๆ กันน่ะแหละ ฝุ่นบางตัวก็เล็กซะจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่านี่เนอะ

เชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และ เชื้อไวรัสต่างๆ เชื้อไวรัส COVID-19

คอลัมน์ข้างบนได้กล่าวถึงเรื่องเป็นแค่ฝุ่นที่เข้าตา เอ๊ย !! ไม่ใช่..ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทีนี้ก็มาเข้าสู่สถานการณ์ปัจจุบัน คือเชื้อโรคต่างๆ ที่ลอยละล่องอยู่ในอากาศ เชื้อโรคที่ล่องลอยอยู่ในโรงพยาบาล เชื้อโรคล่องลอยอยู่ในห้องทำฟัน เชื้อโรคที่ล่องลอยอยู่ในคลีนิคหมอฟัน คลีนิคศัลยกรรม เชื้อโรคที่ล่องลอยอยู่ในโรงแรม ในห้างสรรพสินค้า เชื้อโรคที่ล่องลอยอยู่บนรถไฟฟ้า เชื้อโรคที่ล่องลอยอยู่ในบ้าน เอาเป็นว่าเชื้อโรคล่องลอยอยู่ทุกหนแห่งน่ะแหละ ป้องกันยังไงก็ไม่ได้ทุกที่หรอก ต้องทำใจ

จากที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เราต้องดิ้นรนดูแลตัวเองกันด้วยกำลังของตัวเอง ก็ทำให้เกิดความต้องการใช้เครื่องฟอกอากาศขึ้นมา ในที่นีี้ผมจะไม่กล่าวถึงแล้วว่าเครื่องฟอกอากาศเริ่มต้นมายังไงเพราะมีคนเขียนใว้เยอะแล้ว แต่ผมจะมากล่าวถึงการเลือกขนาดของเครื่องฟอกอากาศให้เหมาะสมกับการใช้งานกับขนาดห้องของเราดีกว่า เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป้นตัวช่วยในการตัดสินใจ ในการเลือกเครื่องฟอกอากาศให้ตรงความต้องการใช้ และได้ประโยชน์สูงสุด เหมาะสมกับกำลังจำนวนเงินที่เราต้องจ่ายครับ

อันดับแรกเลย ในการเลือกเครื่องฟอกอากาศ เราต้องรู้ขนาดของห้องที่เราจะตั้งเครื่อง แล้วเราก็ต้องไปดูค่า ACH ที่ระบุใว้ที่เครื่องฟอกอากาศครับ อ้าวงานมา!! แล้วไอ้ค่า ACH ของเครื่องฟอกอากาศเนี่ย มันคืออะไร ?

เครื่องฟอกอากาศ ระดับใช้งานทางการแพทย์ (Medical Grade) สำหรับห้องทันตกรรม โรงพยาบาล และคลีนิค

ค่า ACH ของเครื่องฟอกอากาศคืออะไร ?

เอางี้ สมมุติว่าเราเดินเข้าไปใน Home Pro หรือ Power Buy นะ เดินๆไปตรงที่แผนกที่ขายเครื่องฟอกอากาศ เราก็จะเจอหลายยี่ห้อเลย เราก็จะงงๆ หน่อยว่า เขาเขียน Spec แปะที่เครื่องฟอกอากาศใว้ทุกตัวเลยว่า เครื่องตัวนี้แนะนำให้ใช้กับห้องขนาดพื้นที่ไม่เกินเท่านี้ แต่ว่าก็เจอแปลกๆอีก เครื่องที่มีขนาดพื้นที่ห้อง ที่แนะนำให้ใช้ใกล้เคียงกัน บางยี่ห้อตัวใหญ่บึ้มๆ พ่นลมแรง เครื่องทำงานเสียงดัง แล้วดันราคาแพงอีกด้วย แต่บางยี่ห้อ เฮ้ย !! ตัวเล็กนิดเดียว พ่นลมออกมาก็เบ๊าเบาเหลือเกิน แต่ราคาถูกดีเว้ย ที่มันเป็นเช่นนั่นก็เพราะแต่ละยี่ห้อ ใช้มาตรฐานในการวัดขนาดพื้นที่ห้อง กว้าง x ยาว x สูง ที่แตกต่างกันครับ (ณ จุดนี้ ผู้เขียนขอแนะนำว่าควรใช้หน่วยวัดเป็นเมตร ดีที่สุดครับ ผลลัพท์ที่ได้จะออกมาเป็น SQM ตารางเมตร)

ความงง เริ่มมาเยือนแระ เอางี้ หลับตา..นึกภาพสิ่งที่เราอยู่กับมันบ่อยๆ เช่นห้องนอนในบ้าน ห้องนอนในคอนโดฯ ของเรา สมมุติว่าห้องนี้เราติดแอร์ขนาด 12000 BTU ช่างแอร์ในตำนาน บางคนบอกว่า แอร์มันเล็กนะครับ ใช้ได้กับห้องขนาดไม่เกิน 24 SQM (ตารางเมตร) แต่ช่างแอร์ในตำนานบางคนก็ตะโกนแย้งมาว่า “ผมว่าไม่เล็กนะครับ” ห้อง 33 SQM ก็ใช้ได้ครับ ซึ่งเอาจริงๆแล้ว มันก็ใช้ได้กับห้องทั้ง 2 ขนาดแหละครับ เพียงแต่พอเราไปใช้กับห้องเล็กๆ มันก็เย็นเร็ว เย็นไว แถมเย็นฉ่ำอีกตะหาก แต่พอเอาไปใช้กับห้องใหญ่ๆ มันก็เย็นช้า แล้วก็รู้สึกเหมือนไม่ค่อยเย็นนัก

เครื่องฟอกอากาศ Medical Grade แบบใส้กรองถอดล้างได้ (Electrostatic Precipitator Filter)

การเลือกเครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) วิธีคิด ก็คล้ายๆกันกับ การติดตั้งแอร์น่ะแหละครับ เราจะเอาเครื่องฟอกอากาศไปใช้กับห้องขนาดไหนก็ได้ จะเอาเครื่องเล็กๆ ที่มันเป่าลมออกเบาๆ ไปใช้กับห้องที่กว้างใหญ่ก็ได้ แต่ว่าเราอาจจะไม่รู้สึกว่าอากาศมันดีขึ้น แบบรู้สึกเหมือนอากาศไม่เห็นมันจะโดนฟอกเลยอ่ะ แต่ถ้าเทียบกับการที่เราเอาเครื่องฟอกอากาศตัวเล็กๆ เอาไปตั้งใช้ในห้องเล็กๆ เรารู้สึกว่า เฮ้ย !! อากาศมันสดชื่นอ่ะ อากาศมันโดนฟอกอ่ะ พอมันเป็นแบบนี้นะ พวกเครื่องฟอกอากาศแต่ละยี่ห้อ เค้าก็จะพยายามทำการช่วงชิงความได้เปรียบทางการตลาดขึ้น โดยยี่ห้อนึงเขาก็อ้างขนาดพื้นที่ใช้งานให้ใหญ่ๆ กว่ายี่ห้อคู่แข่งอื่นๆ ทั้งๆที่ความสามารถหรือประสิทธิภาพมันก็ใกล้เคียงกัน เกทับ บลัฟกันไป บลัฟกันมา ทีนี้ทางบริษัทแม่ Head Quarter ของแต่ละยี่ห้อที่ต่างประเทศเริ่มแย้งกันแระ ก็เลยมีคนที่ต่างประเทศกลุ่มนึง พยายามกำหนดมาตรฐานกลางบางอย่างออกมา เพื่อให้ลูกค้าผู้บริโภค ใช้เพื่อประกอบการพิจจารณาตัดสินใจได้ง่ายขึ้น และให้เกิดความเข้าใจตรงกันโดยทั่วไปในวงการเครื่องฟอกอากาศ แต่ในขณะเดียวกันมาตรฐานในแต่ละท้องถิ่นก็อาจแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย เช่นมาตรฐานของทางอเมริกา กับมาตรฐานของญี่ปุ่นจะไม่เหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้แสดงว่ามาตรฐานของใครผิดนะครับ เพียงแต่ว่าเราต้องมีความเข้าใจตรงกัน อย่างเช่นในตลาดประเทศไทยเรา มีเครื่องฟอกอากาศจากหลายประเทศหลายมาตรฐานเข้ามาจำหน่าย ลูกค้าผู้บริโภคก็อาจจะสับสนในการเลือกซื้อได้ ดังนั้นเราจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจหลักวิธีการคิดเอาใว้บ้างครับ ร่ายมาซะยาวขนาดนี้ ผู้อ่านคงบ่น 5555 เอ้า ACH คืออะไร บอกมาซะที

ACH ย่อมาจากคำว่า ” Air Change per Hour “ แอร์เชนจ์ เปอร์ ฮาวเออร์ คือ จำนวนรอบของการไหลเวียนอากาศ ที่ไหลผ่านเครื่องฟอกอากาศ ครบทั้งปริมาตรของห้องที่แนะนำ (ที่ความสูงของเพดานมาตรฐาน 2.4 เมตร) ต่อหนึ่งชั่วโมง นั่นคือถ้าเพดานห้องที่นำมาคิดสูงเกินกว่า 2.4 เมตร ค่า ACH ก็จะไม่ครงกับค่ามาตรฐาน

จำนวนรอบการไหลเวียนอากาศ 5 ACH = อากาศจะถูกกรองได้ทั่วทั้งห้องตามขนาดพื้นที่แนะนำภายใน 12 นาที หรือทำความสะอาด 5 รอบต่อ 1 ชั่วโมง
จำนวนรอบการไหลเวียนอากาศ 4 ACH = อากาศจะถูกกรองได้ทั่วทั้งห้องตามขนาดพื้นที่แนะนำภายใน 15 นาที หรือทำความสะอาด 4 รอบต่อ 1 ชั่วโมง
จำนวนรอบการไหลเวียนอากาศ 3 ACH = อากาศจะถูกกรองได้ทั่วทั้งห้องตามขนาดพื้นที่แนะนำภายใน 20 นาที หรือทำความสะอาด 3 รอบต่อ 1 ชั่วโมง


เอ้า…งงกันเข้าไปอีก ผมศึกษาทีแรกก็งง มึนตึ๊บ เหมือนกันครับ เอางี้ ดูตัวอย่างตามนี้นะนักเรียน 5555

Example One กรณีตัวอย่างที่ 1.
เครื่องฟอกอากาศ Air Purifier ยี่ห้อ HERE CHING HA รุ่น HEA-1  ถูกระบุเอาใว้ข้างกล่องว่า ใช้ฟอกอากาศ สำหรับพื้นที่ 65 SQM ที่ 5 ACH
นั่นคือถ้านำเครื่องไปใช้ในพื้นที่ 65 ตร.ม. (SQM) ตามที่ระบุข้างกล่อง เครื่องก็จะกรองอากาศได้ที่ 5  ACH หรือ ใน 1 ชั่วโมงจะกรองอากาศได้ถึง 5 รอบ หรือใช้เวลาในการกรองอากาศรอบละ 12 นาที นั่นเอง แต่ ๆๆๆๆ … ถ้าเรานำเครื่อง HERE CHING HA รุ่น HEA-1 ตัวเดียวกันนี้ ยกไปตั้งไว้ให้กรองอากาศในอีกห้องที่มีขนาดห้องใหญ่ขึ้นถีง 108 SQM ประสิทธิภาพในการกรองอากาศของเครื่องตัวนี้ก็จะลดลง เหลือความสามารถในการกรองอากาศได้แค่ 3  ACH หรือ ใน 1 ชั่วโมงจะกรองอากาศได้เพียง 3 รอบ หรือใช้เวลาในการกรองอากาศนานขึ้นเป็นรอบละ 20 นาที


Example Two กรณีตัวอย่างที่ 2.
วันนึงเราเดินไปใน Home Pro หรือ Power Buy แล้วไปเจอเครื่องฟอกอากาศอยู่ 3 ยี่ห้อ ที่มีระบบการกรองอากาศ และเทคโนโลยี HEPA Filter หรือ Filter แบบอื่นที่เหมือนกัน แต่แนะนำให้ใช้ในขนาดพื้นที่ห้องต่างกัน ดังนี้
*(ใว้จะเขียนเรื่องเทคโนโลยี Filter เครื่องกรองอากาศอีกที)
ยี่ห้อ  HERE CHING HA   แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 19 ตร.ม. ที่ 5 ACH
ยี่ห้อ  I AM HERE  แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 38 ตร.ม. ที่ 2 ACH
ยี่ห้อ HERE      แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 35 ตร.ม. ที่ 3 ACH
ทีนี้ถ้าเราอยากรู้ว่ายี่ห้อไหน ให้ประสิทธิภาพการฟอกอากาศสูงกว่า เราก็ต้องมาเทียบที่ ค่า ACH เท่ากัน จึงคำนวณบัญญัติไตรยางค์ดูก็จะได้ตามนี้
ยี่ห้อ HERE CHING HA   แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 19 ตร.ม. ที่ 5 ACH        =    32 ตร.ม. ที่ 3 ACH
ยี่ห้อ I AM HERE  แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 38 ตร.ม. ที่ 2 ACH        =    25 ตร.ม. ที่ 3 ACH
ยี่ห้อ HERE        แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 35 ตร.ม. ที่ 3 ACH        =    35 ตร.ม. ที่ 3 ACH
คำนวณออกมาแล้ว ยี่ห้อ HERE สามารถฟอกอากาศได้ครอบคลุมพื้นที่ห้องมากที่สุด แสดงว่าน่าจะฟอกอากาศได้ดีกว่ายี่ห้ออื่นๆ ทีนี้เราก็ต้องเปรียบองค์ประกอบอื่นๆ เช่นเทียบเรื่องราคาเครื่อง ราคาไส้กรอง FILTER ที่ต้องเปลี่ยนตามรอบ การบริการหลังการขาย ฯลฯ ประกอบการพิจารณาต่อไป

เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อดังๆ ที่ขายในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนมากเขามักจะนำเครื่องของตัวเองไปทดสอบค่าประสิทธิภาพต่างๆ จากสถาบันที่น่าเชื่อถืออย่างเช่นสถาบัน AHAM (Association of Home Appliance Manufacturers) ซึ่งจะอ้างอิงถึงขนาดพื้นที่ ที่แนะนำใช้งานที่ 5 ACH จนเราอาจมองไปว่า ที่ค่า 5 ACH คือค่าที่เป็นมาตรฐานสำหรับสินค้าที่วางขายในประเทศสหรัฐอเมริกา และมองรวมไปถึงเครื่องฟอกอากาศใน Model เดียวกันที่นำเข้ามาขายในประเทศไทยอย่างยี่ห้อ Blue Air และ Honeywell ( 2 ยีห้อนี้ ดีนะ แต่แอบแพง)

ส่วนเครื่องฟอกอากาศยี่ห้อดังทางฝั่งค่ายญี่ปุ่น ก็จะอ้างอิงมาตรฐาน JEMA (The Japan Electrical Manufacturers´Association) ของญี่ปุ่น ซึ่งจะอ้างอิงขนาดพื้นที่แนะนำใช้งานที่ 3 ACH อย่างเช่น Hitachi เปิดปุ๊ปติดปั๊บ , SHARP ก้าวล้ำไปในอนาคต, Toshiba นำสื่งที่ดีสู่ชีวิต.

สำหรับเครื่องฟอกอากาศที่มีขายในเมืองไทย มีการนำเข้ามาจากหลายแหล่ง มาจากค่ายหมวยแท้ๆก็เยอะ บางยี่ห้อก็อ้างอิงตามมาตรฐาน AHAM จากอเมริกา บางยี่ห้อก็อ้างอิงตามมาตรฐาน JEMA ญี่ปุ่น บางยี่ห้อก็ตามมาตรฐานของฝั่งประเทศแคนาดา ที่ 2 ACH ก็มี แต่ก็อาจจะมีบางยี่ห้อเหมือนกันที่มั่วๆ ค่าพื้นที่แนะนำขึ้นมาโดยไม่มีค่าอะไรมาอ้างอิงเลย 5555 (อันนี้นายแน่มาก) ที่ช่างกล้าทำแบบนี้ก็เพราะต้องที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวสินค้า ยี่ห้อของตัวเอง (แบบว่าอ้างอิงมาตรฐานที่มันสูงๆเข้าใว้) หรือเพื่อต้องการช่วงชิงความได้เปรียบทีทำให้ดูว่า ยี่ห้อของตัวเองให้ขนาดพื้นที่ห้องแนะนำที่มากกว่ายี่ห้อคู่แข่ง ทั้งๆที่แรงลมหรือค่า CADR ต่ำกว่า (ในกรณีที่อ้างอิงมาตรฐานต่ำๆ) ตัวย่อแปลกๆ มาอีกแระ ** CADR คืออะไรฟะ ?? งง…

** เอ้าหาข้อมูลมาใด้หน่อยนึง ว่างๆ ค่อยไปหาข้อมูลมาเพิ่มให้อีกที CADR = Clean Air Delivery Rate คือ อัตราการส่งผ่านอากาศบริสุทธ์ เป็นค่าที่บอกประสิทธิภาพการฟอกอากาศที่แท้จริงของเครื่องฟอกอากาศ โดยการนำไปทดสอบในห้องปฏิบัติการกับ ตัวอย่าง Test มาตรฐาน เช่น ควันบุหรี่ (Smoke), ฝุ่น (Dust) และ เกสรดอกไม้ (Pollen) โดยมีค่าหน่วยวัดมาตรฐานเป็น CFM (Cubic Feet per Minute)

ปัจจุบันเครื่องฟอกอากาศที่ขายๆอยู่ อาจจะพบว่าหลายยี่ห้อไม่ระบุให้ลูกค้าทราบถึงค่า ACH หรือค่า CADR แต่ลูกค้าเองก็อาจจะคำนวณเอาเองได้แบบคร่าวๆ คือ เอาขนาดแรงลมสูงสุดที่เครื่องสามารถทำได้เป็นลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (CMH) มาหารด้วยขนาดพื้นที่ห้องที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำเป็นตารางเมตร (SQM) แล้วหารด้วยความสูงของเพดานห้องมาตรฐานที่ 2.4 เมตร ผลลัพท์ค่าที่ได้อาจจะเป็นจุดทศนิยม เช่น ค่าที่ได้ = 3.3 ก็ให้ปัดเศษจุดทศนิยมลงเป็น = 3 เพราะในความเป็นจริงจะต้องใช้ค่า CADR ในการคำนวณ (ซึ่งค่าปกติ จะมีค่าต่ำกว่าค่าแรงลม) แต่ในเมื่อเราไม่ทราบค่า CADR ก็ต้องใช้ค่าแรงลมมาเป้นค่าโดยประมาณแทน

ดังนั้นการที่เราจะเลือกว่า ควรจะนำค่ามาตรฐานขนาดเท่าใดมาใช้อ้างอิง จึงอาจจะต้องมองไปถึงภาพรวมของสภาพมลพิษอากาศโดยรวมในพื้นที่นั้นๆ ด้วย คือ หากพื้นที่ที่มีสภาพความรุนแรงของมลพิษอากาศมากๆ การเลือกค่าอัตราแรงลมที่เครื่องสามารถกรองสิ่งสกปรกได้ (CADR) และค่า ACH ที่มากๆ ยิ่งมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น แต่ก็ต้องยอมรับให้ได้ว่าจะต้องแลกกับราคาเครื่องฟอกอากาศที่สูงขึ้นด้วย ในทางกลับกันหากพื้นที่มีสภาพความรุนแรงของมลพิษอากาศต่ำๆ หรืออากาศในห้องนั้นค่อนข้างที่จะสะอาดอยู่แล้ว การลดขนาดของค่า CADR และ ACH ลงมาให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ พอสมควรกับสภาพความรุนแรงของมลพิษในห้องนั้น ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ทั้งในระยะสั้น (ค่าเครื่องฟอกอากาศ) และระยะยาว (ค่า Filter ไส้กรองอากาศ ) *** แต่ถ้าใช้เครื่องฟอกอากาศเทคโนโลยีใหม่ Electrostatic Precipitator (Filter กรองอากาศแบบถอดล้างได้) แบบที่ทางบริษัท ไลฟ์ โพรเทค นำเข้ามาขาย ลูกค้าก็ไม่ต้องเสียเงินเปลี่ยน Filter คุ้มระยะยาว !!

Remarks : บทความเรื่องนี้ ได้จากการที่ผู้เขียนศึกษาหาข้อมูล บางอันก็อ่านได้ความรู้มาจากท่านพี่ๆ ผู้มีประสบการณ์จากหลายๆที่ นำมารวมกับประสบการณ์ในการทำงานในเครือบริษัทข้ามชาติ สัญชาติอเมริกันขนาดใหญ่ ที่เป็นผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศรายแรกของโลก ลิฟท์และบันไดเลื่อนรายแรกของโลก อีกทั้งได้คลุกคลีกับช่างระบบปรับอากาศ มืออันดับต้นๆ ของไทย มาหลายปี (ผู้เขียนอยู่ฝ่ายขาย) ยอมรับตรงๆ ว่าบางส่วนของข้อมูลก็ลอกเขามาบ้าง หลายสำนักหลายที่มาก็เลยไม่รู้จะให้ Credit พี่ๆ เขายังไง ก็ขอขอบคุณและให้ Credit พี่ๆใว้ ณ ที่นี้ (เอาเป็นว่ายอมรับตรงๆ ว่าบางส่วนก็ลอกเขามาครับ) ดังนั้นผู้อ่านโปรดพิจารณาในการอ่าน และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากท่านผู้รู้ท่านอื่นด้วยนะครับ

กัมปนาถ ศรีสุวรรณ T. 063-7855159

Line iD : Lpcontact

Email: kumpanat.LPC@gmail.com

www.Lifeprotect.co.th