Posted on

ค่า ACH ของเครื่องฟอกอากาศคืออะไร ทำไมเราต้องรู้ ??

เรื่องนี้ยาว…บอกใว้ก่อนเลย แต่สาระดีๆ ทั้งนั้น คิดจะซื้อเครื่องฟอกอากาศ ทำไมต้องรู้ค่า ACH (ค่า ACH คืออะไร ?)

RUIWAN ผู้เชี่ยวชาญระบบ ดูดละอองฝอยในอากาศ และฟอกอากาศ แบบเคลื่อนย้ายได้มากว่า 10 ปี

ฝุ่นละอองขนาดเล็ก

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองหลักอย่างเช่น เชียงใหม่ ที่เต็มไปด้วย ควันพิษทั้งจากยานพาหนะที่คับคั่ง ควันพิษจากไฟป่า และฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่เป็นฝุนละอองขนาดเล็กมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ที่เกิดจากการพัฒนาระบบโครงสร้างพิ้นฐานของเมือง การก่อสร้างอาคารสูง บรรดาบ้านพักอาศัย คอนโดมิเนียมที่อยู่ใกล้ถนน ใกล้ทางด่วน และใกล้เขตก่อสร้างทางรถไฟฟ้า จะได้รับมลภาวะฝุ่นพิษเหล่านี้เข้าไปเต็มๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บ้านที่ Open เปิดหน้าต่าง จะเห็นได้ง่ายมากๆ ว่าเราทำความสะอาดเช็ดถูอุปกรณ์เครื่องใช้ เช่น โต๊ะหรือตู้โชว์ไปแล้ว ทิ้งใว้แป๊ปเดียวแค่ 10 นาที พอกลับมากัมลงมองดูใกล้ๆ ก็จะเห็นฝุ่นขนาดเล็กๆ ลงมาเกาะพื้นผิวที่เพิ่งทำความสะอาดไป อ่ะ..ทำไงดี ถ้ายังงั้นปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด เปิดแอร์ เชื่อมั้ยว่าขนาดปิดประตูหน้าต่างมิดชิด เปิดแอร์ ฝุ่นก็ยังมา มากันแบบฝุ่นเล็กๆ จิ๋วๆ ฝุ่นมา แบบเหมือนไม่มีอะไรกั้น เข้ามาได้ยังไง?? ก็เข้ามาตอนที่เราเปิดประตูเข้าๆ ออกๆ กันน่ะแหละ ฝุ่นบางตัวก็เล็กซะจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่านี่เนอะ

เชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และ เชื้อไวรัสต่างๆ เชื้อไวรัส COVID-19

คอลัมน์ข้างบนได้กล่าวถึงเรื่องเป็นแค่ฝุ่นที่เข้าตา เอ๊ย !! ไม่ใช่..ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทีนี้ก็มาเข้าสู่สถานการณ์ปัจจุบัน คือเชื้อโรคต่างๆ ที่ลอยละล่องอยู่ในอากาศ เชื้อโรคที่ล่องลอยอยู่ในโรงพยาบาล เชื้อโรคล่องลอยอยู่ในห้องทำฟัน เชื้อโรคที่ล่องลอยอยู่ในคลีนิคหมอฟัน คลีนิคศัลยกรรม เชื้อโรคที่ล่องลอยอยู่ในโรงแรม ในห้างสรรพสินค้า เชื้อโรคที่ล่องลอยอยู่บนรถไฟฟ้า เชื้อโรคที่ล่องลอยอยู่ในบ้าน เอาเป็นว่าเชื้อโรคล่องลอยอยู่ทุกหนแห่งน่ะแหละ ป้องกันยังไงก็ไม่ได้ทุกที่หรอก ต้องทำใจ

จากที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เราต้องดิ้นรนดูแลตัวเองกันด้วยกำลังของตัวเอง ก็ทำให้เกิดความต้องการใช้เครื่องฟอกอากาศขึ้นมา ในที่นีี้ผมจะไม่กล่าวถึงแล้วว่าเครื่องฟอกอากาศเริ่มต้นมายังไงเพราะมีคนเขียนใว้เยอะแล้ว แต่ผมจะมากล่าวถึงการเลือกขนาดของเครื่องฟอกอากาศให้เหมาะสมกับการใช้งานกับขนาดห้องของเราดีกว่า เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป้นตัวช่วยในการตัดสินใจ ในการเลือกเครื่องฟอกอากาศให้ตรงความต้องการใช้ และได้ประโยชน์สูงสุด เหมาะสมกับกำลังจำนวนเงินที่เราต้องจ่ายครับ

อันดับแรกเลย ในการเลือกเครื่องฟอกอากาศ เราต้องรู้ขนาดของห้องที่เราจะตั้งเครื่อง แล้วเราก็ต้องไปดูค่า ACH ที่ระบุใว้ที่เครื่องฟอกอากาศครับ อ้าวงานมา!! แล้วไอ้ค่า ACH ของเครื่องฟอกอากาศเนี่ย มันคืออะไร ?

เครื่องฟอกอากาศ ระดับใช้งานทางการแพทย์ (Medical Grade) สำหรับห้องทันตกรรม โรงพยาบาล และคลีนิค

ค่า ACH ของเครื่องฟอกอากาศคืออะไร ?

เอางี้ สมมุติว่าเราเดินเข้าไปใน Home Pro หรือ Power Buy นะ เดินๆไปตรงที่แผนกที่ขายเครื่องฟอกอากาศ เราก็จะเจอหลายยี่ห้อเลย เราก็จะงงๆ หน่อยว่า เขาเขียน Spec แปะที่เครื่องฟอกอากาศใว้ทุกตัวเลยว่า เครื่องตัวนี้แนะนำให้ใช้กับห้องขนาดพื้นที่ไม่เกินเท่านี้ แต่ว่าก็เจอแปลกๆอีก เครื่องที่มีขนาดพื้นที่ห้อง ที่แนะนำให้ใช้ใกล้เคียงกัน บางยี่ห้อตัวใหญ่บึ้มๆ พ่นลมแรง เครื่องทำงานเสียงดัง แล้วดันราคาแพงอีกด้วย แต่บางยี่ห้อ เฮ้ย !! ตัวเล็กนิดเดียว พ่นลมออกมาก็เบ๊าเบาเหลือเกิน แต่ราคาถูกดีเว้ย ที่มันเป็นเช่นนั่นก็เพราะแต่ละยี่ห้อ ใช้มาตรฐานในการวัดขนาดพื้นที่ห้อง กว้าง x ยาว x สูง ที่แตกต่างกันครับ (ณ จุดนี้ ผู้เขียนขอแนะนำว่าควรใช้หน่วยวัดเป็นเมตร ดีที่สุดครับ ผลลัพท์ที่ได้จะออกมาเป็น SQM ตารางเมตร)

ความงง เริ่มมาเยือนแระ เอางี้ หลับตา..นึกภาพสิ่งที่เราอยู่กับมันบ่อยๆ เช่นห้องนอนในบ้าน ห้องนอนในคอนโดฯ ของเรา สมมุติว่าห้องนี้เราติดแอร์ขนาด 12000 BTU ช่างแอร์ในตำนาน บางคนบอกว่า แอร์มันเล็กนะครับ ใช้ได้กับห้องขนาดไม่เกิน 24 SQM (ตารางเมตร) แต่ช่างแอร์ในตำนานบางคนก็ตะโกนแย้งมาว่า “ผมว่าไม่เล็กนะครับ” ห้อง 33 SQM ก็ใช้ได้ครับ ซึ่งเอาจริงๆแล้ว มันก็ใช้ได้กับห้องทั้ง 2 ขนาดแหละครับ เพียงแต่พอเราไปใช้กับห้องเล็กๆ มันก็เย็นเร็ว เย็นไว แถมเย็นฉ่ำอีกตะหาก แต่พอเอาไปใช้กับห้องใหญ่ๆ มันก็เย็นช้า แล้วก็รู้สึกเหมือนไม่ค่อยเย็นนัก

เครื่องฟอกอากาศ Medical Grade แบบใส้กรองถอดล้างได้ (Electrostatic Precipitator Filter)

การเลือกเครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) วิธีคิด ก็คล้ายๆกันกับ การติดตั้งแอร์น่ะแหละครับ เราจะเอาเครื่องฟอกอากาศไปใช้กับห้องขนาดไหนก็ได้ จะเอาเครื่องเล็กๆ ที่มันเป่าลมออกเบาๆ ไปใช้กับห้องที่กว้างใหญ่ก็ได้ แต่ว่าเราอาจจะไม่รู้สึกว่าอากาศมันดีขึ้น แบบรู้สึกเหมือนอากาศไม่เห็นมันจะโดนฟอกเลยอ่ะ แต่ถ้าเทียบกับการที่เราเอาเครื่องฟอกอากาศตัวเล็กๆ เอาไปตั้งใช้ในห้องเล็กๆ เรารู้สึกว่า เฮ้ย !! อากาศมันสดชื่นอ่ะ อากาศมันโดนฟอกอ่ะ พอมันเป็นแบบนี้นะ พวกเครื่องฟอกอากาศแต่ละยี่ห้อ เค้าก็จะพยายามทำการช่วงชิงความได้เปรียบทางการตลาดขึ้น โดยยี่ห้อนึงเขาก็อ้างขนาดพื้นที่ใช้งานให้ใหญ่ๆ กว่ายี่ห้อคู่แข่งอื่นๆ ทั้งๆที่ความสามารถหรือประสิทธิภาพมันก็ใกล้เคียงกัน เกทับ บลัฟกันไป บลัฟกันมา ทีนี้ทางบริษัทแม่ Head Quarter ของแต่ละยี่ห้อที่ต่างประเทศเริ่มแย้งกันแระ ก็เลยมีคนที่ต่างประเทศกลุ่มนึง พยายามกำหนดมาตรฐานกลางบางอย่างออกมา เพื่อให้ลูกค้าผู้บริโภค ใช้เพื่อประกอบการพิจจารณาตัดสินใจได้ง่ายขึ้น และให้เกิดความเข้าใจตรงกันโดยทั่วไปในวงการเครื่องฟอกอากาศ แต่ในขณะเดียวกันมาตรฐานในแต่ละท้องถิ่นก็อาจแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย เช่นมาตรฐานของทางอเมริกา กับมาตรฐานของญี่ปุ่นจะไม่เหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้แสดงว่ามาตรฐานของใครผิดนะครับ เพียงแต่ว่าเราต้องมีความเข้าใจตรงกัน อย่างเช่นในตลาดประเทศไทยเรา มีเครื่องฟอกอากาศจากหลายประเทศหลายมาตรฐานเข้ามาจำหน่าย ลูกค้าผู้บริโภคก็อาจจะสับสนในการเลือกซื้อได้ ดังนั้นเราจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจหลักวิธีการคิดเอาใว้บ้างครับ ร่ายมาซะยาวขนาดนี้ ผู้อ่านคงบ่น 5555 เอ้า ACH คืออะไร บอกมาซะที

ACH ย่อมาจากคำว่า ” Air Change per Hour “ แอร์เชนจ์ เปอร์ ฮาวเออร์ คือ จำนวนรอบของการไหลเวียนอากาศ ที่ไหลผ่านเครื่องฟอกอากาศ ครบทั้งปริมาตรของห้องที่แนะนำ (ที่ความสูงของเพดานมาตรฐาน 2.4 เมตร) ต่อหนึ่งชั่วโมง นั่นคือถ้าเพดานห้องที่นำมาคิดสูงเกินกว่า 2.4 เมตร ค่า ACH ก็จะไม่ครงกับค่ามาตรฐาน

จำนวนรอบการไหลเวียนอากาศ 5 ACH = อากาศจะถูกกรองได้ทั่วทั้งห้องตามขนาดพื้นที่แนะนำภายใน 12 นาที หรือทำความสะอาด 5 รอบต่อ 1 ชั่วโมง
จำนวนรอบการไหลเวียนอากาศ 4 ACH = อากาศจะถูกกรองได้ทั่วทั้งห้องตามขนาดพื้นที่แนะนำภายใน 15 นาที หรือทำความสะอาด 4 รอบต่อ 1 ชั่วโมง
จำนวนรอบการไหลเวียนอากาศ 3 ACH = อากาศจะถูกกรองได้ทั่วทั้งห้องตามขนาดพื้นที่แนะนำภายใน 20 นาที หรือทำความสะอาด 3 รอบต่อ 1 ชั่วโมง


เอ้า…งงกันเข้าไปอีก ผมศึกษาทีแรกก็งง มึนตึ๊บ เหมือนกันครับ เอางี้ ดูตัวอย่างตามนี้นะนักเรียน 5555

Example One กรณีตัวอย่างที่ 1.
เครื่องฟอกอากาศ Air Purifier ยี่ห้อ HERE CHING HA รุ่น HEA-1  ถูกระบุเอาใว้ข้างกล่องว่า ใช้ฟอกอากาศ สำหรับพื้นที่ 65 SQM ที่ 5 ACH
นั่นคือถ้านำเครื่องไปใช้ในพื้นที่ 65 ตร.ม. (SQM) ตามที่ระบุข้างกล่อง เครื่องก็จะกรองอากาศได้ที่ 5  ACH หรือ ใน 1 ชั่วโมงจะกรองอากาศได้ถึง 5 รอบ หรือใช้เวลาในการกรองอากาศรอบละ 12 นาที นั่นเอง แต่ ๆๆๆๆ … ถ้าเรานำเครื่อง HERE CHING HA รุ่น HEA-1 ตัวเดียวกันนี้ ยกไปตั้งไว้ให้กรองอากาศในอีกห้องที่มีขนาดห้องใหญ่ขึ้นถีง 108 SQM ประสิทธิภาพในการกรองอากาศของเครื่องตัวนี้ก็จะลดลง เหลือความสามารถในการกรองอากาศได้แค่ 3  ACH หรือ ใน 1 ชั่วโมงจะกรองอากาศได้เพียง 3 รอบ หรือใช้เวลาในการกรองอากาศนานขึ้นเป็นรอบละ 20 นาที


Example Two กรณีตัวอย่างที่ 2.
วันนึงเราเดินไปใน Home Pro หรือ Power Buy แล้วไปเจอเครื่องฟอกอากาศอยู่ 3 ยี่ห้อ ที่มีระบบการกรองอากาศ และเทคโนโลยี HEPA Filter หรือ Filter แบบอื่นที่เหมือนกัน แต่แนะนำให้ใช้ในขนาดพื้นที่ห้องต่างกัน ดังนี้
*(ใว้จะเขียนเรื่องเทคโนโลยี Filter เครื่องกรองอากาศอีกที)
ยี่ห้อ  HERE CHING HA   แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 19 ตร.ม. ที่ 5 ACH
ยี่ห้อ  I AM HERE  แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 38 ตร.ม. ที่ 2 ACH
ยี่ห้อ HERE      แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 35 ตร.ม. ที่ 3 ACH
ทีนี้ถ้าเราอยากรู้ว่ายี่ห้อไหน ให้ประสิทธิภาพการฟอกอากาศสูงกว่า เราก็ต้องมาเทียบที่ ค่า ACH เท่ากัน จึงคำนวณบัญญัติไตรยางค์ดูก็จะได้ตามนี้
ยี่ห้อ HERE CHING HA   แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 19 ตร.ม. ที่ 5 ACH        =    32 ตร.ม. ที่ 3 ACH
ยี่ห้อ I AM HERE  แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 38 ตร.ม. ที่ 2 ACH        =    25 ตร.ม. ที่ 3 ACH
ยี่ห้อ HERE        แนะนำให้ใช้ในพื้นที่ 35 ตร.ม. ที่ 3 ACH        =    35 ตร.ม. ที่ 3 ACH
คำนวณออกมาแล้ว ยี่ห้อ HERE สามารถฟอกอากาศได้ครอบคลุมพื้นที่ห้องมากที่สุด แสดงว่าน่าจะฟอกอากาศได้ดีกว่ายี่ห้ออื่นๆ ทีนี้เราก็ต้องเปรียบองค์ประกอบอื่นๆ เช่นเทียบเรื่องราคาเครื่อง ราคาไส้กรอง FILTER ที่ต้องเปลี่ยนตามรอบ การบริการหลังการขาย ฯลฯ ประกอบการพิจารณาต่อไป

เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อดังๆ ที่ขายในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนมากเขามักจะนำเครื่องของตัวเองไปทดสอบค่าประสิทธิภาพต่างๆ จากสถาบันที่น่าเชื่อถืออย่างเช่นสถาบัน AHAM (Association of Home Appliance Manufacturers) ซึ่งจะอ้างอิงถึงขนาดพื้นที่ ที่แนะนำใช้งานที่ 5 ACH จนเราอาจมองไปว่า ที่ค่า 5 ACH คือค่าที่เป็นมาตรฐานสำหรับสินค้าที่วางขายในประเทศสหรัฐอเมริกา และมองรวมไปถึงเครื่องฟอกอากาศใน Model เดียวกันที่นำเข้ามาขายในประเทศไทยอย่างยี่ห้อ Blue Air และ Honeywell ( 2 ยีห้อนี้ ดีนะ แต่แอบแพง)

ส่วนเครื่องฟอกอากาศยี่ห้อดังทางฝั่งค่ายญี่ปุ่น ก็จะอ้างอิงมาตรฐาน JEMA (The Japan Electrical Manufacturers´Association) ของญี่ปุ่น ซึ่งจะอ้างอิงขนาดพื้นที่แนะนำใช้งานที่ 3 ACH อย่างเช่น Hitachi เปิดปุ๊ปติดปั๊บ , SHARP ก้าวล้ำไปในอนาคต, Toshiba นำสื่งที่ดีสู่ชีวิต.

สำหรับเครื่องฟอกอากาศที่มีขายในเมืองไทย มีการนำเข้ามาจากหลายแหล่ง มาจากค่ายหมวยแท้ๆก็เยอะ บางยี่ห้อก็อ้างอิงตามมาตรฐาน AHAM จากอเมริกา บางยี่ห้อก็อ้างอิงตามมาตรฐาน JEMA ญี่ปุ่น บางยี่ห้อก็ตามมาตรฐานของฝั่งประเทศแคนาดา ที่ 2 ACH ก็มี แต่ก็อาจจะมีบางยี่ห้อเหมือนกันที่มั่วๆ ค่าพื้นที่แนะนำขึ้นมาโดยไม่มีค่าอะไรมาอ้างอิงเลย 5555 (อันนี้นายแน่มาก) ที่ช่างกล้าทำแบบนี้ก็เพราะต้องที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวสินค้า ยี่ห้อของตัวเอง (แบบว่าอ้างอิงมาตรฐานที่มันสูงๆเข้าใว้) หรือเพื่อต้องการช่วงชิงความได้เปรียบทีทำให้ดูว่า ยี่ห้อของตัวเองให้ขนาดพื้นที่ห้องแนะนำที่มากกว่ายี่ห้อคู่แข่ง ทั้งๆที่แรงลมหรือค่า CADR ต่ำกว่า (ในกรณีที่อ้างอิงมาตรฐานต่ำๆ) ตัวย่อแปลกๆ มาอีกแระ ** CADR คืออะไรฟะ ?? งง…

** เอ้าหาข้อมูลมาใด้หน่อยนึง ว่างๆ ค่อยไปหาข้อมูลมาเพิ่มให้อีกที CADR = Clean Air Delivery Rate คือ อัตราการส่งผ่านอากาศบริสุทธ์ เป็นค่าที่บอกประสิทธิภาพการฟอกอากาศที่แท้จริงของเครื่องฟอกอากาศ โดยการนำไปทดสอบในห้องปฏิบัติการกับ ตัวอย่าง Test มาตรฐาน เช่น ควันบุหรี่ (Smoke), ฝุ่น (Dust) และ เกสรดอกไม้ (Pollen) โดยมีค่าหน่วยวัดมาตรฐานเป็น CFM (Cubic Feet per Minute)

ปัจจุบันเครื่องฟอกอากาศที่ขายๆอยู่ อาจจะพบว่าหลายยี่ห้อไม่ระบุให้ลูกค้าทราบถึงค่า ACH หรือค่า CADR แต่ลูกค้าเองก็อาจจะคำนวณเอาเองได้แบบคร่าวๆ คือ เอาขนาดแรงลมสูงสุดที่เครื่องสามารถทำได้เป็นลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (CMH) มาหารด้วยขนาดพื้นที่ห้องที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำเป็นตารางเมตร (SQM) แล้วหารด้วยความสูงของเพดานห้องมาตรฐานที่ 2.4 เมตร ผลลัพท์ค่าที่ได้อาจจะเป็นจุดทศนิยม เช่น ค่าที่ได้ = 3.3 ก็ให้ปัดเศษจุดทศนิยมลงเป็น = 3 เพราะในความเป็นจริงจะต้องใช้ค่า CADR ในการคำนวณ (ซึ่งค่าปกติ จะมีค่าต่ำกว่าค่าแรงลม) แต่ในเมื่อเราไม่ทราบค่า CADR ก็ต้องใช้ค่าแรงลมมาเป้นค่าโดยประมาณแทน

ดังนั้นการที่เราจะเลือกว่า ควรจะนำค่ามาตรฐานขนาดเท่าใดมาใช้อ้างอิง จึงอาจจะต้องมองไปถึงภาพรวมของสภาพมลพิษอากาศโดยรวมในพื้นที่นั้นๆ ด้วย คือ หากพื้นที่ที่มีสภาพความรุนแรงของมลพิษอากาศมากๆ การเลือกค่าอัตราแรงลมที่เครื่องสามารถกรองสิ่งสกปรกได้ (CADR) และค่า ACH ที่มากๆ ยิ่งมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น แต่ก็ต้องยอมรับให้ได้ว่าจะต้องแลกกับราคาเครื่องฟอกอากาศที่สูงขึ้นด้วย ในทางกลับกันหากพื้นที่มีสภาพความรุนแรงของมลพิษอากาศต่ำๆ หรืออากาศในห้องนั้นค่อนข้างที่จะสะอาดอยู่แล้ว การลดขนาดของค่า CADR และ ACH ลงมาให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ พอสมควรกับสภาพความรุนแรงของมลพิษในห้องนั้น ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ทั้งในระยะสั้น (ค่าเครื่องฟอกอากาศ) และระยะยาว (ค่า Filter ไส้กรองอากาศ ) *** แต่ถ้าใช้เครื่องฟอกอากาศเทคโนโลยีใหม่ Electrostatic Precipitator (Filter กรองอากาศแบบถอดล้างได้) แบบที่ทางบริษัท ไลฟ์ โพรเทค นำเข้ามาขาย ลูกค้าก็ไม่ต้องเสียเงินเปลี่ยน Filter คุ้มระยะยาว !!

Remarks : บทความเรื่องนี้ ได้จากการที่ผู้เขียนศึกษาหาข้อมูล บางอันก็อ่านได้ความรู้มาจากท่านพี่ๆ ผู้มีประสบการณ์จากหลายๆที่ นำมารวมกับประสบการณ์ในการทำงานในเครือบริษัทข้ามชาติ สัญชาติอเมริกันขนาดใหญ่ ที่เป็นผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศรายแรกของโลก ลิฟท์และบันไดเลื่อนรายแรกของโลก อีกทั้งได้คลุกคลีกับช่างระบบปรับอากาศ มืออันดับต้นๆ ของไทย มาหลายปี (ผู้เขียนอยู่ฝ่ายขาย) ยอมรับตรงๆ ว่าบางส่วนของข้อมูลก็ลอกเขามาบ้าง หลายสำนักหลายที่มาก็เลยไม่รู้จะให้ Credit พี่ๆ เขายังไง ก็ขอขอบคุณและให้ Credit พี่ๆใว้ ณ ที่นี้ (เอาเป็นว่ายอมรับตรงๆ ว่าบางส่วนก็ลอกเขามาครับ) ดังนั้นผู้อ่านโปรดพิจารณาในการอ่าน และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากท่านผู้รู้ท่านอื่นด้วยนะครับ

กัมปนาถ ศรีสุวรรณ T. 063-7855159

Line iD : Lpcontact

Email: kumpanat.LPC@gmail.com

www.Lifeprotect.co.th