Posted on

แบบปรับปรุงห้องทันตกรรม (แบบ ก.45 /เม.ย./ 63) มีจุดสำคัญตรงไหน? ผู้รับเหมามาดูกัน !!

** บทความนี้ เป้นความคิดเห็นแนะนำส่วนตัว จากการอ่าน TOR อย่านำความคิดเห็นจากผู้เขียนไปเป้นแนวทางปฏิบัติ ในการทำงานจริง ท่านควรตรวจสอบ สอบถามกับเจ้าของงาน ผู้กำหนด TOR และทำให้ตรงกับข้อกำหนดใน TOR นั้น

สำหรับพี่น้อง ผู้รับเหมา ณ.ตอนนี้ ที่กำลัง Hot สุดๆ คือ งานปรับปรุงห้องทันตกรรม ในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ให้เป็นไปตามแบบ ก.45 /เม.ย. 63 เอาล่ะซิ !! แล้วไอ้แบบ ก.45 ตัวนี้มันคืออะไร ? มันสำคัญตรงไหน ?

แบบ ก.45 เม.ย. 63 คือ แบบปรับปรุงห้องทันตกรรม เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 และ แบบปรับปรุงห้องทันตกรรมทั่วไป ที่กำหนดให้ใช้กับโรงพยาบาลของรัฐ (โรงพยาบาลเอกชนก้แอบปรับปรุงทำแะเขาด้วยนะ ขอบอก) เอาล่ะ แนะนำให้อ่านเรื่องราวต่อไปนี้ให้จบ แล้วท่านจะพบว่า ปรับปรุงห้องทันตกรรมส่งงานให้ผ่าน ง่ายนิดเดียว

ข่าวประชาสัมพันธ์ ในวงการทันตแพทย์

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เผย แบบปรับปรุงห้องทันตกรรมเพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 และแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมทั่วไป

แบบปรับปรุงห้องทันตกรรม เอกสารเลขที่ ก.45 เม.ย.63

กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข จัดทำแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมเพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 และแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมทั่วไป เพิ่มความมั่นใจให้กับทันตแพทย์ และผู้รับบริการในโรงพยาบาล

          นายแพทย์ธเรศ  กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า โรงพยาบาลภาครัฐมีห้องแผนกต่างๆ ในการรองรับผู้ใช้บริการ  โดยบริเวณห้องต้องมีการทำความสะอาดและมีห้องที่ใช้ในการรักษาทำหัตถการจะต้องปลอดเชื้อ เช่นเดียวกับห้องทันตกรรม ที่มีเครื่องมือที่ใช้ในการทำหัตถการบริเวณช่องปาก อาจมีฝอยละอองฟุ้งกระจาย น้ำลาย ทำให้เกิดความไม่มั่นใจต่อทันตแพทย์ และผู้รับบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ส่งผลกระทบในการใช้บริการทางทันตกรรม ดังนั้น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยกองแบบแผน จึงได้จัดทำต้นแบบ        แบบปรับปรุงระบบปรับอากาศและระบายอากาศห้องทันตกรรม ด้วยการออกแบบที่ใช้ห้องทันตกรรม       ที่มีอยู่เดิม โดยให้ความสำคัญกับระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ดัดแปลงห้องด้วยอุปกรณ์ที่หาได้ และมีประสิทธิภาพ โดยเน้นถึงความสะอาด อากาศบริสุทธิ์ มีการไหลเวียนภายในห้องได้ดี ไม่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ เพิ่มความมั่นใจให้กับทันตแพทย์ และผู้รับบริการ

          นายแพทย์ประภาส  จิตตาศิรินุวัตร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า

แบบปรับปรุงระบบปรับอากาศและระบายอากาศห้องทันตกรรม มี 2 รูปแบบ คือ

1) แบบเอกสารเลขที่ ก. 44 ออกแบบสำหรับการรักษาทางทันตกรรมให้แก่ผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 หรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ และผู้ป่วยกรณีเร่งด่วนที่ไม่ผ่านการคัดกรอง โดยห้องดังกล่าวถูกออกแบบโดยใช้หลักการ Modify AIIR (ห้องความดันลบ) ใช้การกรองอากาศที่มี HEPA FILTER ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยหลอด UVC ก่อนนำทิ้งนอกอาคาร มีการเติมอากาศ 100 % fresh air และมีอากาศถ่ายเทมากกว่าหรือเท่ากับ 12 ACH ( ACH คือ จำนวนรอบของการไหลเวียนอากาศผ่านเครื่องฟอกอากาศครบทั้งปริมาตรของห้องที่แนะนำ)

2) แบบเอกสารเลขที่ ก.45 ออกแบบสำหรับการรักษาทางทันตกรรมให้แก่ผู้ป่วยทั่วไปที่ผ่านการคัดกรอง ตรวจ หรือ กักตัว และผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าสามารถให้ทำทันตกรรมได้ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ          

2.1 TYPE A มีการระบายอากาศ และฟอกอากาศด้วย HEPA FILTER รวมกัน 24 ACH

แบบปรับปรุงห้องทันตกรรม TYPE A

2.2 TYPE B มีการระบายอากาศ และฟอกอากาศด้วย HEPA FILTER รวมกัน 12 ACH ข้อดีของแบบปรับปรุงดังกล่าว คือ ติดตั้งง่าย สามารถดัดแปลงพื้นที่โดยไม่กระทบพื้นที่เดิมมาก สำหรับการทำหัตถการในห้องทำทันตกรรม บุคลากรทางการแพทย์จะต้องสวมหน้ากาก N95 ทุกครั้ง และมีการทำความสะอาดเครื่องมือ ฆ่าเชื้อ บำรุงรักษาเครื่องมือให้พร้อมใช้ โดยแบบปรับปรุงห้องทันตกรรม มีโรงพยาบาลสนใจนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงห้องทันตกรรมให้เหมาะสมและป้องกันกับสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ในปี 2564 นี้มากมายหลายโรงพยาบาล

แบบปรับปรุงห้องทันตกรรม TYPE B

เอาล่ะ ..มาเข้าเรื่องที่จะต้องหาของมาทำห้อง และส่งงานกัน !!

เริ่มจาก จุดที่ 1 ที่พี่น้องผู้รับเหมาโดนดอกแรก

การเติมอากาศสะอาดเข้าห้องทันตกรรม ทางกองแบบแผน กำหนดให้ใช้ Fan Filter Unit (FFU) ที่มี Pre Filter ระดับ Merv 7 และมี H13 HEPA Filter ประกอบอยู่ในชุดเดียวกัน และ ตัวเครื่องต้องเป็นเหล็กชุบ Galvanize หรือ เหล็กพ่นสีสวยงาม ขนาด (พี่น้องโดนเข้าไปดอกนึง เพราะ FFU ของห้อง Clean room ตัวนึงก็ปาเข้าไป สองหมื่นกว่า แถมขนาดเล็กสุดที่มีในตลาด FFU Clean room ก็ขนาด 2 Feet x 2 Feet ( 60 cm. x 60 cm.) ใหญ่เบิ้มๆ เลย จะให้มายัดลงท่อ Duct 5″ x 5″ ที่ให้ราคากลางค่าวัสดุมาตารางฟุตละ 19 บาทได้ยังไง ? อันนี่ไม่ยาก ตรงนี้ จบได้ด้วย Fan Filter Unit (FFU) จากบริษัท ไลฟ์โพรเทค จำกัด ที่มีขนาดเล้ก เข้ากับ spec ของท่อ DUCT ได้ ติดตั้งเข้าใต้ฝ้าได้ น้ำหนักเบา และ ไส่ Pre Filter + H13 HEPA Filter มาให้เรียบร้อยจากโรงงาน แบบจบๆ ในราคาผู้รับเหมา

Fresh Air Intake FAN FILTER UNIT (FFU) Pre Filter & H13 HEPA Filter (Medical Grade)
เครื่องฟอกอากาศสำหรับห้องทันตกรรม ฝีมือคนไทย สนับสนุน ว.89

จุดที่ 2 ที่พี่น้องผู้รับเหมารายย่อย โดนเข้าไปอีกดอกนึง

นอกเหนือจากงานย้ายตำแหน่งเครื่องปรับอากาศตัวเก่าแล้ว…อีกจุดนึงที่โดนกันก็คือ เครื่องฟอกอากาศ เพราะ Spec กองแบบแผนเขียนมาว่า ตัวเครื่องต้องเป็นเหล็ก ชุบ Galvanize หรือเป็นเหล็ก พ่นทำสีสวยงาม มี Pre filter และ H13 HEPA Filter และต้องมีกำลังลม (ค่า CADR) ไม่ต่ำกว่า 180 cfm ในห้อง Type B และ 420 cfm ในห้อง Type A (ยุ่งละซิ…ทีนี้ เครื่องฟอกอากาศที่เจอในท้องตลาด ตัวถังที่เจอมาส่วนฝหญ่ทำด้วยพลาสติก ABS ทั้งนั้น แถมค่า CADR ก็ต่ำเตี้ยเหลือเกิน ไอ้ตัวที่เป็นเหล็ก ที่ค่า CADR สูงๆ ก็โคตะระ จะแพง) ข้อนี้จบได้เพียงท่านโทรมาหาเรา หรือ add Line id: Lpcontact แล้วทักมา !! เรามีเครื่อง Body เหล็ก ค่า CADR สูงๆ มาให้พิจารณากันก่อนรับงาน

เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง H13 HEPAFILTER สำหรับงานปรับปรุงห้องทันตกรรม

จุดที่ 3 ดอกสุดท้าย ที่พี่น้องผู้รับเหมารายย่อย สับสน และผมเองก็งุนงง

จุดนี้คือเรื่องของการดูดอากาศออก Exhaust Air ทางกองแบบแผนฯ วาดภาพใว้ให้ดูว่า อากาศภายในห้องทันตกรรม ที่ผ่านการฟอกทำความสะอาดอากาศแล้ว ท่อทางดูดออก พัดลมดูดอากาศออก Exhaust Air ไม่ได้ระบุใว้ว่าต้องเป็น FFU Fan Filter Unit ถ้าอย่างนั้น อันนี้ถ้าแกะ Wording กันคำต่อคำ บรรทัดต่อบรรทัด ก็ไม่พบระบุว่า ท่อทางพัดลมดูดอากาศออก Exhaust Air จะต้องต้องมี Filter ดังนั้น ถ้าคิดเข้าข้างตัวเอง Exhaust ก็ไม่ต้องมี HEPA FILTER ถ้างั้น พัดลมดูดอากาศ แบบมีข้อต่อสำหรับต่อกับท่ออากาศออก จำพวก Mitsubishi model. VD-15Z4T6  ก็ต้องใช้ได้ซิ และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหน้าพัดลม ก็ 6″ พอดี เอาไปชนท่อ Duct ใช้ได้เลย ประหยัดต้นทุนเราได้อีก (แต่ถ้าใน TOR ระบุชัดเจนว่า Exhaust Air ต้องเป็น Fan Filter Unit ก็ใส้แตกกันไป )

รูปแสดงตัวอย่างพัดลมดูดอากาศ Exhaust ออกจากห้องทันตกรรม

พี่น้องผู้รับเหมางานปรับปรุงห้องทันตหรรม คงจะมองภาพออกกันแล้วนะครับ หากมีข้อสงสัยสามารถโทรศัพท์มาถาม ได้ที่เบอร์ 063-7855159 หรือ Add Line id : Lpcontact ทักทายกันมา ยินดีแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์กันครับ

หมายเหตุ : โรงพยาบาลภาครัฐ หรือหน่วยงานที่สนใจ สามารถดูรายละเอียดแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมเพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 และแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมทั่วไป ได้ทางเว็บไซต์กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (dcd.hss.moph.go.th) หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หมายเลขโทรศัพท์ 02-1937006 ในวันและเวลาราชการ

ข้อมูลจาก สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปากทางทันตกรรม (EOS) ช่วยปกป้องหมอฟัน และผู้ช่วยฯ จากละอองทันตกรร

กัมปนาถ ศรีสุวรรณ T.097-1524554

id Line: Lphotline