Posted on

ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศ ตรงไหน ?

ท่านที่ซื้อๆ เครื่องฟอกอากาศไปใช้ในบ้าน ในออฟฟิศ ในหน่วยงานราชการ ท่านซื้อไปแล้ว ท่านรู้กันแล้วยังครับว่าไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศตรงไหน? แล้วควรจะวางเครื่องฟอกอากาศตรงไหน ถึงจะดี ? วันนี้ผมมีเคล็ดลับมาบอกครับ ก่อนอื่นเรามารู้จักลักษณะการดูดอากาศร้าย และการฟอกอากาศดีปล่อยออกมา ของระบบเครื่องฟอกอากาศก่อนนะครับ

โดยส่วนใหญ่แล้ว เครื่องฟอกอากาศทั่วไป การทำงานของเครื่อง จะดูดอากาศสกปรกหรืออากาศปกติที่มีฝุ่นในห้อง โดยการดูดเข้ามาจากทางด้านหลังของเครื่อง หรือดูดจากทางด้านล่างของเครื่อง แล้วนำไปผ่านใส้กรองฟิลเตอร์ ตามระบบของเครื่องแต่ละรุ่น จากนั้นก็จะพ่น ปล่อยอากาศสะอาดออกมาทางด้านบนของเครื่อง หรือเครื่องบางรุ่นก็มีทางดูดอากาศสกปรกเข้ามาทั้งทางด้านหน้า และด้านหลังเครื่อง แล้วก็ปล่อยอากาศสะอาดออกมาทางด้านบนเครื่อง และก็มีที่เป็นเครื่องฟอกอากาศตามบัญชีครุภัณฑ์ราชการ ที่ติดตั้งบนฝ้าเพดาน หรือติดฝาผนัง ที่เป็นเครื่องฟอกอากาศระบบ Electronic Collecting Cell อันนี้จะเป็นแบบที่ดูดอากาศสกปรกเข้าทางหน้าเครื่อง แล้วปล่อยอากาศสะอาดออกมาทางช่องข้างๆ รอบตัวเครื่อง และก็แบบพิเศษไปเลยก็เครื่องฟอกอากาศในห้องผ่าตัดที่เป็นการฟอกอากาศไหลเวียนแบบ LAMINA Flow (อันนี้เริ่มลึกๆ ทางวิศวกรรมระบบปรับอากาศ หากมีข้อสงสัยใว้ค่อยโทรถามกันดีกว่า) แล้วก็อันล่าสุดเป็นเครื่องฟอกอากาศแบบควบคุมเชื้อโรค แบบที่ใช้กันในห้องทันกรรมปลอดเชื้อ ห้องแยกโรค COHORT WARD อันนี้ลักษณะการดูด และจ่ายอากาศจะเป็นดูดเข้าทางหัว แล้วปล่อยออกทางท้ายเครื่อง โดยไม่มีอากาศสกปรกที่เข้าสู่ะบบไหลเวียนในช่วงผ่าน Filter กรองอากาศ รั่วออกมาสู่ภายนอกเลย (อันนี้ก็ลึกเข้าไปในงานติดตั้งอีกขั้นนึง หากมีข้อสงสัย ใว้ค่อยโทรมาถามกันดีกว่าครับ)

รูปตัวอย่าง ตำแหน่งการวางเครื่องฟอกอากาศ ที่เหมาะสม

การตั้งเครื่องฟอกอากาศก็สำคัญครับ เราควรตั้งเครื่องฟอกอากาศห่างจากผนังหรือสิ่งกีดขวางทางดูดอากาศสกปรก หรือทางเดินลม อย่างน้อย 10 Cm. โดยเฉพาะไอ้เครื่องฟอกอากาศที่ดูดอากาศสกปรกเข้าทางด้านหลังเครื่องเนี่ย สำคัญเลย เพราะถ้าเราวางเครื่องฟอกอากาศติดผนังมากเกินไป นอกจากอากาศที่จะดูดเข้าไปฟอกในเครื่องเดินทางไม่สะดวกแล้ว ฝาผนังด้านนั้นจะเกิดคราบฝุ่นจากการที่เครื่องฟอกอากาศดูดอากาศสกปรกมาปะทะฝาผนังสะสมเป็นเวลานานๆ อีกด้วย

ร่ายยาวมา 3 ย่อหน้ายังไม่มาถึง เรื่องจุดวางเครื่องฟอกอากาศ วางตรงไหนดี สักที คุณกัมปนาถถถถถถถ อะไรครับเนี่ยยย !!

เอ้า ! เริ่มเลยก็ได้ >>>>

  • ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศใว้ใต้แอร์ ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศใว้ใต้แอร์ เพราะแอร์มันมีแรงในการดูดอากาศมากกว่าเครื่องฟอกอากาศ ถ้าเราวางเครื่องฟอกอากาศใว้ใต้แอร์ ก็จะทำให้กลายเป็นการรวมพลัง x 2 ในการดูดอากาศสกปรกที่มีฝุ่นมารวมกันใว้ที่ใต้แอร์ แล้วเครื่องฟอกอากาศมันแรงน้อยกว่าแอร์ ก็ดูดไม่ทันแอร์ ทำให้อากาศที่ยังไม่ได้ฟอก ก็โดนพลังดูดของแอร์เข้าไปผ่านคอยล์เย็น กลายเป็นอากาศสกปรกที่เย็น กระจายฟุ้งไปทั่วทั้งห้องซะงั้น ลองหลับตานึกภาพดูซิครับ ดังนั้นเราควรวางเครื่องฟอกอากาศใว้ตรงข้ามกับแอร์ จึงจะดี
    • ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศวางหน้าห้องน้ำ ทำไมเหรอ ? ก็ห้องน้ำมันชื้นตลอดเวลา บางท่านอยากจะให้อากาศที่ออกมาจากห้องน้ำเป็นอากาศบริสุทธิ์ เหมือนอากาศที่ไปวิ่งเล่นในทุ่งลาเวนเดอร์ แต่ท่านคิดผิดครับท่าน !! เพราะว่าเครื่องฟอกอากาศมันจะดูดความชื้นในห้องน้ำออกมาปล่อยในห้องนั่งเล่น ห้องนอน ท่านซะเปล่าๆ ทำไปทำมากลายเป็นท่านสร้างแหล่งเพาะเชื้อราขึ้นมาในห้อง พาป่วยซะเปล่าๆ ไปหาที่ตรงอื่นวางเครื่องฟอกอากาศดีกว่าครับ
    • อันนี้สำคัญเลย ถ้าเป็นห้องนอน ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศใว้ที่หัวเตียงนอน เพราะเครื่องฟอกอากาศจะดูดอากาศสกปรกที่มีฝุ่น ผ่านตัวเราข้ามหัวเราไปเลย กลับกลายเป็นว่าเรานอนสูดดมฝุ่นเข้าปอดขณะนอนหลับตลอดทั้งคืน แล้วก็เครื่องอยู่ใกล้หัว ใกล้หูเรา เสียงการทำงานของเครื่องอาจจะรบกวนการนอนหลับของเรา ทำให้หลับไม่สนิท หาที่วางตรงอื่นดีกว่าครับ
    • ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศใว้ตรงบริเวณโต๊ะเครื่องแป้ง โต๊ะแต่งหน้า ทำไมเหรอ ก็เพราะเวลาท่านแต่งหน้า ทาแป้ง แล้ว Sensor เครื่องฟอกอากาศมันตรวจจับได้ว่าแป้งเป็นฝุ่น กลิ่นน้ำหอม มันมองว่าเป็นก๊าซสกปรก เครื่องฟอกอากาศที่มีระบบ Auto มันก็จะเร่งเครื่องเองทันที เพื่อเร่งดูดเอาแป้ง และกลิ่นที่มันคิดว่าเป็นก๊าซสกปรก มาฟอกอย่างรวดเร็ว อันนี้จะทำให้ฟิลเตอร์ของเครื่องฯ ตันเร็ว เสื่อมสภาพเร็วขึ้นครับ
    • ข้อควรทำ ควรบำรุงรักษา เปลี่ยนแผ่นกรองฟิลเตอร์ของเครื่องฟอกอากาศตามเวลาที่กำหนด หรือให้สังเกตดูสัญลักษณ์แจ้งเตือนการเปลี่ยนฟิลเตอร์ หรือให้ทำความสะอาดฟิลเตอร์ (กรณีที่เป็น ESP Filter) ที่แสดงขึ้นที่หน้าจอเครื่องฯ (เครื่องบางรุ่นที่ราคาถูกๆ อาจไม่มีระบบแจ้งเตือน ก็ต้องคอยสังเกตลมสะอาดที่ออกมาเอาเอง ว่าแผ่วเบาหรือเปล่า หรือเปิดดูฟิลเตอร์ว่าดำปิ๊ดปี๋ แล้วหรือยัง) แต่ผมบอกได้เลยสภาพอากาศฝุ่นมากแบบนี้ 6 เดือนเปลี่ยนฟิลเตอร์ทีนึงเหอะเพราะที่ติดมากะเครื่องน่ะบางคนใช้มาเป็นปีๆ ไม่ยอมเปลี่ยนกะว่าใช้ให้เครื่องพัง ฟิลเตอร์ดำปี๋ ผมละเป็นห่วงปอดท่านจริงๆ
บริการ service ล้างทำความสะอาด เครื่องฟอกอากาศ ระบบ Electronic Collecting Cell ตามบัญชีครุภัณฑ์ ราชการ

หากมีสิ่งใดสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ คุณกัมปนาถ  HotLine : 097-1524554 

 Line id : Lphotline

บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Office Tel. 029294345-6

email : LPCentermail@gmail.com

facebook: http://fb.me/Lifeprotect.co.th

http://www.Lifeprotect.co.th

Posted on

การใช้ รังสี UVC (UVGI) ฆ่าเชื้อโรคในระบบแอร์รวม

หลักการเบื้องต้น ในการทำระบบฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UVC ที่หน้า AHU ของระบบแอร์รวม ในอาคาร

การนำหลอด UVC ฆ่าเชื้อโรค มาใช้กับ AHU เพื่อใช้ฆ่าเชื้อโรคให้กับระบบฯ นั้น  โดย Concept คือ การทำให้ไม่เกิดการสะสม ของเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส  เชื้อรา ต่างๆ ที่อาจล่องลอยมากับอากาศไหลกลับ (Return Air) ซึ่งเมื่ออากาศไหลกลับนั้น มาเจอกับช่วงคอยล์ที่มีอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสูง รวมกับลักษณะของพื้นที่เอง ก็มีคุณสมบัติที่สามารถให้เชื้อโรค มาเกาะติดสะสมและเติบโตได้ เมื่อเวลาผ่านไปจนมีปริมาณได้ระดับนึง ก็กลายเป็นว่า คอยล์เย็นนั้น ได้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และเป็นแผงเติมเชื้อโรคให้กับอากาศที่ผ่านคอยล์เย็น และส่งต่อไปยังห้องต่างๆ ทั่วอาคารซะเอง

การทำความสะอาดแผงคอยล์เย็น โดยปกติแต่ละอาคารสถานที่ จะมีวงรอบการทำความสะอาดอยู่ประมาณ 2 ครั้งต่อปี หรือบางอาคารที่มีการทำสัญญา Preventive Maintenance (PM) ก็อาจจะมีการทำ SLA (Service Level Agreement) การทำความสะอาดบำรุงรักษากันตามแต่ตกลง ก็จะสามารถลดการสะสมของเชื้อโรค และเมือกหน้าคอยล์ได้ตามปกติอยู่แล้ว แต่..ถ้าหากมีการติดตั้งหลอด UVC ดังกล่าวที่บริเวณคอยล์ด้านเปียก ก็จะสามารถลด หรือไม่เกิดการสะสมเชื้อต่างๆ ดังกล่าวได้เลย  ส่งผลให้อากาศไหลกลับที่ผ่านคอยล์เปียกเข้ามาในระบบท่อส่งลมเย็นนั้น มีความสะอาดตลอดระยะเวลาที่มันหมุนเวียนอยู่ในระบบปรับอากาศ  ทำให้ลดจำนวนรอบการทำความสะอาดคอยล์ลงได้  และยังส่งผลให้การใช้พลังงานลดลงเนื่องจากคอยล์ มีการแลกเปลี่ยนอุณหภูมิที่ดีขึ้น

โดยปกติการแลกเปลี่ยนความร้อนที่คอยล์กับอากาศที่ไหลผ่าน จะมีค่าประสิทธิภาพลดลงตามระยะเวลาการใช้งาน (กรณีที่ยังไม่มี UVC) เนื่องจากมีการสะสมของสิ่งอุดตันต่างๆ  หากพิจารณาสภาพการใช้งาน อาจสังเกตง่ายๆ ได้จากการที่เมื่อใช้งานระบบปรับอากาศไประยะหนึ่ง ฝ่ายอาคารผู้ปฏิบัติงานอาจต้องมีการปรับอุณภูมิน้ำเย็นที่ Chiller ลดลงเพื่อให้พื้นที่ ที่เป็น Output ของระบบนั้นสามารถทำอุณหภูมิได้ตามต้องการ  นั่นแสดงให้เห็นว่าระบบปรับอากาศมีประสิทธิภาพลดลง จึงต้องเร่งเครื่องใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อให้ได้ Output เท่าเดิม (ส่วนหนึ่งก็เกิดมาจากประสิทธิภาพของคอยล์ ตามเหตุผลที่กล่าวมา ดังนั้นเมื่อมีการติดตั้งหลอด UV-C ที่หน้าแผงคอยล์เย็น ก็จะทำให้ ภาวะประสิทธิภาพของคอยล์เย็น คงที่ หรือใกล้เคียงกับตอนที่เพิ่งล้างมาใหม่ๆ อยู่ตลอดการใช้งาน เป้นการคงประสิทธิ์ภาพสูงสุดที่ตัวเครื่องทำได้ไว้อยู่ตลอดเวลาการใช้งาน  (ค่าประสิทธิภาพจะมีการเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับเครื่องระบบปรับอากาศแต่ละเครื่อง แต่ละสถานที่)

ข้อมูลลึกๆ ยกโทรศัพท์ โทรมาคุยกันดีกว่าครับ

บริการ ออกแบบ และติดตั้ง เครื่องฆ่าเชื้อ และเจอจางเชื้อในอากาศ ด้วยรังสี UVC (UVGi) แบบติดตั้งฝาผนัง และแบบติดตั้งเพดาน ตามรายละเอียดคำแนะนำของ ASHRAE EPIDEMIC TASK FORCE (Update 21 October 2021)

บริการ ออกแบบ คำนวณ และคิดสมการค่ารังสี ตามมาตรฐาน ASHRAE STANDARDS 185.1 & 185.2 ทีเป็นมาตรฐานโลก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ขอ Spec  Data Sheet หรืออื่นๆ ติดต่อคุณกัมปนาถ

Hotline : 097-1524554

id Line : Lphotline

Office Tel. 02-9294345-6

email: LPCentermail@gmail.com

www.Lifeprotect.co.th

Posted on

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ไวรัสร้าย แต่ป้องกันได้

COVID-19 ก็ยังไม่หมด โรคฝีดาษลิง ก็จ่อเข้ามาอีกแล้ว อะไรกันครับเนี่ย !!

โรคฝีดาษลิง หรือไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เกิดจากไวรัส Othopoxvirus ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการรักษาหรือมีวัคซีนป้องกันโดยเฉพาะ แต่สามารถควบคุมการระบาดได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันได้ 85%

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) โรคนี้พบมากในแถบแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตก และตามที่มีข่าวว่า มีการพบผู้ป่วยในประเทศที่อยู่นอกเขตแอฟริกา เช่น สหรัฐอเมริกา อิสราเอล สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร นั่นก็เพราะเกิดจากการเดินทางระหว่างประเทศหรือการนำเข้าสัตว์ติดเชื้อเข้าประเทศ แท้จริงแล้วโรคฝีดาษลิง ไม่ใช่โรคใหม่ แต่เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี โดยโรคฝีดาษลิง ถูกค้นพบครั้งแรกในโลก ในปี พ.ศ. 2501 จากลิงที่ป่วย ต่อมาก็ได้มีการพบการติดเชื้อในคนเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 ที่ประเทศคองโก จะเห็นได้ว่า โรคฝีดาษลิง นั้นเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ที่พบในแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตก นอกจากลิงแล้ว สัตว์อื่นก็สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ เช่นกัน เชื้อไวรัสฝีดาษลิง พบได้ในสัตว์หลายชนิดโดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้ ปัจจุบันมีรายงานการเกิดเชื้อไวรัส ฝีดาษลิง 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์แอฟริกากลาง และสายพันธุ์ แอฟริกาตะวันตก ซึ่งสายพันธุ์แอฟริกากลางเป็นสายพันธุ์ที่มีการรายงานติดต่อจากคนสู่คน 

ผู้ที่มีความเสี่ยงว่าติดเชื้อมากที่สุด คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่าในแอฟริกากลาง หรือแอฟริกาตะวันตก หรือมี การล่าสัตว์เพื่อทำอาหาร หรือ ส่งออกเป็นสัตว์เลี้ยง  และมีรายงานพบการติดเชื้อจากคนสู่คน จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง ผิวหนัง หรือ ละอองฝอยจากการหายใจ หรือแม้แต่น้ำปัสสาวะ (แม่แต่เข้าห้องน้ำก็อาจติดเชื้อได้) โดยผู้ติดเชื้อไวรัสนี้ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง บางครั้งคล้ายกับอาการของโรคอีสุกอีใส และหายเองได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ ฝีดาษลิงอาจมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้ในบางกรณี และเคยมีรายงานว่าทำให้มีผู้เสียชีวิตมาแล้วหลายคนในแอฟริกาตะวันตก โดยอัตราการเสียชีวิตอยู่ในกลุ่มเด็กเล็กสูงถึง 10%

โรคฝีดาษลิง (MonkeyPox) ในเด็ก

โรคฝีดาษลิงสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้จากการสัมผัสใกล้ชิด โดยไวรัสชนิดนี้จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางรอยแตกบนผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ หรือผ่านทางตา จมูก หรือปาก โดยคนสามารถติดเชื้อโรคนี้จากการสัมผัสโดยตรงโดยผ่านการสัมผัสทางผิวหนังกับผู้ติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสชนิดนี้ กับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ติดเชื้อกัด หรือจากการกินเนื้อสัตว์มีเชื้อที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหลังจากได้รับเชื้อ อาการป่วยจะกินเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ส่วนใหญ่สามารถหายจากโรคเองได้ แต่ในกรณีผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีโรคประจำตัว อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม หรือเสียชีวิตได้ โดยมีอาการที่สังเกตได้ คือ หลังจากที่สัมผัสเชื้อไปแล้วประมาณ 12  วัน ผู้ป่วยอาจมีอาการแสดง ได้แก่

  • ระยะก่อนที่ผิวหนังจะออกเป็นผื่น (Invasion Phase)  
    • เริ่มด้วยมีไข้ ปวดหัว ปวดตัว ปวดหลัง อ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลืองโต
    • โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการต่อมน้ำเหลืองโต เป็นอาการที่สังเกตได้ของโรคฝีดาษลิง ซึ่งแตกต่างจากโรคอื่นๆ ที่มีตุ่มน้ำตามมา เช่น โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) , โรคหัด (Measles) , โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ (Smallpox)
    • อาจมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย อาเจียน และอาการทางระบบหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ เหนื่อย ได้อีกด้วย
  • ระยะที่ผิวหนังออกเป็นผื่น (Skin Eruption Phase)
    • หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน จะเริ่มมีอาการแสดงทางผิวหนัง มีลักษณะตุ่มผื่นขึ้น โดยเป็นตุ่มที่มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ โดยเริ่มจากรอยแดงจุดๆ เป็นตุ่มนูนแดง ตุ่มน้ำใส ตุ่มน้ำหนอง และจากนั้นจะแห้งออกหรือแตกออกแล้วหลุด เรียงไปตามลำดับ
    • โดยตุ่มมักจะหนาแน่นที่บริเวณใบหน้า และแขนขา มากกว่าที่ร่างกาย
    • ในระยะออกผื่น ผื่นจะกลายเป็นสะเก็ดคลุม แห้งและหลุดออกมา โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์

ณ วันนี้ วันที่ 29 พฤษภาคม 2565 เรายังไม่พบการแพร่ระบาดโรคฝีดาษลิงในประเทศไทย แต่พวกเราควรจะต้องทำความรู้จักกับโรคนี้เอาใว้ก่อน เพื่อระมัดระวัง และป้องกันตนเอง สำหรับผู้ที่มีภารกิจ ต้องเดินทางไปประเทศ ที่เป็นสถานที่เสี่ยง ซึ่งอาจมีความเสี่ยง หรือมีโอกาสติดเชื้อ และนำเชื้อกลับมายังประเทศไทยได้ ก็อย่าลืมป้องกันตนเอง และหมั่นคอยติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด และหากหลีกเลี่ยงที่จะต้องเดินทางไปยังประเทศที่พบว่ามีผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงไม่ได้จริงๆ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วย สัตว์ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคโดยเฉพาะลิง และสัตว์ฟันแทะต่างๆ เช่น กระรอก กระต่าย หนู
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ  โดยเฉพาะหลังสัมผัสสัตว์ หรือสิ่งของสาธารณะ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง บาดแผล เลือด น้ำเหลืองของสัตว์
  • ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงมีการแพร่ระบาด
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง แผล ตุ่มหนอง หรือตุ่มน้ำใส จากผู้มีประวัติเสี่ยง หรือผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อแล้ว

ในกรณีที่สัมผัสผู้ติดเชื้อ หรือคาดว่าได้รับเชื้อไปแล้ว ควรฉีดวัคซีนป้องกันในกรณีที่ยังไม่เกิน 14 วัน (วัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ แต่จะต้องฉีดในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อเท่านั้น และยังสามารถรับวัคซีนได้ภายหลังจากการได้รับเชื้อไม่เกิน 14 วัน) หากท่านคิดว่าตัวเองเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง ก้ควรแยกกักตัว เหมือนๆ กับการกักตัว ของผู้มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อโรค COVID-19 น่ะแหละครับ

สรุป โรคฝีดาษลิง ณ วันนี้ 29 พฤษภาคม 2565 ยังไม่มีรายงานว่าเข้ามาในประเทศไทย แต่เราก็ควรระวังตัว และป้องกันเอาใว้ก่อนครับ เพราะเชื้อไวรัสนี้ สามารถล่องลอยได้ในอากาศ และยังสามารถติดตามพื้นผิววัสดุ (ที่ผู้ติดเชื้ออาจจะไอ หรือจามสารคัดหลั่งออกมา) หรือแม่แต่การเข้าห้องน้ำที่ผู้ติดเชื้อ เข้าไปขับถ่าย หรือปัสสาวะ ใว้ก่อนหน้าที่เราจะเข้าไป

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ PHILIPS UVC Disinfection Unit

ดังนั้น เพื่อความสบายใจ ผมขอแนะนำให้ใช้ เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ และพื้นผิว ยี่ห้อ PHILIPS ที่ทางบริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่าย ช่วยเสริมการป้องกัน ช่วยปกป้องคนที่คุณรัก และตัวคุณเอง

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศและพื้นผิว แบบล้อเลื่อน เคลื่อนย้ายได้ PHILIPS UVC Trolley

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อคุณกัมปนาถ HotLine : 0971524554

Life Protect Company Limited

Tel. 02-9294345-6

id Line : Lphotline

Email: LPCentermail@gmail.com

Posted on

คิดจะซื้อเครื่องฟอกอากาศ…คุณต้องรู้เรื่องนี้ !!

ในทุกๆวัน นอกจากเราค้องผจญกับฝุ่น PM2.5 แล้วเรายังต้องระวังเชื้อไวรัส โควิท-19 ด้วยนะครับ

หลายๆ คนที่คิดจะซื้อเครื่องฟอกอากาศมาใช้ ผมขอแนะนำให้คุณ เลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศที่มีกำลังในการฟอกอากาศสูง มีเซ็นเซอร์วัดค่าฝุ่น PM2.5 และมีหน้าจอแสดงผลค่าฝุ่น PM2.5 เป็นตัวเลข

ทำไมผมจึงแนะนำแบบนี้  เพราะว่าถ้าเครื่องฟอกอากาศที่คุณคิดจะเลือกซื้อมาไว้ในห้อง ไม่มีตัวเซ็นเซอร์วัดค่าฝุ่น และไม่มีหน้าจอแสดงผลค่าฝุ่น PM2.5 เป็นตัวเลข แล้วเราจะรู้ได้ยังไง? เราจะมั่นใจได้ยังไง? ว่าหลังจากที่เริ่มเปิดใช้งานเครื่องฟอกอากาศแล้ว อากาศในห้องของเราสะอาดบริสุทธิ์ขึ้นหรือยัง ? ลอกนึกภาพดูครับ อากาศภายนอกบ้าน ภายนอกอาคารที่เต็มไปด้วยฝุ่น PM2.5 แล้วเราเปิดประตูเข้าบ้าน เข้าอาคารสำนักงาน เปิด เข้าๆ ออกๆ เพราะเราต้องมีการทำกิจกรรมตามชีวิตประจำวัน ทุกครั้งก็จะมีฝุ่นติดเข้ามาด้วย ยิ่งอาคารบ้านเรือนที่อยู่ใกล้ถนน หรืออยู่ในเมืองใหญ่ ที่มีการจราจรแออัดพลุกพล่าน หรืออยู่ในแนวการก่อสร้างทางด่วน แนวการก่อสร้างรถไฟฟ้า นี่ไม่ต้องสืบเลยครับฝุ่นเพียบจนแทบไม่อยากจะเปิดประตูหน้าต่างกันเลย พอเราเข้าห้องมาเราเปิดเครื่องฟอกอากาศ ถ้าไม่มีระบบตรวจวัดค่าฝุ่น และการแสดงผลเราก็จะไม่รู้เลยว่าสภาพอากาศรอบๆตัวเราในห้องนั้น มีค่าฝุ่น PM2.5 มากน้อยเพียงใด นั่นคือที่มาและเหตุผลที่ผมมาแนะนำเรื่องนี้

หน้ากากอนามัย บางชนิดป้องกันการแพร่เชื่อไวรัส COVID-19 ได้ แต่กรองฝุ่น PM2.5 ไม่ได้นะจ๊ะ

ทุกวันนี้ ด้วยวิวัฒนาการเทคโนโลยีในปัจจุบันของเครื่องฟอกอากาศ วิศวกรได้คิดค้นและออกแบบเครื่องฟอกอากาศให้มีกำลังในการฟอกอากาศสูงมากขึ้น และได้ออกแบบเครื่องฟอกอากาศแบบที่มีเซ็นเซอร์ และหน้าจอแสดงผล ออกมาให้เราเลือกซื้อใช้หลายรุ่น (เพียงแต่เราต้องจ่ายตังค์เพิ่มอีกหน่อย) ไอ้เครื่องฟอกอากาศแบบนี้แหละ ที่ทำให้เราสามารถมองเห็นอากาศที่อยู่รอบๆ ตัวในห้องของเราได้ในรูปแบบตัวเลข Digital บนจอแสดงผลที่จะบอกให้เรารับรู้ได้ว่า ณ เวลานั้น สภาพอากาศในพื้นที่ห้องที่เราอยู่ขณะนั้นเป็นอย่างไร ปลอดภัยต่อสุขภาพทางเดินหายใจ และร่างกายเราหรือไม่ การแสดงผลสภาพอากาศภายในห้องเราเป็นตัวเลขแบบนี้ จะช่วยให้เราสามารถวางแผนการควบคุมสภาพอากาศในห้องได้ง่าย และวางแผนการดูแลสุขภาพของคนที่คุณรักและตัวคุณเองได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะหากคุณหรือคนในครอบครัวของคุณ เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงและควรต้องเฝ้าระวังเรื่องฝุ่นพิษ PM.2.5 นี้เป็นพิเศษ เช่นผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด เด็ก ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ ที่อาจจะมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือน้อยกว่าคนทั่วไป

  แล้วคุณรู้หรือเปล่าว่าค่าตัวเลขฝุ่น PM2.5 ค่าขนาดไหนล่ะ? ถึงจะเป็นค่าที่ปลอดภัย แล้วค่าตัวเลขระดับไหนที่เป็นอันตราย? ผมเชื่อว่าหลายๆท่าน ไม่รู้ ! ถ้าไม่รู้ตามมาอ่านต่อทางนี้เลยครับ ผมจะบอกให้

เครื่องฟอกอากาศที่ดี ควรมีเซ็นเซอร์วัดค่าฝุ่น PM2.5 และแสดงผลที่หน้าจอเป็นตัวเลข

องค์การอนามัยโลก ( World Health organization หรือ WHO) ได้กำหนดค่าฝุ่น PM2.5 ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ จะต้องมีค่าเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นั่นมาตรฐาน WHO นะครับ แต่มาตรฐานของบ้านเรา ประเทศไทย ได้กำหนดค่ามาตรฐาน PM2.5 ไว้ที่ไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

อ้าว.. แล้วอย่างนี้ ไอ้ที่ว่าปลอดภัย ค่ามันควรจะเป็นเท่าไหร่กันแน่ ? WHO อเมริกาไปอย่าง ไทยไปอีกอย่าง เอาไงดี ?   เอาอย่างนี้ครับ เราไม่ต้องไปสนใจ ค่า WHO หรือ ค่าที่ไทยกำหนด ปล่อยเขาไป !!  เรามาใช้ค่าที่อ้างอิงจากสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา (US Environmental Protection Agency หรือ EPA) กันดีกว่า เพราะในไทยเราหน่วยงานใหญ่ๆ หรืออาคารสูงที่มีมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพอากาศใช้มาตรฐานการอ้างอิงจาก EPA กันเป็นหลัก

รูปแสดงระดับตัวเลขของค่าฝุ่น PM2.5 ตั้งแต่ค่าปกติจนถึงระดับอันตราย ที่มีผลต่อสุขภาพ

EPA ได้กำหนดไว้ว่า ค่า PM2.5 ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพที่ส่งผลต่อสุขภาพน้อย อยู่ที่ 0-12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และหากเมื่อใดที่ค่าฝุ่น PM2.5 มีค่ามากกว่า 12.1 ไปจนถึง 35.4 จะถือว่าเริ่มส่งผลต่อสุขภาพทันที โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ จะเริ่มรับรู้ มีอาการรู้สึกถึงความผิดปกตินี้ได้  แต่ถ้าหากตัวเลขค่าฝุ่น PM2.5 มีค่าสูงขึ้นจาก 35.4 ไปจนถึง 55.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ก็จะเพิ่มโอกาสของผู้ที่มีปัญหาด้านโรคหัวใจ และโรคปอดจะมีอาการรุนแรงขึ้น และอาจทำให้เสียชีวิตได้ในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและโรคปอด และผู้สูงอายุ ดังนั้นหากเราเปิดเครื่องฟอกอากาศ แล้วพบว่ามีค่าตังเลขแสดงขึ้นมามากกว่า 12 เราก็เร่งกำลังเครื่องฟอกอากาศให้แรงสูงสุด เพื่อดึงค่าฝุ่น PM2.5 ให้ลงมา น้อยกว่า 12 เร็วๆ ดีที่สุด (ในเครื่องฟอกอากาศบางรุ่นที่มี Mode Auto  เมื่อเปิดเครื่อง เครื่องฟอกอากาศจำทำการวัดค่าฝุ่น PM2.5 ในสภาพแวดล้อมนั้นโดยอัตโนมัติ เมื่อวัดค่าแล้วเครื่องจะทำการเลือก Speed กำลังแรงของลมดูดอากาศเข้ามาฟอกโดยอัตโนมัติ)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เครื่องฟอกอากาศที่มีการแสดงผลค่าฝุ่น PM2.5 เป็นตัวเลขนั้นดีกว่า น่าใช้งานกว่าเครื่องฟอกอากาศที่ไม่มีค่าการแสดงผล หรือแสดงผลเป็นแถบสีแต่ไม่แสดงผลเป็นตัวเลข และจะดียิ่งขึ้นไปอีกถ้าเครื่องฟอกอากาศนั้น สามารถกรองได้ทั้งฝุ่น PM2.5 และช่วยฆ่าเชื้อไวรัสในอากาศได้ไปพร้อมๆกันด้วย !!

ไลฟ์ โพรเทค จำหน่ายเครื่องฟอกอากาศกำลังสูง และฆ่าเชื้อโรค
เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง Model.Y-1000 ได้รับความใว้วางใจ ให้ใช้ในโรงพยาบาลรัฐ และเอกชนหลายแห่ง

ยินดีให้คำปรึกษา สำรวจหน้างาน ปรับปรุงระบบคุณภาพอากาศ ระบบเครื่องฟอกอากาศ ฟรี ! ไม่มีค่าใช้จ่าย

ติดต่อ บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

โทร.02-9294345-6 Hotline: 097-1524554 , 063-7855159

Email : LPCentermail@gmail.com

Id Line: Lphotline

www.Lifeprotect.co.th

Posted on Leave a comment

การใช้รังสียูวีซี (UVC) ในการฆ่าเชื้อโควิด 19

COVID-19 ใครว่ามันสูญพันธ์ มัน มีการพัฒนาการสายพันธ์ ใหม่ๆ ไปเรื่อยๆ

เทคโนโลยี UV-C กับการฆ่าเชื้อโรค เชื้อไวรัสโควิด ( COVID-19 )

ณ วันนี้ วันที่ 22 สิงหาคม 2564 วันที่ผมกำลังเขียนบทความเรื่อง UV-C นี้ การระบาดละลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 ยังไม่มีท่าทางว่าจะดีขึ้น

ในประเทศไทยเรา ยังมียอดผู้ติดเชื้อโดยประมาณวันละ สองหมื่นคนติดต่อกันมาเป็นสัปดาห์แล้ว และนั่นคือสิ่งที่ทำให้วงการอุตสาหกรรมการแพทย์ และธุรกิจอื่นๆ อยู่เฉยๆไม่ได้แล้ว !!  ทุกฝ่ายต่างมุ่งมั่นสรรหาเทคโนโลยีเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสร้ายชนิดนี้ และหนึ่งในเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อโรคที่กำลังถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วงเวลานี้ คือ UV-C หรือ เทคโนโลยีการฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต เพราะสิ่งนี้ถือว่าเป็นเทคโนโลยีทำความสะอาด และฆ่าเชื้อที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการสัมผัสกับวัตถุ หรือพื้นผิวโดยตรงของผู้ใช้งาน เพราะเพียงแค่สาดแสงลงไป รังสีจากแสง UV-C ก็สามารถทำลาย DNA ของเชื้อโรค และทำให้เชื้อโรคค่อยๆตายไปได้ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ ด้วยคุณสมบัติของรังสีอัลตราไวโอเลต หรือแสง UV ที่เป็นสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งมีความถี่ที่สูงกว่าช่วงของแสงที่ตาของคนเราจะมองเห็นได้ปกติ โดยแสง UV-C เป็นแสงในกลุ่ม UV ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการกำจัดสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก หรือเชื้อโรคต่าง ๆ

UV-C คืออะไร

รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือ UV เป็นรังสีตามธรรมชาติที่อยู่ในแสงอาทิตย์ มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ UV-A, UV-B และ UV-C เราอาจจะคุ้นหูกับ UV-A และ UV-B เนื่องจากรังสีทั้ง 2 ชนิดนั้นสามารถเดินทางผ่านชั้นโอโซนมายังโลก และสามารถมาทำร้ายผิวของเราได้ (รังสี 2 ตัวนี้ วันนี้เราจะข้ามมันไปก่อน !) วันนี้ เราจะมาพูดถึง UV-C เพียงอย่างเดียวก่อน เพราะเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่เรานำมาใช้ฆ่าเชื้อโรค เชื้อไวรัสโควิท-19 ในขณะนี้

การติดตั้งเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบบติดตั้งเพดาน Philip UVC Upper Air ในห้องทำงาน ห้องประชุม
การติดตั้งเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ Philips UVC Upper Air ในร้านอาหาร หรือร้านกาแฟ

การฆ่าเชื้อด้วยรังสีอัลตราไวโอเลตชนิด C หรือที่เรียกว่า UV-C นั้นไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ เทคโนโลยีนี้ ถูกคิดค้นขึ้นมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2435 หรือประมาณ 129 ปีแล้ว โดยการทดลองของ มาร์แชล วาร์ด (Marshall Ward) ที่พยายามหาวิธีกำจัดแบคทีเรียโดยการใช้รังสีดังกล่าว แต่เทคโนโลยีนี้เพิ่งเป็นที่รู้จักและเริ่มใช้งานกันอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาล หลังมีการระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือที่รู้เราจักกันดีในชื่อ โรคซาร์ส (SARS) ในช่วง พ.ศ. 2545 และโรคเมอร์ส (MERS) เมื่อ พ.ศ. 2555 

UV-C คือรังสีอัลตราไวโอเลต ที่มีความยาวคลื่นระหว่าง 200-280 นาโนเมตร เป็นรังสีที่โดยธรรมชาติปกติ จะไม่สามารถเดินทางผ่านชั้นโอโซนลงมายังโลกได้ เนื่องจากมีความยาวคลื่นที่สั้นกว่ารังสี UV-A และรังสี UV-B เนื่องจากรังสีทั้ง 2 สามารถเดินทางผ่านชั้นโอโซนมายังโลกและสามารถทำร้ายผิวกายของเราได้ ทำให้ก่อนหน้านี้เราจึงไม่ค่อยได้ยินชื่อ UV-C ในการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก เพราะเรามัวไปกังวลเรื่องรังสี UV-A, UV-B ที่มาทำลายผิวเราซะมากกว่า  แต่ในความจริงแล้ว รังสี UV-C นั้นกลับกลายเป็นรังสีที่มีบทบาทสำคัญในการฆ่าเชื้อโรค และในวงการการแพทย์อย่างมาก ด้วยความสามารถเฉพาะตัวของมันเอง เพราะมันมีพลังงานมากกว่า รังสี UV-A และ UV-B อย่างมากมาย และมันยังมีความสามารถในการทำลาย DNA และ RNA ของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและเชื้อโรคต่างๆ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส (แต่ฆ่าสปอร์ของเชื้อราไม่ดีเท่าไร) เมื่อเชื้อถูกทำลาย DNA ทำให้ เชื้อต่างๆ เหล่านี้พิการไม่สามารถขยายตัวต่อไปได้ และตายไปในที่สุด ซึ่งโดยทั่วไปUV-C  ที่นำมาใช้ฆ่าเชื้อโรค ได้ถูกประดิษฐ์ออกมาเป็นหลอด UV-C Lamp ที่ความยาวคลื่น 253.7 nm (นาโนเมตร) ** (แต่ทำไมชาวบ้าน รวมๆ เรียกเหมาเป็น 254 nm ก็ไม่รู้) ไม่ว่าจะเป็นหลอดแบบ TUV T5,T8  หรือหลอด LED UV-C

รูปตัวอย่าง Diagram การบำบัด และฆ่าเชื้อโรคในอากาศห้อง ด้วย UVC ร่วมกับ HVAC ( Credit รูปภาพจาก พญ.จริยา แสงสัจจา)

ปัจจุบันมีผลการวิจัยมากมาย ทั้งจากสถาบันการศึกษาและโรงพยาบาล พิสูจน์ได้ว่า UV-C มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% โดยเชื้อโรคเหล่านั้น มีตั้งแต่ ไข้หวัด 2009 (H1-N1) เชื้อวัณโรค (TB) สารก่อภูมิแพ้หอบหืด รวมถึงเชื้อก่อโรคโควิด-19 ที่กำลังเป็นโรคระบาดรุนแรงในปัจจุบัน ทั้งนี้ UVC สามารถฆ่าเชื้อโรคทั้งที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ บนพื้นผิวทั่วไป และในน้ำได้เป็นอย่างดี จึงมีข้อได้เปรียบกว่าการฆ่าเชื้อโรคแบบวิธีอื่นๆ เช่น การฉีดพ่นสารเคมี การเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ ทั้งในแง่ของความสะดวกในการใช้งาน การใช้เวลาทำความสะอาดเพียงไม่กี่นาที สามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายต่อครั้งต่ำ และที่สำคัญคือ ไม่ทิ้งสารเคมีที่เป็นอันตรายไว้หลังการใช้งาน จึงมีความปลอดภัยแก่ผู้ใช้

ตู้อบฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UVC ( Philips UV-C Disinfection Chamber)

** ข้อควรระวัง :  การใช้แสงรังสี UV-C  นั้น แม้จะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดี แต่ต้องระมัดระวังหากนำไปใช้ไม่ถูกวิธีอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรใช้แสง UV ในการฆ่าเชื้อโรคบนร่างกายมนุษย์  มีข่าวว่ามีผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์เอา UV-C lamp ที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ มาวางบนโต๊ะตรงกลางห้อง ในขณะที่มีคนอยู่ในห้องนั้น เป็นเหตุให้ผู้ที่อยู่รอบๆ บริเวณโต๊ะวาง UV-C นั้นเกิดอาการระคายเคืองผิวหน้า เยื่อบุตา มีอาการหน้าแดง ตาแดง แสบตา เคืองตาไปตาม ๆ กัน ซึ่งหากแสงส่องโดนผิวหนังโดยตรงๆ บ่อยๆ อาจทำให้เซลล์ผิวหนังถูกทำลาย และมีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนัง และหากแสงสาดเข้ามาในดวงตา อาจทำให้ตาอาจเป็นต้อ หรือเกิดความผิดปกติได้ จากการโดนรังสีทำลายกระจกกับเลนส์ตา 

การใช้งานอุปกรณ์ UV-C ทำได้หลายวิธี

มีหลายวิธี ที่สามาถนำเอาแสงรังสี UV-C มาประกอบใช้งานให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ และมีประสิทธิภาพสูงสุดในการฆ่าเชื้อโรค ดังเช่น Philips ผู้นำด้าน UV-C ได้ทำออกมาดังนี้

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบบตั้งพื้นเคลื่อนย้ายได้ Philips UVC Air Disinfection Unit (ไม่ใช่เครื่องฟอกอากาศ)
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ โดยนำอุปกรณ์ UV-C ไปติดบนเพดานห้อง หรือติดที่ฝาผนัง หรือเหนือประตู โดยวิธีนี้จะสามารถเปิดใช้งานแสงรังสี UV-C ให้ฉายไปทั้งห้อง เฉพาะในเวลาที่ไม่มีคน และสัตว์เลี้ยงอยู่ในห้อง เช่นการใช้อุปกรณ์ Philips UVC Batten (Open Fixture) ฉายแสงในห้อง หรือฉายจากเพดานลงสู่พื้น
การติดตั้งชุด UVC ฺBatten แบบมีเซ็นเซอร์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคในห้องน้ำ (คนเปิดประตูเข้ามา UVC ดับ คนออกไป UVC ทำงานต่อ)
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ และพื้นผิววัสดุ โดยใช้ Philips UV-C Trolley ชุดล้อเลื่อน UV-C ฆ่าเชื้อโรค หรือ Philips UV-C Desktop Disinfection Lamp (Open Fixture)  ที่เคลื่อนย้ายไปมาตามจุดต่างๆ ในห้อง ของบ้านหรืออาคารได้ ตั้งเวลาฆ่าเชื้อโรค โดยทั้ง 2 อุปกรณ์นี้ ต้องเปิดใช้งานในเวลาที่ไม่มีคนหรือสัตว์เลี้ยง อยู่ในห้อง
ส่งมอบล้อเลื่อนฆ่าเชื้อโรค Philips UVC Trolley เพื่อใช้ฆ่าเชื้อโรค ในห้องต่างๆ ของโรงพยาบาล
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ โดยนำอุปกรณ์ UV-C ไปติดบนเพดานห้อง หรือติดที่ฝาผนัง หรือเหนือประตู โดยฉายแสงไปด้านบนของห้องให้ส่องขึ้น เช่นการใช้อุปกรณ์ Philips UV-C Upper Air Disinfection Ceiling Mounted และ UV-C Upper Air Wall Mounted ที่ออกแบบให้แสงรังสี UV-C สาดไปในอากาศ แต่มีครีบพิเศษ ทีี่ช่วยบังแสงด้านความปลอดภัย ไม่เข้าตา (Close Fixture) ทำให้เราสามารถอยู่ในห้องได้ แม้ขณะเปิดเครื่อง UV-C ให้ทำงาน
Philips UV-C Upper Air Wall Mounted Type and Ceiling Type
  • ใช้ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ โดยนำอุปกรณ์ UV-C แบบปิด Philips UV-C Air Disinfection Unit (Close Fixture) รูปร่างคล้ายๆ เครื่องฟอกอากาศทั่วไป (แต่ไม่ใช่เครื่องฟอกอากาศ) นำไปตั้งบนพื้น ให้พัดลมดูดอากาศเข้ามาหมุนเวียนในห้องหมุนวนอากาศที่มีหลอด UV-C ติดตั้งอยู่ 4 หลอด แล้วให้อากาศไหลผ่านออกไป UV-C Air Disinfection Unit นี้ สามารถเปิดใช้งานได้แม้ขณะที่มีคนอยู่ในห้อง เหมาะสำหรับออฟฟิศ รถทัวร์ รถบัส รถ X-Ray เคลื่อนที่ และสถานที่สุ่มเสี่ยงการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ ที่มีคนอยู่มากๆ
เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ ด้วย UVC แบบตั้งพื้น ( Philips UVC Disinfection Air Unit)
  • การออกแบบ ขึ้นโครง และ นำหลอดไฟ UV-C ไปติดบริเวณหน้า AHU ของระบบปรับอากาศของอาคาร แบบนี้เหมาะสำหรับอาคารที่เป็นระบบ Air รวม จ่าย Air ไปทั่วทั้งตึก จะช่วยให้แผง AHU สะอาด ไม่เป็นเมือก และฆ่าเชื้อโรคในอากาศจากในอาคารที่ไหลเวียนกลับเข้ามายังห้อง AHU ทำให้อากาศสะอาด และช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า
การติดตั้งชุด UVC for AHU เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่หน้าแผงคอล์ยเย็นของ AHU ของระบบแอร์รวม อาคารขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า
  • ฆ่าเชื้อบริเวณพื้นผิว (Surface Disinfectant) เอกสาร สิ่งของ สร้อยคอทองคำ แหวน นาฬิกา เครื่องประดับ กุญแจ โทรศัพท์มือถือ อาหารแห้ง ขวดนมลูก ยา ตลอดจนภาชนะต่างๆที่ใช้ใส่อาหาร โดยใช้ตู้อบ UV-C Chamber (Close Fixture)  ใส่สิ่งของต่างๆ ที่แห้ง ไม่เปียกน้ำ ใส่เข้าไปในตู้ ตั้งเวลาที่กำหนด เมื่อครบเวลาตาม Contact Time ก็นำออกมาใช้ได้ ไม่มีความร้อน
ตู้อบยูวีซี ฆ่าเชื้อโรค ( Philips UVC Disinfection Chamber )
  • ฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ในของเหลว ใช้ในการผลิตน้ำดื่ม น้ำผลไม้ ฆ่าเชื้อโรคในน้ำตู้เลี้ยงปลา อันนี้ UV-C จะถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุพิเศษที่ทนทานต่อรังสี UV-C แต่ไม่บดบังการเปล่งแสง และสามารถกันน้ำได้

        นอกจากนี้  เทคโนโลยีฆ่าเชื้อด้วยรังสี UV-C ยังถูกนำไปใช้กับการวิจัยอื่นๆ อีก ดังเช่นมีข่าวรายงานว่า ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ได้ทดลองการฆ่าเชื้อด้วยการฉายรังสี UV-C ลงไปที่หน้ากาก N95 วัตถุประสงค์เพื่อนำหน้ากาก N95 และหน้ากากอนามัยกลับมาใช้ซ้ำ ผลการทดสอบปรากฏว่า ในการฉายรังสี UV-C เป็นเวลา 30 นาที สามารถทำลายเชื้อ COVID-19 และยังทำลายเชื้อแบคทีเรีย ที่สะสมอยู่ในหน้ากากได้และยังพบว่าเส้นใยของหน้ากากอนามัยไม่เสียหายจนเสียประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อโรคอีกด้วย !

ตู้อบ ฆ่าเชืิ้อโรคด้วยรังสี UV-C ขนาดเล็ก สำหรับใช้ในบ้านพักอาศัยทั่วไป คอนโดมิเนียม ร้านค้าขนาดเล็ก

UV-C จัดว่าเป็นเทคโนโลยีสำหรับการฆ่าเชื้อโรคที่มีข้อดี/ข้อได้เปรียบ คือ ราคาถูก ลงทุนน้อย ฆ่าเชื้อโรคได้เกือบทุกชนิด ประหยัดพลังงาน ยกระดับคุณภาพอากาศภายในอาคาร (Indoor air quality) ลดมลพิษในอากาศ เช่น สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compounds, VOCs) ซึ่งบางชนิดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ และยังสามารถใช้ได้หลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัย (Residential building) ไปถึงอาคารพานิชย์ (Commercial building) โดยเฉพาะ โรงพยาบาล โรงแรม โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ยา และวัคซีน เป็นต้น จึงเหมาะสำหรับหน่วยงานที่งบประมาณน้อย ได้เข้าถึงเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพได้

        และสุดท้ายนี้ มีตำแนะนำ เพื่อให้เทคโนโลยี UV-C ฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ใช้งาน UV-C ควรให้ความสำคัญเครื่องมือ UV-C ดูคู่มือการใช้งาน ดูค่าความเข้ม (Density) ของแสง UV-C  ตั้งระยะเวลาที่เชื้อโรคสัมผัส (Contact time) กับแสง UV-C และระยะห่าง (Distance) การจัดวางของวัตถุและหรือพื้นผิว ที่จะทำการฉายแสง UV-C ให้เหมาะสมกับเชื้อโรคชนิดต่างๆ ผู้ใช้ควรศึกษาข้อควรระวัง การบำรุงรักษาจากคู่มือการใช้งาน รูปแบบการติดตั้ง สถานที่ติดตั้งหรือใช้งาน ควรคำนึงถึงปัจจัยที่อาจจะมีผลต่อประสิทธิภาพของการฆ่าเชื้อโรค รวมถึงมาตรการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลากรที่มีโอกาสไปสัมผัสแสง UV-C  ด้วย

สนใจอุปกรณ์ UV-C Philips ติดต่อคุณกัมปนาถ

บริการ ออกแบบ และติดตั้ง เครื่องฆ่าเชื้อ และเจอจางเชื้อในอากาศ ด้วยรังสี UVC (UVGi) แบบติดตั้งฝาผนัง และแบบติดตั้งเพดาน ตามรายละเอียดคำแนะนำของ ASHRAE EPIDEMIC TASK FORCE (Update 21 October 2021)

(UV-C Installer & Instructor) Hotline: 097-1524554  id Line : Lphotline

Philips UV-C Instruction & Installation Certificate

บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Hotline: 097-1524554

Line : Lphotline

Office Tel. 02-9294345-6

Email: LPCentermail@gmail.com

www.Lifeprotect.co.th

Posted on

เทคนิค การเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศ สำคัญที่สุด ต้องดูตัวเลขค่า CADR

วันนี้ จะมาบอกเทคนิคการเลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศ… ง่ายๆ สั้นๆ ดูค่า CADR ของเครื่องเลยครับ ++

ซื้อเครื่องฟอกอากาศ อย่างไรให้คุ้มค่าเงินที่จ่ายไป หัวใจสำคัญที่สุด ให้ดูที่ตัวเลขค่า CADR ของเครื่อง จบข่าวครับ

” อ้าวเฮ้ย !! มาบอกแค่เนี้ย ” แล้ว ค่า CADR คืออะไร ?  อารายของมันว้า…???

” ครับๆ ..ขอโทษครับ อธิบายต่อให้ก็ได้ครับ…ตามผมมาเลยครับ…”

CADR  ย่อมาจาก Clean Air Delivery Rate แปลว่า อัตราการส่งผ่านอากาศบริสุทธ์ เป็นค่าที่บอกประสิทธิภาพการฟอกอากาศที่แท้จริง โดยการนำไปทดสอบในห้องปฏิบัติการ โดยทดสอบกับตัวอย่าง ควันบุหรี่ (Smoke), ฝุ่น (Dust) และ เกสรดอกไม้ (Pollen) ค่า CADR มีหน่วยเป็นมาตรฐานเป็น CFM (Cubic Feet per Minute)

อาตรงๆ ก็คือ เครื่องฟอกอากาศเครื่องใดที่มีค่า CADR สูงกว่า ย่อมให้ประสิทธิภาพในการฟอกอากาศสูงกว่า แค่นั้นเองครับ

“ อ้าวเฮ้ย !! ..แล้วตรู จะรู้ได้ยังไงฟะ ว่าค่า CADR ที่พวกเอ็งกล่าวอ้างมากับเครื่องฟอกอากาศ ที่เอ็งเอามาขายนั้น นั้นคือค่าจริง ไม่ได้นั่งเทียน เขียนโม้กันขึ้นมาเอง ??? ”

“ไม่ได้โม้ครับ”  ในสหรัฐอเมริกา เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อดังๆ ใหญ่ๆ ที่ขายกันส่วนมาก เขาจะนำเครื่องของตัวเองไป ทดสอบหาค่า CADR จากสถาบันที่น่าเชื่อถืออย่าง สถาบัน AHAM (Association of Home Appliance Manufacturers) * ใช่สถาบัน “ อะแฮ่ม ”  รึปล่าว ผมออกเสียงถูกรึปล่าวก้อไม่รู้

ถ้าใครอยากรู้ละเอียด ก็เชิญเข้าไปตรวจสอบ อ่านภาษาฝรั่งมังค่า ได้จากที่ Website  นี้เลยครับ http://ahamverifide.org/ahams-air-filtration-standards/

มีคำแนะนำ ปริมาณของค่า CADR ที่เหมาะสมกับขนาดห้องของคุณ โดยที่สถาบันอะแฮ่ม AHAM แนะนำว่าค่า CADR ควรจะมีค่ามากกว่า 2 ใน 3 ของพื้นที่ห้อง โดยให้เอาพื้นที่ของห้อง วัดออกมาหน่วยเป็นตารางฟุต (ft2) หารด้วย 1.5 ผลลัพท์คือค่า CADR ที่ควรจะได้นั่นเอง หรือหากกลับกันเอาค่า CADR คูณ 1.5 ผลลัพท์ก็จะเป็นขนาดพื้นที่ห้องที่ควรจะใช้  มีหน่วยเป็นตารางฟุต (ft2) แล้วนำมาแปลงเป็นตารางเมตร (m2) ด้วยการคูณ 10.764

จะบอกว่า ไอ้ค่า CADR ในเครื่องฟอกอากาศนี้มันจะมี 3 ค่าด้วยกัน คือค่าของฝุ่น ค่าของควันบุหรี่ และค่าของเกสรดอกไม้ ให้เราเอาค่าของควันบุหรี่มาคำนวณ เนื่องจากว่าควันบุหรี่ใช้เวลานานที่สุดในการฟอกอากาศ ตัวอย่าง CADR 3 ค่า ตามรูปด้านล่างครับ

ตัวอย่าง ค่า CADR ทั้ง 3 ค่าที่ผู้ขายบางยี่ห้อแสดงใว้ชัดเจน ให้ดูที่ค่า CADR การฟอกอากาศควันบุหรี่ เป็นสำคัญ

เราลองไปเดินๆ ดูเครื่องฟอกอากาศที่เขาวางโชว์ตามห้างสรรพสินค้า หรือตามที่มาออกบูธดูซิครับ เราจะไม่ค่อยเจอเครื่องฟอกอากาศที่ เปิดเผยตัวเองเรื่องค่า CADR แบบตามในรูปข้างบนหรอกครับ เพราะที่ผ่านมาผู้คนให้ความสนใจในเรื่องค่า CADR กันน้อยมาก บางเครื่องอาจจะมีบอกใว้เพียงค่าเดียวที่ฉลากด้านหลังเครื่อง ถ้าเห็นเพียงค่าเดียวให้อนุมานได้เลยว่าค่า CADR ที่เห็นนั้น ตือค่าควันบุหรี่

เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง มาตรฐานทางการแพทย์ สำหรับพื้นที่ขนาดกลาง ถึงใหญ่ ระบบ HEPA Filter + UVC

ทีนี้..ลองมายกตัวอย่าง การคำนวณค่า CADR ที่เหมาะกับห้องขนาด 25 ตารางเมตร

     เอาละ… เริ่มแรกให้แปลงตารางเมตร (m2) เป็นตารางฟุต (ft2) ก่อน ซึ่ง 1 ตารางเมตรเท่ากับ 10.764 ฟุต ดังนั้นจึงให้นำ 25 คูณด้วย 10.764 จะได้ผลลัพท์ = 269.1 ตารางฟุต (ft2) แล้วนำค่าที่ได้มาหารด้วย 1.5 ก็จะเท่ากับ 179.4 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (CFM) ซึ่งก็คือค่า CADR ที่เหมาะสมกับห้องขนาด 25 ตารางเมตรนั่นเอง โดยบางยี่ห้อเขาใจดี ก็แปลงหน่วยจาก ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (CFM) เป็นลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (M3/H) มาให้เราเรียบร้อยเลย

ส่งมอบเครื่องฟอกอากาศกำลังสูง Medical Grade แบบ H13 HEPA Filter ให้กับห้อง X-RAY และ Ultra Sound รพ.ของรัฐฯ

     แต่ๆๆๆ….มีตัวแปรสำคัญอันนึงที่สำคัญ นั่นคือค่า CADR นั้นถูกคำนวณมาภายใต้ พื้นฐานของห้องที่มีเพดานสูง 2.4 เมตร เป็นมาตรฐานในการคำนวณ (ที่ค่ามาตรฐาน ต้องเป็น 2.4 เมตรไม่ใช่ 2.5 เพราะว่าค่านี้มากจากองกรค์อะแฮ่ม (AHAM) ของอเมริกาที่เขาใช้สูตร 8 ฟุต แปลงเป็นเมตรตรงๆ เลย มันได้ประมาณ 2.4 เมตร) เนื่องจากปริมาตรเกิดจากความ กว้าง x ยาว x สูง ดังนั้นเมื่อรู้ความสูงจึงเหลือแต่พื้นที่ที่ต้องหา ซึ่งอะแฮ่ม (AHAM) ก็แนะนำว่าค่า CADR ควรจะมีค่ามากกว่า 2 ใน 3 ของพื้นที่ห้อง (อย่าลืมว่าภายใต้มาตรฐานว่าห้องสูง 2.4 เมตรนะ!! ถ้าห้องสูงเกินกว่านี้ต้องใช้ค่า CADR สูงกว่านี้) สรุปง่ายๆ ก็คือเอาพื้นที่ห้องเป็นตารางฟุต (ft2) หารด้วย 1.5 คือ CADR ที่ควรจะได้ หรือเราเอา CADR คูณ 1.5 ก็เป็นค่าพื้นที่ห้องที่ควรจะได้เป็นตารางฟุต (ft2) แล้วจากนั้นเราค่อยเอามาแปลงเป็นตารางเมตร (m2) โดยคูณ 10.764 

เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง Y-1000 (Medical Grade) นิยมใช้ในโรงพยาบาล

อย่างที่บอกใว้ครับ..บางยี่ห้อเค้าใจดี แปลงค่า CADR จากลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (CFM) มาเป็นลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (m3/h) มาให้ (แล้วมันจะแปลงมาทำไมว้า..) ก็คือเค้าเอา CADR ที่เป็น ลบ.ม.ต่อ ชม หารด้วย 12 ก็จะเป็นค่าพื้นที่เป็นตารางเมตรที่มากสุดของเครื่องฟอกอากาศที่เหมาะสมจะใช้ในห้องนั้น  เช่น พื้นที่ห้องอยู่ที่ 25 ตร.ม. ค่า CADR ก็ควรจะไม่ต่ำกว่า 25*12 = 300 เป็นต้นครับ

หมายเหตุ : ขอขอบคุณ แหล่งที่มา และ ข้อมูลอ้างอิง ครับ

ข้อมูลการเขียน บางอันผมก็ลอกเขามา บางอันก็ค้นหาจาก Website ฝรั่ง มาผนวกกับประสบการณ์ที่ทำงานกับบริษัทเครื่องมือแพทย์ และบริษัทฝรั่งงยักษ์ใหญ่ข้ามชาติ ที่คิดค้นเครื่องปรับอากาศเป็นรายแรกของโลก (รวมๆ กันยี่สิบกว่าปี)

โปรดหาข้อมูลเพิ่มเติม อื่นๆ กันด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

Climate Medical Safety by Life Protect

สนใจสอบถาม ปรึกษาเรื่องระบบปรับปรุงอากาศในสถานพยาบาล ยินดีให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ

กัมปนาถ ศรีสุวรรณ

บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Office Tel. 029294345-6

Hotline : 097-1524554

email: LPCentermail@gmail.com

id Line : Lphotline

www.Lifeprotect.co.th

Posted on

HEPA FILTER คืออะไร ?

เริ่มต้นทำความรู้จัก HEPA FILTER

ด้วยสถานการณ์ โรค COVID-19 ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เกิดการแพร่ระบาดไปทั่วโลก แม้ ณ.วันนี้ วันที่ 17 ตุลาคม 2563 ตัวเลขการตรวจพบผู้ติดเชื้อในประเทศไทยถือว่าต่ำมาก ต่างจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีการติดเชื้อกันอย่างหนัก ด้วยเหตุนี้ ทำให้หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไป ต่างก็หาทางป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค โดยเฉพาะภายในอาคารสถานที่ต่างๆ ที่ต้องนำเอาอากาศสะอาด (Fresh Air) เข้ามาใช้หมุนเวียน เช่นภายในอาคาร บ้านเรือน สำนักงาน และโรงพยาบาล หรือแม้แต่คลินิกทางการแพทย์  จึงทำให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากในวงการระบบระบายอากาศ  (Air Ventilation System) และระบบการกรองหรือฟอกอากาศ (Air Purification System)  ทีนี้ในระบบการระบายอากาศ หรือการฟอกอากาศ ชัดเจนอยู่แล้วว่าการจะทำให้อากาศสะอาดได้นั้น มันก็ต้องมี ตัวกรอง (Filter) คำถามต่อไปเกิดขึ้นว่า…แล้วตัวกรอง หรือ Filter แบบไหนล่ะ ถึงจะกรองเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสในอากาศได้อย่างดีที่สุด มันก็เลยเกิดคำว่า “ เฮ็ปป้า ฟิลเตอร์ หรือ  เฮป้า ฟิลเตอร์ ” ( HEPA Filter )  ที่เราได้ยิน ได้เห็นกันบ่อยๆ ในช่วงนี้

H13 HEPA Filter สำหรับเครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก EOS
เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง ใช้ในทางการแพทย์ แบบเคลื่อนย้ายได้ (H13 HEPA FILTER + UV-C)

HEPA Filter คืออะไร

เฮ็ปป้า ฟิลเตอร์ (HEPA FILTER) คือ แผ่นกรองอากาศ ย่อมาจากคำว่า “ High Efficiency Particulate Air Filter = ตัวย่อ HEPA HEPA FILTER มีการใช้ในเชิงพานิชย์มาตั้งแต่ในปี 1950 HEPA FILTER จัดเป็น แผ่นกรองอากาศคุณภาพ ความละเอียดสูง มีประสิทธิภาพในการกรองอากาศมากว่าแผ่นกรองอากาศทั่วๆไป โดย HEPA FILTER ถักทอทำขึ้นมาจากเส้นใยไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) เส้นเล็กๆมากๆ ที่ถักทอไปมาแบบสุ่ม จัดเรียงกันอย่างไม่เป็นระเบียบ แต่ละเอียดยิบๆ จนทำให้มีเส่นผ่านศูนย์กลางของใยทอ 0.5 – 2.0 ไมครอน มีความความแน่น และมีความสามารถในการกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กมากๆ (Small Particles) และสามารถกรองอากาศ กรองฝุ่นผงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ่กรองเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส และ ละอองเกสรดอกไม้ ที่ล่องลอยในอากาศ ได้เป็นอย่างดี

กลไกหลักของ HEPA FILTER มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบคือ

  1. Interception จะเกิดขึ้นเมื่ออนุภาคสารปนเปื้อนผ่านในระยะที่เท่ากับรัศมีหนึ่งของอนุภาคของเส้นใย ทำให้อนุภาคสัมผัสกับเส้นใย และถูกจับออกจากการไหลของอากาศ ถ้าระยะของอนุภาคไกลเกินกว่ารัศมีอนุภาคจากเส้นใยจะไม่ถูกขัง
  2. Impaction เกิดขึ้นเมื่ออนุภาคที่มีขนาดใหญ่ไม่สามารถที่จะปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของอากาศเมื่อเข้าใกล้เส้นใยกรอง ทำให้ติดอยู่บนเส้นใย
  3. Diffusion ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของอนุภาคก๊าซ อนุภาคขนาดเล็ก (ปกติ 0.1 ไมโครเมตรหรือน้อยกว่า) มีแนวโน้มที่จะเดินทางไปในรูปแบบผิดปกติทำให้การเคลื่อนไหวแบบสุ่มที่ การเคลื่อนที่ที่ผิดปกตินี้ทำให้อนุภาคสารปนเปื้อนติดอยู่ในเส้นใย

ตัวอย่างเช่น เครื่องดูดฝุ่นในสมัยปัจจุบัน ใช้แผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER เป็นส่วนหนึ่งของระบบกรองฝุ่น เพราะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหอบหืด และโรคภูมิแพ้ ชุดกรอง HEPA FILTER จะทำการดักจับอนุภาคละเอียด เช่นละอองเกสร และฝุ่นที่เป็นอุจจาระจากตัวไรฝุ่น ซึ่งก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้และโรคหอบหืด สำหรับแผ่นกรอง HEPA FILTER ในเครื่องดูดฝุ่น มีการออกแบบให้เหมาะสมรูปทรงเข้ากับเครื่องดูดฝุ่นของแต่ละรุ่น เพื่อให้ฝุ่นที่อยู่ในอากาศที่ดูดเข้ามาในเครื่องจะผ่านตัวกรองนี้ แล้วทำการดักจับจะไม่ให้ฝุ่นละอองรั่วไหลผ่านออกไป แต่ถ้าไม่ใช้ HEPA FILTER คอยกรองไว้ เครื่องดูดฝุ่นบางเครื่องเวลาดูดฝุ่นเข้ามาแล้ว ฝุ่นยังคงมีการกระจายออกมานอกเครื่องดูดฝุ่นได้

H13 HEPA FILTER สำหรับเครื่องฟอกอากาศในห้องทันตกรรม

ประโยชน์ของแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER

ประโยชน์หลักๆ ของ HEPA FILTER คือความสามารถในการช่วยสร้างอากาศบริสุทธิ์ ด้วยการสกัดกั้นสารก่อภูมิแพ้ และสิ่งสกปรกที่ลอยอยู่ในอากาศ ไม่ให้เวียนกลับเข้าไปสู่บรรยากาศ ส่งผลดีให้กับผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และยังช่วยป้องกันการเกิดโรคที่อาจมีสาเหตุจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย อีกด้วย

จะบอกให้ว่า..การที่จะมาเป็น HEPA Filter นี้ ไม่ได้มาเป็นกันได้ง่ายๆนะครับ เพราะต้องได้มาตรฐานในการรับรองประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งถูกพัฒนาโดยกระทรวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา (DOE) ซึ่งได้กำหนดว่า แผ่นกรองอากาศที่จะได้ชื่อว่าเป็นแผ่นกรองอากาศระดับ HEPA FILTER นี้ จะต้องมีความสามารถในการกรองฝุ่น และฝอยละอองที่มีขนาดอนุภาคใหญ่กว่า อนุภาคขนาด 0.30 ไมครอนได้ (จะต้องกรองอากาศ จากอากาศที่ผ่าน ได้ 99.97% ของอนุภาคที่มีขนาด 0.30 ไมครอน) ซึ่งมาตรฐานนี้ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยกระทรวงพลังงานของประเทศสหรัฐอเมริกา สรุปชัดๆ คือแผ่นกรองอากาศ ต้องสามารถกรองอนุภาคที่เล็กมากๆได้ในระดับที่เชื้อโรคต่างๆ เช่นเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ต่างๆ ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ เมื่อถูกระบบดูดอากาศ ของเครื่องฟอกอากาศดูดเข้ามาผ่านกรองอากาศ HEPA FILTER นี้แล้ว เชื้อโรคต่างๆ จะไม่สามารถเล็ดลอดผ่านแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER ออกไปข้างนอกได้ จะมีแต่เพียงอากาศที่สะอาดเท่านั้น ที่สามารถผ่านแผ่นกรองอากาศระดับ HEPA นี้ออกไปได้เท่านั้นครับ

ดังนั้นจึงชัดเจนว่า ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER แล้วล่ะก็  มันสามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ ฝุ่นละอองละเอียดที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ( ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ปกคลุมกรุงเทพฯ อยู่นาะแหละ ) ได้อย่างจริงแท้ และแน่นอน  ซึ่งแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER ในปัจจุบัน ได้ถูกนำมาใช้กับในหลายวงการ หลายสถานที่ ไม่ว่าจะเป็น ใช้ภายในบ้านพักอาศัย ใช้ในออฟฟิศสำนักงาน ใช้ในระบบการขนส่งมวลชนที่มี Transaction ของผู้คนเข้าออก หรือแออัดอยู่กันเยอะๆ เช่นบนรถไฟฟ้า , ห้องโดยสารของสายการบิน, การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า, การผลิตยา และที่สำคัญ ได้ถูกนำมาใช้ในวงการวิทยาศาสตร์ , ชีวการแพทย์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างแพร่หลาย เช่นใช้ใน FUME Hood ตู้ดูดไอสารเคมีในห้อง Lab วิทยาศาสตร์ , ใช้ในโรงพยาบาล , ใช้ในห้องแยกโรค COHORT WARD , ใช้ในห้องทันตกรรม คลินิกศัลยกรรมความงามต่างๆ ที่ต้องการความสะอาด เพื่อปลอดเชื้อโรคให้ได้มากที่สุดนั่นเอง

HEPA FILTER มีหลายขนาด เลือกใช้ให้เหมาะสมกับเครื่อง

แผ่นกรองอากาศ HEPA Filter มีกี่ชนิด

อย่างที่บอกครับ ว่าการจะมาเป็น HEPA Filter ไม่ได้มาเป็นได้ง่ายๆ หรือ Spec ของแผ่นกรองอากาศ ที่ขึ้นชื่อว่าจะสามารถเป็น แผ่นกรองอากาศระดับ HEPA FILTER ได้นั้น จะต้องมีความสามารถในการกรองฝุ่นละเอียด ที่มีขนาดที่ใหญ่กว่า 0.3 ไมครอน แต่ในความเป็นจริงแล้ว แผ่นกรองอากาศระดับ HEPA FILTER นั้น ก็ยังมีรายละเอียดยิบย่อยอื่นๆ อีกมากมาย อย่างเช่นมาตรฐานของ EU : EN779 ก็ได้แบ่งระดับของ HEPA ออกไปอีก 5 ระดับ ได้แก่

  • ระดับ E10 Class : หรือ E10 HEPA Filter สามารถกรองฝุ่นละอองได้ 85% (ฝุ่นละออง มีโอกาสเล็ดลอดผ่านกรองออกไปได้ 15%)
  • ระดับ E11 Class : หรือ E11 HEPA Filter สามารถกรองฝุ่นละอองได้ 95% (ฝุ่นละออง มีโอกาสเล็ดลอดผ่านกรองออกไปได้ 5%)
  • ระดับ H12 Class : หรือ H12 HEPA Filter สามารถกรองฝุ่นละอองได้ 99.5% (ฝุ่นละออง มีโอกาสเล็ดลอดผ่านกรองออกไปได้ 0.5%)
  • ระดับ H13 Class : หรือ H13 HEPA Filter สามารถกรองฝุ่นละอองได้ 99.95% (ฝุ่นละออง มีโอกาสเล็ดลอดผ่านกรองออกไปได้ 0.05%)
  • ระดับ H14 Class : หรือ H14 HEPA Filter สามารถกรองฝุ่นละอองได้ 99.995% (ฝุ่นละออง มีโอกาสเล็ดลอดผ่านกรองออกไปได้ 0.005%)
การใช้ HEPA FILTER ในเครื่อง Fan Filter Unit (FFU) ดูดอากาศเข้าห้อง Clean Room

การดูแลรักษาแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER  

            โดยปกติแล้วกรองอากาศ HEPA FILTER ถ้าใช้งานแบบบ้านๆ ทั่วไป มีอายุการใช้งาน 4-5 ปี ตามแต่รุ่น (ให้ดูตามคู่มือการใช้งานของเครื่องที่ซื้อมา) แต่เราก็สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานมันได้บ้างนิดหน่อยโดยการหมั่นนำออกมาทำความสะอาด ข้อควรระวังคือ แผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER ทำมาจากเส้นใยไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) มันจึงแพ้น้ำ แพ้ความชื้น ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงที่จะให้มันโดนความชื้น หรือน้ำ เพราะความชื้นและน้ำ อาจจะเข้าไปกัดกร่อนเส้นใย Fiberglass หรือส่วนประกอบภายในอื่นๆ ของแผ่นกรองได้ ทางที่ดีควรใช้วิธีการนำเครื่องดูดฝุ่น มาดูดทำความสะอาด หรือใช้แปรงขนนุ่มๆ ทำความสะอาดในการปัดฝุ่นที่อยู่ในร่องให้ออกมา แล้วเคาะเบาๆ ให้เศษฝุ่นหลุดออกมาจากตัวแผ่นกรอง จะดีกว่า แต่ถ้าหากเครื่องฟอกอากาศตัวนั้น ถูกใช้งานอย่างสม่ำเสมอ ควรจะเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศ HEPA FILTER ตามที่กำหนดใว้ในคู่มือการใช้งานของเครื่อง หรือทุกๆ 1 -2 ปี (ตามความเหมาะสม ความหนักของการใช้งาน) เพื่อให้ HEPA FILTER กรองอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดครับ

H13 HEPA FILTER สำหรับเครื่องฟอกอากาศ

จากการรวบรวมข้อมูลของผู้เขียน หว้งว่า คงจะได้ทำความเข้าใจ ได้รู้จัก HEPA FILTER กันไปพอสมควรนะครับนะครับ ในปัจจุบันนี้ยังมีเทคโนโลยี FILTER ชั้นสูงที่กรองอากาศได้ละเอียดยิบๆ กว่า HEPA FILTER อีก นั่นคือ ULPA (Ultra-Low Particulate Air) โดย Filter พวกนี้จะมีความสามารถในการกรองอนุภาคขนาด 0.12 Micron ได้ที่ 99.999995% หรือพลาดแค่ 0.000005% เท่านั้น ULPA FILTER ราคาสูงกว่า HEPA มั่กๆแน่นอน เพราะมันเหมาะสำหรับใช้ในการทำงานที่ต้องการความสะอาดสูงมาก ๆ เช่นห้องปฏิบัติการบางประเภท (ทั้งป้องกันอากาศภายนอกเข้าไปปนเปื้อน และ ไม่ให้อากาศปนเปื้อนข้างในออกมา) หรือพวก Cleanroom ที่ต้องการอากาศสะอาดสูงสุด เขาก็จะใช้ ULPA FILTER กัน เอาใว้มีโอกาศ ผมจะมาเขียนเรื่อง ULPA ให้อ่านอีกครั้งครับ สำหรับวันนี้ ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านกันครับ

FAN FILTER UNIT สำหรับดูดอากาศเข้าห้อง Clean Room พร้อมกรองอากาศด้วย HEPA FILTER

ยินดีให้คำปรึกษาเรื่อง ระบบดูดอากาศ และ ระบบฟอกอากาศสำหรับห้องทันตกรรม ตามแบบปรับปรุง ก.45 เมย.63 กองแบบแผน กรม สบส. ครับ

กัมปนาถ ศรีสุวรรณ Tel. 097-1524554

id Line : Lphotline

email: LPCentermail@gmail.com

บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Office Tel. 02-9294345 -6

Posted on

แบบปรับปรุงห้องทันตกรรม (แบบ ก.45 /เม.ย./ 63) มีจุดสำคัญตรงไหน? ผู้รับเหมามาดูกัน !!

** บทความนี้ เป้นความคิดเห็นแนะนำส่วนตัว จากการอ่าน TOR อย่านำความคิดเห็นจากผู้เขียนไปเป้นแนวทางปฏิบัติ ในการทำงานจริง ท่านควรตรวจสอบ สอบถามกับเจ้าของงาน ผู้กำหนด TOR และทำให้ตรงกับข้อกำหนดใน TOR นั้น

สำหรับพี่น้อง ผู้รับเหมา ณ.ตอนนี้ ที่กำลัง Hot สุดๆ คือ งานปรับปรุงห้องทันตกรรม ในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ให้เป็นไปตามแบบ ก.45 /เม.ย. 63 เอาล่ะซิ !! แล้วไอ้แบบ ก.45 ตัวนี้มันคืออะไร ? มันสำคัญตรงไหน ?

แบบ ก.45 เม.ย. 63 คือ แบบปรับปรุงห้องทันตกรรม เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 และ แบบปรับปรุงห้องทันตกรรมทั่วไป ที่กำหนดให้ใช้กับโรงพยาบาลของรัฐ (โรงพยาบาลเอกชนก้แอบปรับปรุงทำแะเขาด้วยนะ ขอบอก) เอาล่ะ แนะนำให้อ่านเรื่องราวต่อไปนี้ให้จบ แล้วท่านจะพบว่า ปรับปรุงห้องทันตกรรมส่งงานให้ผ่าน ง่ายนิดเดียว

ข่าวประชาสัมพันธ์ ในวงการทันตแพทย์

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เผย แบบปรับปรุงห้องทันตกรรมเพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 และแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมทั่วไป

แบบปรับปรุงห้องทันตกรรม เอกสารเลขที่ ก.45 เม.ย.63

กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข จัดทำแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมเพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 และแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมทั่วไป เพิ่มความมั่นใจให้กับทันตแพทย์ และผู้รับบริการในโรงพยาบาล

          นายแพทย์ธเรศ  กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า โรงพยาบาลภาครัฐมีห้องแผนกต่างๆ ในการรองรับผู้ใช้บริการ  โดยบริเวณห้องต้องมีการทำความสะอาดและมีห้องที่ใช้ในการรักษาทำหัตถการจะต้องปลอดเชื้อ เช่นเดียวกับห้องทันตกรรม ที่มีเครื่องมือที่ใช้ในการทำหัตถการบริเวณช่องปาก อาจมีฝอยละอองฟุ้งกระจาย น้ำลาย ทำให้เกิดความไม่มั่นใจต่อทันตแพทย์ และผู้รับบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ส่งผลกระทบในการใช้บริการทางทันตกรรม ดังนั้น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยกองแบบแผน จึงได้จัดทำต้นแบบ        แบบปรับปรุงระบบปรับอากาศและระบายอากาศห้องทันตกรรม ด้วยการออกแบบที่ใช้ห้องทันตกรรม       ที่มีอยู่เดิม โดยให้ความสำคัญกับระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ดัดแปลงห้องด้วยอุปกรณ์ที่หาได้ และมีประสิทธิภาพ โดยเน้นถึงความสะอาด อากาศบริสุทธิ์ มีการไหลเวียนภายในห้องได้ดี ไม่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ เพิ่มความมั่นใจให้กับทันตแพทย์ และผู้รับบริการ

          นายแพทย์ประภาส  จิตตาศิรินุวัตร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า

แบบปรับปรุงระบบปรับอากาศและระบายอากาศห้องทันตกรรม มี 2 รูปแบบ คือ

1) แบบเอกสารเลขที่ ก. 44 ออกแบบสำหรับการรักษาทางทันตกรรมให้แก่ผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 หรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ และผู้ป่วยกรณีเร่งด่วนที่ไม่ผ่านการคัดกรอง โดยห้องดังกล่าวถูกออกแบบโดยใช้หลักการ Modify AIIR (ห้องความดันลบ) ใช้การกรองอากาศที่มี HEPA FILTER ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยหลอด UVC ก่อนนำทิ้งนอกอาคาร มีการเติมอากาศ 100 % fresh air และมีอากาศถ่ายเทมากกว่าหรือเท่ากับ 12 ACH ( ACH คือ จำนวนรอบของการไหลเวียนอากาศผ่านเครื่องฟอกอากาศครบทั้งปริมาตรของห้องที่แนะนำ)

2) แบบเอกสารเลขที่ ก.45 ออกแบบสำหรับการรักษาทางทันตกรรมให้แก่ผู้ป่วยทั่วไปที่ผ่านการคัดกรอง ตรวจ หรือ กักตัว และผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าสามารถให้ทำทันตกรรมได้ แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ          

2.1 TYPE A มีการระบายอากาศ และฟอกอากาศด้วย HEPA FILTER รวมกัน 24 ACH

แบบปรับปรุงห้องทันตกรรม TYPE A

2.2 TYPE B มีการระบายอากาศ และฟอกอากาศด้วย HEPA FILTER รวมกัน 12 ACH ข้อดีของแบบปรับปรุงดังกล่าว คือ ติดตั้งง่าย สามารถดัดแปลงพื้นที่โดยไม่กระทบพื้นที่เดิมมาก สำหรับการทำหัตถการในห้องทำทันตกรรม บุคลากรทางการแพทย์จะต้องสวมหน้ากาก N95 ทุกครั้ง และมีการทำความสะอาดเครื่องมือ ฆ่าเชื้อ บำรุงรักษาเครื่องมือให้พร้อมใช้ โดยแบบปรับปรุงห้องทันตกรรม มีโรงพยาบาลสนใจนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงห้องทันตกรรมให้เหมาะสมและป้องกันกับสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ในปี 2564 นี้มากมายหลายโรงพยาบาล

แบบปรับปรุงห้องทันตกรรม TYPE B

เอาล่ะ ..มาเข้าเรื่องที่จะต้องหาของมาทำห้อง และส่งงานกัน !!

เริ่มจาก จุดที่ 1 ที่พี่น้องผู้รับเหมาโดนดอกแรก

การเติมอากาศสะอาดเข้าห้องทันตกรรม ทางกองแบบแผน กำหนดให้ใช้ Fan Filter Unit (FFU) ที่มี Pre Filter ระดับ Merv 7 และมี H13 HEPA Filter ประกอบอยู่ในชุดเดียวกัน และ ตัวเครื่องต้องเป็นเหล็กชุบ Galvanize หรือ เหล็กพ่นสีสวยงาม ขนาด (พี่น้องโดนเข้าไปดอกนึง เพราะ FFU ของห้อง Clean room ตัวนึงก็ปาเข้าไป สองหมื่นกว่า แถมขนาดเล็กสุดที่มีในตลาด FFU Clean room ก็ขนาด 2 Feet x 2 Feet ( 60 cm. x 60 cm.) ใหญ่เบิ้มๆ เลย จะให้มายัดลงท่อ Duct 5″ x 5″ ที่ให้ราคากลางค่าวัสดุมาตารางฟุตละ 19 บาทได้ยังไง ? อันนี่ไม่ยาก ตรงนี้ จบได้ด้วย Fan Filter Unit (FFU) จากบริษัท ไลฟ์โพรเทค จำกัด ที่มีขนาดเล้ก เข้ากับ spec ของท่อ DUCT ได้ ติดตั้งเข้าใต้ฝ้าได้ น้ำหนักเบา และ ไส่ Pre Filter + H13 HEPA Filter มาให้เรียบร้อยจากโรงงาน แบบจบๆ ในราคาผู้รับเหมา

Fresh Air Intake FAN FILTER UNIT (FFU) Pre Filter & H13 HEPA Filter (Medical Grade)
เครื่องฟอกอากาศสำหรับห้องทันตกรรม ฝีมือคนไทย สนับสนุน ว.89

จุดที่ 2 ที่พี่น้องผู้รับเหมารายย่อย โดนเข้าไปอีกดอกนึง

นอกเหนือจากงานย้ายตำแหน่งเครื่องปรับอากาศตัวเก่าแล้ว…อีกจุดนึงที่โดนกันก็คือ เครื่องฟอกอากาศ เพราะ Spec กองแบบแผนเขียนมาว่า ตัวเครื่องต้องเป็นเหล็ก ชุบ Galvanize หรือเป็นเหล็ก พ่นทำสีสวยงาม มี Pre filter และ H13 HEPA Filter และต้องมีกำลังลม (ค่า CADR) ไม่ต่ำกว่า 180 cfm ในห้อง Type B และ 420 cfm ในห้อง Type A (ยุ่งละซิ…ทีนี้ เครื่องฟอกอากาศที่เจอในท้องตลาด ตัวถังที่เจอมาส่วนฝหญ่ทำด้วยพลาสติก ABS ทั้งนั้น แถมค่า CADR ก็ต่ำเตี้ยเหลือเกิน ไอ้ตัวที่เป็นเหล็ก ที่ค่า CADR สูงๆ ก็โคตะระ จะแพง) ข้อนี้จบได้เพียงท่านโทรมาหาเรา หรือ add Line id: Lpcontact แล้วทักมา !! เรามีเครื่อง Body เหล็ก ค่า CADR สูงๆ มาให้พิจารณากันก่อนรับงาน

เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง H13 HEPAFILTER สำหรับงานปรับปรุงห้องทันตกรรม

จุดที่ 3 ดอกสุดท้าย ที่พี่น้องผู้รับเหมารายย่อย สับสน และผมเองก็งุนงง

จุดนี้คือเรื่องของการดูดอากาศออก Exhaust Air ทางกองแบบแผนฯ วาดภาพใว้ให้ดูว่า อากาศภายในห้องทันตกรรม ที่ผ่านการฟอกทำความสะอาดอากาศแล้ว ท่อทางดูดออก พัดลมดูดอากาศออก Exhaust Air ไม่ได้ระบุใว้ว่าต้องเป็น FFU Fan Filter Unit ถ้าอย่างนั้น อันนี้ถ้าแกะ Wording กันคำต่อคำ บรรทัดต่อบรรทัด ก็ไม่พบระบุว่า ท่อทางพัดลมดูดอากาศออก Exhaust Air จะต้องต้องมี Filter ดังนั้น ถ้าคิดเข้าข้างตัวเอง Exhaust ก็ไม่ต้องมี HEPA FILTER ถ้างั้น พัดลมดูดอากาศ แบบมีข้อต่อสำหรับต่อกับท่ออากาศออก จำพวก Mitsubishi model. VD-15Z4T6  ก็ต้องใช้ได้ซิ และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหน้าพัดลม ก็ 6″ พอดี เอาไปชนท่อ Duct ใช้ได้เลย ประหยัดต้นทุนเราได้อีก (แต่ถ้าใน TOR ระบุชัดเจนว่า Exhaust Air ต้องเป็น Fan Filter Unit ก็ใส้แตกกันไป )

รูปแสดงตัวอย่างพัดลมดูดอากาศ Exhaust ออกจากห้องทันตกรรม

พี่น้องผู้รับเหมางานปรับปรุงห้องทันตหรรม คงจะมองภาพออกกันแล้วนะครับ หากมีข้อสงสัยสามารถโทรศัพท์มาถาม ได้ที่เบอร์ 063-7855159 หรือ Add Line id : Lpcontact ทักทายกันมา ยินดีแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์กันครับ

หมายเหตุ : โรงพยาบาลภาครัฐ หรือหน่วยงานที่สนใจ สามารถดูรายละเอียดแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมเพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 และแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมทั่วไป ได้ทางเว็บไซต์กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (dcd.hss.moph.go.th) หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หมายเลขโทรศัพท์ 02-1937006 ในวันและเวลาราชการ

ข้อมูลจาก สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปากทางทันตกรรม (EOS) ช่วยปกป้องหมอฟัน และผู้ช่วยฯ จากละอองทันตกรร

กัมปนาถ ศรีสุวรรณ T.097-1524554

id Line: Lphotline

Posted on

รู้มั้ยว่า “เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก” กับ “เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด” ต่างกันยังไง ?

ที่ใช้ๆ วัดไข้กันอยู่ รู้มั้ยว่า “เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก” กับ “เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด” มันต่างกันยังไง ?

หมายเหตุ: บทความนี้ จัดทำขึ้นมาเพื่อแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับ Infrared Thermometer / Non Contact Thermometer

วันนี้ 4 กันยายน 2563 ได้ทราบข่าว คุณ DJ ที่เข้าเรือนจำคลองเปรม ตรวจพบว่าติดเชื้อ COVID-19 หลังจากที่เราไม่พบผู้ติดเชื้อในประเทศไทยมา 101 วัน พอดู Time Line การเดินทางของพี่ DJ แล้วก็นึกถึงว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา เราลั้ลลากันมา 101 วัน การ์ดตกกันไปเยอะ คราวนี้ก็คงถึงเวลา ยกการ์ด ใส่หน้ากาก ล้างมือ กินร้อน ช้อนกู รักษาระยะห่าง Social Distancing ยิงหน้าผากด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิ กันอีกรอบแล้ว

มาวันนี้ 21 ธันวาคม 2563 มาใหม่อีกแล้ว จังหวัดสมุทรสาคร Lock down แรงงานต่างด้าวติดเชื้อกันทะลุ แปดร้อยกว่าคน !!

ได้เวลายกการ์ด….หาของป้องกัน คัดกรองเชื้อโรคกันอีกแล้วซินะ

         พูดถึงไอ้เครื่องยิงหน้าผากวัดไข้ ที่โดนจ่อยิงเวลาเข้าร้านสะดวกซื้อต่างๆ  บางวันวัดไข้แล้วตัวเย็น บางวันวัดแล้วตัวร้อนซะงั้น วัดอุณหภูมิแต่ละที่ทำไมไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากันเลย งงมาก จะเชื่อถือได้มั้ยเนี่ย !!

K3 Non-Contact Infrared Thermometer

         ผลพวงมาจากในช่วงที่โรค COVID-19 ระบาดรอบแรก พวกเราก็ตกใจตื่นตัวกัน หน่วยงานต่างๆ ก็ไปตระเวนหาซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิ มาให้เจ้าหน้าที่ใช้จ่อหน้าผากคนที่มาเข้าออกสถานที่ในความรับผิดชอบกันเป็นอย่างเอาจริงเอาจัง จนไอ้เจ้าเครื่องยิงหน้าผากวัดไข้เนี่ยขาดตลาด ของในไทยขาดตลาด แถมเมืองจีนก็โรคระบาดหนัก โรงงานปิดผลิตไม่ได้ ยิ่งทำให้ไม่มีของ นาทีนั้นใครมีของใว้ใน Stock นี่ถือว่าเป็นพระเอกมากๆ เรียกราคาได้ พอเมืองจีนเริ่มกลับมาผลิตได้ ราคาก็ถีบตัวขึ้นไปแพงมากๆ จนจับต้องแทบไม่ไหว คนขายใจร้ายบางรายก็ดันไปเอา Infrared Thermometer ของปลอมแบบที่ใช้วงจรสุ่ม Random ตัวเลขอุณหภูมิหลอกๆ มาขาย ตามที่เป็นข่าวในสื่อต่างๆ มีผู้ที่หลงซื้อไปด้วยความไม่รู้ก็หลายราย  

        ผมนี้โชคดี การทำงานที่ผ่านมาของผม ทำให้ได้คลุกคลี ทั้งวงการเครื่องมืออุตสาหกรรม วงการเครื่องมือแพทย์ วงการรักษาความปลอดภัย และงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ก็เลยพอจะมีความรู้ในสิ่งที่มันเกี่ยวเนื่องกัน…วันนี้ก็เลยจะมาเล่าให้ฟังแบบง่ายๆ แบบชาวบ้านๆ ถึงเรื่องเครื่องวัดอุณหภูมิ Non Contact Infrared Thermometer และตัว IR Infrared Thermometer ที่เราเอามาใช้วัดไข้ คัดกรองผู้อาจติดเชื้อ COVID-19 ตัวร้อนเป็นไข้ กันอยู่ครับ

        เครื่องวัดอุณหภูมิที่เราเห็น และนำมาวัดไข้กันทุกวันนี้มันมีหลากหลายแบบ แต่ที่มีคนซื้อหามาใช้กันมากๆ มันมีอยู่ 2 แบบ แต่ด้วยความตระหนกตกใจที่เกิดจากการระบาดของโรครอบแรก เลยแห่ไปซื้อกันมาใช้ ก็ไม่รู้ว่าแบบที่ซื้อมามันถูกหลักการทำงานหรือเปล่า มันควรเอามาวัดไข้กันจริงๆ ใช่มั้ย ?  เอาละ การระบาดรอบใหม่ จะเกิดขึ้นหรือเปล่าไม่รู้ เผื่อว่าท่านผู้อ่าน อาจจะใช้ความรู้ที่ได้จากบทความนี้ ไปพิจารณาเลือกใช้เครื่องวัดอุณหภูมิได้ถูกต้องครับ

K3 Non Contact Infrared Thermometer ใช้วัดอุณหภูมิร่างกาย ทางฝ่ามือ และหน้าผาก (การวัดอุณหภูมิที่ดีควรวัดที่หน้าผาก)

       หลักการทำงานของเครื่องวัดอุณหภูมิ ถ้าเป็นชนิดมือถืออันเล็กๆ สีขาว ขอบสีฟ้า ขอบสีชมพู ขอบสีเขียว แบบที่เราเห็นกันบ่อยๆ ในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 รอบแรก ไอ้แบบที่พนักงานเซเว่น อีเลฟเว่น ใช้จ่อหน้าผากเราก่อนเข้าร้าน หรือ เครื่องวัดอุณหภูมิแบบด้ามเหลืองๆ หรือตัวเหลืองขอบดำ หรือตัวสีดำๆ แบบที่พวกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ทั้ง 2 แบบนี้ใช้หลักการทำงานเดียวกัน โดยใช้ระบบตรวจจับ นับค่าปริมาณรังสีอินฟราเรดที่แผ่ออกมาจากวัตถุ ครับ

ทีนี้เรามาดูรูปลักษณ์ ที่จริงเขาก็ผลิตแยกมาให้เห็นความแตกต่างชัดเจนครับ ตามภาพ

Non Contact Infrared Thermometer เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้

       เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก (Infrared Non Contact Thermometer) แบบตัว สีขาวขอบฟ้า หรือขอบม่วง ฯลฯ อันนี้แหละใช้งานทางการแพทย์ ใช้วัดไข้ เมื่อเอามาวัดอุณหภูมิที่หน้าผาก เครื่องจะวัดได้อุณหภูมิแกนกลางร่างกาย และเครื่องจะมีระบบคำนวณสมการ สามารถแยกแยะได้ ไม่ว่าจะวัดอุณหภูมิร่างกายขณะอยู่ในห้องแอร์ หรือนอกห้องแอร์ มันสามารถคำนวณให้ได้ (แต่อย่าไปวัดกลางแจ้งนะ เพราะระบบคำนวณมันจะเอ๋อๆ เพี้ยนๆได้) การใช้งานก็แค่เอาไปจ่อหน้าผากใกล้ๆ แล้วบีบปุ่มกดทีด้าม โดยเครื่องจะล็อคค่า Emissivity* การตรวจวัด ไว้ให้เหมาะสมกับคน ที่ 0.98 + – 0.02 และมีค่าความคลาดเคลื่อนของอุณหภูมิไม่เกิน + – 0.3 องศาเซลเซียส สามารถตั้งค่าการวัดอุณหภูมิ ได้ที่ช่วง 30 – 40 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าหากตรวจพบผู้ตัวร้อนเกินช่วงอุณหภูมิที่กำหนดตั้งค่าไว้ เช่นตั้งไว้ 37.5 องศาเซลเซียส ถ้าเครื่องตรวจพบผู้ที่อุณหภูมิสูงกว่าที่ตั้งไว้มันก็จะร้องเตือน และมีแสงสีกระพริบที่หน้าจอแสดงผล (การใช้งานควรหยุดพักเครื่องบ้าง ถ้าใช้งานถี่ๆ หนักๆ ระบบเครื่องอาจจะเอ๋อๆ ได้)

*Emissivity คือ ความสามารถในการสะท้อน รังสีอินฟราเรดของวัตถุ โดยผิวหนังมนุษย์จะมีค่า Emissivity = 0.98

Infrared Thermometer กับ Infrared Thermal Camera มันคนละอย่างกันนะ

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดสำหรับอุตสาหกรรม (Infrared Thermometer IR) แบบตัวสีเหลืองๆ หรือเหลืองปนดำ หรือตัวสีดำๆ บางตัวก็ตัวเล็กๆ บางตัวมันก็จะใหญ่ๆหน่อย ตัวแบบนี้ราคาแพงมากๆ ด้วยนะ มันเหมาะสำหรับงานใช้วัด วัสดุพื้นผิวด้านอุตสาหกรรม หรือไว้ส่องความร้อนของเครื่องจักร มอเตอร์ หรือเพลาขับ ที่กำลังหมุน ที่กำลังทำงานแล้วอาจเกิดความร้อน เครื่องแบบนี้สามารถวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ – 20 องศาเซลเซียส ไปจนถึง 300 องศาเซลเซียส ในตอนนั้นที่โรค COVID-19 ระบาดรอบแรก ตัวเครื่องวัดอุณหภูมิแบบ Non Contact Thermometer ทางการแพทย์ขาดตลาด  ก็มีหน่วยงาน และอาคารสำนักงาน ห้างร้านจำนวนมาก ได้ซื้อเครื่อง IR In frared Thermometer แบบนี้ นำไปใช้วัดไข้แก้ขัด แบบขอให้มีใช้ตามมาตรการป้องกันฯ ไปก่อน อันที่จริงผิดครับ มันใช้วัดอุณหภูมิผิวหนังได้ก็จริง แต่มันใช้วัดไข้ไม่ได้ครับ ค่าความคลาดเคลื่อนมันเยอะ ถ้ามีไข้มันบอกไม่ได้นะครับ เอาเครื่องแบบนี้ไปใช้วัดในห้องแอร์แบบที่ห้างดังกลางกรุงใช้อยู่ หรือจะใช้วัดนอกห้องแอร์ มันก็วัดให้ได้ทั้งนั้นแหละครับ แต่มันเพี้ยนเยอะ มันไม่แม่นยำ เครื่องแบบนี้ เอามาใช้วัดห่างๆ หน้าผากก็ยังไดครับ บางสถานที่ใช้ไอ้เครื่องสีเหลืองตัวใหญ่ๆ หรือสีดำตัวใหญ่ๆ ที่ใช้ตั้งบน Tripod 3 ขา ตั้งส่องคนเดินเข้าห้างเลยก็มี เครื่องแบบนี้ มันมีเลเซอร์กะระยะ ยิงออกไปด้วยนะ เล็งยิงส่องนำทางไปที่จุดที่ต้องการวัดอุณหภูมิได้เลย (แต่มันไม่ควรมาใช้กับคน) เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดสำหรับอุตสาหกรรมนี้ สามารถตั้งค่า Emissivity ได้ตั้งแต่ 0.10-1.00 ซึ่งนั่นทำให้สามารถใช้วัดวัสดุได้หลายอย่าง แต่มันจะไม่มีความละเอียด มันมีค่าความคลาดเคลื่อนของอุณหภูมิ ถึง + – 2 องศาเซลเซียส (คลาดเคลื่อนเยอะมาก ไม่แม่นยำแบบนี้วัดไข้ไม่เจอแน่นอน) และในการใช้เครื่อง Infrared Thermometer แบบใช้ในอุตสาหกรรมนี้ ส่องหน้าผาก แล้วพบว่ามีผู้อุณหภูมิสูงเกินกว่าที่กำหนด เครื่องแบบนี้มันก็ไม่ได้แจ้งร้องเตือนอะไรนะครับ ผู้ใชงานต้องคอยดูหน้าจอ ดูตัวเลขอุณหภูมิเอาเอง (ก็เพราะมันไม่ได้ออกแบบมาให้ใช้วัดไข้นี่นา) แต่ข้อดีของมันคือตัวเครื่องมันอึด ถึก ทนมากๆ ครับ เพราะมันเป็นเครื่องเกรดอุตสาหกรรม มันทน มันอึด ใช้งานทั้งวันก็ไม่เป็นไร

ได้อ่านมาจนจบถึงตรงนี้แล้ว ทีนี้เราก็ต้องมาเลือกใช้เครื่องมือให้ถูกต้องกันล่ะครับ

การวัดไข้ที่จะให้แม่นยำถูกต้อง เราก็ควรเลือกใช้เครื่องมือให้ถูกกับงาน ไม่เช่นนั้นเราก็อาจจะไม่รู้ว่า คนที่เดินเข้ามาให้ยิงหน้าผาก มีไข้ หรือ ไม่สบายรึปล่าว

(ในวันหน้า ผมจะมาเล่าเรื่องความแตกต่าง ระหว่าง Infrared Thermal Thermometer กับ Infrared Thermal Camera อีกทีครับ)

กัมปนาถ ศรีสุวรรณ (4/09/2563)

บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Hotline : 097-1524554 id Line: Lphotline

Office : 02-9294345 Fax. 02-9294346

email : LPCentermail@gmail.com

ส่งมอบและแนะนำการใช้งาน K3 Non Contact Thermometer สินค้ารับประกัน 1 ปี และสามารถออกใบกำกับภาษีได้
เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศด้วยแสงรังสี UV-C ” Philips ” รุ่น Upper Air Ceiling Type ติดตั้งในร้านกาแฟ
Posted on

เครื่องฟอกอากาศแบบ Electrostatic (Electronic Collecting Cell) คืออะไร

หมายเหตุ: เครื่องฟอกอากาศระบบ Elec­tro­sta­tic (Electrostatic Precipitator ESP) หรือที่เรียกว่าการทำงานด้วยระบบ Electronic Collecting Cell เป็นครุภัณฑ์ ที่มีข้อกำหนดและคุณสมบัติ บรรจุอยู่ในบัญชีครุภัณฑ์ ราชการ

ระบบฟิลเตอร์กรองอากาส Electronic Collecting Cell หรือ Electrostatic Precipitator (ESP)

เป็นระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมานานแล้ว ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นระบบ HEPA FILTER ในปัจจุบัน

รูปตัวอย่างเครื่องฟอกอากาศระบบ Electronic Collecting Cell แบบใส้กรอง Filter ถอดล้างได้ รุ่น KJ600D-X10

เครื่องฟอกอากาศ แบบ Electrostatic Precipitator (ESP) Filter หรือที่เรียกอีกแบบนึงว่า Electronic Collecting Cell เป็นระบบกรองอากาศที่ทำงานโดยใช้หลักไฟฟ้าสถิต ด้วยการปล่อยประจุไฟฟ้าลบ ออกมาจับฝุ่นละอองหรืออนุภาคขนาดเล็กที่เป็นประจุบวกให้เป็นกลุ่มก้อน เพื่อทำให้มีน้ำหนักมากขึ้นแล้วตกลงสู่พื้น ไม่ลอยฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ และ เป็นระบบฟอกอากาศ ที่ไส้กรองสามารถถอดล้างทำความสะอาดได้บ่อยครั้งตามที่ต้องการ จึงไม่เป็นที่สะสมของสิ่งสกปรกและเชื้อโรค อีกทั้งยังช่วยประหยัดวัสดุสิ้นเปลืองช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยน Filter อีกด้วย จึงได้รับการขึ้นบัญชีจากกรมบัญชีกลาง เป็นครุภัณฑ์ ระบบเครื่องฟอกอากาศ สำหรับติดตั้งใช้งานในหน่วยงานราชการ อาคารสำนักงาน สถานพยาบาล ศูนย์บริการสุขภาพ และโรงพยาบาลต่างๆ ของรัฐฯ มานาน

* แต่ในปัจจุบัน ในประเทศไทยเรา มีทั้งภาวะฝุ่นพิษ PM2.5 และโรคระบบทางทางเดินหายใจ เช่น โรค Covid-19 เกิดขึ้น เครื่องฟอกอากาศที่ใช้ระบบกรองแบบ Electronic Collecting Cell หรือ ESP ไม่สามารถป้องกันได้ จึงต้องมีการเพิ่มชุดกรองอากาศแบบ H13 HEPA Filter ซึ่งมีความละเอียดในการกรองฝุ่น PM2.5 และเชื้อไวรัส ได้ดี เข้ามาในชุดระบบกรองอากาศ

** เพิ่มเติม 2564 – ปัจจุบัน ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดแบบปรับปรุงห้องทันตกรรมปลอดเชื้อ, ห้องแรงดันลบ, ห้องแยกโรค, หอผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ COHORT WARD, ห้องผ่าตัด (OR) ให้ใช้เครื่องฟอกอากาศที่เป็นระบบกรองอากาศแบบ H13 HEPA Filter แต่เพียงอย่างเดียว (ไม่มีการใช้ระบบ ESP)

ต่อไปนี้ ขอเชิญ มาเริ่มต้น ความปวดหัวกับบทความวิชาการ ที่ผมลอกเขามามั่ง เติมเสริมเพิ่มเองมั่ง กันครับ

หลักการทำงานของเครื่องฟอกอากาศ แบบใส้กรองถอดล้างทำความสะอาดได้ Electrostatic Precipitator (ESP)

เครื่องฟอกอากาศ แบบ Electronic Collecting Cell (ESP) แบบเคลื่อนย้ายได้ในรุ่นแรกๆ ชนิดไม่มี ชุดกรอง H13 HEPA Filter ช่วย

ระบบ Electrostatic Precipitator (ESP) คืออะไร ในเครื่องฟอกอากาศ

Electrostatic Precipitator (ESP) เป็นระบบดักจักฝุ่นละอองที่ใช้แรงไฟฟ้าสถิต (Electrostatic forces) ประกอบด้วยเส้นลวดประจุลบ และแผ่นเพลตโลหะประจุบวก เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับศักย์ไฟฟ้าแรงสูงจะทำให้อากาศที่อยู่ระหว่างแผ่นเพลตโลหะและเส้นลวดเกิดการแตกตัว (Ionization) เมื่ออากาศหรือแก๊สที่ประกอบด้วยละอองลอย ฝุ่นละออง เคลื่อนที่ผ่านอนุภาคจะแตกตัวเป็นไอออน อนุภาคที่แตกตัวจะถูกดักจับติดกับแผ่นเพลตโลหะด้วยแรงทางไฟฟ้า ที่เรียกว่า แรงคูลอมบ์ จึงทำให้อากาศที่ผ่านระบบนี้ออกมาเป็นอากาศบริสุทธิ์  ซึ่งหลักการนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับระบบดักจับฝุ่นละอองในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และรวมถึงการนำประยุกต์ใช้กับเครื่องฟอกอากาศขนาดเล็กภายในบ้าน สำนักงาน หรือโรงพยาบาล ต่างๆ (ตัวอย่างเช่นเครื่องฟอกอากาศหน้าห้องพักคอย รอเข้าห้อง X-Ray ที่ตึกสิรินธร โรงพยาบาลราชวิถี ที่เป็นเครื่องที่เก่า มากกกกกกก ถึงมากที่สุด)

รูปแสดงหลักการทำงานของระบบ Electrostatic (Credit www.hitachi-infra.com.sg)

จากระบบที่กล่าวมานั้น Electrostatic Precipitator (ESP) เป็นระบบที่ใช้ศักย์ไฟฟ้าแรงสูง และดักจับฝุ่นละอองด้วยแรงคูลอมบ์ ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับแก๊สประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นละอองแต่ละขนาดก็จะแตกต่างกัน มีปัจจัยขึ้นอยู่กับความเข้มของศักย์ไฟฟ้าระหว่างแผ่นเพลตโลหะและเส้นลวด  และเวลาของอนุภาคที่เคลื่อนที่ผ่านสนามไฟฟ้า

สำหรับในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

เครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต Electrostatic Precipitator (ESP) เป็นเครื่องมือที่ใช้แรงไฟฟ้าในการแยกอนุภาค โดยใส่ประจุให้อนุภาค แล้วผ่านอนุภาคที่มีประจุเข้าไปในสนามไฟฟ้าสถิต อนุภาคจะเคลื่อนเข้าหาแผ่นเก็บที่มีศักย์ไฟฟ้าตรงข้ามกัน ESP มีประสิทธิภาพสูงมากในการดักฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน ได้มากกว่า 99.5% ความดันสูญเสียต่ำและสามารถจับก๊าซร้อนได้

หลักการทำงานของ ESP มี 3 ขั้นตอน คือ
– การใส่ประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาค
– การเก็บอนุภาคที่มีประจุโดยใช้แรงไฟฟ้าสถิตจากสนามไฟฟ้า
– การแยกอนุภาคออกจากขั้วเก็บไปยังถังเก็บพัก

รูปตัวอย่าง การล้างชุดกรอง Electronic Collecting Cell ด้วยน้ำสะอาด หลังจากที่ล้างฝุ่นสกปรกออกด้วยน้ำที่ผสมน้ำยาทำความสะอาดแล้ว

ส่วนประกอบของเครื่อง ESP มีส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน คือ

  1. ขั้วปล่อยประจุ Discharge Electrodes เป็นลักษณะเป็นเส้นลวดแผ่นหรือท่อแล้วใส่ไฟฟ้าแรงดันสูง เพื่อให้เกิดการแตกตัวเป็นอิออน (ไม่ใช่บัตร อิออนนะครับ)
  2. ขั้วเก็บ Collection Electrodes ขั้วเก็บ ส่วนใหญ่เป็นแผ่น เนื่องจากทำให้สามารถรับปริมาณของก๊าซได้มาก
  3. เครื่องแยกฝุ่น Rappers เครื่องแยกฝุ่นเอาไว้แยกฝุ่นออกจากแผ่นเก็บ (อันนี้จะมีในโรงงานอุตสาหกรรม)
  4. ถังพัก Hopper (อันนี้ก็จะมีในโรงงารอุตสาหกรรม เครื่องบ้านๆ ก็ไม่มี)

ะบบดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ (Electrostatic Precipitators (ESP) ใช้แรงไฟฟ้าในการแยก  อนุภาคออกจากกระแสก๊าซ โดยการใส่ประจุไฟฟ้าให้อนุภาค แล้วผ่านอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเข้าไปใน   สนามไฟฟ้าสถิตย์ อนุภาคเหล่านี จะเคลื่อนที่เข้าหาและถูกเก็บบนแผ่นเก็บซึ่งมีศักย์ไฟฟ้าตรงกันข้าม

อนุภาค ESP มีประสิทธิภาพสูงในการเก็บอนุภาคฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน โดยทั่วไปมีประสิทธิภาพ  99.5 % หรือสูงกว่า ปัจจุบัน ESP ถูกใช้เป็นระบบบำบัดมลพิษอากาศในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย  เช่น โรงไฟฟ้า โรงหล่อหลอมเหล็ก โรงปูนซีเมนต์ โรงงานผลิตสารเคมี

เครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต Electrostatic Precipitator(ESP) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ดักจับฝุ่น โดยอาศัยแรงทางไฟฟ้าในการ แยกฝุ่นออกจากอากาศ การทำงานประกอบด้วยขั้วที่ให้ประจุลบ (discharge electrode )กับอนุภาคฝุ่น ฝุ่นก็จะวิ่งเข้าไปเกาะที่แผ่นเก็บฝุ่น (Collecting plate) ซึ่งมีขั้วบวก และต่อลงกราวน์ไว้ทำหน้าที่จับและเก็บฝุ่นไว้เมื่อฝุ่นเกาะหนาได้ระดับหนึ่งแล้ว (6-12 มม.) ก็จะถูกเคาะให้ร่วงลงมาในฮอปเปอร์ ลำเลียงออกไปจากตัวเครื่อง มีขั้น ตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การใส่ประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาค (Particle charging) โดยขั้ว discharge electrodes จะปล่อยไฟฟ้า กระแสตรง (Direct Current) ที่มีค่าความต่างศักย์สูง (20-110 kV) ทำให้โมเลกุลของกระแสอากาศที่อยู่ รอบๆเกิดการแตกตัวเป็นอิออน (ions) และถูกอิเลคตรอนหรือประจุลบบริเวณขั้วปล่อยประจุ จะเกิดปรากฎการณ์เป็นแสงสีน้ำเงินสว่างบริเวณรอบๆขั้ว ที่เรียกว่า โคโรนา (corona) เมื่ออนุภาคเคลื่อนที่ เข้ามาสนามไฟฟ้าจะถูกอิออนลบ ของโมเลกุลอากาศจำนวนมากชน ทำให้อนุภาคมีประจุเป็นลบ

รูปแสดงขั้นตอนที่ 1 ของกระบวนการ Electrostatic Precipitator ในระบบ Cell

ขั้นตอนที่ 2 การเก็บอนุภาคที่มีประจุโดยใช้แรงไฟฟ้าสถิตย์ จากสนามไฟฟ้า (Electrostatic collection) เป็น ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น ภายหลังจากอนุภาคที่มีประจุเป็นลบแล้ว ได้เคลื่อนที่ผ่านเข้ามาในไฟฟ้า และจะถูกเหนี่ยวน้าให้เคลื่อนที่เข้าหาขั้วเก็บ ที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก และเกาะติดอยู่กับแผ่นเก็บ ความเร็วของอนุภาคที่วื่งเข้าแผ่นเก็บประจุฯ ความเร็วนี ถูกเรียกว่า Migration Velocity ซึ่งขึ้นกับแรงดันไฟฟ้าที่กระท้าต่ออนุภาคและแรงฉุดลาก (drag force) ที่เกิดขึ้นในขณะที่อนุภาค เคลื่อนที่ไปยังขั้วเก็บประจุฯ นอกจากนี้ เมื่ออนุภาคเกาะติดกับขั้วเก็บประจุฯ แล้วจะค่อยๆ ถ่ายเทประจุลบสู่ขั้วเก็บ ท้าให้แรงดึงดูดทางไฟฟ้า ระหว่าง อนุภาคกับขั้วเก็บลดลงอย่างไรก็ตามการที่อนุภาคจะหลุดจากขั้วเก็บ หรือเกิดการฟุ้งกลับ ( Re-Entrainment ) ของอนุภาคที่เกิดจากการไหลของกระแสอากาศจะค่อนข้างน้อย เนื่องจากมีการทับถม หรือเกิดการ สะสมของอนุภาคที่มีประจุบนขั้วเก็บ จึงกล่าวได้ว่าขณะที่อนุภาคที่ยึดเกาะกับขั้วเก็บเสียประจุ ฯ ไปเกือบหมด อนุภาคใหม่ที่อยู่ด้านนอกที่เข้ามายึดเกาะนั้นจะยังคงมีประจุไฟฟ้าอยู่ เนื่องจากไม่อาจถ่ายเทประจุฯ ผ่านชั้นของอนุภาคเก่าที่สะสมอยู่ได้ทันที รวมทั้งในการยึดเกาะจะเกิดแรงยึดเหนี่ยว ระหว่างโมเลกุลที่เรียกว่าแรง Adhesive และแรง Cohesive ช่วยในการยึดอนุภาคทั้งหมดให้อยู่กับ ขั้วเก็บ โดยขั้นตอนของการใส่ประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาคและการเก็บอนุภาคที่มีประจุดังรูป

รูปแสดงขั้นตอนที่ 2 การเก็บอนุภาคที่มีประจุโดยใช้แรงไฟฟ้าสถิตย์

เริ่มมึนๆ งงๆ กันแล้วใช่มั้ยครับ สั้นๆ อย่างงี้แล้วกัน

สรุปใจความได้ว่า เครื่องฟอกอากาศ แบบ Electronic Collecting Cell หรือ Electrostatic Precipitator (ESP) นั้นคือ ของดีที่มีมานานหลายสิบปีแล้ว ในสมัยนั้นหน่วยงานรัฐยอมซื้อในราคาที่แพงในตอนแรก เพราะมองถึงความประหยัดระยะยาว เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยน Filter เพราะในสมัยก่อนนั้นระบบ ESP ก็เพียงพอสามารถฟอกอากาศได้สะอาด และตัว Filer เอง เป็นแบบถอดล้างได้ ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายระยะยาว

แต่ในชีวิตความเป็นจริง โลกมันเปลี่ยนไป มีฝุ่น PM2.5 และ เชื้อโรค เชื้อไวรัสเกิดขึ้นมาก ระบบ ESP Filter อย่างเดียวไม่สามารถทำงานปกป้อง ครอบคลุมท่านได้ อย่างน้อยต้องมี HEPA Filter มาช่วยเสริม และที่ดีที่สุดคือ มีระบบรังสี UV-C ฆ่าเชื้อโรค เข้ามาติดตั้งร่วมด้วย จึงจะป้องกันฝุ่นและเชื้อโรคได้ ดังเช่นที่ใด้เห็นในเครื่องฟอกอากาศรุ่นใหม่ๆ ตามด้านล่างนี้

บริการบำรุงรักษา และล้างทำความสะอาดเครื่องฟอกอากาศระบบ Electronic Collecting Cell (ESP)

ติดต่อสอบถามได้ที่ คุณกัมปนาถ บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Hotline Tel. 097-1524554

id Line: Lphotline

Office : 02-9294345 -6

e-mail: LPCentermail@gmail.com