Posted on

ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศ ตรงไหน ?

ท่านที่ซื้อๆ เครื่องฟอกอากาศไปใช้ในบ้าน ในออฟฟิศ ในหน่วยงานราชการ ท่านซื้อไปแล้ว ท่านรู้กันแล้วยังครับว่าไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศตรงไหน? แล้วควรจะวางเครื่องฟอกอากาศตรงไหน ถึงจะดี ? วันนี้ผมมีเคล็ดลับมาบอกครับ ก่อนอื่นเรามารู้จักลักษณะการดูดอากาศร้าย และการฟอกอากาศดีปล่อยออกมา ของระบบเครื่องฟอกอากาศก่อนนะครับ

โดยส่วนใหญ่แล้ว เครื่องฟอกอากาศทั่วไป การทำงานของเครื่อง จะดูดอากาศสกปรกหรืออากาศปกติที่มีฝุ่นในห้อง โดยการดูดเข้ามาจากทางด้านหลังของเครื่อง หรือดูดจากทางด้านล่างของเครื่อง แล้วนำไปผ่านใส้กรองฟิลเตอร์ ตามระบบของเครื่องแต่ละรุ่น จากนั้นก็จะพ่น ปล่อยอากาศสะอาดออกมาทางด้านบนของเครื่อง หรือเครื่องบางรุ่นก็มีทางดูดอากาศสกปรกเข้ามาทั้งทางด้านหน้า และด้านหลังเครื่อง แล้วก็ปล่อยอากาศสะอาดออกมาทางด้านบนเครื่อง และก็มีที่เป็นเครื่องฟอกอากาศตามบัญชีครุภัณฑ์ราชการ ที่ติดตั้งบนฝ้าเพดาน หรือติดฝาผนัง ที่เป็นเครื่องฟอกอากาศระบบ Electronic Collecting Cell อันนี้จะเป็นแบบที่ดูดอากาศสกปรกเข้าทางหน้าเครื่อง แล้วปล่อยอากาศสะอาดออกมาทางช่องข้างๆ รอบตัวเครื่อง และก็แบบพิเศษไปเลยก็เครื่องฟอกอากาศในห้องผ่าตัดที่เป็นการฟอกอากาศไหลเวียนแบบ LAMINA Flow (อันนี้เริ่มลึกๆ ทางวิศวกรรมระบบปรับอากาศ หากมีข้อสงสัยใว้ค่อยโทรถามกันดีกว่า) แล้วก็อันล่าสุดเป็นเครื่องฟอกอากาศแบบควบคุมเชื้อโรค แบบที่ใช้กันในห้องทันกรรมปลอดเชื้อ ห้องแยกโรค COHORT WARD อันนี้ลักษณะการดูด และจ่ายอากาศจะเป็นดูดเข้าทางหัว แล้วปล่อยออกทางท้ายเครื่อง โดยไม่มีอากาศสกปรกที่เข้าสู่ะบบไหลเวียนในช่วงผ่าน Filter กรองอากาศ รั่วออกมาสู่ภายนอกเลย (อันนี้ก็ลึกเข้าไปในงานติดตั้งอีกขั้นนึง หากมีข้อสงสัย ใว้ค่อยโทรมาถามกันดีกว่าครับ)

รูปตัวอย่าง ตำแหน่งการวางเครื่องฟอกอากาศ ที่เหมาะสม

การตั้งเครื่องฟอกอากาศก็สำคัญครับ เราควรตั้งเครื่องฟอกอากาศห่างจากผนังหรือสิ่งกีดขวางทางดูดอากาศสกปรก หรือทางเดินลม อย่างน้อย 10 Cm. โดยเฉพาะไอ้เครื่องฟอกอากาศที่ดูดอากาศสกปรกเข้าทางด้านหลังเครื่องเนี่ย สำคัญเลย เพราะถ้าเราวางเครื่องฟอกอากาศติดผนังมากเกินไป นอกจากอากาศที่จะดูดเข้าไปฟอกในเครื่องเดินทางไม่สะดวกแล้ว ฝาผนังด้านนั้นจะเกิดคราบฝุ่นจากการที่เครื่องฟอกอากาศดูดอากาศสกปรกมาปะทะฝาผนังสะสมเป็นเวลานานๆ อีกด้วย

ร่ายยาวมา 3 ย่อหน้ายังไม่มาถึง เรื่องจุดวางเครื่องฟอกอากาศ วางตรงไหนดี สักที คุณกัมปนาถถถถถถถ อะไรครับเนี่ยยย !!

เอ้า ! เริ่มเลยก็ได้ >>>>

  • ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศใว้ใต้แอร์ ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศใว้ใต้แอร์ เพราะแอร์มันมีแรงในการดูดอากาศมากกว่าเครื่องฟอกอากาศ ถ้าเราวางเครื่องฟอกอากาศใว้ใต้แอร์ ก็จะทำให้กลายเป็นการรวมพลัง x 2 ในการดูดอากาศสกปรกที่มีฝุ่นมารวมกันใว้ที่ใต้แอร์ แล้วเครื่องฟอกอากาศมันแรงน้อยกว่าแอร์ ก็ดูดไม่ทันแอร์ ทำให้อากาศที่ยังไม่ได้ฟอก ก็โดนพลังดูดของแอร์เข้าไปผ่านคอยล์เย็น กลายเป็นอากาศสกปรกที่เย็น กระจายฟุ้งไปทั่วทั้งห้องซะงั้น ลองหลับตานึกภาพดูซิครับ ดังนั้นเราควรวางเครื่องฟอกอากาศใว้ตรงข้ามกับแอร์ จึงจะดี
    • ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศวางหน้าห้องน้ำ ทำไมเหรอ ? ก็ห้องน้ำมันชื้นตลอดเวลา บางท่านอยากจะให้อากาศที่ออกมาจากห้องน้ำเป็นอากาศบริสุทธิ์ เหมือนอากาศที่ไปวิ่งเล่นในทุ่งลาเวนเดอร์ แต่ท่านคิดผิดครับท่าน !! เพราะว่าเครื่องฟอกอากาศมันจะดูดความชื้นในห้องน้ำออกมาปล่อยในห้องนั่งเล่น ห้องนอน ท่านซะเปล่าๆ ทำไปทำมากลายเป็นท่านสร้างแหล่งเพาะเชื้อราขึ้นมาในห้อง พาป่วยซะเปล่าๆ ไปหาที่ตรงอื่นวางเครื่องฟอกอากาศดีกว่าครับ
    • อันนี้สำคัญเลย ถ้าเป็นห้องนอน ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศใว้ที่หัวเตียงนอน เพราะเครื่องฟอกอากาศจะดูดอากาศสกปรกที่มีฝุ่น ผ่านตัวเราข้ามหัวเราไปเลย กลับกลายเป็นว่าเรานอนสูดดมฝุ่นเข้าปอดขณะนอนหลับตลอดทั้งคืน แล้วก็เครื่องอยู่ใกล้หัว ใกล้หูเรา เสียงการทำงานของเครื่องอาจจะรบกวนการนอนหลับของเรา ทำให้หลับไม่สนิท หาที่วางตรงอื่นดีกว่าครับ
    • ไม่ควรวางเครื่องฟอกอากาศใว้ตรงบริเวณโต๊ะเครื่องแป้ง โต๊ะแต่งหน้า ทำไมเหรอ ก็เพราะเวลาท่านแต่งหน้า ทาแป้ง แล้ว Sensor เครื่องฟอกอากาศมันตรวจจับได้ว่าแป้งเป็นฝุ่น กลิ่นน้ำหอม มันมองว่าเป็นก๊าซสกปรก เครื่องฟอกอากาศที่มีระบบ Auto มันก็จะเร่งเครื่องเองทันที เพื่อเร่งดูดเอาแป้ง และกลิ่นที่มันคิดว่าเป็นก๊าซสกปรก มาฟอกอย่างรวดเร็ว อันนี้จะทำให้ฟิลเตอร์ของเครื่องฯ ตันเร็ว เสื่อมสภาพเร็วขึ้นครับ
    • ข้อควรทำ ควรบำรุงรักษา เปลี่ยนแผ่นกรองฟิลเตอร์ของเครื่องฟอกอากาศตามเวลาที่กำหนด หรือให้สังเกตดูสัญลักษณ์แจ้งเตือนการเปลี่ยนฟิลเตอร์ หรือให้ทำความสะอาดฟิลเตอร์ (กรณีที่เป็น ESP Filter) ที่แสดงขึ้นที่หน้าจอเครื่องฯ (เครื่องบางรุ่นที่ราคาถูกๆ อาจไม่มีระบบแจ้งเตือน ก็ต้องคอยสังเกตลมสะอาดที่ออกมาเอาเอง ว่าแผ่วเบาหรือเปล่า หรือเปิดดูฟิลเตอร์ว่าดำปิ๊ดปี๋ แล้วหรือยัง) แต่ผมบอกได้เลยสภาพอากาศฝุ่นมากแบบนี้ 6 เดือนเปลี่ยนฟิลเตอร์ทีนึงเหอะเพราะที่ติดมากะเครื่องน่ะบางคนใช้มาเป็นปีๆ ไม่ยอมเปลี่ยนกะว่าใช้ให้เครื่องพัง ฟิลเตอร์ดำปี๋ ผมละเป็นห่วงปอดท่านจริงๆ
บริการ service ล้างทำความสะอาด เครื่องฟอกอากาศ ระบบ Electronic Collecting Cell ตามบัญชีครุภัณฑ์ ราชการ

หากมีสิ่งใดสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อ คุณกัมปนาถ  HotLine : 097-1524554 

 Line id : Lphotline

บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

Office Tel. 029294345-6

email : LPCentermail@gmail.com

facebook: http://fb.me/Lifeprotect.co.th

http://www.Lifeprotect.co.th

Posted on

การใช้ รังสี UVC (UVGI) ฆ่าเชื้อโรคในระบบแอร์รวม

หลักการเบื้องต้น ในการทำระบบฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UVC ที่หน้า AHU ของระบบแอร์รวม ในอาคาร

การนำหลอด UVC ฆ่าเชื้อโรค มาใช้กับ AHU เพื่อใช้ฆ่าเชื้อโรคให้กับระบบฯ นั้น  โดย Concept คือ การทำให้ไม่เกิดการสะสม ของเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส  เชื้อรา ต่างๆ ที่อาจล่องลอยมากับอากาศไหลกลับ (Return Air) ซึ่งเมื่ออากาศไหลกลับนั้น มาเจอกับช่วงคอยล์ที่มีอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสูง รวมกับลักษณะของพื้นที่เอง ก็มีคุณสมบัติที่สามารถให้เชื้อโรค มาเกาะติดสะสมและเติบโตได้ เมื่อเวลาผ่านไปจนมีปริมาณได้ระดับนึง ก็กลายเป็นว่า คอยล์เย็นนั้น ได้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และเป็นแผงเติมเชื้อโรคให้กับอากาศที่ผ่านคอยล์เย็น และส่งต่อไปยังห้องต่างๆ ทั่วอาคารซะเอง

การทำความสะอาดแผงคอยล์เย็น โดยปกติแต่ละอาคารสถานที่ จะมีวงรอบการทำความสะอาดอยู่ประมาณ 2 ครั้งต่อปี หรือบางอาคารที่มีการทำสัญญา Preventive Maintenance (PM) ก็อาจจะมีการทำ SLA (Service Level Agreement) การทำความสะอาดบำรุงรักษากันตามแต่ตกลง ก็จะสามารถลดการสะสมของเชื้อโรค และเมือกหน้าคอยล์ได้ตามปกติอยู่แล้ว แต่..ถ้าหากมีการติดตั้งหลอด UVC ดังกล่าวที่บริเวณคอยล์ด้านเปียก ก็จะสามารถลด หรือไม่เกิดการสะสมเชื้อต่างๆ ดังกล่าวได้เลย  ส่งผลให้อากาศไหลกลับที่ผ่านคอยล์เปียกเข้ามาในระบบท่อส่งลมเย็นนั้น มีความสะอาดตลอดระยะเวลาที่มันหมุนเวียนอยู่ในระบบปรับอากาศ  ทำให้ลดจำนวนรอบการทำความสะอาดคอยล์ลงได้  และยังส่งผลให้การใช้พลังงานลดลงเนื่องจากคอยล์ มีการแลกเปลี่ยนอุณหภูมิที่ดีขึ้น

โดยปกติการแลกเปลี่ยนความร้อนที่คอยล์กับอากาศที่ไหลผ่าน จะมีค่าประสิทธิภาพลดลงตามระยะเวลาการใช้งาน (กรณีที่ยังไม่มี UVC) เนื่องจากมีการสะสมของสิ่งอุดตันต่างๆ  หากพิจารณาสภาพการใช้งาน อาจสังเกตง่ายๆ ได้จากการที่เมื่อใช้งานระบบปรับอากาศไประยะหนึ่ง ฝ่ายอาคารผู้ปฏิบัติงานอาจต้องมีการปรับอุณภูมิน้ำเย็นที่ Chiller ลดลงเพื่อให้พื้นที่ ที่เป็น Output ของระบบนั้นสามารถทำอุณหภูมิได้ตามต้องการ  นั่นแสดงให้เห็นว่าระบบปรับอากาศมีประสิทธิภาพลดลง จึงต้องเร่งเครื่องใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อให้ได้ Output เท่าเดิม (ส่วนหนึ่งก็เกิดมาจากประสิทธิภาพของคอยล์ ตามเหตุผลที่กล่าวมา ดังนั้นเมื่อมีการติดตั้งหลอด UV-C ที่หน้าแผงคอยล์เย็น ก็จะทำให้ ภาวะประสิทธิภาพของคอยล์เย็น คงที่ หรือใกล้เคียงกับตอนที่เพิ่งล้างมาใหม่ๆ อยู่ตลอดการใช้งาน เป้นการคงประสิทธิ์ภาพสูงสุดที่ตัวเครื่องทำได้ไว้อยู่ตลอดเวลาการใช้งาน  (ค่าประสิทธิภาพจะมีการเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับเครื่องระบบปรับอากาศแต่ละเครื่อง แต่ละสถานที่)

ข้อมูลลึกๆ ยกโทรศัพท์ โทรมาคุยกันดีกว่าครับ

บริการ ออกแบบ และติดตั้ง เครื่องฆ่าเชื้อ และเจอจางเชื้อในอากาศ ด้วยรังสี UVC (UVGi) แบบติดตั้งฝาผนัง และแบบติดตั้งเพดาน ตามรายละเอียดคำแนะนำของ ASHRAE EPIDEMIC TASK FORCE (Update 21 October 2021)

บริการ ออกแบบ คำนวณ และคิดสมการค่ารังสี ตามมาตรฐาน ASHRAE STANDARDS 185.1 & 185.2 ทีเป็นมาตรฐานโลก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ขอ Spec  Data Sheet หรืออื่นๆ ติดต่อคุณกัมปนาถ

Hotline : 097-1524554

id Line : Lphotline

Office Tel. 02-9294345-6

email: LPCentermail@gmail.com

www.Lifeprotect.co.th

Posted on

เครื่องวัดแก๊ส (Gas Detector) สำหรับงานในที่อับอากาศ (Confined Space)

“ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจวัด บันทึกผลการตรวจวัด และประเมินสภาพอากาศในที่อับอากาศก่อนให้ลูกจ้างเข้าไปทำงานและในระหว่างที่ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศ” ข้อความประโยคนี้ พี่น้อง Safety ทั้งหลายน่าจะเห็นกันแล้วจากกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ

เครื่องวัดแก๊สแบบ Area Monitor ผลิตภัณฑ์ Industrial Scientific

ทีนี้ผมขออนุญาต ลอกบางส่วนของกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 มาเก็บไว้อ่านกันลืมก่อน

ที่อับอากาศ (Confined Space) หมายความว่า ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดหรือไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับเป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ และ มีสภาพอันตราย หรือ มีบรรยากาศอันตราย เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะ หรือสิ่งอื่นที่มี

สภาพอันตราย” หมายความว่า สภาพหรือสภาวะที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงาน โดยมีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(1) มีวัตถุหรือวัสดุที่อาจก่อให้เกิดการจมลงของลูกจ้าง หรือทับถมลูกจ้างที่เข้าไปทำงาน

(2) มีสภาพที่อาจทำให้ลูกจ้างตก ถูกกัก หรือติดอยู่ภายใน

(3) มีสภาวะที่ลูกจ้างมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากบรรยากาศอันตราย

(4) สภาพอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายภาพหรือชีวิตที่อธิบดีประกาศกำหนด”

บรรยากาศอันตราย” หมายความว่า สภาพอากาศที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

(1) มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5 หรือมากกว่าร้อยละ 23.5 โดยปริมาตร

รูปแสดงระดับออกซิเจน ที่เหมาะสมกับการหายใจ

(2) มีก๊าซ ไอ หรือละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินร้อยละ10 ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำ ของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศ ที่อาจติดไปหรือระเบิดได้ (LFL: Lower Flammable limit หรือ LEL: lower explosive limit)

(3) มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับ หรือมากกว่าค่าความเข้มข้นต่ำสุดของฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้แต่ละชนิด (Minimum Explosible Concentration)

(4) มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานที่กำหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการฯ เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

(5) สภาวะอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตตามที่อธิบดีประกาศกำหนด”

ภาพแสดงคำจำกัดความ และความหมายของตัวอักษร

“นายจ้างจัดทำป้ายแจ้งข้อความว่า “ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า” ให้มีขนาด มองเห็นได้ชัดเจน ติดตั้งไว้โดยเปิดเผยบริเวณทางเข้าออกของที่อับอากาศทุกแห่ง สำหรับที่อับอากาศ ซึ่งต้องมีอุปกรณ์เฉพาะในการเปิดทางเข้าออก ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการควบคุมเพื่อความปลอดภัยในการเปิดทางเข้าออกและต้องติดป้ายแจ้งข้อความดังกล่าวด้วย”

ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างแหรือบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ ยกเว้นนายจ้างได้ดำเนินการให้มีความปลอดภัยตามกฎกระทรวงนี้แล้ว และลูกจ้างหรือบุคคลนั้นได้รับอนุญาตจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต และเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

เครื่องวัดแก๊ส แบบพกพารุ่น Ventis MX4 ผลิตภัณฑ์ Industrial Scientific

ห้ามนายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้าง หรือ บุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ หากนายจ้างรู้ว่าหรือควรรู้ว่าลูกจ้างหรือบุคคลนั้นเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นทีแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลนั้น

ให้นายจ้างจัดให้มีการประเมินสภาพอันตรายในที่อับอากาศ หากพบว่ามีสภาพอันตรายนายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมสภาพอันตรายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อลูกจ้าง และให้นายจ้างเก็บหลักฐานการดำเนินการไว้ ณ สถานประกอบกิจการ หรือสถานที่ทำงาน เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

ผม Copy ลอกกฎกระทรวงฯ 2562 มาเยอะแล้ว ทีนี้ มาเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ

การเลือกเครื่องวัดแก๊ส (Gas Detector) สำหรับใช้งานในที่อับอากาศ (Confined Space) กันดีกว่า

   เครื่องวัดแก๊ส Gas Detector คือ อุปกรณ์ทางด้านความปลอดภัย ใช้สำหรับตรวจสอบพื้นที่และบริเวณที่ปฏิบัติงานว่ามีสารพิษ สารไวไฟ ตลอดจนก๊าซออกซิเจน (อากาศ) ว่าอยู่นระดับที่มีความปลอดภัยเพียงพอก่อนจะเริ่มทำงานหรือไม่ และที่สำคัญที่สุด ผู้ที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ จะต้องผ่านการฝึกอบรม “การทำงานในที่อับอากาศ”

เครื่องวัดแก๊สแบบพกพา ผลิตภัณฑ์ MSA

วันนี้ เรามาดูหลักวิธีการพิจารณาเลือกเครื่องวัดแก๊สสำหรับพื้นที่อับอากาศ (Confined Space)ได้อย่างคุ้มค่าและปลอดภัยกันดีกว่า  คิดง่ายๆที่สุดเลยคือ หลักการสำคัญของการเลือกเครื่องวัดแก๊สสำหรับงานพื้นที่อับอากาศ (Confined Space) จะอยู่ที่การเลือกชนิด รูปแบบ และความสามารถของตัวเครื่องที่ครอบคลุมการวัดแก๊สชนิดต่างๆ ให้ครอบคลุมตรงกับงาน และสนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน อย่างสูงสุดนั่นเอง หลักๆ ก็มีข้อพิจารณาดังนี้

พิจารณา ในเรื่องของหัว Sensor ตรวจวัดแก๊ส  ในการประเมินบรรยากาศอันตรายตามที่กฎกระทรวงปี 2562 ในเรื่องของการบริหารจัดการความปลอดภัยสำหรับการตรวจประเมินก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ จะต้องตรวจสอบและคำนึงถึงปริมาณออกซิเจน (O2), แก๊สติดไฟ (LEL), แก๊สพิษ (Toxic) โดยแก๊สพิษส่วนใหญ่ที่จะพบได้แก่ คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ซึ่งแก๊สที่กล่าวมานี้ เป็น 4 แก๊สพื้นฐานที่พบบ่อย และควรมีไว้ในการตรวจวัดเป็นอย่างน้อย หากสามารถรวมกันอยู่ในอุปกรณ์ตัวเดียวกันได้จะทำให้การทำงานมีความสะดวกยิ่งขึ้น (เอาตรงๆ ไม่ต้องอ้อมค้อม คือ เราควรเลือกซื้อเครื่องวัดแก๊สที่มีระบบ Sensor ที่สามารถวัดได้ทั้ง 4 แก๊สพื้นฐานนี้ อยู่ในเครื่องเดียวกัน)

รูปตัวอย่าง Sensor หัววัดแก๊ส

พิจารณาในเรื่อง ความสามารถในการป้องกัน และการก่อให้เกิดประกายไฟขณะทำงาน ตัวอุปกรณ์เครื่องวัดแก๊ส เป็นอุปกรณ์ Electronic ซึ่งในขณะที่เครื่องกำลังทำงาน ก็มีความเสี่ยงอาจก่อให้เกิดประกายไฟได้ หากพื้นที่หน้างานมีไอระเหยของเชื้อเพลิง หรือสารเคมีที่มีความเสี่ยงในการระเบิดหรือติดไฟได้  ดังนั้นในการเลือกซื้อเครื่องวัดแก๊สควรเลือกตัวอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานสูง ยี่ห้อมีความน่าเชื่อถือ และมีมาตรฐานที่น่าเชื่อถือในการกันการระเบิดจากประกายไฟ แต่ที่ว่าจะสามารถกันการระเบิดได้ในระดับใด โซนใดบ้าง อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับ Specification ของอุปกรณ์ซึ่งแตกต่างตามยี่ห้อและราคา ของ Brand  และตามแต่ละประเภทของหน้างานที่เราจะนำไปใช้

เครื่องวัดแก๊สแบบพกพา ผลิตภัณฑ์ Industrial Scientific

พิจารณาเรื่อง ระบบการแจ้งเตือน และการร้องขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน (ถ้ามี)  เครื่องวัดแก๊สที่ดี ควรจะต้องมีระบบการทำงานระบบนี้ เช่นผู้ปฏิบัติงานใช้เครื่องวัดแก๊สประสบเหตุฉุกเฉินขณะทำงานโดยไม่คาดคิด เช่น มี Motion Sensor แบบประมาณว่า เครื่องมันจะรู้สึกได้ว่า เอ๊ะ! ผู้ปฏิบัติงาน ไม่กระดุกกระดิก ไม่เคลื่อนไหวตามเวลาที่กำหนด เครื่องก็จะส่งสัญญาณเตือน หรือส่งเสียงดังๆ เตือนไปยังเพื่อนร่วมงาน หรือผู้ช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องได้ หรือหากเป็นเครื่องที่มีระบบสื่อสารระยะไกล ก็จะสามารถใช้ระบบสื่อสารนั้น ร้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน หรือผู้ช่วยเหลือ ผู้ควบคุมงานที่เกี่ยวข้องได้

พิจารณาเรื่อง Option เสริม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน และเพิ่มความปลอดภัย บางสถานที่ของโรงงานไม่สามารถนำถือ หรือตัวเครื่องวัดแก๊สเข้าไปตรงจุดที่ต้องการตรวจสอบได้ เช่นอาจจะเป็นท่อ เป็นบ่อที่ลึกลงไป หรือในถังปิดขาดใหญ่ (ห้ามหย่อนเครื่องวัดแก๊สลงไปในบ่อ หรือถัง ที่อับอากาศลงไปตรงๆ เด็ดขาด) เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้มีความเสี่ยงสูงที่จะเดินเข้าไปถึงที่ อาจเกิดอันตรายได้ จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์เสริม เช่นระบบปั๊มดูดอากาศเข้ามาที่เครื่อง (ดูดอากาศจากภายนอก หรือ ใช้สายต่อพ่วง หย่อนลงไป) ซึ่ง Option อุปกรณ์เสริมเหล่านี้ ควรที่จะมีไว้เป็นการดี เป็นการช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน

รูปตัวอย่าง Air Line และ Air Probe และ อุปกรณ์เสริมต่างๆ สำหรับต่อเข้ากับเครื่องวัดแก๊ส เพื่อใช้ในพื้นที่เสี่ยง

พิจารณาเรื่อง การสอบเทียบมาตรฐานอุปกรณ์ (Calibration) เครื่องมือวัดที่ดีทุกชนิด ควรมีการสอบเทียบ (Calibration) และมีการรับรองการสอบเทียบอุปกรณ์อยู่เสมอตามวงรอบการ Calibrate การใช้เครื่องมือที่ไม่มีการสอบเทียบ ไม่ต่างอะไรกับการถือระเบิดเวลา (แนะนำให้มีการสอบเทียบเครื่องมือ เดือนละ 1 ครั้ง) เครื่องวัดแก๊สมีความสำคัญอย่างยิ่ง ผู้ปฏิบัติงานไม่ควรใช้เครื่องวัดแก๊สที่ขาดการบำรุงรักษา หรือมีความเสี่ยงว่าอาจจะชำรุด เข้าไปใช้งานในสถานที่อับอากาศ เพราะมันอาจให้การอ่านค่าผิด ทำให้ผุ้ปฏิบัติงานเกิดอันตรายได้  การสอบเทียบมาตรฐานหากเราไม่มีความชำนาญหรือเราไม่มีชุดแก๊สสอบเทียบ เราควรติดต่อส่งเครื่องให้กับผู้ให้บริการหรือให้ผู้ขายนำเครื่องส่งเพื่อสอบเทียบ จัดการทำ Calibration ให้ดีกว่า เพราะจะมีอุปกรณ์และ แก๊สสอบเทียบที่ได้มาตรฐาน และมีการรับประกันดีกว่า และถ้าหากผู้ขาย/ผู้ให้บริการมีระบบแจ้งเตือนการสอบเทียบหรือมีระบบฐานข้อมูล ช่วยเก็บประวัติเครื่องของเรา ก็จะช่วยให้เราสะดวกมากขึ้นและเป็นการช่วยป้องกันการลืมนำเครื่องวัดแก๊สไปสอบเทียบเมื่อถึงกำหนดตามวงรอบ

รูปตัวอย่าง ชุด Test Kit และ ชุดสอบเทียบมาตรฐาน เครื่องวัดแก๊ส สำหรับผลิตภัณฑ์ MSA
รูปตัวอย่าง Option เสริม และชุดสอบเทียบมาตรฐาน สำหรับเครื่องวัดแก๊ส Industrial Scientific

สนทนาเพิ่มเติม คุณกัมปนาถ ติดต่อ T.063-7855159 id Line: Lpcontact

บทความนี้ ใช้เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ มิได้ทำเพื่อการค้าแต่อย่างใด

ผู้รวบรวมเขียนเนื้อหา ยินดีแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกับพี่น้อง Safety ทุกท่านครับ

Posted on

อย่ารีบตัดสินใจซื้อเครื่อง AED ถ้ายังไม่ได้อ่านเรื่องนี้ !

เครื่อง AED คืออะไร

    เชื่อว่าหลายๆคน น่าจะเคยเห็นกล่องสี่เหลี่ยมสีขาวๆ ที่ติดตามฝาผนัง หรือเป็นตู้แท่งแบบตั้งพื้น ที่มีตัวอักษรเขียนว่า EMERGENCY หรือตัวอักษร AED ที่ติดอยู่ตามห้างสรรพสินค้า, โรงงาน, Lobby โรงแรม,  Lobby คอนโดมิเนียม, อาคารสำนักงาน, สนามกีฬา ฟิตเนส หรือตามพื้นที่สาธารณะ และหน่วยราชการต่างๆ กันมาบ้าง แล้วคุณเคยสงสัยมั้ยว่าเครื่อง AED ที่เห็นกันเนี่ย มันเป็นยังไง

    เครื่อง AED (Automated External Defibrillator) ภาษาไทยเรียกว่า “ เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ” เป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตในยามฉุกเฉิน ในกรณีที่มีผู้ประสบปัญหาทางด้านหัวใจ และในบางรุ่นยังสามารถใช้ในการวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้

   เครื่อง AED นั้น ทำงานโดยใช้หลักการทางอิเล็กทรอนิกส์ เรียกง่ายๆได้ว่าเป็นอุปกรณ์การแพทย์แบบพกพา ที่ใช้กระตุ้นหัวใจผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจ โดยใช้กระแสไฟฟ้า หยุดรูปแบบการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้อง ทำให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติได้ปกติอีกครั้ง

เครื่อง AED ยี่ห้อ CardiAid

เครื่อง AED ที่พบบ่อย มี 2 แบบ

    แบบที่ 1 เครื่อง AED แบบกดปุ่ม คือ ต้องกดปุ่มเปิดเมื่อต้องการใช้งาน หรือต้องการเปิดเครื่อง โดยผู้ช่วยเหลือจะต้องทำการกดปุ่มเปิดเครื่องบนตัวเครื่องด้วยตนเอง จากนั้นพอเครื่องเปิดทำงาน ผู้ช่วยเหลือกHทำตามขั้นตอนตามที่เครื่องบอก

    แบบที่ 2  เครื่อง AED แบบอัตโนมัติ (เป็นเครื่อง AED ที่มีความทันสมัย) วิธีการใช้เครื่องอัตโนมัติ ผู้ช่วยเหลือทำแค่เพียงเปิดฝาครอบเครื่องออก ตัวเครื่องจะเปิดการทำงานทันทีแบบอัตโนมัติ และยังมีเสียงบอกให้ผู้ช่วยเหลือทราบว่าจะต้องปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนอย่างไร    

โดยสรุป เครื่อง AED ออกแบบมาให้เป็นอุปกรณ์ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้งานได้อย่างง่าย สามารถนำไปใช้ปฐมพยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่ช่วยเหลือไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการใช้งาน AED มาก่อน  คนทั่วไปก็สามารถใช้งานได้ง่าย เพียงทำตามคำแนะนำของเครื่อง AED ซึ่งสามารถประเมินสถานการณ์ของผู้ป่วยได้โดยอัตโนมัติ และช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจผู้ป่วยให้ได้อย่างทันท่วงที

เครื่อง AED ยี่ห้อ HeartSine Samaritan PAD

     วิธีการเลือกเครื่อง AED 

เครื่อง AED ที่จำหน่ายในประเทศไทย มีมายมายหลายยี่ห้อ หลายราคา และส่วนมากมักจะมี Function การทำงานที่คล้ายๆ กัน แต่…ถึงแม้ว่าเครื่อง AED จะมี Function การทำงานที่เหมือน ๆ กัน ในความเหมือนที่แตกต่างของเครื่องแต่ละยี่ห้อก็ยังมีอยู่  ดังนั้นหากต้องการเลือกใช้เครื่อง AED ให้ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งานของผู้ใช้มากที่สุด ก็สามารถยึดหลักวิธีการเลือกได้ง่าย ๆ โดยผมแนะนำให้พิจารณาดูตามหลักพื้นฐานขั้นต้น ดังนี้

  1. พิจารณาสภาพแวดล้อมที่จะใช้เครื่อง AED หากจะใช้กลางแจ้ง ต้องเลือกเครื่อง AED ที่มั่นใจได้ว่า ถึงแม้จะใส่ในตู้ แล้วต้องทนทานต่อสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ หรือหากจะใช้ภานในอาคาร เช่นเครื่อง AED ในโรงพยาบาล สถานที่สาธารณะ สถานที่ราชการ หรืออาคารอื่นๆ ก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่อง AED ที่ท่านเลือกใช้ ควรจะเข้ากันได้กับอุปกรณ์และระบบที่มีอยู่เดิม
  2. เลือกเครื่อง AED ที่สามารถใช้งานได้ง่าย Function ต่างๆ ใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อน มีภาพประกอบบนเครื่องที่เข้าใจง่าย มีเสียงบรรยายขั้นตอนการใช้เป็นภาษาไทยที่ฟังแล้วเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ช่วยเหลือสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและปลอดภัย
  3. เลือกเครื่อง AED ที่มีอุปกรณ์ครอบคลุมทุกสถานการณ์ เช่น ควรเลือกเครื่องที่มีอุปกรณ์ประกอบเครื่องที่สามารถใช้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ มีอุปกรณ์ส่วนควบครบ แผ่น PAD นำไฟฟ้า ต่างๆ สายนำสัญญาณ แบตเตอรี่ คู่มือการใช้งาน และในตู้เก็บ AED ควรมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่จำเป็น
  4. เลือกเครื่อง AED ที่มีการถ่ายโอนข้อมูลการใช้งานได้โดยง่าย และหรือมีระบบติดตามแสดงผล มีการบันทึกเวลา มีการบันทึกการทำงานของเครื่อง มีการติดตามสถานะเครื่อง สถานะแบตเตอรี่ และตำแหน่งการเคลื่อนย้ายเครื่อง เพื่อนำมาเป็นรายงานอ้างอิงได้ (ในบางกรณีอาจจะมีความจำเป็นต้องใช้รายงานต่างๆ ที่เครื่องบันทึกไว้ประกอบขั้นตอนทางกฎหมาย)
  5. เลือกเครื่อง AED จากผู้แทนจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีบริษัทที่ตั้งตัวตนชัดเจน มีการแนะนำการใช้งาน และบำรุงรักษา มีการรับประกัน มีการรับรองว่ามีอะไหล่รองรับ ไม่น้อยกว่า 5 ปี
เครื่อง AED ยี่ห้อ HeartPlus ( AED 4)

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่อง AED

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่อง AED ที่พบบ่อยที่สุด คือการระคายเคืองผิวหนังของผู้ป่วยบริเวณที่ปิดแผ่น PAD Electrode  ซึ่งโดยปกติสามารถแก้ไขได้โดยใช้แผ่น PAD Electrode ประเภทอื่นหรือเปลี่ยนตำแหน่งของแผ่น PAD Electrode และนอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น

  • เวียนหัว หรือหน้ามืด
  •  รู้สึกวิตกกังวลหรือประหม่า
  • ปวดหัวตุบๆ
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • เหงื่อออก
  • อัตราการเต้นของหัวใจหรือความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง
เครื่อง AED ยี่ห้อ Mindray BeneHeart C1A

สนใจเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ

AED (Automated External Defibrillator) ติดต่อ คุณกัมปนาถ

T. 097-1524554  id Line: Lphotline

Email: LPCentermail@gmail.com

www.Lifeprotect.co.th

Posted on

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) ไวรัสร้าย แต่ป้องกันได้

COVID-19 ก็ยังไม่หมด โรคฝีดาษลิง ก็จ่อเข้ามาอีกแล้ว อะไรกันครับเนี่ย !!

โรคฝีดาษลิง หรือไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เกิดจากไวรัส Othopoxvirus ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการรักษาหรือมีวัคซีนป้องกันโดยเฉพาะ แต่สามารถควบคุมการระบาดได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันได้ 85%

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) โรคนี้พบมากในแถบแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตก และตามที่มีข่าวว่า มีการพบผู้ป่วยในประเทศที่อยู่นอกเขตแอฟริกา เช่น สหรัฐอเมริกา อิสราเอล สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร นั่นก็เพราะเกิดจากการเดินทางระหว่างประเทศหรือการนำเข้าสัตว์ติดเชื้อเข้าประเทศ แท้จริงแล้วโรคฝีดาษลิง ไม่ใช่โรคใหม่ แต่เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี โดยโรคฝีดาษลิง ถูกค้นพบครั้งแรกในโลก ในปี พ.ศ. 2501 จากลิงที่ป่วย ต่อมาก็ได้มีการพบการติดเชื้อในคนเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 ที่ประเทศคองโก จะเห็นได้ว่า โรคฝีดาษลิง นั้นเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ที่พบในแอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตก นอกจากลิงแล้ว สัตว์อื่นก็สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ เช่นกัน เชื้อไวรัสฝีดาษลิง พบได้ในสัตว์หลายชนิดโดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้ ปัจจุบันมีรายงานการเกิดเชื้อไวรัส ฝีดาษลิง 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์แอฟริกากลาง และสายพันธุ์ แอฟริกาตะวันตก ซึ่งสายพันธุ์แอฟริกากลางเป็นสายพันธุ์ที่มีการรายงานติดต่อจากคนสู่คน 

ผู้ที่มีความเสี่ยงว่าติดเชื้อมากที่สุด คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณป่าในแอฟริกากลาง หรือแอฟริกาตะวันตก หรือมี การล่าสัตว์เพื่อทำอาหาร หรือ ส่งออกเป็นสัตว์เลี้ยง  และมีรายงานพบการติดเชื้อจากคนสู่คน จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง ผิวหนัง หรือ ละอองฝอยจากการหายใจ หรือแม้แต่น้ำปัสสาวะ (แม่แต่เข้าห้องน้ำก็อาจติดเชื้อได้) โดยผู้ติดเชื้อไวรัสนี้ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง บางครั้งคล้ายกับอาการของโรคอีสุกอีใส และหายเองได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ ฝีดาษลิงอาจมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้ในบางกรณี และเคยมีรายงานว่าทำให้มีผู้เสียชีวิตมาแล้วหลายคนในแอฟริกาตะวันตก โดยอัตราการเสียชีวิตอยู่ในกลุ่มเด็กเล็กสูงถึง 10%

โรคฝีดาษลิง (MonkeyPox) ในเด็ก

โรคฝีดาษลิงสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้จากการสัมผัสใกล้ชิด โดยไวรัสชนิดนี้จะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางรอยแตกบนผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ หรือผ่านทางตา จมูก หรือปาก โดยคนสามารถติดเชื้อโรคนี้จากการสัมผัสโดยตรงโดยผ่านการสัมผัสทางผิวหนังกับผู้ติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสชนิดนี้ กับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ติดเชื้อกัด หรือจากการกินเนื้อสัตว์มีเชื้อที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหลังจากได้รับเชื้อ อาการป่วยจะกินเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ส่วนใหญ่สามารถหายจากโรคเองได้ แต่ในกรณีผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีโรคประจำตัว อาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม หรือเสียชีวิตได้ โดยมีอาการที่สังเกตได้ คือ หลังจากที่สัมผัสเชื้อไปแล้วประมาณ 12  วัน ผู้ป่วยอาจมีอาการแสดง ได้แก่

  • ระยะก่อนที่ผิวหนังจะออกเป็นผื่น (Invasion Phase)  
    • เริ่มด้วยมีไข้ ปวดหัว ปวดตัว ปวดหลัง อ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลืองโต
    • โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการต่อมน้ำเหลืองโต เป็นอาการที่สังเกตได้ของโรคฝีดาษลิง ซึ่งแตกต่างจากโรคอื่นๆ ที่มีตุ่มน้ำตามมา เช่น โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) , โรคหัด (Measles) , โรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษ (Smallpox)
    • อาจมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย อาเจียน และอาการทางระบบหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ เหนื่อย ได้อีกด้วย
  • ระยะที่ผิวหนังออกเป็นผื่น (Skin Eruption Phase)
    • หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน จะเริ่มมีอาการแสดงทางผิวหนัง มีลักษณะตุ่มผื่นขึ้น โดยเป็นตุ่มที่มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ โดยเริ่มจากรอยแดงจุดๆ เป็นตุ่มนูนแดง ตุ่มน้ำใส ตุ่มน้ำหนอง และจากนั้นจะแห้งออกหรือแตกออกแล้วหลุด เรียงไปตามลำดับ
    • โดยตุ่มมักจะหนาแน่นที่บริเวณใบหน้า และแขนขา มากกว่าที่ร่างกาย
    • ในระยะออกผื่น ผื่นจะกลายเป็นสะเก็ดคลุม แห้งและหลุดออกมา โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์

ณ วันนี้ วันที่ 29 พฤษภาคม 2565 เรายังไม่พบการแพร่ระบาดโรคฝีดาษลิงในประเทศไทย แต่พวกเราควรจะต้องทำความรู้จักกับโรคนี้เอาใว้ก่อน เพื่อระมัดระวัง และป้องกันตนเอง สำหรับผู้ที่มีภารกิจ ต้องเดินทางไปประเทศ ที่เป็นสถานที่เสี่ยง ซึ่งอาจมีความเสี่ยง หรือมีโอกาสติดเชื้อ และนำเชื้อกลับมายังประเทศไทยได้ ก็อย่าลืมป้องกันตนเอง และหมั่นคอยติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด และหากหลีกเลี่ยงที่จะต้องเดินทางไปยังประเทศที่พบว่ามีผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงไม่ได้จริงๆ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วย สัตว์ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคโดยเฉพาะลิง และสัตว์ฟันแทะต่างๆ เช่น กระรอก กระต่าย หนู
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ  โดยเฉพาะหลังสัมผัสสัตว์ หรือสิ่งของสาธารณะ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง บาดแผล เลือด น้ำเหลืองของสัตว์
  • ใส่หน้ากากอนามัย เมื่อต้องเดินทางไปยังสถานที่เสี่ยงมีการแพร่ระบาด
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง แผล ตุ่มหนอง หรือตุ่มน้ำใส จากผู้มีประวัติเสี่ยง หรือผู้ที่สงสัยว่าติดเชื้อแล้ว

ในกรณีที่สัมผัสผู้ติดเชื้อ หรือคาดว่าได้รับเชื้อไปแล้ว ควรฉีดวัคซีนป้องกันในกรณีที่ยังไม่เกิน 14 วัน (วัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ แต่จะต้องฉีดในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อเท่านั้น และยังสามารถรับวัคซีนได้ภายหลังจากการได้รับเชื้อไม่เกิน 14 วัน) หากท่านคิดว่าตัวเองเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง ก้ควรแยกกักตัว เหมือนๆ กับการกักตัว ของผู้มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อโรค COVID-19 น่ะแหละครับ

สรุป โรคฝีดาษลิง ณ วันนี้ 29 พฤษภาคม 2565 ยังไม่มีรายงานว่าเข้ามาในประเทศไทย แต่เราก็ควรระวังตัว และป้องกันเอาใว้ก่อนครับ เพราะเชื้อไวรัสนี้ สามารถล่องลอยได้ในอากาศ และยังสามารถติดตามพื้นผิววัสดุ (ที่ผู้ติดเชื้ออาจจะไอ หรือจามสารคัดหลั่งออกมา) หรือแม่แต่การเข้าห้องน้ำที่ผู้ติดเชื้อ เข้าไปขับถ่าย หรือปัสสาวะ ใว้ก่อนหน้าที่เราจะเข้าไป

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ PHILIPS UVC Disinfection Unit

ดังนั้น เพื่อความสบายใจ ผมขอแนะนำให้ใช้ เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ และพื้นผิว ยี่ห้อ PHILIPS ที่ทางบริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่าย ช่วยเสริมการป้องกัน ช่วยปกป้องคนที่คุณรัก และตัวคุณเอง

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศและพื้นผิว แบบล้อเลื่อน เคลื่อนย้ายได้ PHILIPS UVC Trolley

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อคุณกัมปนาถ HotLine : 0971524554

Life Protect Company Limited

Tel. 02-9294345-6

id Line : Lphotline

Email: LPCentermail@gmail.com

Posted on

เครื่องเป่าตรวจแอลกอฮอล์…นักดื่มไม่ถูกใจสิ่งนี้

คนไทยชอบกินเหล้า !! ในชีวิตจริง เราคงปฏิเสธคำพูดประโยคนี้ไม่ได้ โดยมีผลสำรวจรายงานใว้ชัดเจน (ไม่ได้นั่งเทียนเขียนข่าว) พบว่า คนไทยวัยทำงานอายุ 25-59 ปี เป็นช่วงวัยที่ดื่มเหล้ามากที่สุด (โดยเฉพาะผู้ชาย จะดื่มมากกว่าผู้หญิง) แต่ไม่ได้สำรวจมานะว่าดื่มยี่ห้ออะไรมาก ? โดนปกติคนเราพอดื่มเหล้าก็เมา เมาแล้วก็ห้าว ฮึกเหิม โชว์พาวโชวหญิง อันนี้ก็พาไปสู่การมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันไป สูยเสียกันไปเท่าใหร่กับเมาแล้วโชวืพาว อีกอันนึงที่เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก คือพอเมาแล้วก็ขับรถ ทั้งรถยนต์ และรถมอเตอร์ไซค์ (เพื่อนๆ ของผู้เขียน มีทั้งเสียชีวิตและพิการ จากการเกิดอุบัติเหตุเมาแล้วขับหลายคนแล้ว) หรือบางคนเมาแล้วก็ไปทำงาน บางคนเป็นคนใช้ หรือควบคุมเครื่องจักร ก็ทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ เกิดความสูญเสียมากมาย และผลกระทบต่อเนื่องต่อทรัพย์สิน และบุคคลรอบข้างอย่านับไม่ถ้วน ก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่อเนื่อง ตามที่เราเห็นเป็นข่าวตามสื่อต่างๆ จนกระทั่งรัฐบาลทนไม่ไหวต้องออกมาตรการ และกฏหมายต่างๆ มาควบคุมนักดื่ม นั่นเป็นที่มาของการมีตำรวจมาตั้งด่านตรวจวัดแอลกอฮอล์ โดยใช้เครื่องเป่าตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ แบบมือถือ คอยเรียก คอยโบกนักท่องราตรี มาเป่าตรวจ (ผู้เขียนกลับบ้านดึกทีไร โดนเรียกเป่าประจำ)

เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ทางลมหายใจ NECTEC รุ่น SAM-05

ไอ้เครื่องเป่าเมานี้ นอกจากที่ตำรวจเขาใช้กันตามด่านตรวจ (ซึ่งส่วนมากจะเป็นเครื่องแบบ Screening เดี๊ยวเลื่อนไปอ่านดูล่างๆ ละกันว่าเครื่อง Screening คือยังไง) ปัจจุบันยังมีใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทขนส่งโลจิสติกส์ และโรงงานหรือบริษัทที่มีพนักงานช่างเป็นจำนวนมาก ร้อยพ่อพันแม่ และแม้กระทั่งห้างสรรพสินค้า Department Store ที่มี DC คลังสินค้าก็มีเครื่องเป่าเมา หรือเครื่องวัดระดับแอกอฮอล์ทางลมหายใจว้สุ่มตรวจพนักงาน กันเป็นล่ำเป็นสัน ด้วยอีกนะ ซึ่งการตรวจพนักงานนี้ก็จะมีขั้นตอน มีกฏหมายควบคุมอีก (วันหน้าจะมาเขียนเรื่องตรวจเมาในสถานประกอบการ ให้อ่านอีกทีครับ)

เฮ้ย !! เจอด่านเป่า ทำไงดี !! ทำยังไงดีจึงจะลดโอกาสที่จะถูกด่านตรวจเรียกเข้าไปเป่าตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์

ค่านตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ (เมาไม่ขับ)

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนเลยว่า ” ในวันนั้น หรือในงานเลี่ยง ถ้าเราไม่ดื่มเหล้า เบียร์ หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์อื่นๆ ตั้งแต่แก้วแรก เพราะเรารู้ตัวว่าจะต้องขับรถกลับบ้าน หรือไปอื่นต่อเป็นการปฏิบัติตัวที่ดีที่สุด ” แต่ถ้าเผลอดื่มเข้าไปแล้ว สำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะ รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ ที่กลัวว่าจะถูกตรวจว่ามีปริมาณ แอลกอฮอล์ในเลือดเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ควรจะทำดังนี้

1. เรียกใช้บริการ You Drink I Drive ให้เขามารับ แล้วเมาต่อให้สาแก่ใจไปเลย หรือจอดรถที่ร้าน กลับ TAXI

2. งดการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 15 นาที ก่อนการขับขี่รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ และไม่ควร รับประทานยา หรือใช้สเปรย์ระงับกลิ่นปากก่อนการขับรถเพราะอาจมีผลต่อการตรวจวัดได้

3. ดื่มนม นมเปรี้ยว หรือ รับประทานอาหารให้อิ่ม ดื่มน้ำ เตรียมใว้ เผื่อเป่าไม่ผ่านจะได้มีแรงนั่งยาวๆ รอเพื่อน หรือคนที่บ้านมาช่วยเคลียร์ ถ้าเป็นวันศุกร์ห็แย่หน่อย ติดเสาร์ อาทิตย์ อาจได้นอนยาวๆ
4. อย่างน้อยใน 5 นาทีที่ก่อนการถูกตรวจวัด ไม่ควรสูบบุหรี่ เนื่องจากกลิ่นบุหรี่จะเข้าไปสะสมในเครื่องวัด และกลิ่นบุหรี่ยังอาจเป็นที่น่ารังเกียจของผู้ที่จะใช้เครื่องเป่าต่อไป

5. หากถูกเรียกเพื่อตรวจวัดลมหายใจ ตรวจดูหลอดเป่า ก่อนท่านจะเป่าลมหายใจเข้าเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจากลมหายใจจะ ต้องแน่ใจว่า หลอดเป่าที่ใช้ต้องเป็นของใหม่ที่ได้ทำให้ปลอดเชื้อ (Sterilization) แล้ว

SAM-05 ไม่ต้องใช้หลอดเป่า

ในกรณีที่ถูกเป่าตรวจแล้วพบว่า มีปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจเกิน 50 mg% หรือเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่มากนัก และผู้ที่ถูกตรวจเป่าไม่แน่ใจในผลการตรวจวัดฯว่าถูกต้องหรือไม่ หรือคิดว่าตัวเองไม่เมาเหล้าถึงขนาดนั้น ผู้ที่ถูกตรวจเป่าวัดแอลกอฮอล์ มีสิทธิ์ที่จะร้องขอการตรวจพิสูจน์ได้โดยวิธีการตรวจจากปัสสาวะ และตรวจวัดจากเลือด โดยแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจวัด ซึ่งการตรวจวัดนี้จะกระทำภายใต้การกำกับดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฏหมาย

เครื่องเป่าวัดระดับแอลกอฮอล์ทางลมหายใจ NECTEC รุ่น SAM-05
หากโดนด่านเป่า ทำยังไงดี !!

ความเป็นมาของเครื่องเป่าเมา หรือเครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ทางลมหายใจ

การศึกษาวิธีที่จะวัดระดับแอลกอฮอล์ในร่างกายมีมานานกว่า 150 ปีแล้ว โดยผู้ที่ศึกษาเป็นคนแรกคือ มิสเตอร์ Francis Edmund Anstie ชาวอังกฤษ ได้ทำการศึกษา ในช่วง ค.ศ. 1833 – ค.ศ. 1874 พบว่าแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปจะสามารถพบบางส่วน ได้ในลมหายใจและปัสสาวะ  ต่อมานักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Nielous ได้ทำการศึกษา ในช่วงปี ค.ศ. 1848 – ค.ศ. 1910 พบว่า แอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป จะพบในลมหายใจ ปัสสาวะ น้ำลาย และเหงื่อ หลังจากนั้นได้มีนักวิทยาศาสตร์ ให้ความสนใจทำการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ อีกหลายท่าน

ในระยะแรก การตรวจวิเคราะห์หาปริมาณแอลกอฮอล์ เขาก็จะใช้วิธีเก็บตัวอย่างจากเลือด หรือปัสสาวะจากผู้ต้องสงสัยว่าจะดื่มเหล้า แต่มีปัญหาคือต้องวิเคราะห์กันในห้องปฏิบัติการ และต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญ ทำให้ทราบผลช้า และที่สำคัญคือ ไม่สามารถบ่งบอกไปถึงปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดได้อย่างแท้จริง  โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในร่างกายด้วย ดังนั้น จึงได้มีการนำวิธีการวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจากลมหายใจมาใช้ในช่วงปี 1930-1953 โดยได้มีการ คิดค้นเครื่องวัดแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจขึ้นมา และได้มีการพัฒนาเครื่องมือวัดแอลกอฮอล์ รุ่นใหม่ๆ ออกมาจนถึงปัจจุบัน  โดยการพัฒนาเครื่องมือวัดแอลกอฮอล์นี้ เป็นการออกแบบให้เครื่องสามารถวัดได้เฉพาะแอลกอฮอล์ ชนิดที่เป็น Ethyl อย่างเดียว  (เครื่องดื่มผสมแอล กอฮอล์ที่มนุษย์เราดื่มจะผสมแอลกอฮอล์ชนิด Ethyl) โดยไม่ถูกสอดแทรกโดยสาร อื่น เช่น acetone, chloroform,  ether , ethyl acetate,  methanol เป็นต้น เพื่อที่จะให้การวิเคราะห์ปริมาณลมหายใจใกล้กับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดมากที่สุด

เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ แบ่งตามลักษณะของเครื่องได้เป็นสองประเภท คือ

1.แบบพกพา (Mobile)

2.แบบประจำที่ (Stationary)

ถ้าแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1.เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจแบบตรวจคัดกรอง (screening) เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธี เป่าลมหายใจแบบตรวจคัดกรอง เป็นเครื่องที่ใช้ในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด โดยวิธีเป่าลมหายใจเข้าเครื่องวัด  ผลที่แสดงจะเป็นตัวหนังสือว่าเกินหรือไม่เกินค่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ เช่น แสดงเป็น pass หรือ Fail หรืออาจแสดงเป็นตัวเลข  สัญลักษณ์ต่างๆก็ได้

2.เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจแบบตรวจยืนยันผล (Evidential)  เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์แบบตรวจยืนยันผล เป็นเครื่องที่ใช้ในการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด โดยวิธีเป่าลมหายใจเข้าเครื่องวัด ผลที่ได้จะแสดงเป็นตัวเลข ว่ามีปริมาณในหน่วย mg/100ml เช่น 50 mg/100ml (แสดงว่า ในเลือด 100 มิลลิลิตรมีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ 50 มิลลิกรัม) เป็นต้น

เครื่องที่ใช้ในการวัดแอลกอฮอล์จากลมหายใจ มีด้วยกัน 4 แบบ คือ

1. แบบ Colorimeter ใช้หลักการเปลี่ยนสีของ Potassium Dichromate จากสีเหลือง ถ้าได้รับไอของแอลกอฮอล์ จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว แบบนี้ ใช้ทดสอบแอลกอฮอล์ในลมหายใจ ใช้ได้ครั้งเดียว แล้วทิ้ง

2. แบบ Semiconductor ใช้หลักการ ดักจับไอของแอลกอฮอล์ไปจับ Semi-conductor ทำให้ความต้านทานเปลี่ยนแปลง ควแบบนี้ ใช้ทดสอบแอลกอฮอล์ในลมหายใจ แต่ความเที่ยงตรงจะมีช่วงแกว่งๆ อยู่บ้าง เครื่องตัวเล็ก น้ำหนักเบา ราคาไม่แพง

3. แบบ Fuel cell อันนี้เป็นแบบเซลไฟฟ้าเคมี (Electrochemical Fuel cell) คือเมื่อไอของ แอลกอฮอล์ถูกดูดซับโดย cell จะทำให้เกิดปฏิกิริยา กลายเป็นกรดอะเซติคและเกิดกระแสไฟฟ้าซึ่งเกิดขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณแอลกอฮอล์ แบบ FuelCell นี้ มีความถูกต้องและแม่นยำดี มีความจำเพาะต่อการวัด Ethyl alcohol ดี ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก แต่ราคาแอบแพงไปนิด

4. แบบ Infrared Absorption ตัวนี้การทำงานอาศัยหลักการที่แสง Infrared จะถูกดูดซับ เข้าไปมากน้อยเท่าใด ขึ้นกับระดับความเข้มข้นของไอแอลกอฮอล์ เครื่องแบบนี้ มีความถูกต้องดีมาก มีความจำเพาะต่อการวัด Ethyl alcohol แต่ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ราคาสูงเหมาะใช้สำหรับใช้ประจำที่ หรือห้อง LAB แบบนีี้ราคาอักโขอยู่

ถ้าจะใช้ เครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ทางลมหายใจ ควรเลือกยังไงดี ?

วิธีการเลือกใช้เครื่องตรวจแอลกอฮอล์ ควรมองหาเครื่องที่มีคุณภาพได้มาตรฐานดังนี้

1. เป็นเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน เชื่อถือได้ มีใบรับรองว่าเป็นเครื่องที่ผ่านการทำการสอบเทียบมาตรฐานหรือ Calibrate เครื่องจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ หรือได้รับการรับรองจาก สวทช. เป็นต้น

2. ตัวเครื่องมีราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพ ไม่ใช่ราคาถูกจนเกินไป (เช่นเครื่องจากจีน) เพราะการซื้อเครื่องที่ราคาถูกมากๆ มาใช้ ประสิทธิภาพของค่าที่วัดได้อาจไม่ได้มาตรฐาน และเชื่อถือไม่ได้

3. เลือกรุ่นที่ ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างง่ายๆ มีขนาดและรูปทรงที่เหมาะสมกับการใช้งาน น้ำหนักเบา สามารถพกพาได้สะดวก บำรุงรักษาง่าย และมีอะไหล่รองรับ หาอะไหล่ได้ง่าย

4. ในการใช้งาน หากเราต้องการผลการตรวจวัดว่ามีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปหรือไม่ เช่นการใช้ในโรงงาน หรือใช้งานตรวจพนักงานขับรถขนส่ง ควรเลือกใช้เครื่องตรวจวัดผลเบื้องต้น เช่นแบบ Screening เพราะพกพาสะดวก ใช้งานง่าย ราคาไม่แพง เหมาะสำหรับใช้วัดผลส่วนตัว หรือตรวจวัดกันในโรงงาน แต่ถ้าหากต้องการวัดผล ให้ได้ค่าที่แม่นยำควรเลือกใช้เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์แบบยืนยันผล (Fuel cell)

ยินดีแลกเปลี่ยนความรู้ ปรึกษาเรื่องเครื่องครวจวัดแอลกอฮอล์ทางลมหายใจ ติดต่อคุณกัมปนาถ

HotLine : 097- 1524554

id Line: Lphotline

Email: LPCentermail@gmail.com

เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ทางลมหายใจ NECTEC SAM-05
เครื่องเป่าแอลกอฮอล์ วัดทางลมหายใจ NECTEC รุ่น SAM-05
Posted on

ตรวจ ATK ผลเป็นบวก (ขึ้น 2 ขีด) ทำยังไงดี

3 เมษายน 2565 ในวันที่เชื้อโรค COVID-19 ยังระบาดหนัก ยอดผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันก็ยังสูงทะลุมากกว่าสองหมื่นรายต่อวัน (อันนี้ยังไม่นับรวมผลตรวจ ATK ที่ประชาชนตรวจกันเองนะ) และในปัจจุบัน รัฐบาลก็มีนโยบายให้โรงพยาบาลของรัฐ ตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วย ATK ทีเราหาซื้อชุดตรวจได้จากร้านขายยา และร้านสะดวกซื้อทั่วไป (โรงพยาบาลรัฐ จะทำการตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วยวิธี RT-PCR ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ยกเว้นในกรณีที่ท่านต้องการจะตรวจแบบ RT-PCR โดยชำระค่าใช้จ่ายเอง ประมาณ 1500-2500 บาท)

แล้วถ้าหากเราตรวจ ATK แล้วผลเป็นบวก + ขึ้น 2 ขีด เราจะทำยังไงดีล่ะ ? หากคุณมั่นใจว่าชุดตรวจ ATK ที่คุณใช้ตรวจแม่นยำดีแล้ว ** ที่บอกว่าแม่นยำดีแล้ว อันนี้ผมใช้ข้อมูลจากประสบการณ์ตรงเลยนะ คือ มันมีเคสอยู่ว่า มีคนที่ติดเชื้อ COVID แล้วใช้ชุดตาวจ ATK แบบบ้วนน้ำลาย มาตรวจปรากฏว่า ผลแสดงออกมาเป็นลบ (- ขึ้นขีดเดียว) แต่พอนำชุดตรวจ ATK แบบแยงจมูก มาตรวจซ้ำอีกทีปรากฏว่า แสดงผลเป็นบวก + (ขึ้น 2 ขีด) เอาล่ะซิเชื่อแบบไหนดี ทิ้งระยะเวลาอีก 6 ชั่วโมง ตรวจซ้ำด้วยชุด ATK แบบบ้วนน้ำลายอีกครั้ง ผลออกมาเป็นลบ ตามเดิม ก็เลยให้ลองเปลี่ยนเอาชุดตรวจ ATK แบบแยงจมูกอีกยี่ห้อนึงมาเปลี่ยน ทดลองลองแยงจมูกตรวจอีกครั้ง ถ้าผลยังออกมาเป็นบวก ขึ้น 2 ขีดอีก ก็แสดงว่าชัดเจนแล้ว คุณไม่ตก Trend คุณติดโควิด-19 เรียบร้อย หรือถ้ายังไม่มั่นใจให้ไปโรงพยาบาลเพื่อขอตรวจ RT-PCR ให้ชัดเจนไปเลย ( ตามที่แจ้งใว้ข้างบน ตรวจ RT-PCR ถ้าโรงพยาบาลเอกชนก็กำตังค์ไปจ่ายค่าตรวจเอง แต่ถ้าคุณจะใช้สิทธิที่โรงพยาบาลรัฐตามสิทธิของตนเอง ก็ต้องให้หมอเป็นคนสั่งตรวจ จึงจะไม่เสียตังค์ครับ )

ภาพตัวอย่างชุดตรวจ ATK ยี่ห้อ HIP (HIP Biotech)

หากมั่นใจแล้วว่ามันต้องใช่ ต้องใช่แน่ๆ คุณไม่ต้องตกใจ ค่อยๆตั้งสติสังเกตุอาการว่าคุณเป็นผู้ป่วยในกลุ่มใด และรีบบอกคนที่บ้าน คนในครอบครัวให้รับทราบเพื่อเขาจะได้รีบตรวจด้วย แต่ถ้าคุณตัวคนเดียวไม่มีใคร ก็ลุยเดี่ยวต่อเลย หากคุณมีประกัน ก็ให้คุณรีบประสานงานติดต่อตัวแทนประกันชีวิตที่คุณทำใว้ และรีบติดต่อโรงพยาบาลที่คุณใช้บริการรักษาตามสิทธิของคุณ ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลก็จะมีข้อกำหนดวิธีการลงทะเบียนรักษาต่างกันไปตามระเบียบการของโรงพยาบาลนั้นๆ ซึ่งถ้าเป็นโรงพยาบาลของรัฐ ขั้นตอนการลงทะเบียนรอตรวจ และรับยาก็คุณอาจจะหงุดหงิดใจ รอนิดนึงแต่ในวันรุ่งขึ้นมันก็จะผ่านไปได้ แต่ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชน คุณต้องลองติดต่อประสานงานดูก่อนเพราะบางโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งไม่รับผู้ป่วยโควิด หรือบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงเข้ารับการรักษา (ประสบการณ์จากคนใกล้ตัวผม) แต่โรงบาลเอกชนบางเครือต้อนรับดี๊ดี ไม่ถามไถ่ให้เรื่องมากสักคำ รีบให้การดูแลรักษาให้คำแนะนำเป็นอย่างดี

รูปแสดงลักษณะอาการของผู้ป่วย กลุ่มสีเขียว สีเหลือง และสีแดง

ให้คุณพิจารณาอาการของคุณ ตามตารางที่ปรากฏอยู่ด้านบนโดยละเอียด ซึ่งถ้าหากคุณเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว และคุณมีกำลังทรัพย์พอ คุณสามารถเลือกที่จะกักตัว 10-14 วันแบบรักษาตัวใน Hospitel ซึ่งจะมีบุคคลากรจากโรงพยาบาลที่มี Contract รับผิดชอบ ส่งเจ้าหน้าที่มาคอยดูแลวัดไข้ วัดความดัน จัดยา ส่งอาหาร สังเกตุอาการของคุณเป็นอย่างดี (ก็จ่ายตังค์เองนี่เนอะ) แบบนี้ดี เพราะเป็นการแยกตัวออกมา ไม่ต้องอยู่ร่วมกับคนที่บ้าน ให้คนในครอบครัวเสี่ยง (ข้อเสียคือ เท่าที่ทราบตอนนี้ประกันไม่จ่ายค่า Hospitel ให้แล้ว คุณต้องชำระค่าใช้จ่ายเอง) แต่ถ้าหากคุณต้องการรักษาตัวที่บ้านในแบบ Home Isolation คุณต้องมีห้องส่วนตัวเป็นห้องนอน และห้องน้ำอยู่เป็นส่วนตัว ต้องเป็นห้องที่สามารถเปิดหน้าต่างระบายอากาศได้ดี หรือ Open Air หากไม่สามารถเปิดห้องระบายอากาศได้ ต้องมีเครื่องฟอกอากาศ หรือเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศตั้งใว้ในห้อง คุณก็สามารถรับยามา และกักตัวที่บ้านและสังเกตตัวเองแบบ Home Isolation ตามแพทย์แนะนำได้ ** (Home Isolation คุณต้องลงทุนซื้อเครื่องวัดความดันแบบพกพา เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ปรอทวัดไข้ พวกนี้มีขาย Online เยอะแยะ) แต่ถ้าคุณไม่มีห้องส่วนตัวสำหรับกักตัว คุณต้องหาซื้ออุปกรณ์พวกหมวกแรงดันบวก ที่มีระบบควบคุมอากาศและฟิลเตอร์กรองอากาศมาใส่ และจำเป็นจะต้องมีเครื่องฟอกอากาศ หรือเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศด้วย UVC แบบที่คนอยู่ร่วมได้ มาตั้งใว้ เพราะคุณจะเป็นผู้ที่จะแพร่เชื้อ ให้คนในบ้านที่อยู่ร่วมกันกับคุณกลายเป็นผู้มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ COVID-19 จากคุณได้ ดังนั้นถ้าที่บ้านคุณไม่มีห้องส่วนตัว แนะนำให้ใช้บริการ Hospitel ดีกว่า แต่ถ้าหากคุณมีอาการเข้าข่ายเป็นผู้ติดเชื้อในกลุ่มสีเหลือง หรือกลุ่มสีแดง ก็ให้คุณรีบติดต่อโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษาของคุณโดยด่วน !! นอนโรงพยาบาลกันยาวๆไป เบอร์โทรติดต่อหน่วยงานช่วยเหลือก็ปรากฏอยู่ในรูปด้านบนแล้ว ติดต่อได้เลย หากไม่ไหวจริงๆ โทร 1669 เรียก สพฉ. เลยครับ จะมีทั้งรถพยาบาล BLS หรือ ALS หรือน้องๆกู้ภัยในเครือข่ายมารับครับ โทรเลย!! 1669

รูปแสดงหมวกแรงดันบวก ช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ
รูปแสดงเครื่องฟอกอากาศ และกำจัดเชื้อโรคระบบ Electronic Collecting Cell สำหรับห้องขนาด 30-50 ตารางเมตร
รูปแสดงเครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบบเคลื่อนย้ายได้ PHILIPS UV-C Disinfecttion Air Unit

ยินดีให้คำปรึกษาด้านการฟอกอากาศ และการฆ่าเชื้อโรคในอากาศโดยผู้เชี่ยวชาญ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

Tel. 02-9294345-6

Hot Line. 097-1524554

id Line: Lphotline

Email : LPCentermail@gmail.com

website: www.Lifeprotect.co.th

Posted on

ทำอย่างไร? ถึงจะผ่านเกณฑ์มาตรฐาน SHA

าตรฐาน SHA คืออะไร? และทำยังไงถีงจะได้ ตราสัญญลักษณ์ มาตรฐาน SHA มาติดร้าน

มาตรฐาน SHA คืออะไร? ร้านไหนดื่มแอลกอฮอล์ในร้านได้ ?

มาตรฐาน SHA คือ แนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานภาคสมัครใจสำหรับผู้ประกอบการ หรือข้อกำหนดเบื้องต้นที่สถานประกอบการพึงมี เพื่อป้องกัน COVID-19 ซึ่งมาจากมาตรการด้านสาธารณสุขบวกกับมาตรฐานของสินค้าทางการท่องเที่ยว โดยกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มีการจัดทำสัญลักษณ์ SHA เพื่อรับรองคุณภาพของสถานประกอบการนั้น ๆ โดยผู้ประกอบการต้องยื่นเรื่องขอผ่านสมาคม เช่น สมาคมโรงแรม เมื่อได้รับสัญลักษณ์แล้ว ผู้ประกอบการจะถูกประเมินโดยผู้ใช้บริการผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน รวมถึงมีการสุ่มตรวจจากหน่วยงานภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นระยะอีกด้วย

รูป LOGO สัญลักษณ์ SHA

* SHA ย่อมาจากคำว่า Safety & Health Administration หากผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มจะเข้ารับการตรวจประเมินความพร้อมมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย SHA ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ thailandsha.com หรือสามารอ่านคู่มือเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือการลงทะเบียน Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA) และผู้ประกอบการจะต้องเคร่งครัดช่วงเวลาการให้บริการให้อยู่ภายในเวลา 21.00 น. ตามที่กำหนด

เบื้องต้นข้อมูลวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 จากข้อมูลพบว่าในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีร้านที่ได้รับรอง SHA จำนวน 1,350 ร้าน ครับ แล้วสถานประกอบการ กิจการ อะไรบ้างล่ะ ที่ต้องได้รับมาตรฐาน SHA ?

ถานประกอบกิจการที่สามารถขอรับมาตรฐาน SHA ได้ มี 10 หมวด ดังนี้ครับ

1. ภัตตาคาร/ร้านอาหาร

2. โรงแรม/ที่พัก และสถานที่จัดประชุม

3. นันทนาการและสถานที่ท่องเที่ยว

4. ยานพาหนะ

5. บริษัทนำเที่ยว

6. สุขภาพและความงาม

7. ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า

8. กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว

9. โรงละคร โรงมหรสพและการจัดกิจกรรม

10. ร้านค้าของที่ระลึกและร้านค้าอื่นๆ

ท่องเที่ยวปลอดภัยวิถีใหม่ มองหาสัญลักษณ์ SHA

อ่านแล้วมึนๆ !! พอจะมีตัวอย่างวิธีที่จะผ่านมาตรฐาน SHA หรือมีวิธีตรวจเช็ค อะไร ยังไง แนะนำมั้ย ?

กรมควบคุมโรค ได้ให้ความสำคัญใว้ 3 เรื่องหลักๆ ดังนี้ครับ ( ผม Copy จากของทางราชการ มาตรงๆเลย )

  1. สุขลักษณะอาคารและอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีอยู่ในอาคาร คือการปรับปรุงสถานที่ ทำความสะอาดอาคาร บริเวณโดยรอบ และบริเวณที่อาจมีการปนเปื้อนหรือบริเวณที่มีการสัมผัสบ่อย ๆ ด้วยน้ำยาทำความสะอาด และน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ เช่น พื้น ผนัง ประตู กลอนหรือลูกบิด ประตู ราวจับหรือราวบันได จุดประชาสัมพันธ์ จุดชำระเงิน สวิตซ์ไฟ ปุ่มกดลิฟต์ รีโมท การจัดอุปกรณ์ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค กำหนดให้มีการทำความสะอาดห้องส้วมและสุขภัณฑ์ทั้งหมดให้สะอาด เช่น โถส้วม ฝารองนั่ง ที่กดชักโครกหรือโถปัสสาวะ สายฉีดน้ำชำระ กลอนหรือลูกปิดประตู ก๊อกน้ำและอ่างล้างมือ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อสม่ำเสมอ มีส้วมพร้อมใช้งานตลอดเวลา เพียงพอและปลอดภัยแก่ ผู้ใช้บริการทุกเพศทุกวัย รวมถึงผู้พิการหรือผู้มีปัญหาด้านสุขภาพ การจัดให้มีระบบการระบายอากาศและถ่ายเทอากาศภายในอาคารที่เหมาะสม โดยทำความสะอาดระบบการระบายอากาศและถ่ายเทอากาศอย่างสม่ำเสมอ โดยทำความสะอาดระบบการระบายอากาศและถ่ายเทอากาศอย่างสม่ำเสมอ เช่นมีการนำเครื่องระบายอากาศ เครื่องฟอกอากาศเข้ามาช่วย และอาจมี การใช้เครื่องดูดละอองฝอยแรงดันสูง เข้ามาช่วย (สำหรับคลีนิคทันตกรรม)
  2. การจัดอุปกรณ์ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค เตรียมเจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70% ขึ้นไป ไว้ในบริเวณพื้นที่ ส่วนกลางเช่น จุดประชาสัมพันธ์ ประตูทางเข้าออกหรือหน้าลิฟต์ บริเวณอ่างล้างมือและห้องส้วมต้องสะอาด และจัดให้มีสบู่ล้างมืออย่างเพียงพอ จัดเตรียมอุปกรณ์น้ำยาทำความสะอาดอาคาร น้ำยาฆ่าเชื้ออุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้ เช่น น้ำยาทำความสะอาดพื้น น้ำยาล้างห้องน้ำ และเหล็กคีบด้ามยาวสำหรับเก็บขยะมูลฝอย เป็นต้น
  3. การป้องกันสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อการรับสัมผัส เช่น พนักงานต้อนรับ พนักงานประชาสัมพันธ์ พนักงานยกกระเป๋า ลูกค้าสัมพันธ์ รวมถึงพนักงานทำความสะอาด เป็นต้น ต้องมีการป้องกันตนเอง โดยใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ทำความสะอาดมืออย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น และพนักงานทำความสะอาดต้องสวมถุงมือขณะปฏิบัติงาน หากผู้ปฏิบัติงานมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม เจ็บคอ มีน้ำมูกเหนื่อยหอบ ให้หยุดปฏิบัติงานและเข้ารับการรักษาตัวในสถานบริการสาธารณสุข ต้องล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือการใช้แอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมืออย่างสม่ำเสมอ ก่อนการปฏิบัติงาน หลังสัมผัส สิ่งสกปรก หลังจากถอดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และหลังจากปฏิบัติงานเสร็จ ควรจัดให้มีสื่อหรือป้ายแนะนำการล้างมืออย่างถูกวิธี บริเวณอ่างล้างมือหรือที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน พนักงานเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยต้องมีการป้องกันตนเองโดยสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย สวมถุงมือยาง ผ้ายางกันเปื้อน และใช้เหล็กคีบด้ามยาวเก็บขยะใส่ถุง มัดปากถุงให้มิดชิดรวบรวมไว้ที่พักขยะ และล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำหลังปฏิบัติงานทุกครั้ง มีการให้ความรู้ คำแนะนำ และเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์แก่ผู้ปฎิบัติงานจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์ หรือช่องทางให้ความรู้ในการป้องกันและการลดความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อไวรัส COVID-19 ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ เช่น วิธีการสังเกต ผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสCOVID-19 คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกวิธ

หลังจาก 3 ข้อหลักนี้ไป ก็จะเริ่มลึกลงไปในหมวดธุรกิจทั้ง 10 หมวด ว่าในแต่ละหมวดต่้องทำอะไรบ้างถึงจะผ่านมาตรฐาน SHE ถ้าอยากรู้ลึกๆ ผมได้ Copy Link ตัวอย่างเกณฑ์ตรวจสอบเพื่อประเมินมาตรฐาน (Checklist) ที่ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กำหนดมาใว้ตรงนี้ครับ สามารถกด ตาม Link นี้ https://www.thailandsha.com/checklist_example รับรองทำได้ตามนี้ ผ่านการประเมินได้ตรา มาแปะหน้าร้านแน่ๆ

สุดท้ายนี้ ผมขอให้ทุกท่านผ่านการประเมิน SHA ได้ตราสัญลักษณ์มาแปะหน้าร้านกันทุกๆคน และมีลูกค้าเข้าร้านกันเยอะๆ ครับ จะได้ลืมตาอ้าปาก ขดเชยที่เสียไปบ้าง

  • หากมีข้อสอบถามเรื่อง ระบบการฆ่าเชื้อโรคในอากาศภายในอาคาร และการปรับปรุงระบบระบายอากาศ การปรับปรุงคุณภาพอากาศ ปรึกษาพูดคุยกันได้ครับ ไม่เสียค่าใช้จ่าย มาแลกเปลี่ยนความรู้กันครับ

กัมปนาถ ศรีสุวรรณ T.097-1524554 id Line: Lphotline

ตู้อบ UVC ฆ่าเชื้อโรค PHILIPS
เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบบตั้งพื้น PHILIPS

Posted on

คิดจะซื้อเครื่องฟอกอากาศ…คุณต้องรู้เรื่องนี้ !!

ในทุกๆวัน นอกจากเราค้องผจญกับฝุ่น PM2.5 แล้วเรายังต้องระวังเชื้อไวรัส โควิท-19 ด้วยนะครับ

หลายๆ คนที่คิดจะซื้อเครื่องฟอกอากาศมาใช้ ผมขอแนะนำให้คุณ เลือกซื้อเครื่องฟอกอากาศที่มีกำลังในการฟอกอากาศสูง มีเซ็นเซอร์วัดค่าฝุ่น PM2.5 และมีหน้าจอแสดงผลค่าฝุ่น PM2.5 เป็นตัวเลข

ทำไมผมจึงแนะนำแบบนี้  เพราะว่าถ้าเครื่องฟอกอากาศที่คุณคิดจะเลือกซื้อมาไว้ในห้อง ไม่มีตัวเซ็นเซอร์วัดค่าฝุ่น และไม่มีหน้าจอแสดงผลค่าฝุ่น PM2.5 เป็นตัวเลข แล้วเราจะรู้ได้ยังไง? เราจะมั่นใจได้ยังไง? ว่าหลังจากที่เริ่มเปิดใช้งานเครื่องฟอกอากาศแล้ว อากาศในห้องของเราสะอาดบริสุทธิ์ขึ้นหรือยัง ? ลอกนึกภาพดูครับ อากาศภายนอกบ้าน ภายนอกอาคารที่เต็มไปด้วยฝุ่น PM2.5 แล้วเราเปิดประตูเข้าบ้าน เข้าอาคารสำนักงาน เปิด เข้าๆ ออกๆ เพราะเราต้องมีการทำกิจกรรมตามชีวิตประจำวัน ทุกครั้งก็จะมีฝุ่นติดเข้ามาด้วย ยิ่งอาคารบ้านเรือนที่อยู่ใกล้ถนน หรืออยู่ในเมืองใหญ่ ที่มีการจราจรแออัดพลุกพล่าน หรืออยู่ในแนวการก่อสร้างทางด่วน แนวการก่อสร้างรถไฟฟ้า นี่ไม่ต้องสืบเลยครับฝุ่นเพียบจนแทบไม่อยากจะเปิดประตูหน้าต่างกันเลย พอเราเข้าห้องมาเราเปิดเครื่องฟอกอากาศ ถ้าไม่มีระบบตรวจวัดค่าฝุ่น และการแสดงผลเราก็จะไม่รู้เลยว่าสภาพอากาศรอบๆตัวเราในห้องนั้น มีค่าฝุ่น PM2.5 มากน้อยเพียงใด นั่นคือที่มาและเหตุผลที่ผมมาแนะนำเรื่องนี้

หน้ากากอนามัย บางชนิดป้องกันการแพร่เชื่อไวรัส COVID-19 ได้ แต่กรองฝุ่น PM2.5 ไม่ได้นะจ๊ะ

ทุกวันนี้ ด้วยวิวัฒนาการเทคโนโลยีในปัจจุบันของเครื่องฟอกอากาศ วิศวกรได้คิดค้นและออกแบบเครื่องฟอกอากาศให้มีกำลังในการฟอกอากาศสูงมากขึ้น และได้ออกแบบเครื่องฟอกอากาศแบบที่มีเซ็นเซอร์ และหน้าจอแสดงผล ออกมาให้เราเลือกซื้อใช้หลายรุ่น (เพียงแต่เราต้องจ่ายตังค์เพิ่มอีกหน่อย) ไอ้เครื่องฟอกอากาศแบบนี้แหละ ที่ทำให้เราสามารถมองเห็นอากาศที่อยู่รอบๆ ตัวในห้องของเราได้ในรูปแบบตัวเลข Digital บนจอแสดงผลที่จะบอกให้เรารับรู้ได้ว่า ณ เวลานั้น สภาพอากาศในพื้นที่ห้องที่เราอยู่ขณะนั้นเป็นอย่างไร ปลอดภัยต่อสุขภาพทางเดินหายใจ และร่างกายเราหรือไม่ การแสดงผลสภาพอากาศภายในห้องเราเป็นตัวเลขแบบนี้ จะช่วยให้เราสามารถวางแผนการควบคุมสภาพอากาศในห้องได้ง่าย และวางแผนการดูแลสุขภาพของคนที่คุณรักและตัวคุณเองได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะหากคุณหรือคนในครอบครัวของคุณ เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงและควรต้องเฝ้าระวังเรื่องฝุ่นพิษ PM.2.5 นี้เป็นพิเศษ เช่นผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด เด็ก ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ ที่อาจจะมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือน้อยกว่าคนทั่วไป

  แล้วคุณรู้หรือเปล่าว่าค่าตัวเลขฝุ่น PM2.5 ค่าขนาดไหนล่ะ? ถึงจะเป็นค่าที่ปลอดภัย แล้วค่าตัวเลขระดับไหนที่เป็นอันตราย? ผมเชื่อว่าหลายๆท่าน ไม่รู้ ! ถ้าไม่รู้ตามมาอ่านต่อทางนี้เลยครับ ผมจะบอกให้

เครื่องฟอกอากาศที่ดี ควรมีเซ็นเซอร์วัดค่าฝุ่น PM2.5 และแสดงผลที่หน้าจอเป็นตัวเลข

องค์การอนามัยโลก ( World Health organization หรือ WHO) ได้กำหนดค่าฝุ่น PM2.5 ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ จะต้องมีค่าเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมงต้องไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นั่นมาตรฐาน WHO นะครับ แต่มาตรฐานของบ้านเรา ประเทศไทย ได้กำหนดค่ามาตรฐาน PM2.5 ไว้ที่ไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

อ้าว.. แล้วอย่างนี้ ไอ้ที่ว่าปลอดภัย ค่ามันควรจะเป็นเท่าไหร่กันแน่ ? WHO อเมริกาไปอย่าง ไทยไปอีกอย่าง เอาไงดี ?   เอาอย่างนี้ครับ เราไม่ต้องไปสนใจ ค่า WHO หรือ ค่าที่ไทยกำหนด ปล่อยเขาไป !!  เรามาใช้ค่าที่อ้างอิงจากสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา (US Environmental Protection Agency หรือ EPA) กันดีกว่า เพราะในไทยเราหน่วยงานใหญ่ๆ หรืออาคารสูงที่มีมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพอากาศใช้มาตรฐานการอ้างอิงจาก EPA กันเป็นหลัก

รูปแสดงระดับตัวเลขของค่าฝุ่น PM2.5 ตั้งแต่ค่าปกติจนถึงระดับอันตราย ที่มีผลต่อสุขภาพ

EPA ได้กำหนดไว้ว่า ค่า PM2.5 ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพที่ส่งผลต่อสุขภาพน้อย อยู่ที่ 0-12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และหากเมื่อใดที่ค่าฝุ่น PM2.5 มีค่ามากกว่า 12.1 ไปจนถึง 35.4 จะถือว่าเริ่มส่งผลต่อสุขภาพทันที โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ จะเริ่มรับรู้ มีอาการรู้สึกถึงความผิดปกตินี้ได้  แต่ถ้าหากตัวเลขค่าฝุ่น PM2.5 มีค่าสูงขึ้นจาก 35.4 ไปจนถึง 55.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ก็จะเพิ่มโอกาสของผู้ที่มีปัญหาด้านโรคหัวใจ และโรคปอดจะมีอาการรุนแรงขึ้น และอาจทำให้เสียชีวิตได้ในผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและโรคปอด และผู้สูงอายุ ดังนั้นหากเราเปิดเครื่องฟอกอากาศ แล้วพบว่ามีค่าตังเลขแสดงขึ้นมามากกว่า 12 เราก็เร่งกำลังเครื่องฟอกอากาศให้แรงสูงสุด เพื่อดึงค่าฝุ่น PM2.5 ให้ลงมา น้อยกว่า 12 เร็วๆ ดีที่สุด (ในเครื่องฟอกอากาศบางรุ่นที่มี Mode Auto  เมื่อเปิดเครื่อง เครื่องฟอกอากาศจำทำการวัดค่าฝุ่น PM2.5 ในสภาพแวดล้อมนั้นโดยอัตโนมัติ เมื่อวัดค่าแล้วเครื่องจะทำการเลือก Speed กำลังแรงของลมดูดอากาศเข้ามาฟอกโดยอัตโนมัติ)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เครื่องฟอกอากาศที่มีการแสดงผลค่าฝุ่น PM2.5 เป็นตัวเลขนั้นดีกว่า น่าใช้งานกว่าเครื่องฟอกอากาศที่ไม่มีค่าการแสดงผล หรือแสดงผลเป็นแถบสีแต่ไม่แสดงผลเป็นตัวเลข และจะดียิ่งขึ้นไปอีกถ้าเครื่องฟอกอากาศนั้น สามารถกรองได้ทั้งฝุ่น PM2.5 และช่วยฆ่าเชื้อไวรัสในอากาศได้ไปพร้อมๆกันด้วย !!

ไลฟ์ โพรเทค จำหน่ายเครื่องฟอกอากาศกำลังสูง และฆ่าเชื้อโรค
เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง Model.Y-1000 ได้รับความใว้วางใจ ให้ใช้ในโรงพยาบาลรัฐ และเอกชนหลายแห่ง

ยินดีให้คำปรึกษา สำรวจหน้างาน ปรับปรุงระบบคุณภาพอากาศ ระบบเครื่องฟอกอากาศ ฟรี ! ไม่มีค่าใช้จ่าย

ติดต่อ บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

โทร.02-9294345-6 Hotline: 097-1524554 , 063-7855159

Email : LPCentermail@gmail.com

Id Line: Lphotline

www.Lifeprotect.co.th

Posted on

นิติบุคคลอาคารชุดฯ – อพาร์ตเม้นท์ ต้องทำยังไง ถ้าลูกบ้านติด COVID-19

นิติบุคคลอาคารชุดฯ – อพาร์ตเม้นท์  ต้องทำยังไง ถ้าลูกบ้านติด COVID-19

     ตั้งแต่กลางเดือนเมษายน 2564 นี้ คอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ  หรือ อพาร์ตเม้นต์ หลายๆ แห่ง คงมีผู้พักอาศัยที่เป็นผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อ COVID-19 บ้างแล้ว หรือบางห้องก็เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ต้องกักตัว 14 วันเพื่อสังเกตอาการ  หรือถ้ายังไม่มี ก็อาจจะมีในอีกไม่นานละครับ (ไม่ได้แช่งนะ แต่ทรงมันมาแนวนั้น) พี่น้องผู้จัดการอาคารต้องเตรียมตัวล่วงหน้ากันไว้นะครับ

     ในฐานะที่ผมทำงานด้านระบบปรับปรุงคุณภาพอากาศ และฆ่าเชื้อโรคในโรงพยาบาล และอาคารสำนักงาน ผมได้มีโอกาสเดินทางไปสำรวจหน้างาน ให้คำแนะนำ และติดตั้งอุปกรณ์บริการให้กับโรงพยาบาลรัฐ และเอกชนหลายๆแห่ง รวมถึงคอนโดมิเนียมหรูกลางกรุง อีกหลายตึก  วันนี้เลยมีเกร็ดความรู้เล็กน้อย มาแนะนำแนวทางการบริหารจัดการของผู้จัดการ/คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด หรือทางอพาร์ตเม้นต์ ดังนี้ครับ

ข้อสำคัญ : เราต้องมองผู้ป่วย ที่อยู่ในคอนโดฯ หรือ อพาร์ตเม้นท์ของเรา เป็นครอบครัว เป็นเพื่อน

       เราต้องให้โอกาสเขา ให้เขาได้กักตัว รักษาตัว ให้เขาอยู่ในห้อง จัดให้เจ้าหน้าที่นิติฯโทรขึ้นไปพูดคุยทำความเข้าใจกับเค้า แนะนำการกักตัวตามมาตรฐานสาธารณสุข จัดอุปกรณ์วัดไข้ ถุงขยะติดเชื้อ และอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการกักตัว แนะนำขั้นตอน นัดเวลาการส่งผลการวัดไข้ แนะนำการสั่งอาหาร เวลาและวิธีรับอาหาร เพิ่มช่อง นัดเวลาและวิธีการเก็บขยะ ชี้แจงเหตุผลที่ต้องขอยกเลิก ตัดระบบ Key Card ตัดระบบการเข้าออกเป็นการชั่วคราว ขอรายละเอียดผุ้ติดต่อ ผู้ปกครอง หรือญาติ ของผู้ป่วย ให้เค้าจัดเตรียมเอกสารสำคัญที่จำเป็น บัตรประชาชน บัตรโรงพยาบาล เอกสารประกันชีวิต ฯลฯ ประสานงานโรงพยาบาลคู่ขนานในเขตพื้นที่ จัดทำแผนการรับตัว ส่งตัวไปรักษา ประสานงานบริษัทรักษาความปลอดภัย และบริษัทแม่บ้านรักษาความสะอาด ของอาคาร เพื่อกำหนดวิธีการร่วมกัน ให้เข้าใจตรงกัน หาวิธีเพิ่มช่องทางการสื่อสาร อาจจะสร้าง Account ใลน์เฉพาะกิจส่วนกลางของอาคาร ไว้ให้ผู้ป่วย ผู้กักตัว ได้ใช้แอดใลน์ส่วนกลาง ไว้สื่อสารกัน

    ถ้าจำเป็นที่เขาต้องออกนอกห้อง ซึ่งเขาอาจจะต้องไปโรงพยาบาล เราก็จัดให้มีการกำหนดเส้นทางการเดินให้ห่าง ไม่ปะปนกับผู้ใช้อาคารคนอื่น กำหนดให้ใช้ลิฟท์ เฉพาะเป็นตัวๆไป ซึ่งถ้าผู้ป่วยเข้าใช้แล้ว เมื่อออกไปก็ต้องมีการทำความสะอาด ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในบริเวณที่ผู้ป่วยผ่านไป ทันที

    อันนี้เป็นคำแนะนำส่วนตัวของผม ตามที่ผมได้ไปเห็นได้ไปทำงานตามอาคารต่างๆมานะครับ ถ้าอย่างไรก็ขอให้ศึกษาจากคู่มือการปฏิบัติของสถานกักกันโรคทางเลือก (Alternative State Quarantine) ลว.17-4-63 ด้วยนะครับ

    ขอให้คิดซะว่า การที่เราช่วยให้เขาสามารถกักตัว และใช้ชีวิตอยู่ในห้องได้อย่างเหมาะสม เราเองและคนอื่นๆ ก็จะปลอดภัย และได้บุญ ด้วยครับ

    ** ผมไปอ่านเจอบทความดีๆ เกี่ยวกับการจัดการรองรับผู้พักอาศัยที่เป็นผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อ COVID-19 ในคอนโดมิเนียม / อพาร์ตเม้นท์ ที่เขียนโดยอาจารย์ นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์  ผมขออนุญาตเอามาแชร์ครับ

CREDIT ที่มาของบทความ : อาจารย์ นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ 

    ช่วงนี้หลายคอนโด/อพาร์ตเม้นต์ คงมีผู้พักอาศัยที่เป็นผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อ COVID-19 บ้างแล้ว หรือถ้ายังไม่มี ก็อาจจะมีในอีกไม่ช้า เลยขอแนะนำแนวทางการบริหารจัดการของผู้จัดการ/คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด หรือทางอพาร์ตเม้นต์ ดังนี้ครับ

ตู้อบฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UVC Philips

Step A:

A1: มาตรการป้องกันที่ควรมีอยู่แล้ว

– การทำความสะอาดจุดสัมผัสในพื้นที่ส่วนกลางที่มีผู้ใช้บ่อยๆ เช่น ปุ่มกดลิฟต์, ลูกบิด/ที่จับประตู, ราว, รถเข็นส่วนกลาง, ตู้กดน้ำ, อุปกรณ์ fitness ฯลฯ

– การดูแลพื้นที่ส่วนกลาง เช่น fitness, ห้องส่วนกลาง, ห้องประชุม, สนามเด็กเล่น, สวน ฯลฯ ตามมาตรการควบคุมโรค

– การขอความร่วมมือผู้พักอาศัย/บุคคลภายนอก/เจ้าหน้าที่ สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และเว้นระยะห่าง ในพื้นที่ส่วนกลาง

A2: มาตรการเตรียมรับมือ

– ประชาสัมพันธ์ให้ผู้พักอาศัยแจ้งหากทราบว่าเป็นผู้ติดเชื้อ (ส่วนกรณีที่ต้องกักตัว แต่ไม่ใช่ผู้ติดเชื้อ พิจารณาตามความเหมาะสมว่าจะให้แจ้งหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมีมาตรการดูแลอย่างไรหรือไม่)

– เตรียมแผนสำหรับกรณีมีผู้ติดเชื้อเอาไว้

– เตรียมช่องทางสื่อสารที่เข้าถึงผู้พักอาศัยได้เร็วเอาไว้ (ควรมีหลายช่องทาง)

– เตรียมเบอร์ติดต่อของผู้เกี่ยวข้องเอาไว้ เช่น กรมควบคุมโรค โรงพยาบาลในพื้นที่ บริษัททำความสะอาด บริษัท supplier ของอุปกรณ์ส่วนกลาง ฯลฯ

– เตรียมเบอร์ติดต่อของคณะกรรมการและ จนท. ทุกฝ่าย ทุกคนของนิติบุคคล/อพาร์ตเม้นต์ เอาไว้

– เตรียมสื่อประชาสัมพันธ์กรณีต้องสื่อสารเรื่องการมีผู้ติดเชื้อ หรือมาตรการต่างๆ เอาไว้ก่อน

– เตรียมกำลังสำรอง กรณีต้องกักตัวเจ้าหน้าที่ของนิติบุคคล/อพาร์ตเม้นต์

– หากมีหมอหรือผู้เชี่ยวชาญด้านที่เกี่ยวข้องในอาคารชุด/อพาร์ตเม้นต์ ที่อาจเป็นที่ปรึกษาได้ พิจารณาสอบถามความสะดวกใจในการช่วยให้คำปรึกษา

– ทำความเข้าใจเรื่องวิธีการระบาดของโรค นิยามความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยงของผู้สัมผัส (วงกลม 3 วง) แนวทางการดำเนินการสำหรับผู้สัมผัสแต่ละวง ฯลฯ

ล้อเลื่อนฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงรังสี PHILIPS UVC Trolley Gen2 ( แบบ 1 แขน 2 หลอด UVC : และแบบ 2 แขน 4 หลอด UVC )

Step B: การดำเนินการเบื้องต้นเมื่อได้รับแจ้งว่ามีผู้ติดเชื้อ

B1: ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก เราเตรียมรับมือไว้แล้ว/เรารู้ก่อนแล้วว่าเดี๋ยวก็คงถึงคราวที่ต้องดำเนินการ

B2: ตั้งหลัก รวบรวมข้อมูล (information gathering)

– ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากเจ้าตัว ว่าเป็นผู้ติดเชื้อที่ทราบผลแล้วว่าเป็นบวก หรือแค่เป็นผู้สงสัยว่าติดเชื้อ รอผล หรือผลเป็นลบ แต่ต้องกักตัว ฯลฯ

– หากมีมากกว่า 1 คน ทำทะเบียนข้อมูลเป็นรายบุคคล (ควรดูแลความลับของข้อมูลให้ดี)

– กรณีเป็นผู้ติดเชื้อ (ผลบวก) อธิบายเจ้าตัวว่ามีความจำเป็นต้องขอข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อการดูแลความปลอดภัยของผู้พักอาศัยโดยรวม และเพื่อการดูแลผู้ติดเชื้อเอง

– ขอทราบวันที่มีอาการ อาการที่เป็น (ถ้ามี) วันที่ไปตรวจ วันที่ทราบผล เพื่อเริ่ม establish timeline

– ขอ timeline ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคอนโด เช่น วันเวลาและตำแหน่งที่ใช้พื้นที่ส่วนกลาง วันเวลาเข้าออกคอนโด เท่าที่จะ recall ได้

– ขอทราบว่าทางโรงพยาบาลแนะนำอะไรบ้าง และจะมีการดำเนินการต่อไปอย่างไร

– ตรวจสอบกล้องวงจรปิดเพื่อเสริม timeline หากทำได้

– สำหรับประวัติการสัมผัสและ timeline ส่วนอื่นๆ นอกอาคารชุด/อพาร์ตเม้นต์ จริงๆ ไม่เกี่ยวกับการทำหน้าที่ภายในอาคารชุด/อพาร์ตเม้นต์โดยตรง อาจพิจารณาพูดคุยกับเจ้าตัวเพื่อสอบถามความสะดวกใจในการบอก timeline นอกคอนโดแก่ผู้พักอาศัย (การเปิดเผย timeline นอกอาคารชุด/อพาร์ตเม้นต์ เป็นเรื่องของหน่วยงานทางการ เช่น กรมควบคุมโรค กทม./จังหวัด และเจ้าตัว + เจ้าของพื้นที่ตาม timeline เอง ไม่ใช่เรื่องที่ทางอาคารชุด/อพาร์ตเม้นต์จะเปิดเผยโดยพลการได้เอง)

B3: ประเมินผลกระทบ (Impact Assessment)

– พิจารณาว่า ตามข้อมูล timeline ภายในคอนโด/อพาร์ตเม้นต์ พื้นที่ใดคือจุดเสี่ยงบ้าง โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านขนาดของพื้นที่ โอกาสการติดต่อผ่านจุดสัมผัส การถ่ายเทอากาศ จำนวน/ความหนาแน่นผู้ใช้บริการ พฤติกรรมการสวมหน้ากาก ระยะเวลาที่ผู้ติดเชื้ออยู่ในพื้นที่ และระยะเวลาตั้งแต่ผู้ติดเชื้อใช้บริการครั้งสุดท้ายจนถึงปัจจุบัน

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบบตั้งพื้น (Philips UVC Air Disinfection Unit)

Step C: การดำเนินการเพื่อแก้ไขสถานการณ์

C1: กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ และลำดับความสำคัญ

– ดูแลความปลอดภัยโดยรวมของผู้พักอาศัยและเจ้าหน้าที่ ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อ

– ดูแลความปลอดภัยและสวัสดิภาพทั้งกายและใจของผู้ติดเชื้อ/ผู้กักตัว (กรณียังไม่สามารถไปรับการรักษาที่ รพ. ได้ หรือกรณีที่ไม่ใช่ผู้ติดเชื้อแต่ต้องกักตัวเองในที่พัก)

– ได้รับความร่วมมือจากผู้ติดเชื้อ/ผู้กักตัวในการปฏิบัติตัว

– การสื่อสารในภาวะวิกฤต (crisis communication) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ได้รับการยอมรับจากผู้พักอาศัย เจ้าหน้าที่ และผู้เกี่ยวข้อง

– การสนับสนุนของคณะกรรมการ

– ขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่

C2: เอาวัตถุประสงค์ในข้อ C1 ตามลำดับความสำคัญ มาตั้งเป็นโจทย์ในการดำเนินการ ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการดำเนินการ (อาจแตกต่างตามบริบท)

C2.1 แจ้งกรมควบคุมโรค/ทางการ ตามกลไก

C2.2 ทำความสะอาดพื้นที่เสี่ยงที่ทราบตามข้อมูลใน timeline ภายในอาคารชุด/อพาร์ตเม้นต์ เพิ่มเติมเป็นพิเศษ เน้นจุดสัมผัสอย่างเต็มที่

C2.3 กรณีพื้นที่ส่วนกลางที่เสี่ยงสูง หรือยังคงมีโอกาสเป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อ และสามารถปิดให้บริการได้ พิจารณาปิดให้บริการตามระยะเวลาที่เหมาะสม

C2.4 หากเป็นพื้นที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท พิจารณาการฉีดพ่นน้ำยาทำความสะอาดตามความเหมาะสม

   ข้อสังเกต: สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ไม่ได้แนะนำการฉีดพ่นน้ำยาในพื้นที่ต่างๆ เพราะเสี่ยงเรื่องละอองฝอยจากน้ำยาอาจทำให้เชื้อตามผิวสัมผัสปลิวขึ้นมาในอากาศง่ายขึ้น และไม่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์ในการป้องกันการแพร่ระบาดโดยตรง

   ดังนั้น ในความเห็นผม การดำเนินการอาจเป็นเรื่องการพยายาม take action และบริหารความคาดหวังของผู้พักอาศัยเป็นหลัก อาจพิจารณาทำถ้าเป็นพื้นที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท สามารถปิดพื้นที่ชั่วคราวได้ แต่หากเป็นพื้นที่เปิด อากาศถ่ายเทดี หรือมีผู้อื่นใช้บริการตลอด ไม่มีประโยชน์ ไม่ควรทำ

C2.5 แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ติดเชื้อ หากยังจำเป็นต้องพักอาศัยในห้องพักระหว่างรอเข้ารับการรักษาใน รพ.

– เริ่มต้นโดยการสอบถามอาการทางกายและสภาพจิตใจ เพื่อแสดงถึงความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจ (start with empathy)

– สอบถามให้แน่ใจว่าไม่มีอาการรุนแรงที่ควรต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์โดยเร็ว เช่น หายใจหอบเหนื่อย หายใจเร็ว หายใจลำบาก หายใจไม่ออก เพลียมากผิดปกติ ฯลฯ

– ขอให้แจ้งผู้สัมผัสไปรับการตรวจ และหากเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง ให้กักตัว 14 วัน นับจากวันสัมผัสครั้งสุดท้าย

– แยกตัวจากผู้อื่น ไม่ควรมีคนอื่นพักในห้องพัก

– ห้ามออกจากห้อง (ยกเว้นกรณี รพ. รับไปรักษา หรือกรณีฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ โดยในกรณีเช่นนั้น ขอให้สวมหน้ากากและเว้นระยะห่าง เลี่ยงการสัมผัสจุดต่างๆ อย่างเต็มที่)

– หากทำอาหาร ซักผ้า เองได้ ขอให้ทำ

– ตกลงเรื่องมาตรการรับส่งอาหาร delivery ให้แจ้งเจ้าหน้าที่รับขึ้นมาไว้หน้าประตูห้อง เว้นระยะห่าง แล้วเจ้าตัวสวมหน้ากากแล้วนำเข้าไปเอง เปิดประตูเพียงช่วงสั้นๆ

– กรณีขยะที่จำเป็นต้องทิ้งเลย เก็บรอไว้ในห้องนานๆ ไม่ได้ เช่น เศษอาหาร ให้ใส่ถุงแยก 2 ชั้น ประสานเจ้าหน้าที่รับที่หน้าประตูโดยหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกัน สวมหน้ากากทุกครั้งก่อนเปิดประตู รับไปกำจัดโดยดูแลแบบขยะติดเชื้อ

– หลีกเลี่ยงการส่งซักรีดนอกห้อง เท่าที่ทำได้ (กรณีจำเป็น ให้ใส่ถุงแยก ระมัดระวังขณะซัก ใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เหมาะสม)

– แลกเบอร์ติดต่อ และแจ้งแนวทางการติดต่อหากมีอาการแย่ลงที่ต้องรีบรับการรักษา หรือกรณีต้องการให้ช่วยเหลือ/ประสานงานอะไร รวมทั้งกรณีที่ได้รับการประสานงานจาก รพ. หรือ รพ. แจ้งแผนการรับไปรักษา

C2.6 เรียกประชุมเจ้าหน้าที่ สื่อสารสถานการณ์ ความเสี่ยง การดำเนินการ แนวนโยบายและแนวทางการตอบคำถาม สิ่งที่ขอความร่วมมือ ให้โอกาสสอบถามและแสดงความรู้สึกเต็มที่ ดูแลขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่

C2.7 สื่อสารกับผู้พักอาศัย/ผู้ใช้บริการ

– กรณี timeline สามารถระบุผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงโดยตรงได้ แจ้งให้ทราบเป็นรายบุคคล แนะนำให้ไปตรวจหาเชื้อและกักตัว หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของ รพ.

– สื่อสารให้ผู้พักอาศัย/ผู้ใช้บริการทราบผ่านหลายช่องทางหากทำได้ ว่า มีผู้ติดเชื้อ แจ้ง timeline หรือพื้นที่เสี่ยงสูงภายในอาคารชุด/อพาร์ตเม้นต์ เท่าที่ทำได้ แจ้งแนวทางการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ แจ้งสิ่งที่ขอความร่วมมือจากผู้พักอาศัย/ผู้ใช้บริการ (กรณีนี้ การแจ้งพื้นที่เสี่ยงในอาคาร เป็นกรณีที่มี duty to warn คือ หน้าที่ในการเตือนภัย แก่ผู้พักอาศัย/ผู้ใช้บริการ)

– ไม่ควรบอกชื่อ เลขห้อง ของผู้ติดเชื้อ/ผู้กักตัว เพราะไม่ได้มีประโยชน์เพิ่มเติม (ทางเจ้าหน้าที่ควรดูแลความเสี่ยงของพื้นที่ต่างๆ ตามที่กล่าวมาแล้วอยู่แล้ว และไม่มี duty to warn เลย เพราะเชื้อไม่ได้กระโดดแพร่ผ่านอากาศจากห้องของผู้ติดเชื้อไปยังห้องอื่นเพื่อติดต่อไปยังผู้พักอาศัยคนอื่นโดยตรง) ทั้งการเปิดเผยยังมีความเสี่ยงกับสวัสดิภาพของเจ้าตัว และสุ่มเสี่ยงที่จะเกิด incident ที่ทำให้เจ้าตัวไม่ปลอดภัย หรือทำให้เกิดผลร้ายต่อการดูแลตัวเอง หรือเกิดการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น

– การบอกชั้น ปีก และอาคาร ของผู้ติดเชื้อ พิจารณาชั่งน้ำหนักตามความจำเป็น ความเสี่ยง และความเหมาะสม

– กรณีผู้กักตัวที่ไม่ใช่ผู้ติดเชื้อ ไม่มีความจำเป็นต้องแจ้งข้อมูลใดๆ เพราะยังไม่ใช่ผู้ติดเชื้อ การแจ้งไม่มีประโยชน์เพิ่มบนข้อมูลที่มี และไม่มี duty to warn

– กรณีผู้ติดเชื้อ/ผู้กักตัวไม่ร่วมมือ พิจารณาแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่และการดำเนินการที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความเสี่ยงต่อผู้อื่น และสวัสดิภาพของผู้ติดเชื้อ/ผู้กักตัว ประกอบกัน

– กรณีผู้พักอาศัย/ผู้ใช้บริการ มีท่าทีคุกคาม ไม่ร่วมมือ bully หรือ harass ผู้ติดเชื้อ/ผู้กักตัว ดูแลความปลอดภัยและสวัสดิภาพของทุกฝ่าย และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ เป็นลำดับแรก และพยายามส่งเสริมการเข้าอกเข้าใจและเห็นใจกัน และชี้แจงการทำหน้าที่/มาตรการดูแลความเสี่ยงต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งเหตุผลที่อาจไม่สามารถ/ไม่ควรทำตามที่ผู้พักอาศัย/ผู้ใช้บริการร้องขอ (ถ้ามี) หากจำเป็นอาจต้องแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มาดูแลความปลอดภัยและความเรียบร้อย

– สื่อสารโดยยึดหลักการสื่อสารในภาวะวิกฤติที่ดี: สื่อสารเร็ว สื่อสารถูกต้อง ส่งเสริม trust ระหว่างกัน ไม่โกหกหรือปิดบัง ส่งเสริมความร่วมมือและการดำเนินการที่เหมาะสม

C2.8 การดำเนินการหลังผ่านระยะแรก

– พูดคุยกับผู้ติดเชื้อ/ผู้กักตัว เป็นระยะ เช่น วันละ 1-2 ครั้ง เพื่อติดตามอาการ ประเมินสภาพจิตใจ ความร่วมมือ สิ่งที่ต้องการให้สนับสนุน อัปเดตการติดต่อประสานงานกับ รพ./แผนการมารับตัว

– พิจารณาสื่อสารกับผู้พักอาศัย/ผู้ใช้บริการเป็นระยะ โดยเฉพาะกรณีที่มีข้อมูลความเสี่ยงของผู้พักอาศัย/ผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นหรือความเสี่ยงเปลี่ยนแปลงไป หรือมีการดำเนินการที่ควรสื่อสารให้ทราบ

– monitor สถานการณ์ ความรู้สึก ความคาดหวัง และความเสี่ยงต่างๆ เป็นระยะๆ

– monitor ขวัญและกำลังใจของเจ้าหน้าที่ นิติบุคคลเป็นระยะๆ

– ทบทวนการดำเนินการ ถอดบทเรียน ปรับปรุงเพื่อการพัฒนาสำหรับเหตุการณ์ครั้งต่อไป

ขอให้พวกเราทุกคนมีสติ และผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน โดยความปลอดภัยของทุกฝ่าย และความเข้าอกเข้าใจกันครับ

หลังจากอ่านบทความของอาจารย์แล้ว ก็ลองพิจารณาปฏิบัติกันดูนะครับ สุดท้ายนี้ ขอให้พี่น้อง เพื่อนฝูงทุกท่านมีความสุขในปีใหม่สงกรานต์ 2565 นี้ และรอดปลอดภัยจากเชื้อโควิด ทุกท่านครับ

ยินดีปรึกษาระบบปรับปรุงคุณภาพอากาศ ไม่มีค่าใช้จ่าย

ติดต่อคุณ กัมปนาถ

T. 097-1524554 Id Line: Lphotline