Posted on

อย่ารีบตัดสินใจซื้อเครื่อง AED ถ้ายังไม่ได้อ่านเรื่องนี้ !

เครื่อง AED คืออะไร

    เชื่อว่าหลายๆคน น่าจะเคยเห็นกล่องสี่เหลี่ยมสีขาวๆ ที่ติดตามฝาผนัง หรือเป็นตู้แท่งแบบตั้งพื้น ที่มีตัวอักษรเขียนว่า EMERGENCY หรือตัวอักษร AED ที่ติดอยู่ตามห้างสรรพสินค้า, โรงงาน, Lobby โรงแรม,  Lobby คอนโดมิเนียม, อาคารสำนักงาน, สนามกีฬา ฟิตเนส หรือตามพื้นที่สาธารณะ และหน่วยราชการต่างๆ กันมาบ้าง แล้วคุณเคยสงสัยมั้ยว่าเครื่อง AED ที่เห็นกันเนี่ย มันเป็นยังไง

    เครื่อง AED (Automated External Defibrillator) ภาษาไทยเรียกว่า “ เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ” เป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตในยามฉุกเฉิน ในกรณีที่มีผู้ประสบปัญหาทางด้านหัวใจ และในบางรุ่นยังสามารถใช้ในการวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้

   เครื่อง AED นั้น ทำงานโดยใช้หลักการทางอิเล็กทรอนิกส์ เรียกง่ายๆได้ว่าเป็นอุปกรณ์การแพทย์แบบพกพา ที่ใช้กระตุ้นหัวใจผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจ โดยใช้กระแสไฟฟ้า หยุดรูปแบบการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ เพื่อเปิดโอกาสให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้อง ทำให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติได้ปกติอีกครั้ง

เครื่อง AED ยี่ห้อ CardiAid

เครื่อง AED ที่พบบ่อย มี 2 แบบ

    แบบที่ 1 เครื่อง AED แบบกดปุ่ม คือ ต้องกดปุ่มเปิดเมื่อต้องการใช้งาน หรือต้องการเปิดเครื่อง โดยผู้ช่วยเหลือจะต้องทำการกดปุ่มเปิดเครื่องบนตัวเครื่องด้วยตนเอง จากนั้นพอเครื่องเปิดทำงาน ผู้ช่วยเหลือกHทำตามขั้นตอนตามที่เครื่องบอก

    แบบที่ 2  เครื่อง AED แบบอัตโนมัติ (เป็นเครื่อง AED ที่มีความทันสมัย) วิธีการใช้เครื่องอัตโนมัติ ผู้ช่วยเหลือทำแค่เพียงเปิดฝาครอบเครื่องออก ตัวเครื่องจะเปิดการทำงานทันทีแบบอัตโนมัติ และยังมีเสียงบอกให้ผู้ช่วยเหลือทราบว่าจะต้องปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนอย่างไร    

โดยสรุป เครื่อง AED ออกแบบมาให้เป็นอุปกรณ์ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้งานได้อย่างง่าย สามารถนำไปใช้ปฐมพยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่ช่วยเหลือไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการใช้งาน AED มาก่อน  คนทั่วไปก็สามารถใช้งานได้ง่าย เพียงทำตามคำแนะนำของเครื่อง AED ซึ่งสามารถประเมินสถานการณ์ของผู้ป่วยได้โดยอัตโนมัติ และช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจผู้ป่วยให้ได้อย่างทันท่วงที

เครื่อง AED ยี่ห้อ HeartSine Samaritan PAD

     วิธีการเลือกเครื่อง AED 

เครื่อง AED ที่จำหน่ายในประเทศไทย มีมายมายหลายยี่ห้อ หลายราคา และส่วนมากมักจะมี Function การทำงานที่คล้ายๆ กัน แต่…ถึงแม้ว่าเครื่อง AED จะมี Function การทำงานที่เหมือน ๆ กัน ในความเหมือนที่แตกต่างของเครื่องแต่ละยี่ห้อก็ยังมีอยู่  ดังนั้นหากต้องการเลือกใช้เครื่อง AED ให้ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งานของผู้ใช้มากที่สุด ก็สามารถยึดหลักวิธีการเลือกได้ง่าย ๆ โดยผมแนะนำให้พิจารณาดูตามหลักพื้นฐานขั้นต้น ดังนี้

  1. พิจารณาสภาพแวดล้อมที่จะใช้เครื่อง AED หากจะใช้กลางแจ้ง ต้องเลือกเครื่อง AED ที่มั่นใจได้ว่า ถึงแม้จะใส่ในตู้ แล้วต้องทนทานต่อสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ หรือหากจะใช้ภานในอาคาร เช่นเครื่อง AED ในโรงพยาบาล สถานที่สาธารณะ สถานที่ราชการ หรืออาคารอื่นๆ ก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่อง AED ที่ท่านเลือกใช้ ควรจะเข้ากันได้กับอุปกรณ์และระบบที่มีอยู่เดิม
  2. เลือกเครื่อง AED ที่สามารถใช้งานได้ง่าย Function ต่างๆ ใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อน มีภาพประกอบบนเครื่องที่เข้าใจง่าย มีเสียงบรรยายขั้นตอนการใช้เป็นภาษาไทยที่ฟังแล้วเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ช่วยเหลือสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและปลอดภัย
  3. เลือกเครื่อง AED ที่มีอุปกรณ์ครอบคลุมทุกสถานการณ์ เช่น ควรเลือกเครื่องที่มีอุปกรณ์ประกอบเครื่องที่สามารถใช้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ มีอุปกรณ์ส่วนควบครบ แผ่น PAD นำไฟฟ้า ต่างๆ สายนำสัญญาณ แบตเตอรี่ คู่มือการใช้งาน และในตู้เก็บ AED ควรมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่จำเป็น
  4. เลือกเครื่อง AED ที่มีการถ่ายโอนข้อมูลการใช้งานได้โดยง่าย และหรือมีระบบติดตามแสดงผล มีการบันทึกเวลา มีการบันทึกการทำงานของเครื่อง มีการติดตามสถานะเครื่อง สถานะแบตเตอรี่ และตำแหน่งการเคลื่อนย้ายเครื่อง เพื่อนำมาเป็นรายงานอ้างอิงได้ (ในบางกรณีอาจจะมีความจำเป็นต้องใช้รายงานต่างๆ ที่เครื่องบันทึกไว้ประกอบขั้นตอนทางกฎหมาย)
  5. เลือกเครื่อง AED จากผู้แทนจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีบริษัทที่ตั้งตัวตนชัดเจน มีการแนะนำการใช้งาน และบำรุงรักษา มีการรับประกัน มีการรับรองว่ามีอะไหล่รองรับ ไม่น้อยกว่า 5 ปี
เครื่อง AED ยี่ห้อ HeartPlus ( AED 4)

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่อง AED

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่อง AED ที่พบบ่อยที่สุด คือการระคายเคืองผิวหนังของผู้ป่วยบริเวณที่ปิดแผ่น PAD Electrode  ซึ่งโดยปกติสามารถแก้ไขได้โดยใช้แผ่น PAD Electrode ประเภทอื่นหรือเปลี่ยนตำแหน่งของแผ่น PAD Electrode และนอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น

  • เวียนหัว หรือหน้ามืด
  •  รู้สึกวิตกกังวลหรือประหม่า
  • ปวดหัวตุบๆ
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • เหงื่อออก
  • อัตราการเต้นของหัวใจหรือความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง
เครื่อง AED ยี่ห้อ Mindray BeneHeart C1A

สนใจเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ

AED (Automated External Defibrillator) ติดต่อ คุณกัมปนาถ

T. 097-1524554  id Line: Lphotline

Email: LPCentermail@gmail.com

www.Lifeprotect.co.th