Posted on

อย. คืออะไร, อย.วอส คืออะไร สารเคมี/ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ และกรมประมง คืออะไร

LOGO อย
                   LOGO สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

   

มาชี้แจงกันให้เข้าใจ  อย. คืออะไร ทำไมต้องมี อย. ?

   ในฐานะที่ผมเป็นผู้นำเข้า และผู้จัดจำหน่าย เครื่องมือสนับสนุนงานทางการแพทย์ โรงพยาบาล คลีนิคทันตกรรม และเครื่องฆ่าเชื้อโรค ฯลฯ  ทีนี้ด้วยความตระหนก กลัวการระบาดของโรค COVID-19 ระลอก 2 พรรคพวกเพื่อนฝูง พี่น้อง และลูกค้าหลายๆ ท่าน ก็เลยมารุมถามผมกันมากมายว่า ถ้าคิดจะซื้อเครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อโรค แล้วจะต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคแบบไหน เด๊ทตอลมงกุฏใช้ได้มั้ย แอลกอฮอล์ใช้พ่นได้มั้ย น้ำยาฆ่าเชื้อโรคนั้นต้องเป็นแบบมี อย. หรือรายงานการรับรองอะไรบ้าง โอ๊ย…!!  ถามกันเป็นชุดเลย  ผมก็เลยตัดสินใจรวบรวมเรื่องราว เขียนให้อ่านเลยดีกว่า ว่าน้ำยาที่ใช้ต้องมี อย.แบบไหน อย.ขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบัน? อย.วอส.? หรือ สารเคมี/ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตจดแจ้งกรมปศุสัตว์ ใช้ในฟาร์มสัตว์บก  จดแจ้งกรมประมง ใช้กับสัตว์น้ำ ? 

มาๆ ถ้าใครอยากจะรับเรื่องยาวๆ มีสาระน่ารู้ แต่อ่านไม่เครียด ก็ตามมาครับ

       เริ่ม !!  อย. คือ อักษรย่อของ “สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา” ภาษาฝรั่งก็ Food and Drug Administration  ตัวย่อฝรั่งก็ FDA  เป็นส่วนราชการของไทยในระดับกรม สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการ ดำเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ( ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และ เครื่องสำอางค์ )โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐาน เชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์

หน้าที่ของ “อย.”

อย. มีหน้าที่กำกับและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ และมีหน้าที่ตามกฎหมายดังนี้

  1. ดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ในความรับผิดชอบ
  2. กำกับดูแล และตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ตลาด รวมถึงคำโฆษณาผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
  3. ส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ผู้ประกอบการ
  4. ตรวจสอบผลิตภัณฑ์หลังออกสู่ตลาดและการโฆษณาผลิตภัณฑ์
  5. เฝ้าระวังปัญหาหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้น
  6. ส่งเสริมผู้บริโภคให้มีความรู้และศักยภาพในการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างปลอดภัย คุ้มค่า
  7. ส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่าย
                           เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ PHILIPS UVC Air Disinfection Unit

 

ผลิตภัณฑ์ประเภทไหนถึงจะต้องมี “เครื่องหมาย อย.” ?
       กฎหมายระบุให้ผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องมาขอขึ้นทะเบียน หรือ ขอจดแจ้งผลิตภัณฑ์ก่อนผลิต/นำเข้า/จำหน่าย เพื่อเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในเบื้องต้น และเมื่อได้รับการอนุมัติจาก อย. แล้ว จึงจะนำออกวางจำหน่ายในท้องตลาดได้ อย่างไรก็ตามการขออนุญาต ในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้คือ
ยา : ผลิตภัณฑ์ยาทุกชนิดบนฉลากจะไม่มีเครื่องหมาย อย.  แต่จะต้องแสดงเลขทะเบียนตำรับยา โดยลักษณะของกลุ่มตัวเลขแรกคือ ประเภทของทะเบียน

      ตำรับยาจะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ แล้วตามด้วยเลขทะเบียนตำรับยา (ของแต่ละตำรับยา) /ปี พ.ศ. เช่น ทะเบียนยาเลขที่ 1A 324/50เป็นต้น โดยประเภทของทะเบียนตำรับยาเช่น 1A: ยามนุษย์ผลิตภายในประเทศ (แผนปัจจุบัน) (ยาเดี่ยว) 2B: ยามนุษย์แบ่งบรรจุ (แผนปัจจุบัน)(ยาผสม) เป็นต้น
อาหาร : ผลิตภัณฑ์อาหาร จะเรียกเครื่องหมาย อย.ที่แสดงบนฉลากว่าเลข สารบบอาหาร ซึ่ง “ เลขสารบบอาหาร ” คือ เลขประจำตัวผลิตภัณฑ์อาหาร จะเป็นตัวเลข 13 หลัก แสดงอยู่ภายในกรอบเครื่องหมาย อย.

ตัวอย่างเช่น เครื่องหมาย อย. ที่เราเห็นอยู่บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปนั้น ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ อาหารที่จะได้รับ อย. นั้น ส่วนใหญ่ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบความเหมาะสมของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิตการควบคุมกระบวนการผลิต การสุขาภิบาลโรงงาน การบำรุงรักษาและทำความสะอาด และบุคลากรการผลิต นั่นคือ เป็นไปตามเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร หรือ จี.ดี.พี. (Good Manufacturing Practice) นั่นเอง นอกจากนั้น ต้องผ่านในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุและการแสดงข้อมูลบนฉลากว่าครบถ้วนไม่โอ้อวด หลอกลวง หรือทำให้เข้าใจผิด อาหารนั้น จึงจะได้รับเครื่องหมาย อย. เป็นสัญลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ที่มีภาชนะบรรจุปิดสนิท รับผิดชอบโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

ตัวอย่างเครื่องหมาย อย.
          รูปแสดงตัวอย่าง เลข อย. 13 หลัก

 

ความหมายของตัวเลข อย. ทั้ง 13 หลัก
กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยตัวเลข 2 หลัก หมายถึงจังหวัดที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารหรือนำเข้าอาหาร โดยใช้ตัวเลขแทนอักษรย่อของจังหวัด เช่น 12 หมายถึง จังหวัดนนทบุรี เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยเลข 1 หลัก หมายถึงสถานะของสถานที่ผลิตอาหารหรือนำเข้าอาหารและหน่วยงานที่เป็นผู้อนุญาต

หมายเลข 1 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข 2 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหารที่ จังหวัดเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข 3 หมายถึง สถานที่นำเข้าอาหาร ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นผู้อนุญาต
หมายเลข4 หมายถึง สถานที่นำเข้าอาหารที่จังหวัดเป็นผู้อนุญาต
กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยเลข 5 หลัก หมายถึง เลขสถานที่ผลิตอาหารหรือเลขสถานที่นำเข้าอาหารที่ได้รับอนุญาต และปี พ.ศ. ที่อนุญาต โดยตัวเลข 3 หลักแรกคือ เลขสถานที่ผลิตหรือนำเข้าอาหารแล้วแต่กรณี ส่วนตัวเลข 2 หลักสุดท้าย คือ ตัวเลขสองหลักสุดท้ายของปี พ.ศ. ที่ได้
กลุ่มที่ 4 ประกอบด้วยเลข หนึ่งหลัก หมายถึง หน่วยงานที่ออกเลขเอกสารระบบอาหาร ดังนี้
1 หมายถึง อาหารที่ได้รับเลขสารระบบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
2 หมายถึง อาหารที่ได้รับเลขสารระบบจากจังหวัด
กลุ่มที่ 5 ประกอบด้วยเลข สี่หลัก หมายถึง ลำดับที่ของอาหารที่ผลิต หรือนำเข้า ของสถานที่แต่ละแห่ง แยกตามหน่วยงานที่เป็นผู้อนุญาต
นอกจากนี้การแสดงเลขสารระบบ อาหารในเครื่องหมาย อย. ยังกำหนดให้ใช้ตัวเลขที่มีสีตัดกับสีพื้นของกรอบ มีขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร และสีของกรอบตัดกับสีพื้นฉลาก

มีคนถามคำถาม แทรกมานิดนึง : การนำเข้า หรือการผลิตเครื่องมือแพทย์ ในประเทศไทย ต้องได้รับอนุญาตจาก อย. หรือไม่คะ

คำตอบ: การจะนำเข้าเครื่องมือแพทย์ หรือผลิตเครื่องมือแพทย์ ตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562  ต้องได้รับการอนุญาตจาก อย.ด้วยครับ โดยผู้ดูแลตรงนี้คือ กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ (จะเขียนบทความเรื่อง นำเข้าเครื่องมือแพทย์ง่ายนิดเดียว ในบทต่อไปครับ)

           เครื่องดูดละอองฝอยนอกช่องปาก ป้องกันละอองฟุ้งกระจายขณะทำหัตถการทางทันตกรรม

 

เอ้า !! นอกเรื่อง กลับมาเรื่องเครื่องหมาย อย.กันต่อ

เครื่องหมาย อย.” ตรวจเช็คได้ที่ไหน?? มาดูกัน

อย.คืออะไร
                                                                          อย. คืออะไร (ไม่ใช่อะหย่อยนะ)

         จากรูปด้านบน เราพอจะแยกประเภทผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ต้องมีเลข อย. หรือเลขที่จดแจ้งแล้ว ทีนี้เราต้องรู้ว่า ไอ้เลข อย. เนี่ยเราจะตรวจเช็คความถูกต้องยังไง?  อย่างแรกคือ เราสามารถนำเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่จดแจ้งบนผลิตภัณฑ์ไปตรวจเช็คได้ในเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุขที่ ระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ หรือในเว็บไซต์อย. ที่ ตรวจเลขที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทีนี้บางคนบอกว่าโคตรยุ่งยาก เสียเวลาเลย ทาง อย. เขาก็เลยทำ ORYOR Smart Application แอปพลิเคชั่น โคตรเทพให้เรา Download ไปใช้ฟรี ๆ ทั้งระบบ iOS และ Android เลย เมื่อ Download และติดตั้งเสร็จการเปิดใช้ก็ง่ายมาก เพราะมีฟังก์ชั่น “ตรวจเลขที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพ” โดยเฉพาะ เวลาเราจะตรวจสอบเราก็ใส่ให้ครบทั้งตัวอักษรและตัวเลข (ต้องใส่ให้ครบนะ ไม่งั้นเช็คไม่ได้) แต่ถ้าขี้เกียจสุดๆ ขี้เกียจจะ Download Apps ก็สามารถโทรเช็กได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือแอดไลน์ @FDAthai ก็ตรวจสอบเลข อย. ได้เหมือนกัน (แต่ผมว่า ถ้าคุณขี้เกียจมาจนถึงขั้นโทรนี่ คุณคงไม่โทรเช็คกันแล้วล่ะ)

ถ้าเลข อย. ตามที่เราเช็คใน Application ต่างๆ ถูกต้อง ระบบจะแสดงรายการออกมา ซึ่งจะมีข้อมูลดังนี้

– ประเภทผลิตภัณฑ์
– ใบสำคัญ (เลข อย.)
– ชื่อผลิตภัณฑ์ไทย – อังกฤษ
– ชื่อผู้รับอนุญาต
– New Code (เลขอ้างอิงใบรับแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์)
– สถานะ (ข้อมูลจะแสดงเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่แสดงสถานะคงอยู่)

ทีนี้พอตรวจเช็คแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเลข อย. ที่เราเห็นนี้ไม่ได้ถูกสวมมาหลอก ๆ สิ่งแรกที่สามารถสังเกตได้ง่ายที่สุดจาก

  1. ชื่อผลิตภัณฑ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  2. ชื่อการค้า (ยี่ห้อ)
  3. ชื่อผู้ประกอบการ (ผลิตโดย…) มีชื่อ มีสถานที่ผลิต ชัดเจน

     ทั้งสามชื่อนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกันบนตัวผลิตภัณฑ์  แต่!! การตรวจเช็คและการสังเกตทั้งหมดนี้ ยังไม่สามารถรับประกันได้ว่า ผลิตภัณฑ์นั้นจะเป็นของมีคุณภาพเสมอไป เพราะ “เครื่องหมายเลข อย.” หรือ “เลขที่จดแจ้ง” เป็นเพียงการมาจดแจ้งว่าจะผลิตผลิตภัณฑ์อะไร โดยมีส่วนประกอบอะไร หากไม่ผิดหลักเกณฑ์ ไม่มีส่วนผสมต้องห้ามก็สามารถจดได้ หลังจากนั้น อย. จะสุ่มตรวจภายหลังว่าสินค้านั้นทำตามที่จดแจ้งหรือไม่ (เท่ากับว่าหากเรายื่นผลิตภัณฑ์จดอย่างถูกต้อง แต่ภายหลังเราแอบใส่สารอะไรลงไปก็ได้ ตราบใดที่ อย. สุ่มตรวจไม่เจอ)

     เครื่องหมาย อย. เชื่อได้แค่ไหน?
    การที่มีเครื่องหมาย อย. หมายถึงผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้การผ่านเกณฑ์การตรวจสอบจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น แต่ผมอยากให้ทราบเพิ่มเติมมีดังนี้
1. ส่วนผสมในผลิตภัณฑ์นั้น ทาง อย. ไม่ได้ตรวจสอบอย่างละเอียดทั้งหมด เจ้าของสินค้าจะยื่นข้อมูลส่วนประกอบ จากนั้น อย. เพียงแค่พิจารณาปริมาณส่วนผสมว่าปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค
2. ส่วนประกอบที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ กับส่วนประกอบที่ยื่นกับ อย. อาจไม่ตรงกัน คือ จดอีกอย่าง ใส่จริงอีกอย่างอาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งอันนี้ผู้ผลิตคิดไม่ซื่อแน่นอน ผิดกฏหมายด้วย ถ้าพบเจอสามารถแจ้งทาง อย. ได้เลย
3. การแพ้ผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องส่วนบุคคล อย. ไม่เกี่ยว ผู้บริโภคต้องพิจารณาจากส่วนผสมเอง

4.เพื่อความปลอดภัยผู้บริโภค ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องตามฉลาก (โดยเฉพาะยา) และต้องพิจารณาการโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณต่างๆ อย่าหลงเชื่ออะไรที่อวดอ้างเกินจริง

                                                   ตู้อบฆ่าเชื้อโรคด้วยแสงรังสี UVC ” PHILIPS UVC Chamber “

 

ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. VS ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมาย อย.

    เคยสงสัยหรือไม่ ว่าทำไมขนมบางห่อมีเครื่องหมาย อย. แล้วทำไมยาสีฟันไม่เห็นมีเครื่องหมาย อย. แต่กลับอยู่ในผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมี อย. อ้าว งง !?..ไม่ต้อง..งงครับ เพราะผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทแบ่งตามเครื่องหมาย อย. เป็น ดังนี้

–  ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. หรือผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาต วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ยาฆ่าแมลง (อย. วอส)

   – ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมาย อย. ได้แก่ ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ที่ต้องแจ้งรายการละเอียด เครื่องมือแพทย์ทั่วไป วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ ซึ่งจะต้องมีเลขที่จดแจ้งหรือทะเบียนยากำกับบนผลิตภัณฑ์

     น้ำยาทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค DC-10 (ผลิตในประเทศไทย)

 

** อย.วอส. อันนี้เจอในกลุ่มพวกน้ำยาทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ล้างห้องน้ำ และยาฆ่าแมลง

     อย. แนะผู้บริโภค เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านเรือนที่มีฉลาก ระบุเลขทะเบียนวัตถุอันตรายทางสาธารณสุข (วอส.) ในกรอบเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่รับแจ้งเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดบ้านเรือนให้ถูกประเภท และเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ควรอ่านฉลาก ให้ละเอียดและปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด

     ภก.ประพนธ์ อางตระกูลรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ในฐานะโฆษก อย. เปิดเผยว่า จากการที่มีข่าวในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในบ้านเรือนผิดวิธี ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ หรือการนำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดไปแบ่งบรรจุลงในขวดน้ำดื่ม ทำให้เด็กเกิดความเข้าใจผิด นำไปรับประทานโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เกิดอันตรายต่อสุขภาพนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข มีความห่วงใยผู้บริโภค จึงขอแนะนำวิธีการเลือกซื้อและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านเรือนอย่างถูกวิธี โดยการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ในบ้านเรือน ควรสังเกตฉลากที่มีการระบุรายละเอียด ดังนี้ชื่อและปริมาณสารสําคัญเลขทะเบียนวัตถุอันตรายทางสาธารณสุข (วอส.) ในกรอบเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่รับแจ้ง วิธีใช้ สรรพคุณ คําเตือน วิธีการเก็บรักษา อาการเกิดพิษ วิธีแก้พิษเบื้องต้น รวมทั้งระบุชื่อที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้นําเข้าหรือผู้จําหน่าย เป็นต้น

ส่วนการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านเรือน ควรเลือกใช้ให้ถูกประเภทกับสภาพความสกปรกของพื้นผิวเนื่องจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ในบ้านเรือน แบ่งออกเป็น 5 ประเภทตามส่วนประกอบของสารสำคัญ คือ

  1. ผลิตภัณฑ์ประเภทด่าง สามารถทำความสะอาดคราบไขมันหรือน้ำมัน คราบไคลประเภทโปรตีน เนื่องจากด่างจะทำปฏิกิริยากับไขมันกลายเป็นสารที่ละลายน้ำได้ จึงมักใช้ในการทำความสะอาดเตาอบ ขจัดการอุดตันท่อ และมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค
  2. ผลิตภัณฑ์ประเภทกรด ใช้สำหรับกำจัดการสะสมของคราบฝังแน่น เช่น คราบหินปูน คราบเหลือง คราบสนิม หรือการสะสมของแร่ธาตุที่มีในน้ำกระด้างที่มักพบในห้องน้ำ และมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค
  3. ผลิตภัณฑ์ที่ผสมตัวทำละลายใช้ในการขจัดฝุ่นละอองบนพื้นหรือผิววัสดุต่าง ๆในบ้านเรือน เช่น เฟอร์นิเจอร์
  4. ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารซักล้างใช้ในการทำความสะอาดคราบสกปรก ที่ล้างออกได้ง่าย เช่น บริเวณพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ และใช้ในการล้างจานชาม
  5. ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารฟอกขาว ใช้สำหรับขจัดคราบ ซักผ้าขาว และยังสามารถใช้ฆ่าเชื้อโรคได้

         รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ผู้ใช้งานควรอ่านฉลากให้ละเอียด และปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด ขณะใช้ผลิตภัณฑ์ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากาก ถุงมือยาง และรองเท้ายางทุกครั้ง หลังใช้งานควรล้างถุงมือยาง รองเท้ายาง และล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทุกครั้ง ไม่ควรถ่ายผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดลงในขวดเครื่องดื่ม หรือภาชนะบรรจุอื่น และควรเก็บให้พ้นมือเด็ก ไม่วางผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารไวไฟ เช่น แอลกอฮอล์ไว้ใกล้กับแหล่งที่ให้เปลวไฟหรือความร้อน ไม่เผาภาชนะบรรจุที่เป็นสเปรย์อัดก๊าซ เนื่องจากอากาศที่เหลืออยู่ภายในอาจขยายตัว สามารถทำให้เกิดการระเบิดได้ เมื่อผลิตภัณฑ์มีการสัมผัสกับผิวหนัง ควรล้างออกทันที และหากเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด เพื่อแก้ไขอาการเบื้องต้น ถ้าจำเป็นให้นำผู้ป่วย พร้อมทั้งภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ไปพบแพทย์โดยเร็ว

สารเคมี/ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ และกรมประมง

     สารเคมีกลุ่มนี้ ได้รับ การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ด้านการปศุสัตว์ และประมง  โดยฝ่ายทะเบียนใบอนุญาตและมาตรฐานวัตถุอันตราย กองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์ หรือ กรมประมง

     น้ำยาหรือ สารเคมีที่จดแจ้งกรมปศุสัตว์นั้น มันบอกชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นสารเคมี หรือผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ที่ใช้กับสัตว์ ใช้กับคอกสัตว์ ใช้ในโรงฆ่าสัตว์ ไม่ว่าจะพยายามใช้ Wording สวยหรูเปลี่ยนแปลงยังไง น้ำยาฆ่าเชื้อ สารเคมี ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย นั้นคือมันต้องใช้กับสัตว์ มาใช้กับคน หรือนำมาฉีดพ่นใส่คน หรือฉีดพ่นตามอาคารบ้านเรือน ออฟฟิศ ร้านค้า คอนโดมิเนียม สำนักงานไม่ได้ เขาให้ใช้กับคอกสัตว์ กรงสัตว์  ใช้ในบ่อปลา บ่อกุ้ง บ่อกบ ไม่อยากพูดเยอะมันชัดเจน ไปดูเอาละกัน

ระวัง! คำโฆษณาเกินจริง

     ฟังดูแล้วถึงผู้บริโภคอย่างเราจะมีช่องทางให้ตรวจสอบ แต่ก็ใช่ว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะมีประสิทธิภาพเสมอไป แล้วเราจะทำอย่างไรดีล่ะ อย่างแรกจงจำให้ขึ้นใจว่า “โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม” โดยองค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) มีข้อแนะนำป้องกันการหลอกลวงการโฆษณาผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพตามนี้

– ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ารักษาโรคได้สารพัด เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สามารถรักษาโรคสมองฝ่อได้

– ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองจากบุคคลว่าใช้แล้วเห็นผลจริง เช่น ผลิตภัณฑ์นี้รักษาฉันให้หายจากโรคได้

– ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ามาจากธรรมชาติล้วน ๆ แต่ในความเป็นจริงไม่ได้แน่นอนเสมอว่าว่าวัตถุดิบจากธรรมชาติจะปลอดภัย เช่น เห็ดในธรรมชาติอาจมีพิษแฝงได้

– อย่าหลงเชื่อโฆษณาที่ใช้ข้อความว่า รักษาได้อย่างมหัศจรรย์ เป็นการค้นพบใหม่ เป็นการปฏิวัติทางการแพทย์

– การกล่าวอ้างถึงทฤษฎีสมคบคิดระหว่างบริษัทยาและรัฐบาล เพื่อปิดบังผลการวิจัยอันมหัศจรรย์ไว้เป็นความลับ

-ไม่ควรหลงเชื่อผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างว่าใช้แล้วเห็นผลในเวลาอันรวดเร็ว

     และอีกวิธีหนึ่งคือ เช็คเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่จดแจ้งกับคำโฆษณาว่าตรงกันหรือไม่ เช่น บนฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารจะพบการโฆษณาในเชิงบำบัด รักษา หรือบรรเทาโรค แต่ไม่พบทะเบียนตำรับยาบนผลิตภัณฑ์ กลับมีเครื่องหมาย อย. แทน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าสินค้านี้คือผลิตภัณฑ์อาหาร ไม่ใช่ยาวิเศษแต่อย่างใด

ช่องทางติดต่อ อย.

      ผมขอเน้นย้ำตรงนี้อีกครั้งว่า ผู้บริโภคอย่างเราสามารถตรวจเลข อย. ได้ด้วยตัวเอง แต่ !! เลขที่ออกมานั้นหวยจะตกอยู่ที่ใครก็คงเป็นเรื่องโชคลาภ วาสนา เพราะแม้นว่าจะตรวจสอบเจอเลข อย. ก็ใช่ว่าจะเป็นสินค้ามีคุณภาพเสมอไป ตามข่าวดังที่ได้ออกมาอยู่ช่วงหนึ่ง  ทั้งนี้ หากผู้บริโภคมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา E-mail : toxic@fda.moph.go.th กรณีผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ สามารถแจ้งร้องเรียนได้ตามช่องทางต่อไปนี้ เพื่อ อย. จะดําเนินการปราบปราม และดําเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทําความผิดต่อไป

  • สายด่วน อย. 1556
  • E-mail: 1556@fda.moph.go.th
  • ตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004
  • ร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application
  • Line @FDAthai
  • เว็บไซต์กระทรวงสาธารณะสุข www.moph.go.th
  • เว็บไซต์ อย. www.oryor.com
  • สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

ข้อมูลอ้างอิง

  • ขอขอบคุณ เนื้อหาบทความ และรูปภาพบางส่วนจาก wongnai.com
  • ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก : กองควบคุมยาและอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์
  • ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • เพิ่มเติมข้อมูล บางส่วนโดย กัมปนาถ ศรีสุวรรณ

** สนใจสอบถามสินค้า จำหน่าย ติดตั้ง ซ่อม และบริการ ติดต่อ คุณกัมปนาถ T.097-1524554 id Line >> Lphotline

  • เครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UV-C (ทั้งแบบเครื่อง UV-C Trolley และตู้อบ UV-C หรือ UVC-Desktop Disinfection) ผลิตภัณฑ์ Philips
  • เครื่องฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค แบบละอองฝอย (Aerosol ULV Cold Fogger) ผลิตภัณฑ์ SAINTFINE
  • พัดลมดูดอากาศ FFU แบบมีฟิลเตอร์ H13 HEPA (FAN FILTER UNIT) สำหรับ Fresh Air Intake ดูดอากาศสะอาดเข้าห้อง Clean Room
  • เครื่องฟอกอากาศ แบบ H13 HEPA FILTER ระดับ Medical Grade ที่ให้ค่า ACH และ CADR สูง ได้ตามข้อกำหนด ก.45 เมย. 63 ของกองแบบแผนฯ
  • เครื่องฟอกอากาศ แบบ Electrostatic Precipitator (ESP) ชนิด Filter ถอดล้างน้ำได้ สำหรับศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาล และคลีนิค
  • เครื่องดุดละอองฝอยนอกช่องปาก (EOS) สำหรับงานหัถการทันตกรรม ที่มีการฟุ้งกระจาย ผลิตภันฑ์ RUIWAN
  • จำหน่ายระบบดูดกรองควัน และกรองอากาศ งานอุตสาหกรรม งานช่างทอง จิวเวลรี่ แบบเคลื่อนย้ายได้ ผลิตภัณฑ์ RUIWAN
  • รับปรับปรุงห้องทันตกรรม สร้างระบบดูดละอองฝอยนอกช่องปาก ชนิด ระบบท่อดูดขึ้นบนฝ้าเพดาน
  • รับปรับปรุงห้องผู้ป่วยแยกโรค Cohort Ward , ห้องความดันลบ (Negative Pressure Room)
  • รับติดตั้ง ชุดหลอด UV-C ฆ่าเชื้อโรค พร้อม Sensor ตรวจการเคลื่อนไหว ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ (LAB) ห้องปลอดเชื้อ (Clean Room)
  • จำหน่ายเครื่องสร้างอากาศแรงดันลบ แบบเคลื่อนย้ายได้ จากประเทศเยอรมันนี ผลิตภัณฑ์ Deconta
  • จำหน่าย ไฟฉุกเฉิน เครื่องมือสนับสนุนงานแพทย์สนาม การแพทย์ฉุกเฉินกรณีภัยพิบัติ และการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เครื่องฟอกอากาศกำลังสูง พร้อมระบบฆ่าเชือโรค (Medical Grade) ชนิด Electrostatic Precipitator + H13 HEPA Filter + UV-C
Posted on

ห้องแรงดันลบ หรือ ห้องความดันลบสำหรับรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 คืออะไร

ห้องแรงดันลบ หรือ ห้องความดันลบสำหรับรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 คืออะไร

ช่วง 2-3 เดือนมานี้ เราๆ ท่านๆ คงจะได้ยินผ่านหู เคยอ่านผ่านตากันบ่อยๆ กับคำว่า ห้องแรงดันลบ, ห้องความดันลบ, ตู้เก็บตัวอย่างความดันลบ , เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบ, เต็นท์ผู้ป่วยความดันลบ , COHORT WARD ..

ทำไมต้องความดันลบ แล้วความดันลบคืออะไร?  

เริ่มจากตรงนี้ก่อน…. เรื่องมันมีอยู่ว่า ตอนนี้ต้นปี 2020 โลกเรา และประเทศไทยเรากำลังเกิดโรคระบาดเชื้อไวรัส โควิด-19 ใช่ป่ะ แล้วอีเชื้อไวรัส COVID-19 เนี่ย มันเป็นเชื้อโรคอุบัติใหม่ที่สามารถแพร่กระจายได้ในอากาศได้ดีมากๆ มันน่ากลัวมากๆ เลย  การแพร่กระจายของเชื้อโรคในอากาศของเชื้อโรคนี้ ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญทางการแพทย์และการสาธารณสุขอย่างมากๆในตอนนี้

นับถึงวันนี้ 30 เมษายน 2563 ที่ผมกำลังเขียนบทความนี้ มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ไปทั่วโลก ซึ่งตอนนี้มีผู้ติดเชื้อสะสมทั่วโลก 3,220,268 ราย และเสียชีวิตไปแล้ว 228,224 ราย โดยประเทศไทยเรามีผู้ติดเชื้อไปแล้ว 2,954 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 54 ราย ! (ข้อมูลวันที่ 30 เมษายน 2563 เวลา 15.00 PM) และยังมีสถิติของบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อจากการรักษาผู้ป่วย เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านสาธารณสุขจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์เช่นนี้ ในการที่จะเข้ามาช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลผู้ป่วยได้  ห้องแยกโรคความดันลบ (Negative pressure room) จึงเกิดขึ้น ห้องนี้เป็นห้องที่สร้างขึ้นแบบพิเศษสุดๆ ในโรงพยาบาล เพื่อรองรับผู้ป่วย และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยคุณสมบัติที่เป็นห้องปรับความดันอากาศภายในห้องให้ต่ำ ให้เป็น Negative  พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือใช้อุปกรณ์เครื่องมือปรับแรงดันบรรยากาศในห้อง ทำให้ห้องนั้นมีแรงดันบรรยากาศอากาศ ต่ำกว่าแรงดันบรรยากาศอากาศภายนอกห้อง (นั่นคือที่มาของคำว่า แรงดันลบ หรือ ความดันลบ) โดยห้องดังกล่าวมีความพิเศษ ดังนี้

–  ใช้ระบบควบคุมความดันบรรยากาศในห้องให้เป็นลบ ซึ่งการปรับความดันบรรยากาศภายในห้องให้เป็นลบ ( Negative ) หรือมีแรงดันบรรยากาศต่ำกว่าภายนอกห้องนั้น โรงพยาบาลบางแห่งได้กำหนดคุณลักษณะเฉพาะกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า  ต้องมีความดันบรรยากาศภายในห้อง AnteRoom ต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียงไม่น้อยกว่า 10 Pascal  และต้องมีความดันบรรยากาศภายในห้อง Isolate Room ต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียงไม่น้อยกว่า 20 Pascal เพื่อไม่ให้อากาศภายในห้องที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อน ไหลออกมาสู่ภายนอกห้อง ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้ชื้อโรคที่อยู่ภายในห้องไม่ให้แพร่กระจายออกไปสู่อากาศภายนอกห้อง

                                       เครื่องสร้างอากาศแรงดันลบ (Negative Pressure Unit) ฝีมือคนไทย ราคาคนไทย์NPU (Negative Pressure Unit)

* Pascal ปาสคาล ในระบบ SI ความดัน มีหน่วยเป็นนิวตันต่อตารางเมตร (N/m2) ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “ปาสคาล” (pascal) นั่นคือ 1 pascal = 1 Pa = 1 N/m2 (บางครั้งเราอาจพบหน่วย ปอนด์ต่อตารางนิ้ว: lb/in2) แต่ 1 Pa เป็นขนาดที่เล็กมาก โดยทั่วไปเรามักพบขนาด 105 Pa ซึ่งเรียกว่า 1 bar ดังนั้น 100 Pa คือ 1 millibar.

ขอบคุณข้อมูลจาก : il.mahidol.ac.th

–   เครื่องดูดอากาศเสียให้เป็นอากาศดี หรือเครื่องสร้างอากาศความดันลบ (Negative Pressure Unit) คือ ระบบมอเตอร์จะดูดอากาศที่อาจมีเชื้อโรคเจือปน โดยมอเตอร์จะดูดอากาศผ่านเครื่องกรองอากาศ Pre Filter และ Medium Filter (เครื่องบางรุ่นมาพร้อมกับฆ่าเชื้อโรคด้วยแสง UV อีกด้วย) รวมถึงการใช้เทคโนโลยีแผ่นกรองคุณภาพสูงที่มีประสิทธิภาพสูงในการกรองอนุภาคขนาดเล็ก (HEPA Filter) เพื่อกรองเชื้อไวรัส ได้ถึง 99.995% และปล่อยออกมาเป็นอากาศดีสู่บรรยากาศภายนอกอาคาร   ด้วยประสิทธิภาพในการควบคุมการไหลเวียนของอากาศ และการกรองอากาศด้วยเครื่องสร้างอากาศความดันลบ จะสามารถจำกัดบริเวณการเคลื่อนของเชื้อโรคให้อยู่ในบริเวณที่ควบคุมในบริเวณจำกัดเท่านั้น ทำให้จุดต่างๆ ของโรงพยาบาลมีความปลอดภัย เพราะสามารถ “กักกันเชื้อโรค” ใว้ในบริเวณจำกัด

Deconta on Web-1

รูปแสดงเครื่องสร้างอากาศแรงดันลบ แบบเคลื่อนย้ายได้

ทีนี้หายสงสัย คลายข้อข้องใจกันแล้วใช้มั้ยครับ ว่าไอ้ห้องพักผู้ป่วยความดันลบ มันคือยังไง

ความจริงในระดับ Construction การสร้างห้องความดันลบมันไมได้มีแค่ตัวเครื่องสร้างบรรยากาศแรงดันลบอย่างเดียว มันยังมีรายละเอียดอื่นๆ อีกมาก ทั้งการติดตั้งพัดลมดูดอากาศ มีค่า Max Flow เป็น CMH และอัตราการไหลของลมเป็น CFM อย่างงี้  เรื่องของท่อส่งลมเอย เครื่องวัดแรงดันภายในห้องเอย การวัดแรงดันตกคร่อมเอย ใน Filter ก้ต้องมีการหา Pressure Loss มีการเทียบค่ามาตรฐาน MERV 7 -14 ,  ASHRAE 52.1-1992 มี Test Method โอ๊ย..วุ่นวายไปหมด ปวดหัว

เอาเป้นว่า..วันนี้ผมแนะนำให้แบบบ้านๆให้เข้าใจในขั้นต้นนะครับ เพราะถ้าจะเอาลึกลงไปในระดับการสร้างห้องความดันลบ เดี๊ยวผมจะโดนแย่งงานไปทำซะหมด

LP Deconta                                             

รูปแสดงเครื่องสร้างบรรยากาศแรงดันลบแบบเคลื่อนย้ายได้ สำหรับห้องขนาดเล็ก กลาง ใหญ่

  กัมปนาถ ศรีสุวรรณ  30/04/2563

  • ผู้จัดการบริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด
  • คณะทำงานศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนกลาง  กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • ครูความปลอดภัย สมาคมการดับเพลิงและช่วยชีวิต (FARA)
  • ทีมสนับสนุนทางการแพทย์กรณีภัยพิบัติ DMAT  Thailand (TAFTA)
  • ผ่านการฝึกเป็นผู้อำนวยการ การเก็บกู้ภัยสารเคมี HAZMAT Decontamination (TAFTA)
  • ทีมค้นหาและกู้ภัย SAR 42 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • ครูฝึก Basic Life Support Instructor (TRC Card) สมาคมโรคหัวใจ โควต้ากระทรวงมหาดไทย
  • ครูฝึกพนักงานรักษาความปลอดภัยชั้น 4 สถาบันรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI)
  • Examiner ผู้ควบคุมสอบ ระดับ 4 สาขาป้องกันการสูญเสีย ธุรกิจค้าปลีก สมาคมผู้ค้าปลีกไทย (TRA /TPQI)
  • ASSESSOR ผู้ตรวจประเมินองค์กรรับรองสมรรถนะวิชาชีพ (TPQI)
  • คณะทำงาน ที่ปรึกษาการป้องกันการก่อการร้ายต่อพื้นที่เสียงในเขตเมือง สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

**************************************

HotLine : 063-7855159

email: LPCenternail@gmail.com

id Line: Lpcontact

เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศด้วยรังสี UV-C แบบ Close Fixture สวยงาม ปลอดภัย เปิดเครื่องฆ่าเชื้อโรคได้ แม้ขณะมีคนอยู่ในห้อง
UV-C Upper Air Disinfection by Philips

Posted on

หลักในการเลือกซื้อเครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อโรค (ULV Fogger) และน้ำยาฆ่าเชื้อโรค

วันนี้เรามาคุยกันเรื่องหลักในการเลือกซื้อเครื่องฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคภายในอาคาร และการเลือกใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคในการฉีดพ่น กันครับ

                รูปแสดงเครื่องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคชนิดละอองฝอยละเอียด SF-130 และ SF-131

 

          ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า การฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคภายในอาคาร เป็นเพียงการฆ่าเชื้อโรคในวันนั้น และอาจจะมีเชื้อโรคเข้ามาอีกเมื่อใหร่ก็ได้ เช่นพ่นยาฆ่าเชื้อในอาคารวันนี้ พรุ่งนี้มีคนที่ติดเชื้อเข้ามาในอาคาร ไอที่พ่นไปเมื่อวานหมดความหมายทันที ต้องพ่นใหม่ ไอที่มาโฆษณาบอกว่าพ่นยาฆ่าเชื้อโรคแล้วพื่นที่จะสะอาดปราศจากเชื้อไป 30 วันนั้น อย่าไปเชื่อครับ โกหกทั้งนั้น ของจริงอยู่ได้ให้ถึง 7 วันก็ดีใจตายชักแล้ว

เอ้า.. มาเข้าเรื่อง

มีเรื่องร้อนๆ ในช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน 2563 นี้ วงการบริษัท ที่รับฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคตามอาคารสถานที่ ต่างๆ และวงการจำหน่ายน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เป็นเรื่องที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นั่นเป็นเพราะสถานการณ์ โรคระบาด COVID-19 ทำให้เกิดการตื่นตระหนก ตกใจ Panic กันไม่เว้น แม้แต่ลูกเล็ก เด็กแดง ทำให้มีการติดต่อไปบริษัทต่างๆ ให้เข้าไปพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในบ้านที่พักอาศัย อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม โรงแรม โรงงาน ห้างสรรพสินค้า ยอดจองคิวงานยาว ถึงขนาดผู้ให้บริการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อบางรายถึงกับร้องว่าไม่เคยเจอกับเหตุการณ์จองคิวงานเช่นนี้มาก่อน

สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือ ผู้ประกอบการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรค ต่างคนต่างแย่งกันหาเครื่องมือมาเสริมทัพเพื่อรับงาน  หรือแม่แต่คนที่ทำธุรกิจอื่นๆอยู่ แต่ธุรกิจชะงักตัว ก็หันกระโดดเข้ามาสู่วงการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ทำให้ Demand : Supply มัน Over รวนไปหมด

นั่นทำให้เกิดสิ่งที่ตามมาว่า

  • เครื่องฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคขาดตลาด และมีราคาสูงขึ้นถึง 150% (เมื่อตอนปี 2561 เครื่องพ่นยาแบบพ่นละอองฝอย ชนิดใช้ไฟฟ้า ULV Cold Fogger  ตัวยี่ห้อดีๆ ราคา 12,000.- ถึง 20,000.-บาท  ผู้จำหน่ายต้องอ้อนวอนขอให้ลุกค้าช่วยซื้อ มาวันนี้ 12 เมษายน 2563 รุ่นเดียวกันราคาขายพุ่งไป  28,000.-  ถึง 35,000.-บาท ผู้ซื้อต้องอ้อนวอน ขอให้ผู้ขายช่วยหาของมาขายให้ แถมยังต้องรอของอีกด้วย ไม่ใช่มีตังค์ กำเงินสดมาแล้วจะซื้อได้เลย ต้องรอ บางเจ้าถึงกับเปิด Pre-Order กันเป็นล่ำเป็นสันเลย
  • น้ำยาฆ่าเชื้อโรค ก็พลอยขาดตลาดกลายเป็นของหายาก และมีราคาแพงตามขึ้นไปด้วย (ยี่ห้อดังจากเบลเยี่ยม ราคาขายพุ่งไปลิตรละ 5,000.-บาท)  BKC ก็ขาดตลาด
  • ชุด PPE ที่ใช้ในการสวมใส่ขณะฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ ก็ขาดตลาด และมีราคาสูงขี้นไปอีก 100% (เมื่อก่อนชุด PPE 3 M ใน HomePro วางขายใน Shelf ราคา 280.-บาท ยังเหลือเต็ม Shelf ไม่มีใครสนใจ ตอนนี้ตาม Shelf ไม่มีของต้องตามหาใน Facebook ตัวละ 600-650 ยังต้องยอมซื้อ)

ทำยังไงดีล่ะที่ เห็นเขารับงานกันจนสายโทรศัพท์แทบใหม้  คิวงานจองกันยาวยิ่งกว่างานโชว์ตัวน้อง Lisa Blackpink  เราก็อยากจะรับงานมั่ง ถ้าเป็นผู้ประกอบการฉีดพ่นน้ำยารายเดิม ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ มีกลุ่มลูกค้าในมืออยู่แล้ว ก็ได้เปรียบเพราะมีทีม มีเครื่องมือที่ถูกต้องตามมาตรฐานสาธารณสุข มีแหล่ง Supply น้ำยาฆ่าเชื้อ อยู่แล้ว ก็จะหมุนๆ บุคคลากร เดินสายรับงานกันไป เหนื่อยเพิ่มขึ้นแต่รับทรัพย์กันไปเต็มๆ

แต่!!….ผู้ประกอบการที่เพิ่งกระโดดเข้ามาสุู่วงการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคล่ะ อยากรับงานเต็มแก่ เห็นเขารับงานกัน อยากรับงานจะแย่อยู่แล้ว เครื่องพ่นยาแบบ ULV Cold Fogger ก็หาไม่ได้สักที น้ำยาฆ่าเชื้อโรคก็แพงแสนแพง ด้วยความเป็นหน้าใหม่ ถ้าไม่มี Connection ก็โดนฟันหัวแบะ !! แต่.. อ่าห์..เหมือนพระมาโปรด นั่งไถๆ ส่องดู Facebook ส่อง Shopee, LAZADA เจอคนมาโพสท์ขาย กาพ่นสี พร้อมปั๊มลมมั่งละ, เครื่องพ่นแบบ Air Brush ตัวเล็กๆ มั่งละ, น้ำยาแอลกอฮอล์ มั่งล่ะ ยาฆ่าเชื้อโรคที่จดแจ้ง อย. วอส. มั่งล่ะ, ยาฆ่าเชื้อโรคที่จดแจ้งขึ้นทะเบียนปศุสัตว์ มั่งละ โฆษณากันยกใหญ่ว่า ทั้งหมดนี้มีของพร้อมส่ง

ถ้าท่านเจอเซลส์..ที่ไม่มีความรับผิดชอบ ฉวยโอกาส โม้ๆ ไปเพื่อให้ลูกค้าเชื่อ ตัวเองได้ยอด ” โอ๊ยพี่ ไปรอของนาน ซื้อแพงทำไม ใช้กาพ่นสี ต่อปั๊มลม ใส่แอลกอฮอล์ ก็พ่นในอาคารได้เหมือนกันครับพี่  อีกรายก็ ” โห..ไอน้อง เครื่อง ULV Cold Fogger น่ะ รอของนาน แพงด้วย น้องใช้เครื่องพ่นเกษตรกรแบบที่พ่นในสวนนี่แหละ ปรับละอองให้ฝอยละเอียด ใช้ได้เหมือนกัน” เซลส์ได้กล่าวใว้

เอาละซิทีนี้..ตามที่เขาว่ามามันก็ฉีดพ่นออกมาได้จริงๆ นะ แต่เป็นการพ่นแบบสเปรย์พื้นที่ (Space Spray) มันเปียก เอ็งต้องสะกดชัดๆ ดูปากพี่ด้วยนะ ว่า “มันเปียก” ใช่ครับ ความละเอียดของละอองมันไม่ได้ มันหยาบเป็นหลักร้อยไมครอน มันไม่ได้มาตรฐานการฉีดพ่นภายในห้อง ภายในอาคาร  ตามที่สาธารณสุขแนะนำ ก็มันเป็นเครื่องกาพ่นสี เป็นเครื่องพ่นยาศัตรูพืช ละอองมันออกมาหยาบ พื้ินของบ้านลูกค้า พื้นออฟฟิศลูกค้าเปียกหมด พรมก็เปียกแฉะ อัตราการสิ้นเปลืองน้ำยาจะสูง (550 cc./นาที) บางรายพ่นไปเผลอไปทำเอกสารลูกค้าเปียกด้วย ที่ Print มาเยิ้มไปหมด  โอ๊ย !! เปียกเห็นชัดๆเลย OK ไอ้แบบนี้ถ้าเอาไปพ่นภายนอกอาคารมันได้ ไม่เป็นไร (แต่เปลืองน้ายา) แต่ถ้าพ่นภายในอาคาร มันไม่ได้ครับ มันไม่เหมาะต่อการหวังผลฆ่าเชื้อภายในอากาศ มันไม่ Aerosol

พล่ามมาตั้งนาน  เอางี้ หลักในการเลือกใช้เครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อโรค แบบพ่นละอองฝอยละเอียด (ULV Cold Fogger) มีดังนี้

                 รูปแสดงเครื่องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคชนิดละอองฝอยละเอียด แบบไร้สาย (ใช้ ฺBattery)

 

หลักการเลือกใช้เครื่องพ่นยาแบบหมอกละอองฝอย ULV Cold Fogger    (ย้ำนะครับว่า ต้องเป็นเครื่อง ULV Cold Fogger ของแท้)

  • มีแรงดันต่ำ และค่าขนาดเม็ดน้ำยาที่เครื่องผลิตได้  Volume Median Diameter (VMD) ควรมีขนาดใหญ่สุดต้องไม่เกิน 60 um (ไมครอน) * แต่ที่ผู้เขียนใช้งาน จะปรับตั้งค่าละอองใช้งานใว้ที่ 20-30 um
  • เครื่องพ่นฝอยละอองนี้ ขนาดเม็ดน้ำยาที่ดีที่สุดควรเป็น 5-27 um เพราะฉะนั้น ค่าเฉลี่ยที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ใช้บอกคุณภาพเครื่องว่าผลิตเม็ดยาที่มีคุณภาพสูงสุด คือค่า VMD = 27 um หรืออาจจะพูดได้ว่า ร้อยละ 85 มีขนาดเม็ดน้ำยาเล็กกว่า 27 um ซึ่งอาจหมายถึง กว่าร้อยละ 99 ของละอองน้ำยาที่มีขนาดฝอยละอองละเอียดในอากาศ (Aerosol) ละอองไม่เกิน 50 um จะลอยฟุ้งในบรรยากาศได้นาน ใช้ประโยชน์จากละอองน้ำยาทุกเม็ดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ขณะพ่นต้องปิดประตู หน้าต่างให้หมด และเป็นการพ่นแบบละอองในอากาศ (Aerosol) เพื่อต้องการกำจัดเชื้อโรคที่แพร่มาทางอากาศ (Airborne)

Droplet _Air Boneรูปแสดง DropLet และ AirBorne (Credit รูปภาพจาก Page Rational Drug Use)

   หลักในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาฆ่าเชื้อโรค

ให้ดูลักษณะทางกายภาพ และเอกสารประกอบ ดังนี้

1. ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบัน กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อย่างถูกต้อง (ไม่ใช่ทะเบียน ปศุสัตว์, ประมง)
2. มีเอกสาร MSDS หมายถึงเอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของสารนั้นๆ
3. มีผลทดสอบประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อจากสถาบันวิจัยที่น่าเชื่อถือรับรอง โดยจะต้องสามารถทำลายเชื้อได้อย่างครอบคลุม (ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา) ภายในเวลาที่กำหนด
4. มีผลทดสอบรับรองความปลอดภัย ค่าความเป็นพิษเฉียบพลัน LD50 และ skin test ต้องมีความเป็นพิษต่ำ (>2000mg./kg)
5. พิจารณาจากทางกายภาพ ต้องไม่มีกลิ่นฉุนรุนแรง ไม่ระคายเคืองผิวหนัง ไม่กัดกร่อนวัสดุ ไม่จุดติดไฟ
6. พิจารณาจากคุณสมบัติ ต้องสามารถย่อยสลายได้ ไม่ทิ้งสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม
7. มีอัตราส่วนเพื่อการใช้งานที่แน่นอน วิธีการใช้ที่ไม่ยุ่งยาก ถูกต้องตามหลัก Infection Control

8. หลีกเลี่ยงสารที่นิยมใช้ในการฆ่าเชื้อโรคทางด้านปศุสัตว์ ใช้ในคอกสัตว์เลี้ยง เช่น กูลตารัลดีไฮด์ ฟอมัลดีไฮด์ ฟีนอล (หลายองค์กรยังหลงใช้สารเหล่านี้มาทำการฉีดพ่น)

9. ผู้ขายและผู้ให้บริการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ต้องมีความเชี่ยวชาญ สามารถให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำที่ถูกต้องได้

      สรุป

การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ควรพ่นในสถานที่ปิด ก่อนพ่นปิดหน้าต่างให้เรียบร้อย เก็บเอกสารสำคัญ และคลุมเครื่อง Computer กันพลาด (เครื่องคอมพิวเตอร์ ค่อยเอาผ้าชุบน้ำยาฆ่าเชื้อโรค บิดหมาดๆ เช็ดเอา) ขณะทำการฉีดพ่นห้ามมิให้คนหรือสัตว์เลี้ยงอยู่ในห้อง หรือในอาคาร ฉีดพ่นเสร็จแล้ว ปิดประตูห้อง ปิดอาคาร ทิ้งใว้ 1-2 ชั่วโมง ถึงจะกลับเข้าไปใข้พื้นที่ได้

การมอบหมายให้พนักงาน เข้าไปฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในอาคาร ควรใช้คนให้น้อยที่สุด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเพิ่ม และการฉีดพ่นต้องมีระยะเวลาการฉีดที่เหมาะสม ให้ละอองน้ำยากระจายไปทั่วห้อง ไม่รีบเร่งเดินฉีดเร็วเกินไป หรือช้าเกินไป  และเมื่อปฏิบัติการฉีดพ่นฯ เสร็จ ให้รีบทำการ Decontamination ผู้เข้าปฎิบัติการฉีดพ่น ก่อนที่จะถอดชุด Level C ออก (กรณีใส่ชุดอวกาศ Level C ทำการฉีดพ่นยา) และถ้าหากชุดอวกาศ เป็นแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Use / Disposable) ให้นำชุดที่ถอดใส่ถุงขยะสีแดง (ถุงขยะปนเปื้อน) เพื่อเวลานำไปทิ้งถังขยะ และคนเก็บขยะมาเก็บ เขาจะได้รู้ว่าถุงขยะใบนี้ปนเปื้อน ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

เทคนิคการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคแบบละอองฝอย เป็นการลดปริมาณเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค ต่างๆในพื้นที่ลงเท่านั้น เพือให้เป็นการง่ายต่อการควบคุมโรคในพื้นที่นั้นๆ เป็นการควบคุมโรคไม่ให้เกิดเชื้อปนเปื้อนในพื้นที่ และไม่ควรพ่นยาฆ่าเชื้อโรคใส่ตัวคนที่ติดเชื้อโดยตรง (ตามที่กรมอนามัยออกมาเตือน)

ที่จริงแล้วเราควรแนะนำลูกค้าใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรค ชุบผ้าสะอาดทำความสะอาดเช็ดถูจุดสัมผัส ภายในบ้าน ภายในอาคารอย่างสม่ำเสมอ เช่นบริเวณลูกบิดประตู ราวบันได ปุ่มกดลิฟท์ ฯลฯ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อขจัดฝอยละอองกระเด็นจากสารคัดหลั่ง (Droplet)

Droplet คือปัญหาที่แท้จริงของการระบาดของโรคที่มีฝอยละอองกระเด็นของสารคัดหลั่ง เป็นตัวที่ทำให้ติดต่อระหว่างคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง ฉะนั้นการการกำจัดเชื้อ เพื่อป้องกันและควบคุมโรค ด้วยการทำความสะอาด เช็ด ถู แช่ ล้างอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีการสัมผัสหรือใช้ร่วมกัน เป็นวิธีการกำจัดเชื้อ Covid-19 ที่มีความสำคัญอย่างมาก

ดังนั้น ท่านอย่าไปคิดว่าการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคแล้ว จะสามารถกำจัดเชื้อ Covid-19 ได้ 100%  มันมีระยะเวลาหลังจากฉีดพ่นไปแล้ว 5-7 วัน แต่ถ้าภายในช่วงนั้นมีคนติดเชื้อเข้ามาในพื้นที่ ในพื้นที่นั้นก้เสี่ยงต่อการมีเชื้อล่องลอยอยู่ครับ

การฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรค เป็นการกำจัดเชื้อเพื่อป้องกันเท่านั้น

  หมายเหตุ: 

  • ลูกค้าควรขอเอกสารรับรอง และสอบถามข้อมูลต่างๆ จากผู้ขายหรือผู้ให้บริการให้ชัดเจน ครบถ้วน
  • อย่าให้ประเด็นเรื่องราคาค่าฉีดพ่นต่อตารางเมตร ทีมักมีบริษัทรับฉีดพ่นยาฯ เสนอราคามาต่ำแสนต่ำ จนท่านไขว้เขว แล้วนำเรื่องราคา มาเป็นเหตุผลหลักในการพิจารณาเลือกซื้อ เลือกใช้บริการการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคนะครับ
  • งานบริการด้านการควบคุม และป้องกันเชื้อโรคเป็นงานละเอียดอ่อน ก่อนใช้จ่าย ควรคิดให้รอบคอบครับ
                                 เครื่องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคชนิดละอองฝอยละเอียด แบบไร้สาย

         

            กัมปนาถ ศรีสุวรรณ  12/04/2563

  • ผู้จัดการบริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด
  • คณะทำงานศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนกลาง  กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • ครูความปลอดภัย สมาคมการดับเพลิงและช่วยชีวิต (FARA)
  • ทีมสนับสนุนทางการแพทย์กรณีภัยพิบัติ DMAT  Thailand (TAFTA)
  • ผ่านการฝึกเป็นผู้อำนวยการ การเก็บกู้ภัยสารเคมี HAZMAT Decontamination (TAFTA)
  • ทีมค้นหาและกู้ภัย SAR 42 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • ฺครูฝึก Basic Life Support Instructor (TRC Card) สมาคมโรคหัวใจ โควต้ากระทรวงมหาดไทย
  • ครูฝึกพนักงานรักษาความปลอดภัยชั้น 4 สถาบันรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI)
  • Examiner ผู้ควบคุมสอบ ระดับ 4 สาขาป้องกันการสูญเสีย ธุรกิจค้าปลีก สถาบันปัญญาภิวัฒน์ และสมาคมผู้ค้าปลีกไทย (PIM/TRA /TPQI)
  • ASSESSOR ผู้ตรวจประเมินองค์กรรับรองสมรรถนะวิชาชีพ (TPQI)
  • คณะทำงาน ที่ปรึกษาการป้องกันการก่อการร้ายต่อพื้นที่เสียงในเขตเมือง สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

*************************************************

Posted on

ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 คืออะไร

วันนี้ 20 ธันวาคม 2563 จังหวัดสมุทรสาคร สั่ง Lock Down แล้ว ดูแลตัวเองกันนะครับ

บทความ โดย ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

      การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV โควิด-19 ) คือไวรัสที่ ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบ (pneumonia)  ในเมืองอู่ฮั่น (Wuhan) มณฑลหูเป่ย (Hubei) ประเทศจีน เริ่มจากช่วงปลายปี ค.ศ. 2019 จนถึงปัจจุบัน

     ในช่วงแรกคาดว่า เป็นการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน เมื่อมีข่าวการระบาดนี้ ทั่วโลกก็เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพราะมีประสบการณ์มาจากโรคทางเดินหายใจร้ายแรงที่เกิดจากไวรัสโคโรน่า ได้แก่ โรคซาร์ (severe acute respiratory syndrome, SARS) ที่ระบาดในช่วงปี ค.ศ. 2002-2003 ซึ่งมีสาเหตุจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ SARS-CoV ที่เป็นไวรัสโคโรน่าข้ามสปีชีส์จากค้างคาวผ่าน civet cat (ชะมด) มาติดเชื้อในคน โดยเริ่มระบาดจากประเทศจีนและกระจายไปทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อกว่าแปดพันคน อัตราการตายร้อยละ 10 และเพิ่มเป็นร้อยละ 50 ในผู้สูงอายุ

     ต่อมาในปีค.ศ. 2012-2014 ก็มีการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ชื่อ Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV) ที่เป็นไวรัสโคโรน่าข้ามสปีชีส์จากค้างคาวผ่านอูฐมาติดเชื้อในคน เริ่มจากผู้ป่วยในประเทศซาอุดิอาราเบีย มีผู้ติดเชื้อรวม 1,733 คน อัตราการตายร้อยละ 36

    ไวรัสโคโรน่า เป็นไวรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่มีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ และมีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบด้วยโปรตีนคลุมด้วยกลุ่มคาร์โบไฮเดรทเป็นปุ่มๆ (spikes) ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส ทำให้เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะเห็นเป็นเหมือนมงกุฎ (ภาษาลาติน corona แปลว่า crown หรือ มงกุฎ) ล้อมรอบ จึงเป็นที่มาของชื่อเชื้อไวรัสในกลุ่มนี้ที่มีสมาชิกหลากหลาย ติดเชื้อก่อโรคได้ทั้งในคน และสัตว์หลายชนิด เช่น สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ม้า วัว แมว สุนัข ค้างคาว กระต่าย หนู อูฐ และสัตว์ป่าอื่นๆ) และสัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู  ดังนั้น ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ที่ก่อโรคในสัตว์ทั้งระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร อาจแพร่มาสู่คนและก่อโรคในคนได้ (zoonotic infection)

      ไวรัสโคโรน่าถูกแบ่งเป็น 4 ยีนัสคือ  Alphacoronavirus, Betacoronavirus, Gammacoronavirus และ Deltacoronavirus โดยไวรัสโคโรน่าที่ก่อโรคในคนที่ทำให้มีอาการของระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรง และมักมีการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ จัดอยู่ในยีนัส Alphacoronavirus ส่วนไวรัสโคโรน่าที่ก่อโรครุนแรงในคนและข้ามสปีชีส์มาจากสัตว์ เช่น SARS-CoV และ MERS-CoV จัดอยู่ในยีนัส Betacoronavirus

                                                                                 K3 Non Contact Thermometer

     

      ไวรัสโคโรน่ามีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอจึงมีโอกาสกลายพันธุ์สูง และสามารถก่อการติดเชื้อข้ามสปีชีส์ได้มากขึ้นในสถานที่ที่นำสัตว์เหล่านี้มาอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น ดังเช่น ในตลาดค้าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร ที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ SARS-CoV จาก civet cat สู่คน

      สถานการ์ณการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ 2019-nCoV จากประเทศจีน นับจากที่มีการรายงานครั้งแรกเมื่อ 31 ธันวาคม คศ. 2019 นั้น พบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่ไม่รู้สาเหตุในเมืองอู่ฮั่นเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาได้มีการรายงานเป็นทางการเมื่อ 3 มกราคม คศ. 2020 ว่าโรคปอดอักเสบที่ระบาดที่อู่ฮั่น มีสาเหตุจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV) และพบการแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้

      ประเทศจีนได้ทำการสืบสวนหาแหล่งแพร่เชื้อของการระบาดในครั้งนี้ที่เมืองอู่ฮั่น จากผู้ติดเชื้อกลุ่มแรกที่เป็นคนงานและลูกค้าของตลาดขายส่งอาหารทะเลฮั่วนาน (Huanan Seafood Wholesale Market)  โดยที่ตลาดสดนี้ นอกจากขายอาหารทะเลแล้ว ยังขายเนื้อสัตว์ และสัตว์ที่ใช้ทำอาหารที่ยังมีชีวิต เช่น เป็ด ไก่ ลา แกะ หมู อูฐ สุนัขจิ้งจอก งู แบดเจอร์ หนูอ้น เฮดจ์ฮอก แต่ระยะแรกตรวจไม่พบเชื้อ 2019-nCoV ในตัวอย่างตรวจจากสิ่งแวดล้อมและอาหารทะเลที่ได้จากตลาดขายส่งอาหารทะเลฮั่วนาน อย่างไรก็ดี พบผู้ป่วยที่มีประวัติว่าไม่ได้เข้าไปที่ตลาดแห่งนี้เลย

        รายงานผลการตรวจหาลำดับเบสของสารพันธุกรรมอาร์เอ็นเอส่วนเปลือก (glycoprotein spikes) ของเชื้อ 2019-nCoV (MN908947) ที่ได้จากผู้ป่วย พบว่าไวรัสนี้อยู่ในยีนัส Betacoronavirus ซึ่งเป็นยีนัสเดียวกับ SARS-CoV และ MERS-CoV ซึ่งเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาจากคนและสัตว์ต่างๆ จำนวน 271 สายพันธุ์ พบว่าเชื้อ 2019-nCoV เป็นไวรัสที่เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมระหว่างไวรัสโคโรน่าของค้างคาวกับไวรัสโคโรน่าของงูเห่า (Chinese cobra, Naja Atraจึงทำให้ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 นี้แพร่เชื้อข้ามสปีชีส์จากงูเห่ามายังคนได้ โดยเริ่มแรกจากคนงานและลูกค้าในตลาดเริ่มติดเชื้อก่อน และต่อมาเชื้อมีการกลายพันธุ์มากขึ้น จึงสามารถติดต่อจากคนสู่คน

    รายงานถึงวันที่ 24 มกราคม คศ. 2020 มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในประเทศจีนจำนวน 571 ราย เสียชีวิต 18 ราย โดย 17 รายอยู่ในเมืองอู่ฮั่น และอีก 1 ราย เสียชีวิตนอกเมืองอู่ฮั่นที่มณฑลเหอเป่ย์ (Hebei)  ส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตเป็นผู้สูงอายุ

    รายงานการพบผู้ติดเชื้อ 2019-nCoV นอกประเทศจีนจำนวน 10 ราย คือจากประเทศไทย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า และล่าสุดจากสหรัฐอเมริกา โดยทั้งหมดมีประวัติการเดินทางจากเมืองอู่ฮั่น และในประเทศจีนเองก็มีการรายงานผู้ติดเชื้อ 2019-nCoV ที่เมืองอื่นนอกจากอู่ฮั่นแล้ว เช่น กวางตุ้ง ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เป็นต้น

     จากการประชุมขององค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่  23 มกราคม คศ. 2020 ได้แถลงว่า ตอนนี้จะยังไม่ประกาศ Global health emergencies โดยให้มีการป้องกันระมัดระวังอย่างพิเศษในพื้นที่การระบาดของประเทศจีน ซึ่งทางประเทศจีนได้ประกาศปิด (lockdown) เมืองอู่ฮั่น ควบคุมการเดินทางจากเมืองนี้ และได้ขยายมาปิดเมืองหวงกาง (Huanggang) ที่อยู่ติดกับอู่ฮั่นห่างออกมาทางตะวันออก 30 ไมล์ และจะไม่มีการฉลองเทศกาลตรุษจีนในที่สาธารณะของกรุงปักกิ่ง

      การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) ประกอบด้วย

  1. การหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังเมืองอู่ฮั่น
    2. หากไปประเทศจีนมาในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา แล้วมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจเหนื่อยหอบ ให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางด้วย
    3. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด ในที่ชุมชนควรสวมหน้ากากอนามัย
    4. อยู่ห่างจากผู้มีอาการของทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม
    5. หมั่นล้างมือด้วยสบู่และให้น้ำไหลผ่านอย่างน้อย 20 วินาที หรือใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือ
    6. ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก โดยไม่จำเป็น

สามารถติดตามสถานการ์ณการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) ได้ที่ website ขององค์การอนามัยโลก (https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019)

ข้อมูล 24 ม.ค. 63

Credit : ขอขอบคุณบทความจาก : SIRIRAJ ONLINE  www.simahidol.ac.th

โฆษณา : บริษัท ไลฟ์ โพรเทค จำกัด

    จำหน่ายเครื่องฟอกอากาศ กำลังสูง ระดับ Medical Grade เพื่อใช้ฟอกอากาศในโรงพยาบาล และสถานที่ต่างๆ

สอบถามข้อมูลเครื่องฟอกอากาศทางการแพทย์ เพิ่มเติม ติดต่อ คุณกัมปนาถ 

Hotline T.097-1524554

Office Tel.02-9294345 – 6

email: LPCentermail@gmail.com

id line : Lphotline

ตู้อบฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสี UV-C (Philips UV-C Chamber)
ส่งมอบ และแนะนำวิธีการใช้งาน ตู้อบฆ่าเชื้อโรคเครื่องมือแพทย์ ด้วยแสงรังสี UVC PHILIPS ให้กับบุคลากรโรงพยาบาล